คำว่า สังคายนา อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ให้คำอธิบายว่า
“การสังคายนานั้น แปลตามรูปศัพท์ว่าร้อยกรอง คือการประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวจนะแล้วรับทราบทั่วกันในที่ประชุมนั้น ว่าตกลงกันอย่างนี้แล้วมีการท่องจำสืบต่อๆ กันมา ในชั้นเดิมสังคายนาปรารภเหตุความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา จึงจัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวจนะไว้
ในครั้งต่อๆ มาปรากฏมีการถือผิด ตีความหมายผิด ก็มีการชำระวินิจฉัยข้อที่ถือผิด ตีความหมายผิดนั้นชี้ขาดว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไร แล้วก็ทำสังคายนาโดยการทบทวนระเบียบเดิมบ้าง เพิ่มเติมของใหม่ ทำนองบันทึกเหตุการณ์บ้าง จัดระเบียนใหม่ในบางข้อบ้าง ในชั้นหลังๆ แม้เพียงการจารึกลงใบลานการสอบทานข้อผิดใบลานก็เรียกว่า สังคายนา ไม่จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ถือผิด เข้าใจผิดเกิดขึ้น”
คำว่า ปฏิรูป แปลตามตัวอักษรว่า ปรับรูปแบบให้ดีขึ้น ชัดเจนขึ้น และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
คำว่า ปฏิรูป เป็นภาษามคธและตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Reform ซึ่ง Oxford World Power Dictionary ได้ให้ความหมายว่า การเปลี่ยนระบบกฎหมาย เป็นต้น เพื่อให้ดีขึ้น (To Change a System the Low etc. in order to make if Better)
จากนัยแห่งความหมายของคำว่า สังคายนา ก็ดี ของคำว่า ปฏิรูป ก็ดี จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับแนวทางเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในขณะนี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในเวลานี้วงการสงฆ์ไทยนิกายเถรวาท มีความประพฤติย่อหย่อนทางด้านวินัย จะเห็นได้จากการเที่ยวเตร่ในสถานที่อโคจร ฉันอาหารในยามวิกาลคือหลังเที่ยงวันไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถึงแม้จะเป็นอาบัติเล็กน้อย แต่ก็เป็นโลกวัชชะคือโลกติเตียนเป็นเหตุให้ผู้ที่พบเห็นเสื่อมศรัทธา
แต่ที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ ต้องอาบัติหนักที่เรียกว่าครุกาบัติอันได้แก่ปาราชิก และสังฆาทิเสส จะเห็นได้จากพระภิกษุที่ทำตัวเป็นผู้วิเศษ อวดอ้างว่าตนเองบรรลุธรรมขั้นสูง เพื่อหวังให้คนศรัทธาอันเป็นที่มาของลาภสักการะ ดังเช่นพระธัมมชโยแห่งวัดพระธรรมกาย และพระคึกฤทธิ์แห่งวัดนาป่าพง เป็นต้น
พระภิกษุในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากว่าพระประเภทนี้ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากชาวพุทธประเภทศรัทธาอาศัย คือหวังจะได้สิ่งตอบแทนเป็นรูปธรรมจากการทำบุญ และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้มีอิทธิพล โดยอาศัยเพศภาวะของนักบวชซึ่งมีอยู่ดาษดื่นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้ และพระประเภทนี้เองที่ทำตัวอยู่เหนือพระวินัย และไม่ใส่ใจต่อกฎหมายบ้านเมืองด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่จะมีการทำสังคายนาเพื่อชำระสะสางสิ่งปนเปื้อนให้หมดไปจากพระธรรมวินัย
2. เมื่อภิกษุซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท 4 ไม่เคารพพระธรรมวินัย ด้วยการล่วงละเมิดจะด้วยความเข้าใจผิด หรือรู้แล้วแต่ยังดื้อแพ่งกระทำเพื่อแลกกับลาภสักการะ อันจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสงฆ์ฝ่ายปกครอง โดยมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้คอยกำกับดูแล
แต่เท่าที่ผ่านมา องค์กรปกครองสงฆ์มิได้ดำเนินการใดๆ อย่างจริงจังกับผู้กระทำผิด ดังจะเห็นได้จากกรณีของพระธัมมชโยเป็นตัวอย่าง
ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลในฐานะผู้ปกครองประเทศ จะต้องดำเนินการปกป้องพระพุทธศาสนา โดยการจัดให้มีการปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ควบคู่ไปกับการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จะทำสังคายนาและปฏิรูปอย่างไร และใครควรจะเป็นผู้ดำเนินการ
เกี่ยวกับประเด็นแห่งคำถามนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนา ก็จะพบว่า ทั้งฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรร่วมมือกัน โดยที่ฝ่ายสงฆ์เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการและความอุปถัมภ์จากฝ่ายอาณาจักร
แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในประเทศไทยในขณะนี้แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าทางฝ่ายอาณาจักรควรจะเป็นผู้ริเริ่มโดยขอความร่วมมือจากฝ่ายศาสนจักร ซึ่งน่าจะดำเนินการทั้งทำสังคายนาพระธรรมวินัย และปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาครัฐอันได้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมการศาสนา รวมไปถึงองค์กรพุทธในภาคเอกชนซึ่งตั้งขึ้นในรูปของศูนย์และมูลนิธิต่างๆ โดยดำเนินการควบคู่กันไปดังนี้
สังคายนาพระธรรมวินัย ที่จะดำเนินการมีรูปแบบเหมือนกัน การทำสังคายนาครั้งที่ 2 และ 3 โดยที่สังคายนาทั้ง 2 ครั้งมีรูปแบบดังนี้
การทำสังคายนาครั้งที่ 2 มีเหตุมาจากภิกษุวัชชีบุตร ปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย 10 ประการเช่นถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้วควรฉันอาหารได้ ควรรับเงินและทองได้ เป็นต้น ซึ่งลักษณะเดียวกับที่ภิกษุในวงการสงฆ์ไทยประพฤติกันอยู่อย่างดาษดื่นในปัจจุบัน
การทำสังคายนาครั้งที่ 3 เกิดจากพวกเดียรถีย์ (นักบวชจากศาสนาอื่นๆ) มาปลอมบวชแล้วแสดงลัทธิศาสนา และความคิดเห็นว่าเป็นของพระพุทธองค์ พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ ได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ชำระสอบสวนกำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นจากพระธรรมวินัย แล้วจึงทำการสังคายนาพระธรรมวินัย
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมในทำนองนี้ได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในวงการสงฆ์ไทยนิกายเถรวาท ซึ่งจะสังเกตได้จากพฤติกรรมการสอนของบรรดาเจ้าสำนักหลายแห่ง แต่ที่เด่นชัดเป็นรูปธรรมก็คื อ สำนักแห่งวัดพระธรรมกาย และสำนักวัดนาป่าพง และพฤติกรรมที่ว่านี้ได้แพร่หลายจนมีคนหลงเชื่อ และกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนศาสนาพุทธนิกายเถรวาทไปแล้ว แต่ทางฝ่ายศาสนจักรมิได้ดำเนินการใดๆ ที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นการสอนผิด และดำเนินการให้ยุติการสอนโดยเด็ดขาด จะมีอยู่บ้างก็เป็นเพียงปัจเจก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพรหมคุณาภรณ์ และท่านว.วชิรเมธี ได้ออกมาตอบโต้และชี้ให้เห็นว่าเป็นการสอนที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อทางฝ่ายสงฆ์มิได้ดำเนินการ จะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทางฝ่ายอาณาจักรโดยรัฐมนตรีผู้บริหารประเทศ และมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องพระพุทธศาสนา ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่จะประกาศใช้ในเร็วๆ นี้มาตรา 67 ที่กำหนดให้รัฐต้องปกป้องพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ควรจะจัดให้ฝ่ายสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการทำสังคายนาพระธรรมวินัย และรัฐบาลเองควรจะได้ดำเนินการปฏิรูปองค์กรในภาครัฐ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้มีศักยภาพในการปกป้องพระพุทธศาสนาให้มากกว่าที่เป็นอยู่
