นายเสรี สุวรรณภานนท์ ปธ.กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง กล่าวถึงแนวคิดของนายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสปท.ที่เสนอให้พรรคประชาธิปัตย์-กปปส. และคสช. ร่วมกันต้านระบอบทักษิณ ว่า ปัญหาความแตกแยกที่ผ่านมานั้น มาจากการยึดตัวบุคคล และแบ่งฝ่ายกัน แต่การแก้ปัญหาประเทศ คือการปฏิรูปการเมือง ตั้งแต่การได้มาซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนการใช้ และการตรวจสอบอำนาจรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเป็นไปตามที่รธน. และกม.ประกอบรธน.กำหนดไว้ แต่การจะให้พรรคการเมืองใหญ่จับมือกัน อาจจะเกิดผลเสียในทางที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ จนนำมาซึ่งเผด็จการรัฐสภา
"ส่วนตัวไม่ได้คิดต่อต้าน หรือขัดแย้งใคร เพราะพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองโดยตลอด สุดท้ายการเลือกตั้ง ประชาชนจะเป็นผู้กำหนด เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งตลอดเวลา และไม่เป็นผลดีโดยรวม แต่ก็ย้ำด้วยว่าในรธน.เอง ก็กำหนดให้ ส.ว. เป็นตัวคานอำนาจ ที่จะไม่ปล่อยให้ระบบที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดขับเคลื่อนไปด้วยตัวเองทั้งหมด"
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคปชป. กล่าวว่า เป็นเรื่องที่แต่ละองค์กรพิจารณาดำเนินการ เพราะอาจมีความเห็นร่วมกันบางประเด็น และต่างกันบางประเด็น ดังนั้นแต่ละองค์กรสามารถดำเนินการในจุดยืนของตนเองที่เป็นอิสระ อะไรที่เห็นพ้องร่วมกันก็ดำเนินการร่วมกัน แต่อะไรที่เห็นต่างกัน ก็ดำเนินการไปตามจุดยืนแต่ละองค์กร ส่วนระหว่างพรรคปชป. กับ กปปส. ก็มีความเป็นเอกภาพเช่นเดิม เพราะกปปส. ก็เป็นสมาชิกพรรคอยู่แล้ว และกลับมาทำงานทางการเมือง
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคปชป. ก็ย้ำจุดยืนของปชป. และ กปปส. ที่ต่อต้านระบอบทักษิณเหมือนกัน ส่วน คสช.คิดอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่สามารถตอบแทนได้ ส่วนตัวแล้วก็เห็นด้วยหากจะมีการรวมกันสู้กับระบอบทักษิณ ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะหลักการต้องเป็นไปตามรธน. ตนในฐานะสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันตามหลักการประชาธิปไตย ที่จะสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ในอนาคตหลังผลการเลือกตั้งออกแล้ว นอกจากส.ส.แล้ว ก็มีเงื่อนไขที่ให้ ส.ว.ร่วมลงมติ เลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่า เกมการเมืองในขณะนั้น จะมีการเสนอนายกรัฐมนตรีคนนอกมา หรือไม่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น พรรคก็ต้องมีการประชุมใหญ่อีกครั้ง
"ส่วนตัวไม่ได้คิดต่อต้าน หรือขัดแย้งใคร เพราะพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองโดยตลอด สุดท้ายการเลือกตั้ง ประชาชนจะเป็นผู้กำหนด เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งตลอดเวลา และไม่เป็นผลดีโดยรวม แต่ก็ย้ำด้วยว่าในรธน.เอง ก็กำหนดให้ ส.ว. เป็นตัวคานอำนาจ ที่จะไม่ปล่อยให้ระบบที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดขับเคลื่อนไปด้วยตัวเองทั้งหมด"
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคปชป. กล่าวว่า เป็นเรื่องที่แต่ละองค์กรพิจารณาดำเนินการ เพราะอาจมีความเห็นร่วมกันบางประเด็น และต่างกันบางประเด็น ดังนั้นแต่ละองค์กรสามารถดำเนินการในจุดยืนของตนเองที่เป็นอิสระ อะไรที่เห็นพ้องร่วมกันก็ดำเนินการร่วมกัน แต่อะไรที่เห็นต่างกัน ก็ดำเนินการไปตามจุดยืนแต่ละองค์กร ส่วนระหว่างพรรคปชป. กับ กปปส. ก็มีความเป็นเอกภาพเช่นเดิม เพราะกปปส. ก็เป็นสมาชิกพรรคอยู่แล้ว และกลับมาทำงานทางการเมือง
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคปชป. ก็ย้ำจุดยืนของปชป. และ กปปส. ที่ต่อต้านระบอบทักษิณเหมือนกัน ส่วน คสช.คิดอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่สามารถตอบแทนได้ ส่วนตัวแล้วก็เห็นด้วยหากจะมีการรวมกันสู้กับระบอบทักษิณ ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะหลักการต้องเป็นไปตามรธน. ตนในฐานะสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันตามหลักการประชาธิปไตย ที่จะสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ในอนาคตหลังผลการเลือกตั้งออกแล้ว นอกจากส.ส.แล้ว ก็มีเงื่อนไขที่ให้ ส.ว.ร่วมลงมติ เลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่า เกมการเมืองในขณะนั้น จะมีการเสนอนายกรัฐมนตรีคนนอกมา หรือไม่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น พรรคก็ต้องมีการประชุมใหญ่อีกครั้ง