การประกาศนโยบายของรัฐบาลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์แห่งภูมิภาคเอเชียหรือ “เมดิคัล ฮับ” ตั้งเป้าดึงคนไข้ชาวต่างประเทศเข้ามารักษาตัวไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ล้านคน ....
นโยบายข้างต้นสร้างชื่อเสียงให้กับวงการแพทย์ไทยและธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน สามารถทำรายได้หลักแสนล้านบาท หากมองผิวเผินนโยบายนี้เป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงรายได้ที่เข้ามานั้นส่วนใหญ่ตกอยู่ในกระเป๋าเงินของนายทุนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น นายทุนเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ใช้วิธีการนำโรงพยาบาลเอกชนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และขยายกิจการด้วยการทยอยซื้อโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ค่ารักษาพยาบาลที่ในอดีตจะแพงเฉพาะใน “โรงพยาบาลเอกชนที่เน้นกลุ่มคนไข้ชาวต่างชาติ” เพราะถือว่าชาวต่างชาติที่มารักษามีรายได้สูงกว่าหรือมีความสามารถในการจ่าย เพราะเปรียบเทียบกับค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศแล้ว ของไทยถูกกว่าร้อยละ 50 ส่วนกลุ่มลูกค้าคนไทยที่ชอบใช้บริการโรงพยาบาลประเภทนี้เป็นกลุ่มคนมีเงิน อยากได้บริการสะดวกสบายในทุกด้าน
แต่ในระยะหลังค่ารักษาพยาบาลใน“โรงพยาบาลเอกชนมาตรฐานระดับกลางหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก” ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนไทยด้วยกันเองปรับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมาก กลายเป็นราคาขยับสูงขึ้นใกล้กับโรงพยาบาลเอกชนมีชื่อเสียงขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหากับคนไทยทั่วไปที่รายได้ต่ำกว่าชาวต่างชาติ การขึ้นค่ารักษาพยาบาลของ รพ.เอกชนขนาดกลางและเล็กเหล่านี้ กำลังสร้างความเดือดร้อนให้คนไทยที่มีรายได้ปานกลางและไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพ
โดยเฉพาะช่วงภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง คนไข้กลุ่มนี้แทบแบกภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว เวลาไปหาหมอในโรงพยาบาลถ้าเป็นผู้ป่วยนอก คนไข้มากกว่า 1 ใน 3 จะขออนุญาตหมอไปซื้อยาเองที่ร้านขายยา เพราะถูกกว่าซื้อในโรงพยาบาลเอกชนเกือบครึ่ง แต่ถ้าป่วยหนักถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวนอนในโรงพยาบาลก็ขอย้ายไปใช้สิทธิของตนเองในโรงพยาบาลของรัฐ
สุดท้ายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือโรงพยาบาลของรัฐ ทำให้คนไข้ทุกคนต้องรอคิวรักษานานมากกว่าจะได้รับการตรวจ หรือรอคิวยาวนานกว่าจะมีเตียงหรือห้องเพื่อรับเข้านอนรักษา ยกเว้นคนที่มีเส้นสายเนื่องจากงบประมาณโรงพยาบาลของรัฐได้รับการจัดสรรมาในแต่ละปีนั้น ไม่เพียงพอสำหรับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
หากเปรียบเทียบกับระบบการศึกษา ที่ผ่านมาประเทศไทยเปิดให้มีการสร้างโรงเรียนนานาชาติสอนเด็กชาวต่างชาติ ถ้าผู้ปกครองเด็กไทยต้องการให้ลูกเข้าเรียนก็สามารถทำได้ แต่ต้องยอมรับว่าต้องจ่ายค่าเล่าเรียนแพงเหมือนเด็กชาวต่างชาติ ค่าเล่าเรียนนี้ราคาไล่เลี่ยกับโรงเรียนในอเมริกาและอังกฤษ ตามหลักการแล้วกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ควบคุมค่าเล่าเรียนของโรงเรียนนานาชาติ แต่โรงเรียนเอกชนที่สอนเฉพาะเด็กไทยไม่สามารถคิดค่าเล่าเรียนสูงได้เหมือนโรงเรียนนานาชาติเพราะกระทรวงศึกษาธิการจะให้เงินสนับสนุนบางส่วน ทำให้มีการกำหนดเพดานค่าเล่าเรียนไว้ไม่ให้สูงเกินไป ไม่เช่นนั้นคนไทยจะเดือดร้อน
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่จำเป็นต้องควบคุมโรงพยาบาลที่เน้นกลุ่มลูกค้าคนไข้ชาวต่างชาติเป็นหลัก สามารถปล่อยให้กำหนดค่ารักษาพยาบาลเองได้ แต่ต้องควบคุมโรงพยาบาลเอกชนที่มีรายได้หลักจากผู้ป่วยคนไทยที่มีรายได้ปานกลาง เพื่อให้มีทางเลือกสำหรับคนไทยบางกลุ่ม อาจใช้วิธีการตั้งเพดานค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าเอ็กซเรย์ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ค่าห้อง ค่าบริการในโรงพยาบาล และค่าวิชาชีพแพทย์ ไม่ใช่ปล่อยให้โรงพยาบาลเอกชนตั้งราคาอย่างเสรีปราศจากการควบคุม ปล่อยให้ขึ้นราคาเท่าไหร่ก็ได้
ตัวอย่างเช่น ยาตัวเดียวกันมี 2 ราคา ถ้านอนในโรงพยาบาลราคายาแพงกว่าถ้ารับยาแบบคนไข้นอก หรือปรับขึ้นราคายาโดยไม่คำนึงถึงราคาต้นทุน ยาบางอย่างต้นทุนแพงมาก เช่น 5 หมื่นบาท ถ้าปรับขึ้นอีกร้อยละ 30 จะมีผลกระทบต่อคนไข้มากกว่าถ้ายาราคา 50 บาทปรับขึ้น 2 เท่า การปรับราคาแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงรายได้ ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยและอื่นๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนที่เจ็บป่วยแล้วสุดท้ายยังต้องหมดตัว ครอบครัวเดือดร้อนอีก
โรงพยาบาลเอกชนที่รายได้หลักมาจากผู้ป่วยชาวไทย กำลังเน้นบริหารโรงพยาบาลเหมือนธุรกิจทั่วไป โดยไม่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและไม่ใช้เหตุผลในการปรับขึ้นราคา ควรคิดกำไรแค่พอสมควร มีหลักคุณธรรม ความเห็นอกเห็นใจและความเอื้ออาทรต่อคนไข้ แต่เน้นตั้งเป้ากำไรให้สูงขึ้นทุกปี เพื่อให้ราคาหุ้นหรือแบ่งเงินปันผลเพิ่มขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบมากเกินไป
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์
นโยบายข้างต้นสร้างชื่อเสียงให้กับวงการแพทย์ไทยและธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน สามารถทำรายได้หลักแสนล้านบาท หากมองผิวเผินนโยบายนี้เป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงรายได้ที่เข้ามานั้นส่วนใหญ่ตกอยู่ในกระเป๋าเงินของนายทุนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น นายทุนเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ใช้วิธีการนำโรงพยาบาลเอกชนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และขยายกิจการด้วยการทยอยซื้อโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ค่ารักษาพยาบาลที่ในอดีตจะแพงเฉพาะใน “โรงพยาบาลเอกชนที่เน้นกลุ่มคนไข้ชาวต่างชาติ” เพราะถือว่าชาวต่างชาติที่มารักษามีรายได้สูงกว่าหรือมีความสามารถในการจ่าย เพราะเปรียบเทียบกับค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศแล้ว ของไทยถูกกว่าร้อยละ 50 ส่วนกลุ่มลูกค้าคนไทยที่ชอบใช้บริการโรงพยาบาลประเภทนี้เป็นกลุ่มคนมีเงิน อยากได้บริการสะดวกสบายในทุกด้าน
แต่ในระยะหลังค่ารักษาพยาบาลใน“โรงพยาบาลเอกชนมาตรฐานระดับกลางหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก” ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนไทยด้วยกันเองปรับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมาก กลายเป็นราคาขยับสูงขึ้นใกล้กับโรงพยาบาลเอกชนมีชื่อเสียงขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหากับคนไทยทั่วไปที่รายได้ต่ำกว่าชาวต่างชาติ การขึ้นค่ารักษาพยาบาลของ รพ.เอกชนขนาดกลางและเล็กเหล่านี้ กำลังสร้างความเดือดร้อนให้คนไทยที่มีรายได้ปานกลางและไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพ
โดยเฉพาะช่วงภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง คนไข้กลุ่มนี้แทบแบกภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว เวลาไปหาหมอในโรงพยาบาลถ้าเป็นผู้ป่วยนอก คนไข้มากกว่า 1 ใน 3 จะขออนุญาตหมอไปซื้อยาเองที่ร้านขายยา เพราะถูกกว่าซื้อในโรงพยาบาลเอกชนเกือบครึ่ง แต่ถ้าป่วยหนักถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวนอนในโรงพยาบาลก็ขอย้ายไปใช้สิทธิของตนเองในโรงพยาบาลของรัฐ
สุดท้ายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือโรงพยาบาลของรัฐ ทำให้คนไข้ทุกคนต้องรอคิวรักษานานมากกว่าจะได้รับการตรวจ หรือรอคิวยาวนานกว่าจะมีเตียงหรือห้องเพื่อรับเข้านอนรักษา ยกเว้นคนที่มีเส้นสายเนื่องจากงบประมาณโรงพยาบาลของรัฐได้รับการจัดสรรมาในแต่ละปีนั้น ไม่เพียงพอสำหรับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
หากเปรียบเทียบกับระบบการศึกษา ที่ผ่านมาประเทศไทยเปิดให้มีการสร้างโรงเรียนนานาชาติสอนเด็กชาวต่างชาติ ถ้าผู้ปกครองเด็กไทยต้องการให้ลูกเข้าเรียนก็สามารถทำได้ แต่ต้องยอมรับว่าต้องจ่ายค่าเล่าเรียนแพงเหมือนเด็กชาวต่างชาติ ค่าเล่าเรียนนี้ราคาไล่เลี่ยกับโรงเรียนในอเมริกาและอังกฤษ ตามหลักการแล้วกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ควบคุมค่าเล่าเรียนของโรงเรียนนานาชาติ แต่โรงเรียนเอกชนที่สอนเฉพาะเด็กไทยไม่สามารถคิดค่าเล่าเรียนสูงได้เหมือนโรงเรียนนานาชาติเพราะกระทรวงศึกษาธิการจะให้เงินสนับสนุนบางส่วน ทำให้มีการกำหนดเพดานค่าเล่าเรียนไว้ไม่ให้สูงเกินไป ไม่เช่นนั้นคนไทยจะเดือดร้อน
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่จำเป็นต้องควบคุมโรงพยาบาลที่เน้นกลุ่มลูกค้าคนไข้ชาวต่างชาติเป็นหลัก สามารถปล่อยให้กำหนดค่ารักษาพยาบาลเองได้ แต่ต้องควบคุมโรงพยาบาลเอกชนที่มีรายได้หลักจากผู้ป่วยคนไทยที่มีรายได้ปานกลาง เพื่อให้มีทางเลือกสำหรับคนไทยบางกลุ่ม อาจใช้วิธีการตั้งเพดานค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าเอ็กซเรย์ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ค่าห้อง ค่าบริการในโรงพยาบาล และค่าวิชาชีพแพทย์ ไม่ใช่ปล่อยให้โรงพยาบาลเอกชนตั้งราคาอย่างเสรีปราศจากการควบคุม ปล่อยให้ขึ้นราคาเท่าไหร่ก็ได้
ตัวอย่างเช่น ยาตัวเดียวกันมี 2 ราคา ถ้านอนในโรงพยาบาลราคายาแพงกว่าถ้ารับยาแบบคนไข้นอก หรือปรับขึ้นราคายาโดยไม่คำนึงถึงราคาต้นทุน ยาบางอย่างต้นทุนแพงมาก เช่น 5 หมื่นบาท ถ้าปรับขึ้นอีกร้อยละ 30 จะมีผลกระทบต่อคนไข้มากกว่าถ้ายาราคา 50 บาทปรับขึ้น 2 เท่า การปรับราคาแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงรายได้ ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยและอื่นๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนที่เจ็บป่วยแล้วสุดท้ายยังต้องหมดตัว ครอบครัวเดือดร้อนอีก
โรงพยาบาลเอกชนที่รายได้หลักมาจากผู้ป่วยชาวไทย กำลังเน้นบริหารโรงพยาบาลเหมือนธุรกิจทั่วไป โดยไม่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและไม่ใช้เหตุผลในการปรับขึ้นราคา ควรคิดกำไรแค่พอสมควร มีหลักคุณธรรม ความเห็นอกเห็นใจและความเอื้ออาทรต่อคนไข้ แต่เน้นตั้งเป้ากำไรให้สูงขึ้นทุกปี เพื่อให้ราคาหุ้นหรือแบ่งเงินปันผลเพิ่มขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบมากเกินไป
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์