ผู้จัดการรายวัน360-คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ เคาะแบบ "พระเมรุมาศ" ยึดตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจำลองเขาพระสุเมรุ จัดสร้างอย่างสมพระเกียรติ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เตรียมจัดพิธีบรวงสวง 19 ธ.ค.นี้ เริ่มสร้างม.ค. แล้วเสร็จไม่เกิน ก.ย.60 ด้านวัฒนธรรมเตรียมทำสารคดีแอนิเมชั่น เผยแพร่การก่อสร้างและพระราชพิธี เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (28 พ.ย.) เป็นวันที่ 31 ที่พระราชทานพระราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ เบื้องหน้าพระบรมโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ได้ตั้งแต่เวลา 08.00-21.00 น. (ยกเว้นช่วงมีพระราชพิธีบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท) โดยมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศสวมชุดไว้ทุกข์สุภาพเรียบร้อยเดินทางมาต่อแถวเพื่อเข้าสักการะพระบรมศพตั้งแต่เช้ามืด ซึ่งเจ้าหน้าที่เปิดให้ประชาชนเข้าทางประตูวิเศษไชยศรีอย่างเป็นระเบียบ โดยในเวลา 05.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าทางประตูวิเศษไชยศรี จากนั้นได้เปลี่ยนทางเข้าเป็นทางประตูมณีนพรัตน์ ถนนหน้าพระลาน ในเวลา 08.30 น. เพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามเข้าทางประตูวิเศษไชยศรี
โดยตลอดทั้งวัน มีประชาชนเดินทางมาอย่างเนืองแน่น ด้วยเพราะหัวใจทุกดวงต่างเต็มไปด้วยความภักดี และหัวใจแห่งความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มเปี่ยมสุดหัวใจ
ต่อมาเวลา 11.00 น. ม.ร.ว.ดนุชโชติ เทวกุล เป็นประธานถวายภัตตาหารเพลแด่พระพิธีธรรม จำนวน 8 รูป จากวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร โดยมีราชสกุลสวัสดิวัตน์ กิติยากร ศุขสวัสดิ์ ร่วมในพระราชพิธีด้วย
ส่วนที่เต็นท์หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือ เยื้องกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังคงนำอาหาร ขนม ผลไม้ ของว่าง และน้ำดื่มพระราชทานมาแจกจ่ายให้ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่กองงานในพระองค์ฯ แจ้งว่า วันที่ 1-2 ธ.ค.2559 ที่งดการเข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ทางเต๊นท์หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ จะงดแจกจ่ายอาหาร และน้ำดื่ม และเปิดให้บริการแจกจ่ายอาหารพร้อมน้ำดื่มแก่ประชาชนที่มาสักการะพระบรมศพได้ตามเดิม ตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.เป็นต้นไป
วันเดียวกันนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งที่ 1/2559 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวก่อนการประชุมว่า ขณะนี้แบบการก่อสร้างพระเมรุมาศมีความสมบูรณ์ และคณะกรรมการพร้อมที่จะดำเนินงานตามขั้นตอน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำความเข้าใจของคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายดำเนินงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้งานออกมาสำเร็จและสมพระเกียรติมากที่สุด
ทั้งนี้ ในวันที่ 19 ธ.ค. จะมีพิธีบวงสรวง เริ่มการตกแต่ง ปรับปรุงราชรถและราชยาน ส่วนในช่วงปีใหม่จะให้พื้นที่กับการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี และในช่วงเดือนม.ค. จะมีการเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งการดำเนินงานจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือนก.ย.2560
หลังการประชุม พล.อ.ธนะศักดิ์ แถลงว่า ที่ประชุมเห็นชอบแบบในภาพรวมของพระเมรุมาศและพระโกศจันทน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนพระโกศพระบรมอัฐิ ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ ซึ่งทุกขั้นตอนมีการนำกราบบังคมทูลตามระเบียบอย่างถูกต้อง ส่วนกำหนดการสำหรับการตอกหมุดจุดกึ่งกลางพระเมรุมาศนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาวันที่เหมาะสม ขณะที่การบวงสรวงก่อสร้างพระเมรุมาศที่ตนจะเป็นประธานนั้นและการลงเสาเอกที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธาน รวมถึงการยกฉัตรที่จะมีเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งหมดอยู่ระหว่างการกำหนดวันเวลาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ในการกันพื้นที่ท้องสนามหลวงสองในสามเพื่อจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ จะสามารถบรรจุคนได้ 7,400 คน และบริเวณโดยรอบพระเมรุมาศจะมีการจัดแสดงโครงการตามพระราชดำริด้วย ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดจะยึดการดำเนินการอย่างสมพระเกียรติและตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"การก่อสร้างในครั้งนี้ จะทำทุกอย่างให้เรียบร้อย เช่น การวางท่อเพื่อร้อยสายไฟ สายเคเบิล อำนวยความสะดวกสื่อมวลชนในการรายงาน งานพระราชพิธีให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยการสวดมนต์ข้ามปีที่ท้องสนามหลวงยังจัดได้ตามปกติ ส่วนวันพืชมงคลซึ่งตรงกับวันที่ 10 พ.ค. ก็ยังสามารถดำเนินไปได้ในตามปกติ ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่ได้มีการล้อมรั้ว"พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว
ด้านนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมให้การสนับสนุนการดำเนินการในครั้งนี้อย่างเต็มที่ โดยให้กรมศิลปากรมาช่วยในการดำเนินงานต่างๆ พร้อมกันนี้ ในส่วนของกระทรวงฯ จะมีการทำหนังสือคำศัพท์เกี่ยวกับพระราชพิธีแจกจ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน จำนวน 1 หมื่นเล่ม เพื่อจะได้ใช้คำศัพท์กันอย่างถูกต้อง และภายหลังที่มีการตอกเสาเข็มจะจัดทำหนังสือเกี่ยวกับพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และขณะเดียวกันจะผลิตสารคดีในรูปแบบเอนิเมชั่น เพื่อเผยแพร่เรื่องการก่อสร้างพระเมรุมาศ และการเตรียมพระราชพิธีต่างๆ ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไร ถือเป็นการเตรียมข้อมูลให้ประชาชนเพื่อเรียนรู้พระราชพิธี รวมทั้งจะมีการจัดทำหนังสือพระบรมราโชวาทแจกจ่ายประชาชนจำนวน 1 ล้านเล่ม โดยจะเร่งดำเนินการ คาดว่าจะสามารถนำมาแจกจ่ายได้ในวันที่ 29 พ.ย. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า แนวคิดในการก่อสร้างในครั้งนี้ 1.จะจัดสร้างอย่างสมพระเกียรติ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2.ยึดตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในกรุงรัตนโกสินทร์ และ3.ออกแบบตามแนวคิดคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนา และคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ในสถานะเสมือนสมมติเทพ ตามระบอบเทวนิยม
สำหรับการจัดสร้างพระเมรุมาศได้จำลองเขาพระสุเมรุ โดยพระเมรุมาศจะเป็นทรงบุษบก 9 ชั้น สูง 50.49 เมตร เป็นองค์ประธานอยู่ตรงกลาง และมีซุ้มบุษบกรายรอบ 8 ซุ้ม เปรียบเสมือนเขาสัตตบริภัณฑ์ ที่อยู่รายรอบเขาพระสุเมรุตามความเชื่อในแนวคิดดังกล่าว ประกอบกับจะมีการประดับสัตว์หิมพานต์รอบพื้นที่ โดยพื้นที่โดยรอบจะเป็นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 60 เมตร และใช้เสาโครงแบบครุฑ เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ตามความเชื่อสมมติเทพ ขณะที่พระโกศจันทน์นั้นจะประกอบขึ้นจากลายกนกต่างๆ โดยทุกขั้นตอนจะดูแลจากช่างกรมศิลปากรอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (28 พ.ย.) เป็นวันที่ 31 ที่พระราชทานพระราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ เบื้องหน้าพระบรมโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ได้ตั้งแต่เวลา 08.00-21.00 น. (ยกเว้นช่วงมีพระราชพิธีบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท) โดยมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศสวมชุดไว้ทุกข์สุภาพเรียบร้อยเดินทางมาต่อแถวเพื่อเข้าสักการะพระบรมศพตั้งแต่เช้ามืด ซึ่งเจ้าหน้าที่เปิดให้ประชาชนเข้าทางประตูวิเศษไชยศรีอย่างเป็นระเบียบ โดยในเวลา 05.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าทางประตูวิเศษไชยศรี จากนั้นได้เปลี่ยนทางเข้าเป็นทางประตูมณีนพรัตน์ ถนนหน้าพระลาน ในเวลา 08.30 น. เพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามเข้าทางประตูวิเศษไชยศรี
โดยตลอดทั้งวัน มีประชาชนเดินทางมาอย่างเนืองแน่น ด้วยเพราะหัวใจทุกดวงต่างเต็มไปด้วยความภักดี และหัวใจแห่งความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มเปี่ยมสุดหัวใจ
ต่อมาเวลา 11.00 น. ม.ร.ว.ดนุชโชติ เทวกุล เป็นประธานถวายภัตตาหารเพลแด่พระพิธีธรรม จำนวน 8 รูป จากวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร โดยมีราชสกุลสวัสดิวัตน์ กิติยากร ศุขสวัสดิ์ ร่วมในพระราชพิธีด้วย
ส่วนที่เต็นท์หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือ เยื้องกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังคงนำอาหาร ขนม ผลไม้ ของว่าง และน้ำดื่มพระราชทานมาแจกจ่ายให้ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่กองงานในพระองค์ฯ แจ้งว่า วันที่ 1-2 ธ.ค.2559 ที่งดการเข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ทางเต๊นท์หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ จะงดแจกจ่ายอาหาร และน้ำดื่ม และเปิดให้บริการแจกจ่ายอาหารพร้อมน้ำดื่มแก่ประชาชนที่มาสักการะพระบรมศพได้ตามเดิม ตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.เป็นต้นไป
วันเดียวกันนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งที่ 1/2559 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวก่อนการประชุมว่า ขณะนี้แบบการก่อสร้างพระเมรุมาศมีความสมบูรณ์ และคณะกรรมการพร้อมที่จะดำเนินงานตามขั้นตอน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำความเข้าใจของคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายดำเนินงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้งานออกมาสำเร็จและสมพระเกียรติมากที่สุด
ทั้งนี้ ในวันที่ 19 ธ.ค. จะมีพิธีบวงสรวง เริ่มการตกแต่ง ปรับปรุงราชรถและราชยาน ส่วนในช่วงปีใหม่จะให้พื้นที่กับการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี และในช่วงเดือนม.ค. จะมีการเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งการดำเนินงานจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือนก.ย.2560
หลังการประชุม พล.อ.ธนะศักดิ์ แถลงว่า ที่ประชุมเห็นชอบแบบในภาพรวมของพระเมรุมาศและพระโกศจันทน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนพระโกศพระบรมอัฐิ ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ ซึ่งทุกขั้นตอนมีการนำกราบบังคมทูลตามระเบียบอย่างถูกต้อง ส่วนกำหนดการสำหรับการตอกหมุดจุดกึ่งกลางพระเมรุมาศนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาวันที่เหมาะสม ขณะที่การบวงสรวงก่อสร้างพระเมรุมาศที่ตนจะเป็นประธานนั้นและการลงเสาเอกที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธาน รวมถึงการยกฉัตรที่จะมีเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งหมดอยู่ระหว่างการกำหนดวันเวลาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ในการกันพื้นที่ท้องสนามหลวงสองในสามเพื่อจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ จะสามารถบรรจุคนได้ 7,400 คน และบริเวณโดยรอบพระเมรุมาศจะมีการจัดแสดงโครงการตามพระราชดำริด้วย ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดจะยึดการดำเนินการอย่างสมพระเกียรติและตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"การก่อสร้างในครั้งนี้ จะทำทุกอย่างให้เรียบร้อย เช่น การวางท่อเพื่อร้อยสายไฟ สายเคเบิล อำนวยความสะดวกสื่อมวลชนในการรายงาน งานพระราชพิธีให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยการสวดมนต์ข้ามปีที่ท้องสนามหลวงยังจัดได้ตามปกติ ส่วนวันพืชมงคลซึ่งตรงกับวันที่ 10 พ.ค. ก็ยังสามารถดำเนินไปได้ในตามปกติ ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่ได้มีการล้อมรั้ว"พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว
ด้านนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมให้การสนับสนุนการดำเนินการในครั้งนี้อย่างเต็มที่ โดยให้กรมศิลปากรมาช่วยในการดำเนินงานต่างๆ พร้อมกันนี้ ในส่วนของกระทรวงฯ จะมีการทำหนังสือคำศัพท์เกี่ยวกับพระราชพิธีแจกจ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน จำนวน 1 หมื่นเล่ม เพื่อจะได้ใช้คำศัพท์กันอย่างถูกต้อง และภายหลังที่มีการตอกเสาเข็มจะจัดทำหนังสือเกี่ยวกับพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และขณะเดียวกันจะผลิตสารคดีในรูปแบบเอนิเมชั่น เพื่อเผยแพร่เรื่องการก่อสร้างพระเมรุมาศ และการเตรียมพระราชพิธีต่างๆ ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไร ถือเป็นการเตรียมข้อมูลให้ประชาชนเพื่อเรียนรู้พระราชพิธี รวมทั้งจะมีการจัดทำหนังสือพระบรมราโชวาทแจกจ่ายประชาชนจำนวน 1 ล้านเล่ม โดยจะเร่งดำเนินการ คาดว่าจะสามารถนำมาแจกจ่ายได้ในวันที่ 29 พ.ย. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า แนวคิดในการก่อสร้างในครั้งนี้ 1.จะจัดสร้างอย่างสมพระเกียรติ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2.ยึดตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในกรุงรัตนโกสินทร์ และ3.ออกแบบตามแนวคิดคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนา และคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ในสถานะเสมือนสมมติเทพ ตามระบอบเทวนิยม
สำหรับการจัดสร้างพระเมรุมาศได้จำลองเขาพระสุเมรุ โดยพระเมรุมาศจะเป็นทรงบุษบก 9 ชั้น สูง 50.49 เมตร เป็นองค์ประธานอยู่ตรงกลาง และมีซุ้มบุษบกรายรอบ 8 ซุ้ม เปรียบเสมือนเขาสัตตบริภัณฑ์ ที่อยู่รายรอบเขาพระสุเมรุตามความเชื่อในแนวคิดดังกล่าว ประกอบกับจะมีการประดับสัตว์หิมพานต์รอบพื้นที่ โดยพื้นที่โดยรอบจะเป็นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 60 เมตร และใช้เสาโครงแบบครุฑ เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ตามความเชื่อสมมติเทพ ขณะที่พระโกศจันทน์นั้นจะประกอบขึ้นจากลายกนกต่างๆ โดยทุกขั้นตอนจะดูแลจากช่างกรมศิลปากรอย่างใกล้ชิด