นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้ออกมาตีแผ่ถึงความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้ออุปกรณ์บำรุงทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาแล้วหลายครั้ง ถึงการที่การรถไฟฯกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคที่ไม่เปิดกว้าง เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ผลิตยี่ห้อใด ยี่ห้อหนึ่ง และตั้งราคากลางสูงเกินจริง แม้จะทำให้การรถไฟฯชะงักไปบ้าง แต่ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง หรือทำให้การจัดซื้อโปร่งใส และเป็นธรรมกับผู้เข้าแข่งขันทุกราย โดยขณะนี้การรถไฟฯ กำลังจะจัดซื้อเครื่องถ่ายทอดกำลังไฮดรอลิกส์ ซึ่งเป็นตัวส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่เพลาล้อของรถดีเซลราง จำนวน 5 ชุด วงเงิน 37.343 ล้านบาท หรือชุดละ 7.47 ล้านบาท
เรื่องนี้มีความไม่ชอบมาพากลคือ การรถไฟฯ ระบุว่า ต้องเทอร์โบ ยี่ห้อ Voith รุ่น T211rz ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงยี่ห้อและรุ่นอย่างชัดเจน ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคแบบกว้างๆ หรือคุณสมบัติเทียบเท่า แต่ได้ระบุยี่ห้อ และรุ่นนี้เพียงเท่านั้น ทั้งๆ ที่ยี่ห้อและรุ่นดังกล่าวมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวในโลก และมีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยเพียงรายเดียวเช่นกัน ทำให้ผู้ผลิตยี่ห้ออื่นที่มีคุณภาพดี ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ นั่นหมายความว่า การรถไฟฯ ล็อกสเปกให้ผู้ผลิตยี่ห้อนี้ และรุ่นนี้เท่านั้น มีการ ตั้งราคากลางสูงเกินจริง การรถไฟฯ ตั้งราคากลางเครื่องนี้ จำนวน 5 ชุด วงเงิน 37.343 ล้านบาท หรือ ชุดละ 7.47 ล้านบาท ซึ่งแพงกว่าราคาที่การรถไฟฯ ของประเทศอินเดีย ที่ซื้อชุดละ 2.20 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ.2558 หมายความว่าการรถไฟไทยฯ ซื้อแพงกว่ากาของอินเดียถึง 240 เปอร์เซ็นต์
“การที่การรถไฟฯ ระบุชัดถึงยี่ห้อและรุ่นของเทอร์โบเช่นนี้ ทำให้การรถไฟฯ เสียเปรียบ เนื่องจากไม่มีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ และราคา ส่งผลให้ราคากลางสูงเกินจริง หากการจัดซื้อจัดจ้างในการรถไฟฯ ยังคงมีการล็อกสเปกและการตั้งราคากลางที่สูงเกินจริง ไม่หมดไปเสียที เห็นทีว่าการพัฒนารถไฟไทยจะยังคงริบหรี่ แล้วจะปล่อยให้การรถไฟฯ รับผิดชอบรถไฟความเร็วสูงได้หรือ" นายสามารถ ระบุ
เรื่องนี้มีความไม่ชอบมาพากลคือ การรถไฟฯ ระบุว่า ต้องเทอร์โบ ยี่ห้อ Voith รุ่น T211rz ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงยี่ห้อและรุ่นอย่างชัดเจน ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคแบบกว้างๆ หรือคุณสมบัติเทียบเท่า แต่ได้ระบุยี่ห้อ และรุ่นนี้เพียงเท่านั้น ทั้งๆ ที่ยี่ห้อและรุ่นดังกล่าวมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวในโลก และมีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยเพียงรายเดียวเช่นกัน ทำให้ผู้ผลิตยี่ห้ออื่นที่มีคุณภาพดี ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ นั่นหมายความว่า การรถไฟฯ ล็อกสเปกให้ผู้ผลิตยี่ห้อนี้ และรุ่นนี้เท่านั้น มีการ ตั้งราคากลางสูงเกินจริง การรถไฟฯ ตั้งราคากลางเครื่องนี้ จำนวน 5 ชุด วงเงิน 37.343 ล้านบาท หรือ ชุดละ 7.47 ล้านบาท ซึ่งแพงกว่าราคาที่การรถไฟฯ ของประเทศอินเดีย ที่ซื้อชุดละ 2.20 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ.2558 หมายความว่าการรถไฟไทยฯ ซื้อแพงกว่ากาของอินเดียถึง 240 เปอร์เซ็นต์
“การที่การรถไฟฯ ระบุชัดถึงยี่ห้อและรุ่นของเทอร์โบเช่นนี้ ทำให้การรถไฟฯ เสียเปรียบ เนื่องจากไม่มีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ และราคา ส่งผลให้ราคากลางสูงเกินจริง หากการจัดซื้อจัดจ้างในการรถไฟฯ ยังคงมีการล็อกสเปกและการตั้งราคากลางที่สูงเกินจริง ไม่หมดไปเสียที เห็นทีว่าการพัฒนารถไฟไทยจะยังคงริบหรี่ แล้วจะปล่อยให้การรถไฟฯ รับผิดชอบรถไฟความเร็วสูงได้หรือ" นายสามารถ ระบุ