ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -งบประมาณปี 2561 ในส่วนงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่จัดสรรไว้จำนวน 32,653.52 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น ลดลงจากปีงบประมาณ 2560 จำนวน 50,017.86 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 60.50 เนื่องจากในปีงบประมาณ2560 รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามาอย่างต่อเนื่อง โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจในประเทศ เป็นการสร้างการเติบโต จากภายในและลดการพึ่งพาเศรษฐกิจต่างประเทศ
โดยจัดสรรและกระจายงบประมาณให้แก่ กลุ่มจังหวัดทั้ง 18 กลุ่ม จำนวน56,238.65 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 771.01
แต่เมื่อพิจารณาผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2560 พบว่า ภาพรวมเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 40.32 แยกเป็นงบประมาณจังหวัด 76 จังหวัด เบิกจ่ายแล้วร้อยละ 45.17 และงบประมาณ 18 กลุ่มจังหวัด เบิกจ่ายแล้วร้อยละ 24.79 ซึ่งอยู่ที่ระดับที่ต่ำ
ต่อไปนี้ คือ“ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาค”สำหรับชี้แจงต่อ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2561
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคเหนือ“เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง”โดยพัฒนาการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการที่ต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ การศึกษา และผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ รวมทั้งยกระดับเป็นฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์ ควบคู่กับการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของภาค
ภาคเหนือ ตั้งเป้าพัฒนา 5 แนวทาง มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนาประชาชนคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 1 และจังหวัดมีรายได้จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพร้อยละ 10
ปีงบประมาณ 2561 จะพัฒนาไปสู่การเป็น Food Valley(อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป) การค้าชายแดน และโลจิสติกส์ การบริหารจัดการลุ่มน้ำ เมืองสมุนไพร ท่องเที่ยวล้านนา MICEอุตสาหกรรมการจัดการประชุม สัมมนา(Meeting, Incentive Travel,Conventions Exhibitions)เมืองผู้สูงอายุ ศูนย์โรคหัวใจ เป็นเมืองน่าอยู่ จากจุดเน้นในการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลต่อมูลค่าการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเกษตรกร รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้น มีเมืองสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน มีศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม/น้ำแล้ง หมอกควัน ไฟป่า และขยะมูลฝอย ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยในภาพรวมจะส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด(GPP)เพิ่มขึ้นร้อยละ 2
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคใต้ชายแดน“พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนความมั่นคงของภาคใต้ชายแดน”เป้าหมายการพัฒนาภาคใต้ชายแดนมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและเศรษฐกิจชายแดน เพื่อพัฒนาความเจริญและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และพัฒนาเมืองศูนย์กลางของจังหวัดให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร
ภาคใต้ชายแดน ตั้งเป้าพัฒนา 5 แนวทาง มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนาประชาชนคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 1 การพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนา ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ร้อยละ 5
ปีงบประมาณ 2561 จะพัฒนาพืชเศรษฐกิจ และในส่วนของเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการพัฒนาด่านสำคัญเชื่อมตอนใต้ของมาเลเซีย ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์เมืองเก่าและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง แก้ไขปัญหาไฟไหม้ป่าพรุ ปะการังเทียม ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง และขับเคลื่อนการพัฒนาสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จากจุดเน้นในการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลให้มูลค่าการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเกษตรกร รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้น มีเมืองสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน มีศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม/น้ำแล้ง การกัดเซาะชายฝั่ง หมอกควัน ไฟป่าและขยะมูลฝอย ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยในภาพรวมจะส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคใต้ (อันดามัน-อ่าวไทย) “ภาคใต้อันดามัน-อ่าวไทยเป็นฐานการสร้างรายได้ที่หลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เป้าหมายการพัฒนาภาคใต้ (อันดามัน-อ่าวไทย) มุ่งเป็นฐานการสร้างรายได้ที่หลากหลาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศให้มีความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นสินค้าต่างประเทศ และเป็นแหล่งการเพาะเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพและหลากหลาย
ภาคใต้ (อันดามัน-อ่าวไทย) พัฒนา 5 แนวทาง มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนาประชาชนคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 1 การพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
