บทความนี้ได้นำเสนอ (1) คำเตือนสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าอัจฉริยะที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ (2) ผลการสำรวจความคิดของชาวอเมริกันในแต่ละพรรคการเมืองใน 2 คำถามเรื่องโลกร้อน (3) ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างปริมาณการปล่อยก๊าซกับความเข้มข้น และ (4) ข้อเสนอการลดก๊าซของประเทศไทยที่คลุมเครือ รวมทั้งข้อมูลการปล่อยก๊าซในภาคการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ที่น่าสงสัย ท่านที่มีเวลาน้อยก็สามารถโฟกัสในแต่ละหัวข้อได้อ้อ มีแถมเรื่องความหมาย “การพัฒนา” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ด้วย
หนึ่ง คำนำ
ผมคิดว่าข้อดีอย่างหนึ่งหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ก็คือได้ทำให้ชาวโลกจำนวนมากต้องกลับมาครุ่นคิดกันอีกครั้งหนึ่งถึงความเชื่อและการกระทำในทางการเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ได้หลงระเริงไปกับสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนนำไปสู่วิกฤตครั้งใหญ่ (หมายเหตุ : คำว่า “พัฒนา” ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า “โตขึ้นเท่านั้น ดีก็ได้ บ้าก็ได้ ที่โตขึ้น” )
ความเชื่อหนึ่งของทรัมป์ซึ่งเป็นเหตุให้ผมต้องกล่าวถึงก็คือ “เรื่องโลกร้อนเป็นเรื่องการหลอกลวงที่คิดขึ้นมาโดยชาวจีน เพื่อไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาสามารถแข่งขันได้”
สอง ผลการสำรวจความคิดของชาวอเมริกันในแต่ละพรรคการเมือง
ก่อนจะพูดถึงความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผมขอนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันต่อเรื่องโลกร้อน พบว่า ความเชื่อทางการเมืองกับความเชื่อทางด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันมาก กล่าวคือ ต่อคำถามที่ว่า “โลกร้อนขึ้นจริงหรือไม่” ชาวพรรคเดโมแครตที่เป็นคาทอลิกส่วนใหญ่ร้อยละ 82 ตอบว่าจริง ในขณะที่ชาวรีพับลิกันที่เป็นคาทอลิกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ตอบว่าจริง
ที่น่าสนใจกว่านั้นต่อคำถามว่า “โลกร้อนขึ้นเพราะฝีมือมนุษย์” ผู้ตอบคำถามทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยลดลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับคำถามแรก คือ กลุ่มแรกเห็นด้วยว่าเป็นฝีมือมนุษย์ถึง 63% ส่วนกลุ่มที่สองเห็นด้วยเพียง 24% เท่านั้น (ดูแผ่นภาพประกอบ)
ผลการสำรวจนี้สะท้อนว่า นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศและนักการสื่อสารด้านนี้จะต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นี่คือความแตกต่างหนึ่งที่ฮิลลารี คลินตัน กล่าวในตอนประกาศยอมรับผลการเลือกตั้งว่า “ชาวอเมริกันแตกแยกกันลึกมากกว่าที่เราเคยคิด” ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ดูเป็นเรื่องความรู้พื้นฐานทั่วไปที่พลเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ควรจะได้รับรู้ตรงกัน
สาม คำเตือนที่สำคัญและชัดเจนของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่
คราวนี้มาถึงเรื่องคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คือ สตีเฟน ฮอว์คิง (วัย 74 ปี) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ในตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ไม่ทราบว่าเป็นผลมาจาก “ทรัมป์เอฟเฟกต์” หรือไม่ ทำให้สตีเฟน ฮอว์คิง ได้แสดงปาฐกถานาน 1 ชั่วโมงเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังท่านนี้ได้ออกมาเตือนชาวโลกในประเด็นสาธารณะอยู่บ่อยๆ