“การสังคายนานั้น แปลตามรูปศัพท์ว่าร้อยกรอง คือการประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวจนะแล้วรับทราบทั่วกันในที่ประชุมนั้น ว่าตกลงกันอย่างนี้แล้วมีการท่องจำสืบต่อๆ กันมา ในชั้นเดิมสังคายนาปรารภเหตุความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา จึงจัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวจนะไว้
ในครั้งต่อๆ มาปรากฏมีการถือผิด ตีความหมายผิด ก็มีการชำระวินิจฉัยข้อที่ถือผิด ตีความหมายผิดนั้นชี้ขาดว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไร แล้วก็ทำสังคายนาโดยการทบทวนระเบียบเดิมบ้าง เพิ่มเติมของใหม่ ทำนองบันทึกเหตุการณ์บ้าง จัดระเบียนใหม่ในบางข้อบ้าง ในชั้นหลังๆ แม้เพียงการจารึกลงใบลานการสอบทานข้อผิดใบลานก็เรียกว่า สังคายนา ไม่จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ถือผิด เข้าใจผิดเกิดขึ้น”
คำว่า ปฏิรูป แปลตามตัวอักษรว่า ปรับรูปแบบให้ดีขึ้น ชัดเจนขึ้น และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
คำว่า ปฏิรูป เป็นภาษามคธและตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Reform ซึ่ง Oxford World Power Dictionary ได้ให้ความหมายว่า การเปลี่ยนระบบกฎหมาย เป็นต้น เพื่อให้ดีขึ้น (To Change a System the Low etc. in order to make if Better)
จากนัยแห่งความหมายของคำว่า สังคายนา ก็ดี ของคำว่า ปฏิรูป ก็ดี จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับแนวทางเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในขณะนี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในเวลานี้วงการสงฆ์ไทยนิกายเถรวาท มีความประพฤติย่อหย่อนทางด้านวินัย จะเห็นได้จากการเที่ยวเตร่ในสถานที่อโคจร ฉันอาหารในยามวิกาลคือหลังเที่ยงวันไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถึงแม้จะเป็นอาบัติเล็กน้อย แต่ก็เป็นโลกวัชชะคือโลกติเตียนเป็นเหตุให้ผู้ที่พบเห็นเสื่อมศรัทธา
แต่ที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ ต้องอาบัติหนักที่เรียกว่าครุกาบัติอันได้แก่ปาราชิก และสังฆาทิเสส จะเห็นได้จากพระภิกษุที่ทำตัวเป็นผู้วิเศษ อวดอ้างว่าตนเองบรรลุธรรมขั้นสูง เพื่อหวังให้คนศรัทธาอันเป็นที่มาของลาภสักการะ ดังเช่นพระธัมมชโยแห่งวัดพระธรรมกาย และพระคึกฤทธิ์แห่งวัดนาป่าพง เป็นต้น
พระภิกษุในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากว่าพระประเภทนี้ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากชาวพุทธประเภทศรัทธาอาศัย คือหวังจะได้สิ่งตอบแทนเป็นรูปธรรมจากการทำบุญ และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้มีอิทธิพล โดยอาศัยเพศภาวะของนักบวชซึ่งมีอยู่ดาษดื่นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้ และพระประเภทนี้เองที่ทำตัวอยู่เหนือพระวินัย และไม่ใส่ใจต่อกฎหมายบ้านเมืองด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่จะมีการทำสังคายนาเพื่อชำระสะสางสิ่งปนเปื้อนให้หมดไปจากพระธรรมวินัย
2. เมื่อภิกษุซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท 4 ไม่เคารพพระธรรมวินัย ด้วยการล่วงละเมิดจะด้วยความเข้าใจผิด หรือรู้แล้วแต่ยังดื้อแพ่งกระทำเพื่อแลกกับลาภสักการะ อันจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสงฆ์ฝ่ายปกครอง โดยมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้คอยกำกับดูแล
แต่เท่าที่ผ่านมา องค์กรปกครองสงฆ์มิได้ดำเนินการใดๆ อย่างจริงจังกับผู้กระทำผิด ดังจะเห็นได้จากกรณีของพระธัมมชโยเป็นตัวอย่าง
ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลในฐานะผู้ปกครองประเทศ จะต้องดำเนินการปกป้องพระพุทธศาสนา โดยการจัดให้มีการปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ควบคู่ไปกับการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จะทำสังคายนาและปฏิรูปอย่างไร และใครควรจะเป็นผู้ดำเนินการ
เกี่ยวกับประเด็นแห่งคำถามนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนา ก็จะพบว่า ทั้งฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรร่วมมือกัน โดยที่ฝ่ายสงฆ์เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการและความอุปถัมภ์จากฝ่ายอาณาจักร
แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในประเทศไทยในขณะนี้แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าทางฝ่ายอาณาจักรควรจะเป็นผู้ริเริ่มโดยขอความร่วมมือจากฝ่ายศาสนจักร ซึ่งน่าจะดำเนินการทั้งทำสังคายนาพระธรรมวินัย และปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาครัฐอันได้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมการศาสนา รวมไปถึงองค์กรพุทธในภาคเอกชนซึ่งตั้งขึ้นในรูปของศูนย์และมูลนิธิต่างๆ โดยดำเนินการควบคู่กันไปดังนี้
สังคายนาพระธรรมวินัย ที่จะดำเนินการมีรูปแบบเหมือนกัน การทำสังคายนาครั้งที่ 2 และ 3 โดยที่สังคายนาทั้ง 2 ครั้งมีรูปแบบดังนี้
การทำสังคายนาครั้งที่ 2 มีเหตุมาจากภิกษุวัชชีบุตร ปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย 10 ประการเช่นถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้วควรฉันอาหารได้ ควรรับเงินและทองได้ เป็นต้น ซึ่งลักษณะเดียวกับที่ภิกษุในวงการสงฆ์ไทยประพฤติกันอยู่อย่างดาษดื่นในปัจจุบัน
การทำสังคายนาครั้งที่ 3 เกิดจากพวกเดียรถีย์ (นักบวชจากศาสนาอื่นๆ) มาปลอมบวชแล้วแสดงลัทธิศาสนา และความคิดเห็นว่าเป็นของพระพุทธองค์ พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ ได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ชำระสอบสวนกำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นจากพระธรรมวินัย แล้วจึงทำการสังคายนาพระธรรมวินัย
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมในทำนองนี้ได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในวงการสงฆ์ไทยนิกายเถรวาท ซึ่งจะสังเกตได้จากพฤติกรรมการสอนของบรรดาเจ้าสำนักหลายแห่ง แต่ที่เด่นชัดเป็นรูปธรรมก็คื อ สำนักแห่งวัดพระธรรมกาย และสำนักวัดนาป่าพง และพฤติกรรมที่ว่านี้ได้แพร่หลายจนมีคนหลงเชื่อ และกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนศาสนาพุทธนิกายเถรวาทไปแล้ว แต่ทางฝ่ายศาสนจักรมิได้ดำเนินการใดๆ ที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นการสอนผิด และดำเนินการให้ยุติการสอนโดยเด็ดขาด จะมีอยู่บ้างก็เป็นเพียงปัจเจก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพรหมคุณาภรณ์ และท่านว.วชิรเมธี ได้ออกมาตอบโต้และชี้ให้เห็นว่าเป็นการสอนที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อทางฝ่ายสงฆ์มิได้ดำเนินการ จะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทางฝ่ายอาณาจักรโดยรัฐมนตรีผู้บริหารประเทศ และมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องพระพุทธศาสนา ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่จะประกาศใช้ในเร็วๆ นี้มาตรา 67 ที่กำหนดให้รัฐต้องปกป้องพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ควรจะจัดให้ฝ่ายสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการทำสังคายนาพระธรรมวินัย และรัฐบาลเองควรจะได้ดำเนินการปฏิรูปองค์กรในภาครัฐ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้มีศักยภาพในการปกป้องพระพุทธศาสนาให้มากกว่าที่เป็นอยู่