ปีงบประมาณ 2561 ภาคใต้ พัฒนาการบริหารจัดการลุ่มน้ำ และการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พัฒนาพืชเศรษฐกิจสำคัญ การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล และท่องเที่ยวชุมชน MICE เป็นศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง เช่น โรคหัวใจ จากจุดเน้น ในการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเกษตรกร รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้น มีเมืองสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน มีศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางเพิ่มขึ้นในภูมิภาค รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม/น้ำแล้ง การกัดเซาะชายฝั่ง และขยะมูลฝอย ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยในภาพรวมจะส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์ มวลรวมของภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ“หลุดพ้นจากความยากจนสู่เป้าหมายการพึ่งตนเอง”พัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้หลุดพ้นจากความยากจนก้าวสู่เป้าหมาย “อีสานพึ่งตนเอง”โดยเป็นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง มาตรฐานปลอดภัยและมาตรฐานอินทรีย์ และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเอทานอลของประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมขอม วัฒนธรรมประเพณี แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาระดับนานาชาติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พัฒนา 5 แนวทาง มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนาประชาชนคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 1 การพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ มูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ขยายเขตประปาเมืองเพิ่มขึ้น จำนวน 2 แห่ง มีปริมาณเก็บกักและพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 146,527 ไร่
ปีงบประมาณ 2561 พัฒนาการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงชีมูล พัฒนาศักยภาพข้าวหอมมะลิ อินทรีย์ และพืช สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ การท่องเที่ยวอารยธรรมลุ่มน้ำโขง และท่องเที่ยงชุมชน การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเฉพาะถิ่น เช่น โรคพยาธิใบไม้ในตับ เมืองสมุนไพร และเมืองน่าอยู่ จากจุดเน้นในการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเกษตรกร รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้น มีเมืองสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน มีศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม/น้ำแล้ง และขยะมูลฝอย ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยในภาพรวมจะส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์ มวลรวมของภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคตะวันออก “ฐานเศรษฐกิจชั้นนำ เมืองผลไม้เมืองร้อน และแหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ”เป้าหมายการพัฒนาภาคตะวันออกจะมุ่งพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำ โดยรักษาฐานเศรษฐกิจเดิม ที่มีอยู่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนให้ประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ พื้นที่ฐานการผลิตและบริการ เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน
ภาคตะวันออก พัฒนา 5 แนวทาง มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนาประชาชนคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 1 การพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ อัตราการขยายตัวมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2
ปีงบประมาณ 2561 จะพัฒนาต่อยอดระเบียบเศรษฐกิจตะวันออก (EEC)โครงข่ายคมนาคม ศูนย์ผลไม้เมืองร้อนแห่งเอเชีย บริหารจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ จากจุดเน้นในการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลให้มี มูลค่าการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเกษตรกร รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะชายฝั่ง ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยในภาพรวมจะส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP)เพิ่มขึ้นร้อยละ 2
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคกลาง“เศรษฐกิจในพื้นที่เติบโตตามศักยภาพประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”เป้าหมายการพัฒนาภาคกลางจะมุ่งพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำ โดยรักษาฐานเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนให้ประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ พื้นที่ฐานการผลิตและบริการ เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค และพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน
ภาคกลาง พัฒนา 5 แนวทาง มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้านสังคมได้รับการปรับปรุงพัฒนาประชาชนคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 1 การพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดีขึ้นร้อยละ 5
ปีงบประมาณ 2561 เน้นพัฒนาอาหารปลอดภัย ครัวสุขภาพ บริหารจัดการระบบกระจายน้ำอย่างสมดุล การท่องเที่ยวเมืองเก่าทางน้ำและการท่องเที่ยวชุมชน เมืองผู้สูงอายุ เมืองน่าอยู่ จากจุดเน้นในการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเกษตรกร รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้น มีเมืองสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม/น้ำแล้ง การกัดเซาะชายฝั่ง และขยะมูลฝอย ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยในภาพรวมจะส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2