ก่อนจะขึ้นปี ค.ศ. 2000 ไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่ชาวโลกกังวลเพราะถูกหลอกในเรื่อง Y2K สตีเฟน ฮอว์คิงได้เตือนชาวโลกเรื่องอันตรายของจีเอ็มโอ หรือการตัดต่อพันธุกรรม เพราะหากพันธุกรรมปนเปื้อนไปแล้วไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ รวมทั้งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ในปี 2006 เขาได้ส่งข้อความในอินเทอร์เน็ตว่า “ในโลกที่มีความโกลาหล (Chaos) ทั้งด้านการเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรมนุษยชาติจึงจะยั่งยืนในอีก 100 ปีข้างหน้า” ซึ่งต่อมาเขาได้ตอบคำถามของเขาเองว่า “ผมก็ไม่ทราบ แต่ที่ตั้งคำถามไปก็เพราะต้องการให้คนมาคิดถึงเรื่องนี้ และระมัดระวังถึงอันตรายที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่”
ในคราวนี้ (15 พ.ย. 2559) ศาสตราจารย์ฮอว์คิง ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า
“ผมไม่คิดว่ามนุษยชาติจะมีชีวิตรอดไปได้อีก 1,000 ปีหากไม่หนีออกไปจากโลกที่บอบบางของเรา” โดยมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาโลกร้อน (2) สงครามนิวเคลียร์ และ (3) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence- ซึ่งหมายรวมไปถึงชีวิตประดิษฐ์ด้วย)
สำหรับประเด็นการหาโลกใหม่ในกาแล็กซีหรือในจักรวาล เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเขาในฐานะนักจักรวาลวิทยา นอกจากนี้ยังพบว่างานวิจัยขององค์การนาซา และโครงการของมหาเศรษฐี Elon Musk (เจ้าของ Tesla) ที่จะส่งคนไปนอกโลกก็มีวัตถุประสงค์คล้ายๆ กัน ผมเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้และไม่ค่อยเห็นด้วยกับความพยายามดังกล่าวครับ
ผมไม่แน่ใจว่าลึกๆ แล้ว ศาสตราจารย์ท่านนี้คิดอะไรอยู่ ท่านต้องการเตือนชาวโลกให้มีความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรอันมีจำกัดของโลก หรือต้องการจะหาโลกใบใหม่จริงๆ
อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการหลายคนได้มาแสดงความเห็นต่อข้อเสนอของสตีเฟน ฮอว์คิงหนึ่งในนั้นคือ John Sterman, ผู้อำนวยการ MIT Sloan Sustainability Initiative เขากล่าวถึงฮอว์คิงด้วยความเคารพว่า “ใครก็ตามที่คิดจะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการหาโลกใบใหม่มาเป็นเมืองขึ้นคงจะเป็นพวกที่ดูหนัง “Star Trek” มากเกินไป” พร้อมกล่าวต่อไปว่า “เราต้องเรียนรู้ที่จะอาศัยอยู่ที่นี้อย่างยั่งยืน บนโลกที่เรามีอยู่และไม่มีเวลาที่จะสูญเสียอีกแล้ว” (ที่มา: เว็บไซต์ Live Science)
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเห็นของ John Sterman ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านการบริหาร แต่ผมก็เชื่อว่าสตีเฟน ฮอว์คิง แค่ต้องการจะกระตุกสังคมที่กำลังวิกฤตเท่านั้น แต่ก็อย่างว่าแหละครับความรู้ของเขามันลึกซึ้งและยากมาก จนคนทั่วไปไม่กล้าเถียง
สี่ ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างปริมาณการปล่อยก๊าซกับความเข้มข้น
กลับมาที่ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ครับ และนี่คือหัวใจของบทความนี้ครับ
เท่าที่ผมได้พยายามศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร พบว่า ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาพลังงานฟอสซิลนั้น เมื่อขึ้นไปอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกแล้วจะมีอายุอยู่ได้นานกี่ปี ได้คำตอบคร่าวๆ ว่า นานนับ 100 ปี
แต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ก็คือ ทั้งๆ ที่ในช่วง 3 ปีสุดท้าย การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชาวโลกไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ความเข้มข้นของก๊าซดังกล่าวกลับยังเพิ่มสูงขึ้นหรือว่ามีการแอบปล่อยโดยไม่มีการรายงาน หรือว่าเป็นกลไกของธรรมชาติที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจที่ดีพอ มันเป็นไปได้ทั้งนั้น
นี่จึงเป็นความซับซ้อน ที่เข้าทำนอง “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” (ดูภาพประกอบ)
