“กักขังฉันเถิดกักขังไป ขังตัวอย่าขังหัวใจดีกว่า อย่าขังหัวใจให้ทรมาน ให้ฉันเศร้าโศกา เหมือนว่าฉันเป็นเช่นดังจำเลย” เพลงจำเลยรัก ผู้ประพันธ์คำร้องโดย ครูชาลี อินทรวิจิตร และผู้ประพันธ์ทำนองโดยครูสมาน กาญจนผลิน เพลงจำเลยรัก ถูกใช้ประกอบภาพยนตร์จากนวนิยายดัง “จำเลยรัก” ในปี พ.ศ. 2506 บทประพันธ์ของ “ชูวงศ์ ฉายะจินดา” เขียนเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2503 ตีพิมพ์ในเดลิเมล์วันจันทร์ระหว่างปี พ.ศ. 2504 - 2505 จำเลยรัก ถูกนำมาสร้างทำเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง (พ.ศ.2506, พ.ศ. 2521) และละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง (พ.ศ. 2517, พ.ศ. 2523, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2540, พ.ศ. 2551) ทุกครั้งประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างท่วมท้น รวมทั้งบทเพลงจำเลยรัก ที่ผู้ชมจดจำคำร้องและสามารถร้องเพลงนี้ได้ทุกคน บางท่อนของคำร้อง ถูกนำมาใช้ในบทสนทนาทั่วไป ตัดพ้อต่อว่า จากเนื้อเพลงท่อนแรก “เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย ฉันทำอะไรให้เธอเคืองขุ่น ปรักปรำฉันเป็นจำเลยของคุณ นี่หรือพ่อนักบุญ แท้จริงคุณคือคนป่า” ถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง
เรื่องย่อจำเลยรัก “หฤษฎ์ ลูกชายคนโตของนักธุรกิจทางภาคใต้ นักเรียนนอกที่ต้องกลับมาแบกรับภาระในการเลี้ยงดูน้องชายแทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตกะทันหัน บุกเบิกธุรกิจฟาร์มไข่มุกจนประสบความสำเร็จ เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ต่อมาน้องชาย, หรินเสียชีวิต ทำให้หฤษฎ์โกรธแค้นหญิงสาวต้นเหตุ ถึงกับตามล่าจับตัวมาเพื่อลงโทษให้หายแค้น โดยไม่รู้ว่าที่แท้เขาจับมาผิดคน...” ในโลกความจริง มีหลายคนที่ตอบสนองต่อปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ในภาวะหุนหันพลันแล่นคล้ายกับหฤษฎ์ มีคำคมฝรั่งที่น่าสนใจ “Your problem is not the problem, your reaction is the problem” ~ Unknown/ปัญหาของคุณไม่ใช่ปัญหา การตอบสนองต่อปัญหาคือปัญหาของคุณ ~ ไม่ทราบผู้กล่าว”
เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) ที่กระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น การพูดหรือการกระทำโดยไม่คิดก่อน เพราะอารมณ์โกรธกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมโดยกะทันหัน ขออนุญาตนำข้อความจากบทความในคอลัมน์ "สำนัก(ข่าว) พระพะยอม” หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้รายวัน ประจำวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2556 “....จึงมีคาถาที่ว่า โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่า จะได้ไม่บ้าไม่โง่ โกรธเขาเท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง อาการที่โกรธเลยทำให้คนที่มีเกียรติทำอะไรที่ถูกรังเกียจ ถูกติเตียนได้หมด”
เป็นธรรมดาที่เรารู้สึกขัดข้องใจ เสียใจ เหี่ยวเฉาหมดสิ้นกำลังใจ เมื่อต้องเจอกับความผิดหวัง สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การพลัดพรากจากกัน การงานมีปัญหา และความเจ็บป่วย เราจมอยู่ในความทุกข์ มองโลกในแง่ร้าย นั่นหมายความว่าเรากำลังติดกับดักทางความคิด (Thinking Traps) จนถอนตัวไม่ได้ มีความคิดที่ไม่เอื้อประโยชน์ ขวางกั้นไม่ให้เห็นโลกตามจริง และทำให้ทัศนคติของเราแคบลงกับดักทางความคิด (Thinking Traps) เป็นการวิเคราะห์ทางจิตวิทยา ในทางพุทธศาสนาสอนว่า อคติเป็นปัจจัยของความผิดพลาดในกระบวนการคิด และการตัดสินใจ ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น
ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดอคติ คือ 1. ฉันทาคติ - เพราะชอบพอ 2. โทสาคติ- เพราะโกรธหรือเกลียด 3. โมหาคติ– เพราะความหลง เขลา เบาปัญญา 4. ภยาคติ– เพราะความกลัว
เข้าใจหฤษฎ์-จำเลยรัก กันแล้วนะว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น
ต่อไปนี้เป็นประเภทของกับดักทางความคิด (Thinking Traps) ที่พบได้ทั่วไป
