เราต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันโซเชียลออนไลน์ได้กลายเป็นเครื่องมือในการลงมติของสังคมไปโดยปริยาย โดยเฉพาะการแสดงออกผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊ก ราวกับว่า เฟซบุ๊กได้กลายเป็นศาลของสังคมที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กทุกคนเป็นผู้พิพากษา
ศาล “เฟซบุ๊ก” เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง การตัดสินคดีใช้ดุลพินิจ อารมณ์ความรู้สึก และข้อมูลที่มีของผู้ใช้เฟซบุ๊กไม่มีการสืบพยาน พิสูจน์หลักฐาน หาข้อเท็จจริง ไม่เปิดโอกาสให้จำเลยให้การเพื่อหักล้างข้อกล่าวหา บทกำหนดโทษไม่มีขอบเขต ไม่มีบทลดหย่อนผ่อนโทษ ไม่เปิดโอกาสให้กลับตัวเป็นคนดี ส่วนระยะเวลาในการกำหนดโทษแล้วแต่ความทรงจำของสังคม และสามารถรื้อฟื้นขึ้นมาได้ตลอดเวลา
ล่าสุด “ศาลเฟซบุ๊ก” เพิ่งเสร็จสิ้นคำพิพากษาทางสังคมไป 2 คดีนั่นก็คือ กรณีของ “น็อต กราบรถกู” และล่าสุดมาถึงกรณีของ “เบส อรพิมพ์” ผลคดีของน็อตนั้นสังคมมีมติไปทางเดียวกันว่า ให้ขับออกจากสังคม ส่วนกรณีของเบสนั้นเท่าที่สำรวจบรรดาผู้พิพากษาในโลกออนไลน์มีความเห็นไปสองทาง แต่น่าจะตัดสินให้เธอมีความผิดมากกว่าฝ่ายที่สนับสนุนการกระทำของเธอ
ก่อนหน้านี้ศาลเฟซบุ๊กก็ได้มีคำพิพากษาไปแล้วหลายคดี คนส่วนใหญ่เชื่อว่า มติที่แสดงออกร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ในความหมายที่เรียกกันว่า สังคมลงทัณฑ์หรือ Social Sanction
หลายคนบอกว่า การแสดงออกของสังคมเป็นสิ่งที่ดีทำให้คนที่ทำผิดไม่มีที่ยืนในสังคม บางคนพูดว่า ถ้าไม่อยากให้สังคมลงโทษก็อย่าทำผิดสิ จนเราลืมไปว่า โดยหลักของความยุติธรรมแล้ว การตัดสินคนนั้นต้องมีองค์ประกอบมากกว่านั้นหรือไม่ กระทั่งลืมคิดไปว่า ถ้าตัวเองเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพถูกสังคมลงทัณฑ์เสียเอง เราจะคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นมีความเป็นธรรมหรือไม่
ไม่เพียงแต่เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมเท่านั้น ถ้าเราเล่นเฟซบุ๊ก เราลองย้อนมองตัวเองดูว่า บางทีเราก็ตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้นและตัดสินใครสักคนด้วยความคิดของเราเอง เชื่อคิดและอยากแสดงออกอย่างไรต่อเรื่องนั้นก็มีความเห็นลงไปทันที และถ้าความคิดเห็นในสังคมออนไลน์แสดงออกไปในทางเดียวกันกับเราด้วยแล้ว ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นว่าความคิดของเราถูกต้องมีเหตุผล
เมื่อรวมกับพฤติกรรมของคนในเฟซบุ๊กที่จะเน้นกลุ่มคนที่มีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน เคยมีประสบการณ์ร่วมกัน บางคนเคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกันมา ก็ยิ่งมีอารมณ์ร่วมกัน ยิ่งเมื่อมีคนมาคลิ๊กไลค์มากๆ ก็ยิ่งเชื่อว่าตัวเองนั้นถูกต้อง โดยลืมไปว่าเราอยู่ในแวดวงคนที่มีความคิดเหมือนกัน
ผมเพิ่งอ่านบทความของสฤณี อาชวานันทกุล เรื่อง เฟซบุ๊กกับการลำเอียงเข้าข้างตัวเอง (Confirmation Bias) มีตอนหนึ่งที่อ้างการวิจัยพบว่า การแห่กันแชร์ คลิ๊ก และกดไลค์เฉพาะเนื้อหาที่ “ตรงใจ” ตัวเอง รู้สึก “อุ่นใจ” ว่ามีคนอื่นไลค์และแชร์ตั้งเยอะแยะ มีส่วนทำให้เรายิ่งปักใจเชื่อว่าความคิดความเชื่อของเรานั้น “ถูกต้อง” แล้ว โดยไม่ระแคะระคายว่าตัวเองกำลังปิดกั้นมุมมองที่แตกต่าง และทำให้ความคิดของตัวเองคับแคบขึ้นเรื่อยๆ เพราะคุยแต่กับคนที่คิดเหมือนกัน
เขาอธิบายว่า “Confirmation Bias” หรือ “ความลำเอียงเข้าข้างตัวเอง” คือแนวโน้มที่เราทุกคนจะอ้าแขนรับข้อมูลใหม่ๆ เฉพาะข้อมูลที่สอดคล้องกับความคิดความเชื่อเดิมของเรา ปฏิเสธข้อมูลใดๆ ก็ตามที่ขัดหรือแย้งกับความคิดความเชื่อเดิม
นั่นแสดงว่า ความคิดของคนในสังคมออนไลน์เจือปนไปด้วย “อคติ” นั่นเอง
มีการวิจัยพบว่า การกล้าแสดงออกเมื่อนั่งอยู่หน้าคีย์บอร์ดนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุผลหลายอย่างเช่น การที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวทำให้บุคลิกตัวตนออนไลน์แยกจากตัวจริง, การมองไม่เห็นหน้ากัน, การไม่เป็นไปตามกันระหว่างตัวจริงกับตัวตนในออนไลน์, การมีแนวคิดและนิสัยในกลุ่มไปทางเดียวกันและยึดเป็นศูนย์กลาง, การมีจินตนาการเบี่ยงไปจากตัวจริง, การ(คิดว่า)ปลอดจากเจ้าหน้าที่และกฎเกณฑ์ต่างๆ
นักจิตวิทยาบางคนเรียกว่า ภาวะ(โรค)ทางสังคมออนไลน์ “Online Disinhibition Effect” หรือ “การสูญเสียการยับยั้งชั่งใจในโลกออนไลน์” หรือเรียกว่า ภาวะที่คนมีตัวตนในออนไลน์ก้าวร้าว-รุนแรงกว่าตัวจริงนั่นเอง
เมื่อเรามีเครื่องมือของเราในการสื่อสารกับสังคมเช่น เฟซบุ๊ก เราค่อยๆ มองเห็นว่ามันมีอานุภาพที่จะทำให้เรากลายเป็นคนสำคัญขึ้นมาได้ เราสามารถกลายเป็นสื่อที่ไม่ใช่อาชีพเฉพาะของกลุ่มหนึ่งอีกต่อไป เราสามารถมีความเห็นต่อสาธารณะเผยแพร่ความเห็นนั้นออกไป เมื่อมีคนติดตามมากมีคนตามมาไลค์ความเห็นของเรามาก ก็อาจทำให้เราเชื่อมั่นยิ่งขึ้นว่าความคิดของเราถูกต้องและค่อยเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งเราสามารถชี้ว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก โดยใช้โลกทัศน์ความคิดและความเชื่อของตัวเองมาตัดสิน ยิ่งเมื่อเราเล่นเฟซบุ๊กอยู่ในกลุ่มคนที่มีความคิดความเชื่อเหมือนกันแล้ว มันก็ยิ่งตอกย้ำว่าสิ่งที่เราคิดนั่นแหละคือความถูกต้อง
นอกจากนั้นยังพบว่า การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า Computer-Mediated Communication (CMC) นั้นเมื่อไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ไม่ต้องเห็นแววตา และท่าทีของกันแล้ว มันทำให้เรามีความกล้าหาญในการแสดงออกมากขึ้นกว่าปกติจนบางครั้ง การแสดงออกนั้นก็หลุดพ้นจากความเป็นตัวตน บางทีตัวผมเองก็รู้สึกได้อย่างนั้น เช่น ถ้าเราเจอเรื่องแบบนี้ผ่านทางหน้าเฟซบุ๊ก ก็จะแสดงความเห็นไปในทันทีว่าคิดอย่างไร แต่ถ้าเราเจอในชีวิตจริงเราอาจไม่กล้าพูดออกไปอย่างนั้น เมื่อช้าลงก็เกิดการยั้งคิด การยั้งคิดมันทำให้เราสามารถใช้สติได้มากขึ้น แม้ว่าปัจจุบันเฟซบุ๊กจะมีข้อดีคือสามารถให้เราแก้ไขข้อความที่โพสต์ขึ้นได้ หลายครั้งผมเองก็ทำอย่างนั้นหลังจากมานั่งอ่านทบทวนแล้วเห็นว่าที่เราแสดงความเห็นไปในแวบแรกของความคิดนั้นอาจจะไม่รอบคอบพอ แต่จะเห็นว่า มันมีโอกาสมากเลยที่จะทำให้เราแสดงความเห็นไปโดยขาดความยั่งคิด ใช้สติสัมปชัญญะที่ดีพอ
ที่น่าตลกก็คือ ปัจจุบันสื่ออาชีพก็เกาะกระแสในโลกโซเชียล เอาเรื่องในโซเชียลไปเล่นต่อโดยไม่ได้แยกแยะว่า สิ่งที่เสนอออกไปนั้นมีความถูกต้องครบถ้วนในมุมมองของสื่ออาชีพที่ตัวเองดำรงสถานะอยู่หรือไม่ จนทำให้สังคมขาดสติยั้งคิดยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า โลกของโซเชียลออนไลน์และการแสดงตัวตนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นเกิดขึ้นในยุคที่สังคมไทยมีความเห็นที่แตกแยกจนเรียกได้ว่าแบ่งกันเป็น 2 ฝ่ายเลยทีเดียว และเราใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงจุดยืนของตัวเองและตัดสินผิดถูก ในโลกแห่งความจริงนั้นเราตกลงกันใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือให้เกิดความยุติธรรม แต่ในโลกออน์ไลน์เราตัดสินกันด้วยใครเสียงดังกว่ามียอดไลค์และแชร์มากกว่า
ในฐานะที่เราเป็น “ผู้พิพากษา” คนหนึ่งของ “ศาลเฟซบุ๊ก” ลองทบทวนว่า เราได้ตัดสินคดีนั้นไปด้วยความเป็นธรรม มีข้อมูลที่เพียงพอ และปราศจากอคติหรือไม่ แล้วลองนึกถึงวันที่เรายืนอยู่ในฐานะ “จำเลย” ของสังคม
ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawa
ศาล “เฟซบุ๊ก” เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง การตัดสินคดีใช้ดุลพินิจ อารมณ์ความรู้สึก และข้อมูลที่มีของผู้ใช้เฟซบุ๊กไม่มีการสืบพยาน พิสูจน์หลักฐาน หาข้อเท็จจริง ไม่เปิดโอกาสให้จำเลยให้การเพื่อหักล้างข้อกล่าวหา บทกำหนดโทษไม่มีขอบเขต ไม่มีบทลดหย่อนผ่อนโทษ ไม่เปิดโอกาสให้กลับตัวเป็นคนดี ส่วนระยะเวลาในการกำหนดโทษแล้วแต่ความทรงจำของสังคม และสามารถรื้อฟื้นขึ้นมาได้ตลอดเวลา
ล่าสุด “ศาลเฟซบุ๊ก” เพิ่งเสร็จสิ้นคำพิพากษาทางสังคมไป 2 คดีนั่นก็คือ กรณีของ “น็อต กราบรถกู” และล่าสุดมาถึงกรณีของ “เบส อรพิมพ์” ผลคดีของน็อตนั้นสังคมมีมติไปทางเดียวกันว่า ให้ขับออกจากสังคม ส่วนกรณีของเบสนั้นเท่าที่สำรวจบรรดาผู้พิพากษาในโลกออนไลน์มีความเห็นไปสองทาง แต่น่าจะตัดสินให้เธอมีความผิดมากกว่าฝ่ายที่สนับสนุนการกระทำของเธอ
ก่อนหน้านี้ศาลเฟซบุ๊กก็ได้มีคำพิพากษาไปแล้วหลายคดี คนส่วนใหญ่เชื่อว่า มติที่แสดงออกร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ในความหมายที่เรียกกันว่า สังคมลงทัณฑ์หรือ Social Sanction
