แบงก์ชาติแจง บาทแข็งหลุด 34 บาทต่อดอลลาร์ตามเงินสกุลอื่นในภูมิภาค และมีแรงหนุนจากเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัว ศูนย์วิเคราะห์ฯทีเอ็มบีประเมินผลกรณีดอกเบี้ยสหรัฐฯสูงกว่าดอกเบี้ยไทย เงินทุนไหลออก-ค่าเงินผันผวนหนัก เตือนผู้ประกอบการรับมือ ทำประกันความเสี่ยง ขณะที่ผู้ส่งออกอ่วมโดนผลกระทบ swap poin
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาดแข็งค่าตามเงินสกุลต่างๆในภูมิภาค โดยปรับแข็งค่าขึ้นเป็นอันดับที่ 5 รองจาก เงินสกุลของ เกาหลี ไต้หวัน อินเดียและ ฟิลิปปินส์ ประกอบกับขณะนี้มีเงินไหลเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากหลังจากกังกลสถาการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาค่าเงินดอลล่าร์จึงอ่อนลง ช่วยเป็นแรงหนุนให้เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น
นอกจากนี้ยังมีเงินบางส่วนจากกาตาร์ที่เจอปัญหาหลายประเทศบอยคอด โดยมีเม็เงินที่ไปลงทุนจากประเทศไทยไปกาตาร์ประมาณ 2 แสนล้านบาท ดังนั้นกองทุนต่างๆที่เข้าไปลงทุนในกาตาร์จึงต้องป้องกันความเสี่ยงดึงเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจงเป็นปัจจัยหนุนอีกทางทำให้บาทแข็งซึ่งแบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิต หากพบความผิดปกติของการไหลเข้าออกของเงินแบงก์ชาติก็พร้อมที่จะดูแล โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้น 3-6 เดือน ทำให้เงินลงทุนไหลไปในพันธบัตรระยะยาวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทวานนี้ เปิดตลาดที่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าสุดในรอบ 2 ปี แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในระหว่างวันปรับตัวอ่อนค่าสุดของวันที่ 33.95 บาท แข็งค่าสุดของวันที่ 33.86 บาท และปิดตลาดที่ระดับ 33.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นักลงทุนรอดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดการณ์ค่าเงินบาทระยะต่อไปในกรอบ 33.83-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
**เตือนรับมือดบ.เฟดสูงกว่าไทยทำบาทป่วนหนัก**
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี)คาดในอนาคตอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยมีโอกาสต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเฟด หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ไว้ 3 ครั้งในปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้า ถ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่ปรับขึ้นตาม ซึ่งเมื่อระดับอัตราดอกเบี้ยของเฟดสูงกว่าของไทยจะทำให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกจากไทยไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือมีปัจจัยด้านต่างๆที่ดีกว่า ซึ่งการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ จะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
นอกจากนี้ในช่วงที่ดอกเบี้ยเฟดแพงกว่าดอกเบี้ยไทย ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย หรือ swap point จะกลายเป็นติดลบ ซึ่งผู้ประกอบการควรเตรียมรับมือ เนื่องจาก Swap point 6 เดือน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ +0.05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยศูนย์วิเคราะห์ฯ คาดว่าจะมีค่าอยู่ในช่วง 0.10 ถึง -0.03 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมื่อผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อ/ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ได้รับจะต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ผู้นำเข้า) จะได้ประโยชน์จากการทำธุรกรรมดังกล่าว ในขณะที่ผู้ที่ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ผู้ส่งออก) จะเสียประโยชน์ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ขายได้จะถูกกว่าราคาในปัจจุบัน และผู้ประกอบการที่มีภาระเงินกู้เป็นดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น จึงควรหาทางปรับเปลี่ยนจากการกู้ในอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ มาเป็นดอกเบี้ยไทย และเปลี่ยนการกู้แบบ Floating rate มาเป็น Fixed rate เพื่อลดภาระดอกเบี้ยในยามที่อัตราดอกเบี้ยกลับมาเป็นขาขึ้น
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาดแข็งค่าตามเงินสกุลต่างๆในภูมิภาค โดยปรับแข็งค่าขึ้นเป็นอันดับที่ 5 รองจาก เงินสกุลของ เกาหลี ไต้หวัน อินเดียและ ฟิลิปปินส์ ประกอบกับขณะนี้มีเงินไหลเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากหลังจากกังกลสถาการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาค่าเงินดอลล่าร์จึงอ่อนลง ช่วยเป็นแรงหนุนให้เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น
นอกจากนี้ยังมีเงินบางส่วนจากกาตาร์ที่เจอปัญหาหลายประเทศบอยคอด โดยมีเม็เงินที่ไปลงทุนจากประเทศไทยไปกาตาร์ประมาณ 2 แสนล้านบาท ดังนั้นกองทุนต่างๆที่เข้าไปลงทุนในกาตาร์จึงต้องป้องกันความเสี่ยงดึงเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจงเป็นปัจจัยหนุนอีกทางทำให้บาทแข็งซึ่งแบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิต หากพบความผิดปกติของการไหลเข้าออกของเงินแบงก์ชาติก็พร้อมที่จะดูแล โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้น 3-6 เดือน ทำให้เงินลงทุนไหลไปในพันธบัตรระยะยาวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทวานนี้ เปิดตลาดที่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าสุดในรอบ 2 ปี แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในระหว่างวันปรับตัวอ่อนค่าสุดของวันที่ 33.95 บาท แข็งค่าสุดของวันที่ 33.86 บาท และปิดตลาดที่ระดับ 33.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นักลงทุนรอดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดการณ์ค่าเงินบาทระยะต่อไปในกรอบ 33.83-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
**เตือนรับมือดบ.เฟดสูงกว่าไทยทำบาทป่วนหนัก**
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี)คาดในอนาคตอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยมีโอกาสต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเฟด หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ไว้ 3 ครั้งในปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้า ถ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่ปรับขึ้นตาม ซึ่งเมื่อระดับอัตราดอกเบี้ยของเฟดสูงกว่าของไทยจะทำให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกจากไทยไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือมีปัจจัยด้านต่างๆที่ดีกว่า ซึ่งการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ จะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
นอกจากนี้ในช่วงที่ดอกเบี้ยเฟดแพงกว่าดอกเบี้ยไทย ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย หรือ swap point จะกลายเป็นติดลบ ซึ่งผู้ประกอบการควรเตรียมรับมือ เนื่องจาก Swap point 6 เดือน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ +0.05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยศูนย์วิเคราะห์ฯ คาดว่าจะมีค่าอยู่ในช่วง 0.10 ถึง -0.03 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมื่อผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อ/ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ได้รับจะต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ผู้นำเข้า) จะได้ประโยชน์จากการทำธุรกรรมดังกล่าว ในขณะที่ผู้ที่ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ผู้ส่งออก) จะเสียประโยชน์ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ขายได้จะถูกกว่าราคาในปัจจุบัน และผู้ประกอบการที่มีภาระเงินกู้เป็นดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น จึงควรหาทางปรับเปลี่ยนจากการกู้ในอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ มาเป็นดอกเบี้ยไทย และเปลี่ยนการกู้แบบ Floating rate มาเป็น Fixed rate เพื่อลดภาระดอกเบี้ยในยามที่อัตราดอกเบี้ยกลับมาเป็นขาขึ้น