1. ขาวกับดำ (Black and White Thinking) All or Nothingหรือ “Black and White” “ถ้าไม่ได้ทั้งหมด ก็ไม่ได้อะไรเลย หรือขาวกับดำ” ถ้าไม่สมบูรณ์แบบ ก็คือย่ำแย่ที่สุด มีความคิดแบบจัดหนัก สุดโต่ง ขาดความยืดหยุ่น มองชีวิตหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมี 2 ขั้วเท่านั้น ขั้วหนึ่งดีเลิศ อีกขั้วหนึ่งหายนะ
2. การยืนยัน (The Confirmation) Seeing what you want to see. “เห็นในสิ่งที่ต้องการเห็น” เช่น เรารู้สึกว่าตลาดหุ้นตก และถึงเวลาต้องขายหุ้น เพื่อทำให้มั่นใจยิ่งขึ้นในลางสังหรณ์ของตนเองจึงโทร.หาเพื่อนที่เพิ่งขายหุ้นทั้งหมด เพื่อสอบถามเหตุผล แต่บางคนหาหมอดูแนะนำฉันด้วยเถอะค่ะ ว่าจะขายหุ้นดีไหม
3. การคล้อยตาม (The Conformity) Everybody else is doing it. “ใคร ๆ เขาก็ทำกัน เกิดจาก “สัญชาตญาณฝูง” (Herd Instinct) มีในทุกคน ซึ่งจะทำให้แต่ละคนรู้สึกว่าตัวเองกำลังกระทำสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อกระทำสิ่งเดียวกันกับคนอื่น ๆ แม้ว่าเรารู้สึกรังเกียจที่จะยอมรับมัน แต่ด้วยสัญชาติการเอาตัวรอด กระตุ้นให้เราต้องคล้อยตาม เช่น ในห้องเรียน หรือในที่ประชุม ใครยกมือแสดงความเห็นด้วย ก็จะมีคนอื่นๆ ยกมือตาม
กับดักการคล้อยตาม (The Conformity) มีผลที่สืบเนื่องต่อตนเอง ผู้อื่น กลุ่ม ชุมชน และประเทศชาติ
4. ด่วนสรุป (Jumping to Conclusions) Interpreting things negatively. การตีความหมายสิ่งต่างๆ ในด้านลบ คาดการณ์เองด้วยหลักฐานเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย จากประสบการณ์เดิมของเราที่จำได้ใช้ความอคติตัดสินผู้อื่นหรือเหตุการณ์ต่างๆ ตามความเชื่อของตนเอง ซึ่งไม่มีมูลความจริง
จากโพสต์หนึ่งในเฟซบุ๊ก หัวข้อ “เทคนิคในการจัดการชีวิต (Life Hack)” ได้แบ่งผู้เข้ามาอาศัยในศีรษะเราโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่จ่ายค่าเช่าด้วยนะ..สร้างความคิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่เป็นชิ้นเป็นอันไม่เกิดผลดี
1. ผู้วิจารณ์ภายใน (The Inner Critic) คำพูดของผู้อื่น ความคาดหวังของตนเองและของผู้อื่น การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
2. ผู้กลุ้มใจ (The Worrier) อยู่ในโลกอนาคต เขาพร่ำบอกเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำอย่างไร ให้เราเกิดความรู้สึกกลัว ซึ่งบ่อยครั้งไม่มีเหตุผลและไม่มีมูลความจริง บางครั้งบางคราวขุดประสบการณ์ในอดีตและบอกเราว่ามันจะเกิดขึ้นอีก
3. ผู้สร้างปัญหา (The Trouble Maker)สร้างแรงดลใจที่เลวร้ายซึ่งถูกควบคุมโดยอดีต ทำให้เกิดความโกรธ ขัดข้องใจ และความเจ็บปวด จากบาดแผลใจในอดีตที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา
4. ผู้นอนหลับไม่เพียงพอ (The Sleep Depriver) ทำให้มีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ เกิดความสงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ รู้สึกไม่มั่นใจ และวิตกกังวลไปทั่ว
ขออนุญาตอัญเชิญพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับการตั้งสติ รู้ตัว และมีปัญญา เป็นพื้นฐานของความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต พระราชทานในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ความตอนหนึ่งว่า
“...ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กัน ด้วยความปรารถนาดี... กับทั้งขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คนให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคน ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัวและปัญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา... กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใกล้ ไกล ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมทำให้แต่ละคน เล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้นและสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผล เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืนทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม...”
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาพิจารณาก่อนตัดสินใจเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งพระราชทานในพิธีถวายปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยวิลเลียมส์ ณ วิลเลียมทาวน์ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ความตอนหนึ่งว่า
“...โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ฉะนั้น ก่อนที่จะปักใจเชื่ออะไรลงไปควรพิจารณาดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อน แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงแนะให้ใช้สติ และปัญญาศึกษาค้นคว้าและไตร่ตรองให้แน่ว่า คำสั่งสอนนั้นเป็นความจริงที่เชื่อได้หรือไม่ ไม่ให้สักแต่ว่าเชื่อเพราะว่ามีผู้รู้บัญญัติไว้...”
“เชิญคุณลงทัณฑ์บัญชา จนสมอุราจนสาแก่ใจไม่มีวันที่ฉันจะร้องไห้ ร่ำไรเพราะฉันมิใช่หญิงเจ้าน้ำตา” คำร้องท่อนกลางของเพลงจำเลยรัก สื่อถึงการใช้ “สติ” ควบคุมอารมณ์และจัดการกับอารมณ์ตนเอง เพราะไม่ว่าอารมณ์ทุกข์หรือสุข จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ มีพฤติกรรมและความรู้สึกตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น การมีสติทำให้รู้เท่าทันอารมณ์และความคิดของตนเองสามารถไตร่ตรองและเกิดความคิดในการหาทางออกของปัญหาหรือสถานการณ์ ใช้ทักษะในการสังเกต วิเคราะห์ สร้างทางเลือก และประเมินทางเลือก เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบอย่างเหมาะสม
นอกจากสติที่ต้องอยู่กับเราทุกที่ ทุกโอกาสแล้ว “อารมณ์ขัน” (Sense of Humor) นั้นสำคัญเช่นกัน ต้องพาไปด้วยก่อนออกจากบ้าน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในทุกสถานการณ์ จิตแพทย์ท่านหนึ่งได้วางแก้วน้ำที่มีน้ำครึ่งแก้ว ตรงหน้าคนไข้ของเขา เพื่อทดสอบว่าคนไข้เป็นคนมองโลกในแง่ดี หรือมองโลกในแง่ร้าย คนไข้ยกแก้วน้ำและดื่มน้ำจนหมดแก้ว เขาบอกจิตแพทย์ว่า “I am a problem solver.” ผมเป็นนักแก้ปัญหาครับ 555
ข้อมูล http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9500000144244 ความเป็นมาของเพลงจำเลยรัก
http://bit.ly/2qRabJn “จำเลยรัก” https://litemind.com/thinking-traps/
เรื่องย่อจำเลยรัก “หฤษฎ์ ลูกชายคนโตของนักธุรกิจทางภาคใต้ นักเรียนนอกที่ต้องกลับมาแบกรับภาระในการเลี้ยงดูน้องชายแทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตกะทันหัน บุกเบิกธุรกิจฟาร์มไข่มุกจนประสบความสำเร็จ เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ต่อมาน้องชาย, หรินเสียชีวิต ทำให้หฤษฎ์โกรธแค้นหญิงสาวต้นเหตุ ถึงกับตามล่าจับตัวมาเพื่อลงโทษให้หายแค้น โดยไม่รู้ว่าที่แท้เขาจับมาผิดคน...” ในโลกความจริง มีหลายคนที่ตอบสนองต่อปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ในภาวะหุนหันพลันแล่นคล้ายกับหฤษฎ์ มีคำคมฝรั่งที่น่าสนใจ “Your problem is not the problem, your reaction is the problem” ~ Unknown/ปัญหาของคุณไม่ใช่ปัญหา การตอบสนองต่อปัญหาคือปัญหาของคุณ ~ ไม่ทราบผู้กล่าว”
เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) ที่กระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น การพูดหรือการกระทำโดยไม่คิดก่อน เพราะอารมณ์โกรธกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมโดยกะทันหัน ขออนุญาตนำข้อความจากบทความในคอลัมน์ "สำนัก(ข่าว) พระพะยอม” หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้รายวัน ประจำวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2556 “....จึงมีคาถาที่ว่า โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่า จะได้ไม่บ้าไม่โง่ โกรธเขาเท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง อาการที่โกรธเลยทำให้คนที่มีเกียรติทำอะไรที่ถูกรังเกียจ ถูกติเตียนได้หมด”
เป็นธรรมดาที่เรารู้สึกขัดข้องใจ เสียใจ เหี่ยวเฉาหมดสิ้นกำลังใจ เมื่อต้องเจอกับความผิดหวัง สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การพลัดพรากจากกัน การงานมีปัญหา และความเจ็บป่วย เราจมอยู่ในความทุกข์ มองโลกในแง่ร้าย นั่นหมายความว่าเรากำลังติดกับดักทางความคิด (Thinking Traps) จนถอนตัวไม่ได้ มีความคิดที่ไม่เอื้อประโยชน์ ขวางกั้นไม่ให้เห็นโลกตามจริง และทำให้ทัศนคติของเราแคบลงกับดักทางความคิด (Thinking Traps) เป็นการวิเคราะห์ทางจิตวิทยา ในทางพุทธศาสนาสอนว่า อคติเป็นปัจจัยของความผิดพลาดในกระบวนการคิด และการตัดสินใจ ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น
ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดอคติ คือ 1. ฉันทาคติ - เพราะชอบพอ 2. โทสาคติ- เพราะโกรธหรือเกลียด 3. โมหาคติ– เพราะความหลง เขลา เบาปัญญา 4. ภยาคติ– เพราะความกลัว
เข้าใจหฤษฎ์-จำเลยรัก กันแล้วนะว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น
ต่อไปนี้เป็นประเภทของกับดักทางความคิด (Thinking Traps) ที่พบได้ทั่วไป
1. ขาวกับดำ (Black and White Thinking) All or Nothingหรือ “Black and White” “ถ้าไม่ได้ทั้งหมด ก็ไม่ได้อะไรเลย หรือขาวกับดำ” ถ้าไม่สมบูรณ์แบบ ก็คือย่ำแย่ที่สุด มีความคิดแบบจัดหนัก สุดโต่ง ขาดความยืดหยุ่น มองชีวิตหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมี 2 ขั้วเท่านั้น ขั้วหนึ่งดีเลิศ อีกขั้วหนึ่งหายนะ
2. การยืนยัน (The Confirmation) Seeing what you want to see. “เห็นในสิ่งที่ต้องการเห็น” เช่น เรารู้สึกว่าตลาดหุ้นตก และถึงเวลาต้องขายหุ้น เพื่อทำให้มั่นใจยิ่งขึ้นในลางสังหรณ์ของตนเองจึงโทร.หาเพื่อนที่เพิ่งขายหุ้นทั้งหมด เพื่อสอบถามเหตุผล แต่บางคนหาหมอดูแนะนำฉันด้วยเถอะค่ะ ว่าจะขายหุ้นดีไหม
3. การคล้อยตาม (The Conformity) Everybody else is doing it. “ใคร ๆ เขาก็ทำกัน เกิดจาก “สัญชาตญาณฝูง” (Herd Instinct) มีในทุกคน ซึ่งจะทำให้แต่ละคนรู้สึกว่าตัวเองกำลังกระทำสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อกระทำสิ่งเดียวกันกับคนอื่น ๆ แม้ว่าเรารู้สึกรังเกียจที่จะยอมรับมัน แต่ด้วยสัญชาติการเอาตัวรอด กระตุ้นให้เราต้องคล้อยตาม เช่น ในห้องเรียน หรือในที่ประชุม ใครยกมือแสดงความเห็นด้วย ก็จะมีคนอื่นๆ ยกมือตาม
กับดักการคล้อยตาม (The Conformity) มีผลที่สืบเนื่องต่อตนเอง ผู้อื่น กลุ่ม ชุมชน และประเทศชาติ
4. ด่วนสรุป (Jumping to Conclusions) Interpreting things negatively. การตีความหมายสิ่งต่างๆ ในด้านลบ คาดการณ์เองด้วยหลักฐานเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย จากประสบการณ์เดิมของเราที่จำได้ใช้ความอคติตัดสินผู้อื่นหรือเหตุการณ์ต่างๆ ตามความเชื่อของตนเอง ซึ่งไม่มีมูลความจริง
จากโพสต์หนึ่งในเฟซบุ๊ก หัวข้อ “เทคนิคในการจัดการชีวิต (Life Hack)” ได้แบ่งผู้เข้ามาอาศัยในศีรษะเราโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่จ่ายค่าเช่าด้วยนะ..สร้างความคิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่เป็นชิ้นเป็นอันไม่เกิดผลดี
1. ผู้วิจารณ์ภายใน (The Inner Critic) คำพูดของผู้อื่น ความคาดหวังของตนเองและของผู้อื่น การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
2. ผู้กลุ้มใจ (The Worrier) อยู่ในโลกอนาคต เขาพร่ำบอกเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำอย่างไร ให้เราเกิดความรู้สึกกลัว ซึ่งบ่อยครั้งไม่มีเหตุผลและไม่มีมูลความจริง บางครั้งบางคราวขุดประสบการณ์ในอดีตและบอกเราว่ามันจะเกิดขึ้นอีก