หลายคนบอกว่า การแสดงออกของสังคมเป็นสิ่งที่ดีทำให้คนที่ทำผิดไม่มีที่ยืนในสังคม บางคนพูดว่า ถ้าไม่อยากให้สังคมลงโทษก็อย่าทำผิดสิ จนเราลืมไปว่า โดยหลักของความยุติธรรมแล้ว การตัดสินคนนั้นต้องมีองค์ประกอบมากกว่านั้นหรือไม่ กระทั่งลืมคิดไปว่า ถ้าตัวเองเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพถูกสังคมลงทัณฑ์เสียเอง เราจะคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นมีความเป็นธรรมหรือไม่
ไม่เพียงแต่เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมเท่านั้น ถ้าเราเล่นเฟซบุ๊ก เราลองย้อนมองตัวเองดูว่า บางทีเราก็ตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้นและตัดสินใครสักคนด้วยความคิดของเราเอง เชื่อคิดและอยากแสดงออกอย่างไรต่อเรื่องนั้นก็มีความเห็นลงไปทันที และถ้าความคิดเห็นในสังคมออนไลน์แสดงออกไปในทางเดียวกันกับเราด้วยแล้ว ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นว่าความคิดของเราถูกต้องมีเหตุผล
เมื่อรวมกับพฤติกรรมของคนในเฟซบุ๊กที่จะเน้นกลุ่มคนที่มีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน เคยมีประสบการณ์ร่วมกัน บางคนเคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกันมา ก็ยิ่งมีอารมณ์ร่วมกัน ยิ่งเมื่อมีคนมาคลิ๊กไลค์มากๆ ก็ยิ่งเชื่อว่าตัวเองนั้นถูกต้อง โดยลืมไปว่าเราอยู่ในแวดวงคนที่มีความคิดเหมือนกัน
ผมเพิ่งอ่านบทความของสฤณี อาชวานันทกุล เรื่อง เฟซบุ๊กกับการลำเอียงเข้าข้างตัวเอง (Confirmation Bias) มีตอนหนึ่งที่อ้างการวิจัยพบว่า การแห่กันแชร์ คลิ๊ก และกดไลค์เฉพาะเนื้อหาที่ “ตรงใจ” ตัวเอง รู้สึก “อุ่นใจ” ว่ามีคนอื่นไลค์และแชร์ตั้งเยอะแยะ มีส่วนทำให้เรายิ่งปักใจเชื่อว่าความคิดความเชื่อของเรานั้น “ถูกต้อง” แล้ว โดยไม่ระแคะระคายว่าตัวเองกำลังปิดกั้นมุมมองที่แตกต่าง และทำให้ความคิดของตัวเองคับแคบขึ้นเรื่อยๆ เพราะคุยแต่กับคนที่คิดเหมือนกัน
เขาอธิบายว่า “Confirmation Bias” หรือ “ความลำเอียงเข้าข้างตัวเอง” คือแนวโน้มที่เราทุกคนจะอ้าแขนรับข้อมูลใหม่ๆ เฉพาะข้อมูลที่สอดคล้องกับความคิดความเชื่อเดิมของเรา ปฏิเสธข้อมูลใดๆ ก็ตามที่ขัดหรือแย้งกับความคิดความเชื่อเดิม
นั่นแสดงว่า ความคิดของคนในสังคมออนไลน์เจือปนไปด้วย “อคติ” นั่นเอง
มีการวิจัยพบว่า การกล้าแสดงออกเมื่อนั่งอยู่หน้าคีย์บอร์ดนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุผลหลายอย่างเช่น การที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวทำให้บุคลิกตัวตนออนไลน์แยกจากตัวจริง, การมองไม่เห็นหน้ากัน, การไม่เป็นไปตามกันระหว่างตัวจริงกับตัวตนในออนไลน์, การมีแนวคิดและนิสัยในกลุ่มไปทางเดียวกันและยึดเป็นศูนย์กลาง, การมีจินตนาการเบี่ยงไปจากตัวจริง, การ(คิดว่า)ปลอดจากเจ้าหน้าที่และกฎเกณฑ์ต่างๆ
นักจิตวิทยาบางคนเรียกว่า ภาวะ(โรค)ทางสังคมออนไลน์ “Online Disinhibition Effect” หรือ “การสูญเสียการยับยั้งชั่งใจในโลกออนไลน์” หรือเรียกว่า ภาวะที่คนมีตัวตนในออนไลน์ก้าวร้าว-รุนแรงกว่าตัวจริงนั่นเอง
เมื่อเรามีเครื่องมือของเราในการสื่อสารกับสังคมเช่น เฟซบุ๊ก เราค่อยๆ มองเห็นว่ามันมีอานุภาพที่จะทำให้เรากลายเป็นคนสำคัญขึ้นมาได้ เราสามารถกลายเป็นสื่อที่ไม่ใช่อาชีพเฉพาะของกลุ่มหนึ่งอีกต่อไป เราสามารถมีความเห็นต่อสาธารณะเผยแพร่ความเห็นนั้นออกไป เมื่อมีคนติดตามมากมีคนตามมาไลค์ความเห็นของเรามาก ก็อาจทำให้เราเชื่อมั่นยิ่งขึ้นว่าความคิดของเราถูกต้องและค่อยเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งเราสามารถชี้ว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก โดยใช้โลกทัศน์ความคิดและความเชื่อของตัวเองมาตัดสิน ยิ่งเมื่อเราเล่นเฟซบุ๊กอยู่ในกลุ่มคนที่มีความคิดความเชื่อเหมือนกันแล้ว มันก็ยิ่งตอกย้ำว่าสิ่งที่เราคิดนั่นแหละคือความถูกต้อง
นอกจากนั้นยังพบว่า การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า Computer-Mediated Communication (CMC) นั้นเมื่อไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ไม่ต้องเห็นแววตา และท่าทีของกันแล้ว มันทำให้เรามีความกล้าหาญในการแสดงออกมากขึ้นกว่าปกติจนบางครั้ง การแสดงออกนั้นก็หลุดพ้นจากความเป็นตัวตน บางทีตัวผมเองก็รู้สึกได้อย่างนั้น เช่น ถ้าเราเจอเรื่องแบบนี้ผ่านทางหน้าเฟซบุ๊ก ก็จะแสดงความเห็นไปในทันทีว่าคิดอย่างไร แต่ถ้าเราเจอในชีวิตจริงเราอาจไม่กล้าพูดออกไปอย่างนั้น เมื่อช้าลงก็เกิดการยั้งคิด การยั้งคิดมันทำให้เราสามารถใช้สติได้มากขึ้น แม้ว่าปัจจุบันเฟซบุ๊กจะมีข้อดีคือสามารถให้เราแก้ไขข้อความที่โพสต์ขึ้นได้ หลายครั้งผมเองก็ทำอย่างนั้นหลังจากมานั่งอ่านทบทวนแล้วเห็นว่าที่เราแสดงความเห็นไปในแวบแรกของความคิดนั้นอาจจะไม่รอบคอบพอ แต่จะเห็นว่า มันมีโอกาสมากเลยที่จะทำให้เราแสดงความเห็นไปโดยขาดความยั่งคิด ใช้สติสัมปชัญญะที่ดีพอ
ที่น่าตลกก็คือ ปัจจุบันสื่ออาชีพก็เกาะกระแสในโลกโซเชียล เอาเรื่องในโซเชียลไปเล่นต่อโดยไม่ได้แยกแยะว่า สิ่งที่เสนอออกไปนั้นมีความถูกต้องครบถ้วนในมุมมองของสื่ออาชีพที่ตัวเองดำรงสถานะอยู่หรือไม่ จนทำให้สังคมขาดสติยั้งคิดยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า โลกของโซเชียลออนไลน์และการแสดงตัวตนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นเกิดขึ้นในยุคที่สังคมไทยมีความเห็นที่แตกแยกจนเรียกได้ว่าแบ่งกันเป็น 2 ฝ่ายเลยทีเดียว และเราใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงจุดยืนของตัวเองและตัดสินผิดถูก ในโลกแห่งความจริงนั้นเราตกลงกันใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือให้เกิดความยุติธรรม แต่ในโลกออน์ไลน์เราตัดสินกันด้วยใครเสียงดังกว่ามียอดไลค์และแชร์มากกว่า
ในฐานะที่เราเป็น “ผู้พิพากษา” คนหนึ่งของ “ศาลเฟซบุ๊ก” ลองทบทวนว่า เราได้ตัดสินคดีนั้นไปด้วยความเป็นธรรม มีข้อมูลที่เพียงพอ และปราศจากอคติหรือไม่ แล้วลองนึกถึงวันที่เรายืนอยู่ในฐานะ “จำเลย” ของสังคม
ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawa