**"อย่ามากังวลกับผมว่าผมจะอยู่ต่อหรือเปล่า หรือตั้งพรรคการเมืองหรือเปล่า แต่จะทำวันนี้ให้ผ่านไปก่อน สถานการณ์จะเป็นตัวชี้ชัดต่อไปเอง ว่าเราควรจะทำอย่างไรในอนาคต โดยเราจะต้องคาดหวังแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ทำได้ ทำสำเร็จ อย่าไปคิดว่าจะต้องทำโน่น ทำนี่ ให้สมาธิเสีย วันหน้าก็อยู่ที่ประชาชนนั่นแหละ เรื่องโพลก็ขอบคุณผู้สนับสนุน ส่วนผู้ไม่สนับสนุนผม ก็ขอบคุณเช่นกัน โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นทั้งสองทาง"
ก็ต้องบอกว่าชัดเจนขึ้นกว่าเดิม และเข้าลักษณะของ "นักการเมือง" มากขึ้นกว่าเดิมสำหรับคำตอบล่าสุด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ตอบคำถามถึงผลสำรวจของนิด้าโพล ที่ประชาชนกว่าร้อยละ 53 สนับสนุนให้ตั้งพรรคการเมือง เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาล
หลังจากก่อนหน้านี้ มีการตีความคำพูดที่ "ไม่ปฏิเสธ" สำหรับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกรอบหลังการเลือกตั้งตามโรดแมป
อย่างไรก็ดี แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่พูดแบบตอบรับออกมา แต่สำหรับ"คอการเมือง" ที่ติดตามสถานการณ์มานานก็พอจะคาดเดาออกอยู่แล้วว่า มันต้อง"แหงอยู่แล้ว" และถึงอย่างไรมันก็ต้องพูดออกมาจนได้ เพียงแต่ว่าจะใช้ช่วงเวลาไหนที่เหมาะสมเท่านั้น และคำพูดดังกล่าวของเขาที่ปล่อยออกมาล่าสุด ก็เหมือนกับการปล่อยออกมา "ทีละขยัก" นั่นแหละ
**แต่สำหรับเรื่องตั้งพรรคการเมืองเองนั้นในอนาคต ถ้าให้เดาทางเชื่อว่าน่าจะยังห้าสิบห้าสิบ ค่อนไปในทางไม่ตั้งพรรค เนื่องจากอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย หรือออกไปในทาง"เสียคน" มากกว่า เพราะตามประวัติแล้วบรรดา "บิ๊กทหาร" ต่อให้ใหญ่คับฟ้าแค่ไหน แต่เมื่อต้องมาเจอกับเล่ห์เหลี่ยม "ลิ้นร้อยแฉก" ของพวกนักการเมืองบางประเภททำเอาเขารกเข้าพงมาเสียมากต่อมาแล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณากันตามกลไกในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ใช้บังคับอยู่นั้นก็มี "บทเฉพาะกาล" ที่เปิดช่องเอาไว้ถึง 5 ปี ทั้งในเรื่อง"นายกฯคนนอก" ที่มีกลไกสำคัญนั่นคือ "วุฒิสมาชิก" ที่กำหนดให้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนถึง 250 คน ซึ่งนี่คือเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนรัฐบาล โดยไม่จำเป็นต้องตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาให้รำคาญใจ และเมื่อพิจารณาจากจำนวนดังกล่าว ก็ต้องถือว่านี่คือ "พรรคขนาดใหญ่" พรรคหนึ่งเลยทีเดียว นี่ยังไม่รวมพรรคการเมืองที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนทหารอีกจำนวนหนึ่ง ในจำนวนนั้น เท่าที่ประกาศตัวชัดเจนไปล่วงหน้านานหลายเดือนแล้วก็มีพรรคที่จะดำเนินการก่อตั้งโดย ไพบูลย์ นิติตะวัน พรรคหนึ่งละ ที่แสดงเจตนาออกมาให้เห็นแล้ว
นั่นว่ากันถึงเรื่องของจำนวนเสียงที่ตุนเอาไว้อยู่ในมือล่วงหน้า หากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หากได้รับการเสนอชื่อในที่ประชุมรัฐสภาสมัยหน้า
ขณะเดียวกันหากพิจารณาจากเหตุผลอื่นประกอบที่น่าจับตากก็คือ การ "สานต่อ" งานสำคัญของรัฐบาลที่ริเริ่มดำเนินการในยุครัฐบาลของเขา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในช่วงปีที่ 3 เริ่มมีหลายโครงการที่เริ่มตั้งไข่ หรือเริ่มลงมือก่อสร้างเดินหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เมกะโปรเจกต์พวกบรรดารถไฟฟ้าความเร็วสูงสารพัดสาย ทั้งกรุงเทพฯ-ระยอง ,กรุงเทพฯ-หัวหิน ,รถไฟไทย-จีน ,รถไฟไทย-ญี่ปุ่น เป็นต้น เพียงแค่นี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับเหตุผลที่ว่า "สานงานต่อ" นี่ยังไม่พูดถึงเรื่องความมั่นคง ที่ต้องเข้ามาปรับความสมดุลในกองทัพ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องบัญชีการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ต้องใช้ความต่อเนื่อง
**ดังนั้นด้วยเหตุผลและท่าทีดังกล่าวมาทั้งหมด ก็น่าจะพอมองเห็นได้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะกลับมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอีกรอบหนึ่งค่อนข้างแน่ เพียงแต่ว่ายังไม่ถึงเวลาที่ต้องพูดกันแบบชัดเจนในเวลานี้ แต่คำตอบล่าสุดก็ถือว่าชัดแจ้งแดงแจ๋โดยนัยยะอยู่แล้ว !!
ก็ต้องบอกว่าชัดเจนขึ้นกว่าเดิม และเข้าลักษณะของ "นักการเมือง" มากขึ้นกว่าเดิมสำหรับคำตอบล่าสุด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ตอบคำถามถึงผลสำรวจของนิด้าโพล ที่ประชาชนกว่าร้อยละ 53 สนับสนุนให้ตั้งพรรคการเมือง เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาล
หลังจากก่อนหน้านี้ มีการตีความคำพูดที่ "ไม่ปฏิเสธ" สำหรับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกรอบหลังการเลือกตั้งตามโรดแมป
อย่างไรก็ดี แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่พูดแบบตอบรับออกมา แต่สำหรับ"คอการเมือง" ที่ติดตามสถานการณ์มานานก็พอจะคาดเดาออกอยู่แล้วว่า มันต้อง"แหงอยู่แล้ว" และถึงอย่างไรมันก็ต้องพูดออกมาจนได้ เพียงแต่ว่าจะใช้ช่วงเวลาไหนที่เหมาะสมเท่านั้น และคำพูดดังกล่าวของเขาที่ปล่อยออกมาล่าสุด ก็เหมือนกับการปล่อยออกมา "ทีละขยัก" นั่นแหละ
**แต่สำหรับเรื่องตั้งพรรคการเมืองเองนั้นในอนาคต ถ้าให้เดาทางเชื่อว่าน่าจะยังห้าสิบห้าสิบ ค่อนไปในทางไม่ตั้งพรรค เนื่องจากอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย หรือออกไปในทาง"เสียคน" มากกว่า เพราะตามประวัติแล้วบรรดา "บิ๊กทหาร" ต่อให้ใหญ่คับฟ้าแค่ไหน แต่เมื่อต้องมาเจอกับเล่ห์เหลี่ยม "ลิ้นร้อยแฉก" ของพวกนักการเมืองบางประเภททำเอาเขารกเข้าพงมาเสียมากต่อมาแล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณากันตามกลไกในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ใช้บังคับอยู่นั้นก็มี "บทเฉพาะกาล" ที่เปิดช่องเอาไว้ถึง 5 ปี ทั้งในเรื่อง"นายกฯคนนอก" ที่มีกลไกสำคัญนั่นคือ "วุฒิสมาชิก" ที่กำหนดให้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนถึง 250 คน ซึ่งนี่คือเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนรัฐบาล โดยไม่จำเป็นต้องตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาให้รำคาญใจ และเมื่อพิจารณาจากจำนวนดังกล่าว ก็ต้องถือว่านี่คือ "พรรคขนาดใหญ่" พรรคหนึ่งเลยทีเดียว นี่ยังไม่รวมพรรคการเมืองที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนทหารอีกจำนวนหนึ่ง ในจำนวนนั้น เท่าที่ประกาศตัวชัดเจนไปล่วงหน้านานหลายเดือนแล้วก็มีพรรคที่จะดำเนินการก่อตั้งโดย ไพบูลย์ นิติตะวัน พรรคหนึ่งละ ที่แสดงเจตนาออกมาให้เห็นแล้ว
นั่นว่ากันถึงเรื่องของจำนวนเสียงที่ตุนเอาไว้อยู่ในมือล่วงหน้า หากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หากได้รับการเสนอชื่อในที่ประชุมรัฐสภาสมัยหน้า
ขณะเดียวกันหากพิจารณาจากเหตุผลอื่นประกอบที่น่าจับตากก็คือ การ "สานต่อ" งานสำคัญของรัฐบาลที่ริเริ่มดำเนินการในยุครัฐบาลของเขา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในช่วงปีที่ 3 เริ่มมีหลายโครงการที่เริ่มตั้งไข่ หรือเริ่มลงมือก่อสร้างเดินหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เมกะโปรเจกต์พวกบรรดารถไฟฟ้าความเร็วสูงสารพัดสาย ทั้งกรุงเทพฯ-ระยอง ,กรุงเทพฯ-หัวหิน ,รถไฟไทย-จีน ,รถไฟไทย-ญี่ปุ่น เป็นต้น เพียงแค่นี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับเหตุผลที่ว่า "สานงานต่อ" นี่ยังไม่พูดถึงเรื่องความมั่นคง ที่ต้องเข้ามาปรับความสมดุลในกองทัพ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องบัญชีการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ต้องใช้ความต่อเนื่อง
**ดังนั้นด้วยเหตุผลและท่าทีดังกล่าวมาทั้งหมด ก็น่าจะพอมองเห็นได้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะกลับมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอีกรอบหนึ่งค่อนข้างแน่ เพียงแต่ว่ายังไม่ถึงเวลาที่ต้องพูดกันแบบชัดเจนในเวลานี้ แต่คำตอบล่าสุดก็ถือว่าชัดแจ้งแดงแจ๋โดยนัยยะอยู่แล้ว !!