3. ผู้สร้างปัญหา (The Trouble Maker)สร้างแรงดลใจที่เลวร้ายซึ่งถูกควบคุมโดยอดีต ทำให้เกิดความโกรธ ขัดข้องใจ และความเจ็บปวด จากบาดแผลใจในอดีตที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา
4. ผู้นอนหลับไม่เพียงพอ (The Sleep Depriver) ทำให้มีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ เกิดความสงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ รู้สึกไม่มั่นใจ และวิตกกังวลไปทั่ว
ขออนุญาตอัญเชิญพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับการตั้งสติ รู้ตัว และมีปัญญา เป็นพื้นฐานของความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต พระราชทานในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ความตอนหนึ่งว่า
“...ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กัน ด้วยความปรารถนาดี... กับทั้งขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คนให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคน ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัวและปัญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา... กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใกล้ ไกล ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมทำให้แต่ละคน เล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้นและสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผล เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืนทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม...”
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาพิจารณาก่อนตัดสินใจเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งพระราชทานในพิธีถวายปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยวิลเลียมส์ ณ วิลเลียมทาวน์ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ความตอนหนึ่งว่า
“...โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ฉะนั้น ก่อนที่จะปักใจเชื่ออะไรลงไปควรพิจารณาดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อน แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงแนะให้ใช้สติ และปัญญาศึกษาค้นคว้าและไตร่ตรองให้แน่ว่า คำสั่งสอนนั้นเป็นความจริงที่เชื่อได้หรือไม่ ไม่ให้สักแต่ว่าเชื่อเพราะว่ามีผู้รู้บัญญัติไว้...”
“เชิญคุณลงทัณฑ์บัญชา จนสมอุราจนสาแก่ใจไม่มีวันที่ฉันจะร้องไห้ ร่ำไรเพราะฉันมิใช่หญิงเจ้าน้ำตา” คำร้องท่อนกลางของเพลงจำเลยรัก สื่อถึงการใช้ “สติ” ควบคุมอารมณ์และจัดการกับอารมณ์ตนเอง เพราะไม่ว่าอารมณ์ทุกข์หรือสุข จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ มีพฤติกรรมและความรู้สึกตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น การมีสติทำให้รู้เท่าทันอารมณ์และความคิดของตนเองสามารถไตร่ตรองและเกิดความคิดในการหาทางออกของปัญหาหรือสถานการณ์ ใช้ทักษะในการสังเกต วิเคราะห์ สร้างทางเลือก และประเมินทางเลือก เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบอย่างเหมาะสม
นอกจากสติที่ต้องอยู่กับเราทุกที่ ทุกโอกาสแล้ว “อารมณ์ขัน” (Sense of Humor) นั้นสำคัญเช่นกัน ต้องพาไปด้วยก่อนออกจากบ้าน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในทุกสถานการณ์ จิตแพทย์ท่านหนึ่งได้วางแก้วน้ำที่มีน้ำครึ่งแก้ว ตรงหน้าคนไข้ของเขา เพื่อทดสอบว่าคนไข้เป็นคนมองโลกในแง่ดี หรือมองโลกในแง่ร้าย คนไข้ยกแก้วน้ำและดื่มน้ำจนหมดแก้ว เขาบอกจิตแพทย์ว่า “I am a problem solver.” ผมเป็นนักแก้ปัญหาครับ 555
ข้อมูล http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9500000144244 ความเป็นมาของเพลงจำเลยรัก
http://bit.ly/2qRabJn “จำเลยรัก” https://litemind.com/thinking-traps/