วานนี้ (14 มิ.ย.) นายภูมิพิทักษ์ กองแก้ว รองเลขาธิการ กกต. แถลงหลังการประชุมกกต.ว่า กกต.มีมติเบื้องต้น ที่จะส่งหนังสือแย้ง 2 ประเด็น ที่เห็นว่าเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉบับสนช. ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คือ 1. กรณีรัฐธรรมนูญ มาตรา 224 (1) บัญญัติให้กกต. มีอำนาจจัดหรือมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดการเลือกตั้ง แต่ ร่าง พ.ร.ป.กกต. มาตรา 27 กลับเขียนให้กกต. มีอำนาจเพียงมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการเลือกตั้ง 2. กรณี มาตรา 224 (3) วรรคท้าย บัญญัติให้กกต. แต่ละคน มีอำนาจในการสั่งระงับการเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง หากพบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น แต่ในร่าง พ.ร.ป.กกต. มาตรา 26 (2) กลับบัญญัติให้มีอำนาจเพียงชะลอ และนำเสนอเรื่องให้ที่ประชุม กกต.พิจารณา
ส่วนเรื่องเซตซีโรกกต.นั้น ที่ประชุมได้พูดคุยกันอย่างกว้างๆ ยังไม่ได้ลงรายละเอียด เพราะขอรอดู ร่าง พ.ร.ป.กกต. ที่สนช.ส่งมาก่อน ซึ่งเพิ่งได้รับร่างกฎหมายดังกล่าว ในช่วงเย็นวานนี้ (14 มิ.ย.) ดังนั้น กกต. จะมีการประชุมอีกครั้ง เพื่อจะได้ส่งความเห็นแย้งกลับไปทันภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 23 มิ.ย. นี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ กกต.จะเสนอแย้ง ไม่ได้มีเฉพาะ 2 ประเด็นนี้ อาจจะมีรวม 3-5 ประเด็น ซึ่งมีกกต. จะเห็นแย้งแต่ฝ่ายเดียวหรือแค่ประเด็นเดียวก็ต้องมีคณะกรรมมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 และประธานกกต. จะเป็นตัวแทน กกต.ไปทำหน้าที่
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมกกต.ร่วมกับคณะที่ปรึกษา ที่มีนายสุรินทร์ นาควิเชียร อดีตรองประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ที่ปรึกษาที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็น ทั้งที่เห็นว่าประเด็นเรื่องของการเซตซีโรกกต. ขัดต่อหลักนิติธรรม ตามที่รธน.บัญญัติไว้ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง ก็เห็นแย้งว่าไม่ขัดรธน. ซึ่งทางสำนักงานก็ไม่ได้มีการยกเอกสารบันทึกเจตนารมณ์ของกรธ. ที่ให้กกต.ที่มีคุณสมบัติตามรธน.60 ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาให้คณะที่ปรึกษาได้พิจารณาว่ามีน้ำหนักพอที่ กกต. จะใช้ในการต่อสู้ว่าการเซตซีโร ขัดต่อเจตนารมณ์ของการยกร่างในชั้นการพิจารณาของกรรมมาธิการร่วม 3 ฝ่าย และศาลรธน. หรือไม่ และในการประชุมกกต.ช่วงบ่าย ที่ประชุมก็ไม่มีการนำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาเช่นกัน โดยที่ประชุม กกต.เห็นว่า ประเด็นที่ที่ปรึกษากฎหมายมีความเห็นว่า การเซตซีโรกกต. ขัดต่อรธน. มีการยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในหลายบท จึงมอบให้สำนักกฎหมายของสำนักงานฯไปรวบรวม เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการยกร่างหนังสือความเห็นแย้งในประเด็นนี้ รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่จะเสนอไปยัง สนช. โดยให้นำร่างหนังสือดังกล่าวมาเสนอที่ประชุมกกต. พิจารณาในวันที่ 20 มิ.ย.นี้
ส่วนเรื่องเซตซีโรกกต.นั้น ที่ประชุมได้พูดคุยกันอย่างกว้างๆ ยังไม่ได้ลงรายละเอียด เพราะขอรอดู ร่าง พ.ร.ป.กกต. ที่สนช.ส่งมาก่อน ซึ่งเพิ่งได้รับร่างกฎหมายดังกล่าว ในช่วงเย็นวานนี้ (14 มิ.ย.) ดังนั้น กกต. จะมีการประชุมอีกครั้ง เพื่อจะได้ส่งความเห็นแย้งกลับไปทันภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 23 มิ.ย. นี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ กกต.จะเสนอแย้ง ไม่ได้มีเฉพาะ 2 ประเด็นนี้ อาจจะมีรวม 3-5 ประเด็น ซึ่งมีกกต. จะเห็นแย้งแต่ฝ่ายเดียวหรือแค่ประเด็นเดียวก็ต้องมีคณะกรรมมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 และประธานกกต. จะเป็นตัวแทน กกต.ไปทำหน้าที่
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมกกต.ร่วมกับคณะที่ปรึกษา ที่มีนายสุรินทร์ นาควิเชียร อดีตรองประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ที่ปรึกษาที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็น ทั้งที่เห็นว่าประเด็นเรื่องของการเซตซีโรกกต. ขัดต่อหลักนิติธรรม ตามที่รธน.บัญญัติไว้ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง ก็เห็นแย้งว่าไม่ขัดรธน. ซึ่งทางสำนักงานก็ไม่ได้มีการยกเอกสารบันทึกเจตนารมณ์ของกรธ. ที่ให้กกต.ที่มีคุณสมบัติตามรธน.60 ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ มาให้คณะที่ปรึกษาได้พิจารณาว่ามีน้ำหนักพอที่ กกต. จะใช้ในการต่อสู้ว่าการเซตซีโร ขัดต่อเจตนารมณ์ของการยกร่างในชั้นการพิจารณาของกรรมมาธิการร่วม 3 ฝ่าย และศาลรธน. หรือไม่ และในการประชุมกกต.ช่วงบ่าย ที่ประชุมก็ไม่มีการนำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาเช่นกัน โดยที่ประชุม กกต.เห็นว่า ประเด็นที่ที่ปรึกษากฎหมายมีความเห็นว่า การเซตซีโรกกต. ขัดต่อรธน. มีการยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในหลายบท จึงมอบให้สำนักกฎหมายของสำนักงานฯไปรวบรวม เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการยกร่างหนังสือความเห็นแย้งในประเด็นนี้ รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่จะเสนอไปยัง สนช. โดยให้นำร่างหนังสือดังกล่าวมาเสนอที่ประชุมกกต. พิจารณาในวันที่ 20 มิ.ย.นี้