เรื่องที่ผมเห็นว่าเป็นความซับซ้อนอีกอย่างหนึ่ง คือ มนุษย์ (โดยนักคณิตศาสตร์-ฟิสิกส์) ได้ค้นพบก๊าซเรือนกระจกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1824 แต่พอถึงปี ค.ศ. 1850 แม้มีการปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,540 ล้านตันแต่ความเข้มข้นของก๊าซก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ยังคงต่ำกว่า 300 พีพีเอ็ม ผมได้นำภาพสวยๆ มาลงให้ดูด้วย หากใครสนใจก็ค้นคว้าได้อย่างสะดวกครับ
เรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กำลังเป็นประเด็นสำคัญและวิกฤตมากของโลก (ซึ่งยืนยันโดยสตีเฟน ฮอว์คิง) การที่โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะยกเลิกสัตยาบันที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ไว้กับองค์การสหประชาชาติ ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะทำได้ตามกฎหมายสากลในช่วง 4 ปีแรก จึงทำให้ประเด็นนี้ได้รับการถกเถียงกันกว้างขวางและมีความลึกซึ้งทางวิชาการมากขึ้น ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ
ห้า ข้อเสนอการลดก๊าซของประเทศไทยที่คลุมเครือและข้อมูลในภาคการผลิตไฟฟ้า
คราวนี้มาดูเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยเราบ้าง เราคงจำกันได้นะครับ ตอนปลายปีที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ลงนามในสัตยาบันเพื่อจะลดลงถึง 20 ถึง 25% จากระดับที่ได้พยากรณ์ไปข้างหน้า (ที่ใช้ปี 2005 เป็นปีอ้างอิง) ภายในปี 2030
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะรู้สึกได้ว่า ข้อเสนอของประเทศเรามีปัญหาแน่นอน เช่น จะใช้อัตราการเติบโตเท่าใดในการพยากรณ์ ถ้าใช้อัตราการเติบโตมากเกินความจริง ค่าพยากรณ์ไปถึงปี 2030 ก็จะสูง (ในเอกสารระบุตัวเลขเท่ากับ 555 ล้านตัน)คล้ายกับแม่ค้าบอกราคาสินค้าให้สูงเกินจริงเพื่อหลอกผู้ซื้อ จากนั้นก็ลดราคาลงมาให้ผู้ซื้อรู้สึกดีทั้งๆ ที่ได้ซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าปกติ
นี่คือสิ่งที่ผมเรียกอย่างกลางๆ ว่าความคลุมเครือ
อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ขององค์การสหประชาชาติต้องการให้ช่วยกันลดจากระดับที่เคยปล่อยอยู่จริง เช่น สหรัฐอเมริกาประกาศจะลดลง 17% จากระดับที่เคยปล่อยในปี 2005 ซึ่งเป็นค่าจริงที่ได้เกิดขึ้นแล้วและจะลดลงอีก 26 ถึง 28% ภายในปี 2025 จากข้อมูลที่มีการรายงานพบว่ามีความเป็นไปได้จริงครับ โดยไม่ต้องมาเถียงหรือตีความกันให้วุ่นวาย
ภาพข้างล่างนี้คือข้อมูลการปล่อยก๊าซที่เกิดจากการใช้พลังงานของไทย พบว่า ในปี 2558 ภาคการผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยมากที่สุด (ร้อยละ 39%) ประมาณ 100 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นเกือบทุกปีในช่วงที่ผ่านมา
และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 การปล่อยก๊าซได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มันสวนทางกับสัตยาบันครับ แต่มันก็พออภัยได้เพราะเป็นช่วงเริ่มต้น
แต่ในระยะยาวจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้อีก 3 โรงใหญ่ นอกจากนี้ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลการปล่อยนี้ได้นับรวมเอาการปล่อยของโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสาในประเทศลาว แต่เป็นของบริษัทลูกของ กฟผ.และบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด แล้วหรือยัง
จากเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ซึ่งได้เข้าร่วมประชุม COP22 ที่ประเทศโมร็อกโกด้วย) ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“กฟผ. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมต่อสู้กับภาวะโลกร้อน โดยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 ในปี 2030 ซึ่งในส่วนของ กฟผ.มีเป้าหมายลดที่ 12 ล้านตัน และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในปี 2050 ซึ่งจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 95 ในการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน”
เรียนตามตรงว่า ผมงงมากครับ ก็ในเมื่อในปี 2558 ภาคการผลิตไฟฟ้า (ซึ่งทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ กฟผ.) มีการปล่อยแล้วประมาณ 100 ล้านตันต่อปี ถ้าจะลด 20% ก็ควรจะเท่ากับ 20 ล้านตัน แต่ ทาง กฟผ.ได้หยิบเอาตัวเลข 12 ล้านตันมาจากไหนกัน
กรุณาช่วยอธิบายด้วย รวมทั้งกรณีโรงไฟฟ้าหงสาด้วยครับ
หนึ่ง คำนำ
ผมคิดว่าข้อดีอย่างหนึ่งหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ก็คือได้ทำให้ชาวโลกจำนวนมากต้องกลับมาครุ่นคิดกันอีกครั้งหนึ่งถึงความเชื่อและการกระทำในทางการเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ได้หลงระเริงไปกับสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนนำไปสู่วิกฤตครั้งใหญ่ (หมายเหตุ : คำว่า “พัฒนา” ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า “โตขึ้นเท่านั้น ดีก็ได้ บ้าก็ได้ ที่โตขึ้น” )
ความเชื่อหนึ่งของทรัมป์ซึ่งเป็นเหตุให้ผมต้องกล่าวถึงก็คือ “เรื่องโลกร้อนเป็นเรื่องการหลอกลวงที่คิดขึ้นมาโดยชาวจีน เพื่อไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาสามารถแข่งขันได้”
สอง ผลการสำรวจความคิดของชาวอเมริกันในแต่ละพรรคการเมือง
ก่อนจะพูดถึงความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผมขอนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันต่อเรื่องโลกร้อน พบว่า ความเชื่อทางการเมืองกับความเชื่อทางด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันมาก กล่าวคือ ต่อคำถามที่ว่า “โลกร้อนขึ้นจริงหรือไม่” ชาวพรรคเดโมแครตที่เป็นคาทอลิกส่วนใหญ่ร้อยละ 82 ตอบว่าจริง ในขณะที่ชาวรีพับลิกันที่เป็นคาทอลิกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ตอบว่าจริง
ที่น่าสนใจกว่านั้นต่อคำถามว่า “โลกร้อนขึ้นเพราะฝีมือมนุษย์” ผู้ตอบคำถามทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยลดลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับคำถามแรก คือ กลุ่มแรกเห็นด้วยว่าเป็นฝีมือมนุษย์ถึง 63% ส่วนกลุ่มที่สองเห็นด้วยเพียง 24% เท่านั้น (ดูแผ่นภาพประกอบ)
ผลการสำรวจนี้สะท้อนว่า นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศและนักการสื่อสารด้านนี้จะต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นี่คือความแตกต่างหนึ่งที่ฮิลลารี คลินตัน กล่าวในตอนประกาศยอมรับผลการเลือกตั้งว่า “ชาวอเมริกันแตกแยกกันลึกมากกว่าที่เราเคยคิด” ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ดูเป็นเรื่องความรู้พื้นฐานทั่วไปที่พลเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ควรจะได้รับรู้ตรงกัน
สาม คำเตือนที่สำคัญและชัดเจนของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่
คราวนี้มาถึงเรื่องคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คือ สตีเฟน ฮอว์คิง (วัย 74 ปี) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ในตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ไม่ทราบว่าเป็นผลมาจาก “ทรัมป์เอฟเฟกต์” หรือไม่ ทำให้สตีเฟน ฮอว์คิง ได้แสดงปาฐกถานาน 1 ชั่วโมงเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังท่านนี้ได้ออกมาเตือนชาวโลกในประเด็นสาธารณะอยู่บ่อยๆ
ก่อนจะขึ้นปี ค.ศ. 2000 ไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่ชาวโลกกังวลเพราะถูกหลอกในเรื่อง Y2K สตีเฟน ฮอว์คิงได้เตือนชาวโลกเรื่องอันตรายของจีเอ็มโอ หรือการตัดต่อพันธุกรรม เพราะหากพันธุกรรมปนเปื้อนไปแล้วไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ รวมทั้งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ในปี 2006 เขาได้ส่งข้อความในอินเทอร์เน็ตว่า “ในโลกที่มีความโกลาหล (Chaos) ทั้งด้านการเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรมนุษยชาติจึงจะยั่งยืนในอีก 100 ปีข้างหน้า” ซึ่งต่อมาเขาได้ตอบคำถามของเขาเองว่า “ผมก็ไม่ทราบ แต่ที่ตั้งคำถามไปก็เพราะต้องการให้คนมาคิดถึงเรื่องนี้ และระมัดระวังถึงอันตรายที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่”
ในคราวนี้ (15 พ.ย. 2559) ศาสตราจารย์ฮอว์คิง ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า
“ผมไม่คิดว่ามนุษยชาติจะมีชีวิตรอดไปได้อีก 1,000 ปีหากไม่หนีออกไปจากโลกที่บอบบางของเรา” โดยมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาโลกร้อน (2) สงครามนิวเคลียร์ และ (3) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence- ซึ่งหมายรวมไปถึงชีวิตประดิษฐ์ด้วย)
สำหรับประเด็นการหาโลกใหม่ในกาแล็กซีหรือในจักรวาล เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเขาในฐานะนักจักรวาลวิทยา นอกจากนี้ยังพบว่างานวิจัยขององค์การนาซา และโครงการของมหาเศรษฐี Elon Musk (เจ้าของ Tesla) ที่จะส่งคนไปนอกโลกก็มีวัตถุประสงค์คล้ายๆ กัน ผมเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้และไม่ค่อยเห็นด้วยกับความพยายามดังกล่าวครับ
ผมไม่แน่ใจว่าลึกๆ แล้ว ศาสตราจารย์ท่านนี้คิดอะไรอยู่ ท่านต้องการเตือนชาวโลกให้มีความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรอันมีจำกัดของโลก หรือต้องการจะหาโลกใบใหม่จริงๆ
อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการหลายคนได้มาแสดงความเห็นต่อข้อเสนอของสตีเฟน ฮอว์คิงหนึ่งในนั้นคือ John Sterman, ผู้อำนวยการ MIT Sloan Sustainability Initiative เขากล่าวถึงฮอว์คิงด้วยความเคารพว่า “ใครก็ตามที่คิดจะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการหาโลกใบใหม่มาเป็นเมืองขึ้นคงจะเป็นพวกที่ดูหนัง “Star Trek” มากเกินไป” พร้อมกล่าวต่อไปว่า “เราต้องเรียนรู้ที่จะอาศัยอยู่ที่นี้อย่างยั่งยืน บนโลกที่เรามีอยู่และไม่มีเวลาที่จะสูญเสียอีกแล้ว” (ที่มา: เว็บไซต์ Live Science)
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเห็นของ John Sterman ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านการบริหาร แต่ผมก็เชื่อว่าสตีเฟน ฮอว์คิง แค่ต้องการจะกระตุกสังคมที่กำลังวิกฤตเท่านั้น แต่ก็อย่างว่าแหละครับความรู้ของเขามันลึกซึ้งและยากมาก จนคนทั่วไปไม่กล้าเถียง
สี่ ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างปริมาณการปล่อยก๊าซกับความเข้มข้น
กลับมาที่ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ครับ และนี่คือหัวใจของบทความนี้ครับ
เท่าที่ผมได้พยายามศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร พบว่า ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาพลังงานฟอสซิลนั้น เมื่อขึ้นไปอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกแล้วจะมีอายุอยู่ได้นานกี่ปี ได้คำตอบคร่าวๆ ว่า นานนับ 100 ปี
แต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ก็คือ ทั้งๆ ที่ในช่วง 3 ปีสุดท้าย การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชาวโลกไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ความเข้มข้นของก๊าซดังกล่าวกลับยังเพิ่มสูงขึ้นหรือว่ามีการแอบปล่อยโดยไม่มีการรายงาน หรือว่าเป็นกลไกของธรรมชาติที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจที่ดีพอ มันเป็นไปได้ทั้งนั้น
นี่จึงเป็นความซับซ้อน ที่เข้าทำนอง “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” (ดูภาพประกอบ)
เรื่องที่ผมเห็นว่าเป็นความซับซ้อนอีกอย่างหนึ่ง คือ มนุษย์ (โดยนักคณิตศาสตร์-ฟิสิกส์) ได้ค้นพบก๊าซเรือนกระจกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1824 แต่พอถึงปี ค.ศ. 1850 แม้มีการปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,540 ล้านตันแต่ความเข้มข้นของก๊าซก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ยังคงต่ำกว่า 300 พีพีเอ็ม ผมได้นำภาพสวยๆ มาลงให้ดูด้วย หากใครสนใจก็ค้นคว้าได้อย่างสะดวกครับ
เรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กำลังเป็นประเด็นสำคัญและวิกฤตมากของโลก (ซึ่งยืนยันโดยสตีเฟน ฮอว์คิง) การที่โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะยกเลิกสัตยาบันที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ไว้กับองค์การสหประชาชาติ ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะทำได้ตามกฎหมายสากลในช่วง 4 ปีแรก จึงทำให้ประเด็นนี้ได้รับการถกเถียงกันกว้างขวางและมีความลึกซึ้งทางวิชาการมากขึ้น ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ
ห้า ข้อเสนอการลดก๊าซของประเทศไทยที่คลุมเครือและข้อมูลในภาคการผลิตไฟฟ้า
คราวนี้มาดูเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยเราบ้าง เราคงจำกันได้นะครับ ตอนปลายปีที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ลงนามในสัตยาบันเพื่อจะลดลงถึง 20 ถึง 25% จากระดับที่ได้พยากรณ์ไปข้างหน้า (ที่ใช้ปี 2005 เป็นปีอ้างอิง) ภายในปี 2030
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะรู้สึกได้ว่า ข้อเสนอของประเทศเรามีปัญหาแน่นอน เช่น จะใช้อัตราการเติบโตเท่าใดในการพยากรณ์ ถ้าใช้อัตราการเติบโตมากเกินความจริง ค่าพยากรณ์ไปถึงปี 2030 ก็จะสูง (ในเอกสารระบุตัวเลขเท่ากับ 555 ล้านตัน)คล้ายกับแม่ค้าบอกราคาสินค้าให้สูงเกินจริงเพื่อหลอกผู้ซื้อ จากนั้นก็ลดราคาลงมาให้ผู้ซื้อรู้สึกดีทั้งๆ ที่ได้ซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าปกติ
นี่คือสิ่งที่ผมเรียกอย่างกลางๆ ว่าความคลุมเครือ
อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ขององค์การสหประชาชาติต้องการให้ช่วยกันลดจากระดับที่เคยปล่อยอยู่จริง เช่น สหรัฐอเมริกาประกาศจะลดลง 17% จากระดับที่เคยปล่อยในปี 2005 ซึ่งเป็นค่าจริงที่ได้เกิดขึ้นแล้วและจะลดลงอีก 26 ถึง 28% ภายในปี 2025 จากข้อมูลที่มีการรายงานพบว่ามีความเป็นไปได้จริงครับ โดยไม่ต้องมาเถียงหรือตีความกันให้วุ่นวาย
ภาพข้างล่างนี้คือข้อมูลการปล่อยก๊าซที่เกิดจากการใช้พลังงานของไทย พบว่า ในปี 2558 ภาคการผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยมากที่สุด (ร้อยละ 39%) ประมาณ 100 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นเกือบทุกปีในช่วงที่ผ่านมา
และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 การปล่อยก๊าซได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มันสวนทางกับสัตยาบันครับ แต่มันก็พออภัยได้เพราะเป็นช่วงเริ่มต้น
แต่ในระยะยาวจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้อีก 3 โรงใหญ่ นอกจากนี้ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลการปล่อยนี้ได้นับรวมเอาการปล่อยของโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสาในประเทศลาว แต่เป็นของบริษัทลูกของ กฟผ.และบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด แล้วหรือยัง
จากเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ซึ่งได้เข้าร่วมประชุม COP22 ที่ประเทศโมร็อกโกด้วย) ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“กฟผ. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมต่อสู้กับภาวะโลกร้อน โดยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 ในปี 2030 ซึ่งในส่วนของ กฟผ.มีเป้าหมายลดที่ 12 ล้านตัน และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในปี 2050 ซึ่งจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 95 ในการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน”
เรียนตามตรงว่า ผมงงมากครับ ก็ในเมื่อในปี 2558 ภาคการผลิตไฟฟ้า (ซึ่งทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของ กฟผ.) มีการปล่อยแล้วประมาณ 100 ล้านตันต่อปี ถ้าจะลด 20% ก็ควรจะเท่ากับ 20 ล้านตัน แต่ ทาง กฟผ.ได้หยิบเอาตัวเลข 12 ล้านตันมาจากไหนกัน
กรุณาช่วยอธิบายด้วย รวมทั้งกรณีโรงไฟฟ้าหงสาด้วยครับ