วานนี้ (28 พ.ย.) มีรายงานจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่า จากกรณีคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้เสนอกระทรวงมหาดไทย แก้ไขกฎกระทรวงฯให้แบ่งเงินรายได้ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติ ให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.)จากเดิมร้อยละ 5 เพิ่มเป็นร้อยละ 40
โดยจะทำให้ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 679 แห่ง จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติและ ตามพ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยเฉพาะปี 2559 (ต.ค.58 - ส.ค.59) สามารถจัดเก็บได้ถึง 1,963.695 ล้านบาท มากกว่าปี 2558 ถึง 1,067 ล้านบาทนั้น
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า มติที่ประชุม เป็นเพียงข้อเสนอของก.ก.ถ. ดังนั้นจึงไม่เกี่ยว และไม่สามารถบังคับกรมอุทยานฯได้ จึงต้องรอคำสั่งจาก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เท่านั้น
"ความจริงแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อยากจะได้อะไร อยากให้อุทยานทำอะไร หรือขอความร่วมมืออะไร ควรจะมาพูด มาหารือกัน ไม่ใช่ไปประชุม แล้วยื่นข้อเสนอมาแบบนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อุทยานทำให้ไม่ได้เลย สำหรับส่วนแบ่ง 5% ที่ให้แต่ละอบต.นั้น เหมาะสมดีแล้ว"
ทั้งนี้ เงินรายได้ของกรมอุทยานฯ มีแผนจัดการชัดเจนในรูปแบบของคณะกรรมการติดตามผลการจัดเก็บเงินรายได้ เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ เช่น นำมาพัฒนาอุทยาน ซ่อมบ้านพัก ห้องสุขา จัดการระบบกำจัดขยะในพื้นที่ ดูแลนักท่องเที่ยว ซึ่งที่เห็นตัวเลขว่ามีบางอุทยาน 1-10 มีรายได้จำนวนมาก ถือเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีอุทยานในความดูแล 148 แห่ง ใช่ว่าทุกแห่งจะมีรายได้ดีทั้งหมด ส่วนที่มีรายได้ดี เงินรายได้ก็ต้องไปถัวเฉลี่ย ดูแลอุทยานที่มีรายได้น้อยด้วย
อย่างไรก็ตาม กรมอุทยานฯ มีหน้าที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของทุกคน และเงินรายได้ ที่อุทยานแบ่งให้ท้องถิ่นละ 5% ถือเป็นความเหมาะสมดีแล้ว ส่วน 40% ถือว่ามากเกินไป จะเอาที่ไหนให้ เพราะอุทยานก็มีภาระที่จะต้องนำไปใช้อีกมาก
มีรายงานว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงานของกรมอุทยานฯ โดยเฉพาะการทุจริตเงินรายได้อุทยานฯ จนเกิดเป็นกระแสสังคม โดยในสมัยนั้นมีการแต่งตั้งนายเกษมสันต์ จิณณวาโส อดีต ปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ เป็นประธาน
ขณะที่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เคยเสนอรัฐบาลให้ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ค่าเข้าชมอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศในแต่ละปี เนื่องจากกรมอุทยานฯรายงานจัดเก็บรายได้เฉลี่ย 200-400 ล้านบาท/ปี สวนทางกับจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทย และต่างชาติที่เข้าชมอุทยานมากกว่า 80% ของการเดินทางทั้งหมด
สำหรับ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานฯ เคยตั้งกรรมการสอบหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อุทยานแห่งชาติสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ข้อหาคอร์รัปชัน มาแล้ว แม้อุทยานแห่งชาติดังกล่าว ทำรายได้รวมมหาศาล ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี
โดยจะทำให้ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 679 แห่ง จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติและ ตามพ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยเฉพาะปี 2559 (ต.ค.58 - ส.ค.59) สามารถจัดเก็บได้ถึง 1,963.695 ล้านบาท มากกว่าปี 2558 ถึง 1,067 ล้านบาทนั้น
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า มติที่ประชุม เป็นเพียงข้อเสนอของก.ก.ถ. ดังนั้นจึงไม่เกี่ยว และไม่สามารถบังคับกรมอุทยานฯได้ จึงต้องรอคำสั่งจาก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เท่านั้น
"ความจริงแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อยากจะได้อะไร อยากให้อุทยานทำอะไร หรือขอความร่วมมืออะไร ควรจะมาพูด มาหารือกัน ไม่ใช่ไปประชุม แล้วยื่นข้อเสนอมาแบบนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อุทยานทำให้ไม่ได้เลย สำหรับส่วนแบ่ง 5% ที่ให้แต่ละอบต.นั้น เหมาะสมดีแล้ว"
ทั้งนี้ เงินรายได้ของกรมอุทยานฯ มีแผนจัดการชัดเจนในรูปแบบของคณะกรรมการติดตามผลการจัดเก็บเงินรายได้ เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ เช่น นำมาพัฒนาอุทยาน ซ่อมบ้านพัก ห้องสุขา จัดการระบบกำจัดขยะในพื้นที่ ดูแลนักท่องเที่ยว ซึ่งที่เห็นตัวเลขว่ามีบางอุทยาน 1-10 มีรายได้จำนวนมาก ถือเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีอุทยานในความดูแล 148 แห่ง ใช่ว่าทุกแห่งจะมีรายได้ดีทั้งหมด ส่วนที่มีรายได้ดี เงินรายได้ก็ต้องไปถัวเฉลี่ย ดูแลอุทยานที่มีรายได้น้อยด้วย
อย่างไรก็ตาม กรมอุทยานฯ มีหน้าที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของทุกคน และเงินรายได้ ที่อุทยานแบ่งให้ท้องถิ่นละ 5% ถือเป็นความเหมาะสมดีแล้ว ส่วน 40% ถือว่ามากเกินไป จะเอาที่ไหนให้ เพราะอุทยานก็มีภาระที่จะต้องนำไปใช้อีกมาก
มีรายงานว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงานของกรมอุทยานฯ โดยเฉพาะการทุจริตเงินรายได้อุทยานฯ จนเกิดเป็นกระแสสังคม โดยในสมัยนั้นมีการแต่งตั้งนายเกษมสันต์ จิณณวาโส อดีต ปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ เป็นประธาน
ขณะที่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เคยเสนอรัฐบาลให้ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ค่าเข้าชมอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศในแต่ละปี เนื่องจากกรมอุทยานฯรายงานจัดเก็บรายได้เฉลี่ย 200-400 ล้านบาท/ปี สวนทางกับจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทย และต่างชาติที่เข้าชมอุทยานมากกว่า 80% ของการเดินทางทั้งหมด
สำหรับ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานฯ เคยตั้งกรรมการสอบหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อุทยานแห่งชาติสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ข้อหาคอร์รัปชัน มาแล้ว แม้อุทยานแห่งชาติดังกล่าว ทำรายได้รวมมหาศาล ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี