• วัดเกาหลีใต้เฉลิมฉลอง “วิหารไม้” หลังใหม่ ใช้เวลาสร้าง 14 ปี ใหญ่สุดในโลกตะวันออก
เกาหลีใต้ : เว็บไซต์ Yonhapnews รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2017 วัดแดกวาง (Daegwang) ซึ่งเป็นวัดสาขาในนิกายชอนแท ของคณะสงฆ์เกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในเมืองซ็องนัม ทางใต้ของกรุงโซล ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองวิหารหลังใหม่ที่ทำด้วยไม้ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตะวันออก หลังจากใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 14 ปี
วิหารดังกล่าวมีชื่อว่า Mireukbogeon (วิหารพระศรีอริยเมตไตรย) มีพื้นที่ 661 ตารางเมตร สูง 33 เมตร เป็นวิหารชั้นเดียว สร้างด้วยท่อนซุงราว 200 คันรถบรรทุก ส่วนที่เป็นขื่อคาน ทำจากไม้สนสีแดงอายุ 453 ปีที่ปลูกในประเทศแคนาดา โดยมี “ชิน อุง ซู” ปรมาจารย์ช่างไม้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง
ตรงกลางวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรยประทับนั่ง ขนาดสูง 17 เมตร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ 88 ตัน ปิดด้วยทองคำเปลวรูปสี่เหลี่ยมขนาด 11 ซม. จำนวน 150,000 แผ่น และทาทับด้วยฝุ่นทองหนัก 1.6 กก.
โดยมีผู้เข้าร่วมในพิธีราว 10,000 คน รวมทั้ง พระโดยอง สังฆราชแห่งนิกายชอนแท และ ซอง ซู กวน รองรัฐมนตรีวัฒนธรรม ซึ่งพระวอลโด เจ้าอาวาสวัดแดกวางกล่าวว่า “พระพุทธรูปองค์นี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่นำพาประเทศเกาหลีใต้ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น และนำสันติสุขมาสู่คาบสมุทรเกาหลี ทำให้โลกสงบสุข”
• วัดโตเกียวแหวกประเพณีการฝังศพ เปิดบริการหลุมศพคู่รักเพศเดียวกัน
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ Japantimes รายงานว่า วัดโชไดจิ เขตเอโดะกาวะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดให้บริการหลุมศพสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน เนื่องจากมีการสอบถามเข้ามายังวัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับหลุมศพสำหรับผู้ตายที่เป็นเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ ที่เรียกรวมกันว่า LGBT
“เราอยากดูแลกลุ่มคนที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง และช่วยให้พวกเขาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับหลุมฝังศพหลังการเสียชีวิต” เจ้าหน้าที่วัดรายหนึ่งกล่าว
มัตสึมิ โยโกตะ หัวหน้านักวิจัยของสมาคมสุสานในญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำวิจัยและให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินงานของสุสานและเรื่องที่เกี่ยวข้อง เผยว่า แม้ว่าในญี่ปุ่นจะไม่มีกฎหมายห้ามการฝังศพของคู่ที่ไม่ใช่สามีภรรยา แต่การฝังศพดังกล่าวถือเป็นเรื่องผิดปกติ เนื่องจากถูกคัดค้านโดยญาติของผู้ตาย และเจ้าหน้าที่สุสานมักไม่เต็มใจ เพราะเกรงกลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
“เท่าที่อาตมารู้ ยังไม่มีหลุมศพสำหรับฝังคู่รักเพศเดียวกัน” พระโจจิ อินูเอะ เจ้าอาวาสวัดโชไดจิ วัย 43 ปี กล่าว ท่านจึงเปิดให้บริการหลุมศพสำหรับพวกเขา โดยจัดสรรพื้นที่ในสุสานจังหวัดชิบะและไซตามะ เพื่อต้องการเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการฝังศพในญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นไปตามทะเบียนสำมะโนครัว
โดยตั้งชื่อหลุมศพว่า “อันโดะ” หมายถึงความโล่งใจ เพื่อให้ผู้ตายได้หลับอย่างสงบกับคนรักในวาระสุดท้าย มีป้ายหินอ่อนสีขาวหน้าหลุมศพ สูง 1.2 เมตร จารึกชื่อจริงหรือชื่อเล่นของผู้ตายทั้งสอง
ทั้งนี้ กลุ่ม LGBT อาจไม่มีบุตรหลานคอยดูแลหลุมศพ ดังนั้น หลังจากฝังไว้ 6 ปี ทางวัดจะเคลื่อนย้ายอัฐิของพวกเขาไปฝังรวมกันในหลุมศพหมู่
“ศาสนาพุทธไม่ได้แบ่งแยกเรื่องเพศ หรือบอกว่าบุคคลควรเป็นเช่นไร อาตมาหวังที่จะลดอคติและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง” เจ้าอาวาสวัดโชไดจิ กล่าว
• อากาศร้อนจัดในอินเดีย ทำ “ต้นโพธิ์พุทธคยา” ใบร่วงหมดต้น
อินเดีย : เว็บไซต์ Hindustantimes.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการจัดการวัดมหาโพธิ์ (Mahabodhi Temple Management Committee - BTMC) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในเมืองพุทธคยา เมืองมรดกโลกนั้น ได้แสดงความกังวลต่อการเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็วของต้นโพธิ์ เนื่องจากได้ผลัดใบนอกฤดูกาล ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง และยังไม่มีวี่แววว่าจะผลิใบใหม่ ซึ่งต่างจากต้นไม้อื่นๆที่ผลิใบใหม่ออกมาแล้ว
การที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ผลัดใบอย่างกะทันหัน และยังไม่ผลิใบใหม่ ทำให้ เอ็น ดอร์ยี ประธานคณะกรรมการฯ ต้องเดินทางไปยังเมืองเดห์ราดูน เมืองหลวงของรัฐอุตตราขัณฑ์ เพื่อหารือกับนักพฤกษศาสตร์ ซึ่งเคยช่วยฟื้นฟูต้นพระศรีมหาโพธิ์เมื่อ 3 ปีก่อน
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการดังกล่าวเผยว่า เมื่อเดือนมกราคม 2017 นักพฤกษศาสตร์จากเดห์ราดูน ได้เดินทางมายังพุทธคยา เพื่อตรวจสภาพต้นพระศรีมหาโพธิ์ พบว่ามีสภาพที่แข็งแรง และไม่มีสัญญาณของการผุพังแต่อย่างใด
ขณะที่ อาร์วินด์ กุมาร ซิงห์ คณะกรรมการอาวุโส ได้ให้เหตุผลของการที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ผลัดใบผิดปกติว่า เกิดจากสภาพอากาศที่ผิดปกติ อุณหภูมิพุ่งสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในเดือนมีนาคม ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงไม่มีอะไรต้องน่าวิตก เพราะมันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
อนึ่ง ต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งเมืองพุทธคยา เป็นต้นที่สืบหน่อจากต้นเดิมที่ปลูกเมื่อ 288 ปีก่อนคริสตกาล อันเป็นสถานที่ซึ่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จึงเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก และใบโพธิ์ที่ร่วงหล่นจะถูกชาวพุทธที่มีจิตศรัทธาเก็บไปสักการบูชา
• จีนจัดพิธีต้อนรับเสาหินพุทธโบราณ อายุ 1,000 กว่าปี คืนสู่บ้านเกิด
จีน : สำนักข่าวจีน Xinhua รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2017 พิพิธภัณฑ์จังหวัดซานซี ประเทศจีน ได้จัดพิธีต้อนรับการกลับคืนสู่บ้านเกิดของเสาหินพุทธศาสนาโบราณองค์หนึ่ง ที่ถูกขโมยไปจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของจีนเมื่อ 19 ปีที่แล้ว
เสาหินดังกล่าวมีชื่อว่า “เสาหินเดงยู้” (Dengyu stone tower) มีต้นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านเดงยู้ เขตยูฉี จังหวัดซานซี สร้างในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) มีความสูงจากฐานถึงปลายยอด 320 ซม. ส่วนตัวเสาสูง 177 ซม. มีภาพพระพุทธรูปแกะสลักโดยรอบทั้ง 4 ด้าน ได้รับยกย่องว่าเป็นการแกะสลักหินอันยอดเยี่ยมในยุคราชวงศ์ถัง และได้รับการขึ้นทะเบียนคุ้มครองระดับจังหวัด เมื่อค.ศ. 1965
ในค.ศ. 1996 ส่วนปลายยอดของเสาหินถูกขโมยไป ซึ่งปัจจุบันยังคงหายสาบสูญ ส่วนตัวเสาหินถูกขโมยออกจากจีน เมื่อค.ศ. 1998 และต่อมาตกอยู่ในความครอบครองของนักสะสม ซึ่งได้บริจาคให้แก่วัดชุงไตชาน ประเทศไต้หวันในค.ศ.2015 เมื่อทางวัดได้รับการยืนยันถึงแหล่งที่มาของเสาหินเดงยู้ จึงตัดสินใจส่งคืนให้จีนเมื่อ ค.ศ. 2016 ซึ่งพิพิธภัณฑ์จังหวัดซานซีได้รับมอบเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2017
“เราซาบซึ้งต่อการตัดสินใจของวัดชุงไตชานเป็นอย่างยิ่ง” หวัง ไตหมิง หัวหน้ากองวัตถุโบราณเขตยูฉี กล่าว
“การบริจาคถือเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไต้หวันและจีน” พระเจียน เด็ง เจ้าอาวาสวัดชุงไตชาน กล่าว
ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์จังหวัดซานซีเผยว่า จะเร่งปรับปรุงด้านความปลอดภัย เพื่อคุ้มครองเสาหินเดงยู้ และเตรียมจัดนิทรรศการในเร็วๆนี้
• สาวนักออกแบบญี่ปุ่นผลิต “โกศ” ฟรุ้งฟริ้ง น่ารักโดนใจผู้พบเห็น
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า มิคาโกะ ฟูเซะ สาวนักออกแบบได้ผุดไอเดียผลิตโกศคาไวอิ (โกศขนาดเล็กน่ารัก) เมื่อเธอได้เห็นอัฐิของเพื่อนหลายคนบรรจุลงในโกศเรียบๆสีขาว จึงคิดที่จะผลิตโกศที่มีเอกลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของผู้ตาย
ฟูเซะ วัย 43 ปี เคยทำงานด้านออกแบบเครื่องแต่งกาย เธอหวังที่จะออกแบบโกศที่ตัวเองต้องการ จึงตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวกับการฝังศพ และผลิตโกศที่ตกแต่งด้วยคริสตัลและเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
“ฉันต้องการสวมใส่ชุดที่ชื่นชอบหลังเสียชีวิต และอยากให้อัฐิของฉันได้บรรจุลงในโกศ ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับฉัน” ฟูเซะ กล่าว
โกศคาไวอิวางขายภายใต้แบรนด์ชั้นนำ และเคยนำไปจัดแสดงในงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพิธีศพในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015 ซึ่งเธอได้ยินสตรีรุ่นเดียวกับเธอพูดว่า “โกศน่ารักจัง ฉันอยากได้” ตั้งแต่นั้นมาเธอจึงผลิตโกศรูปแบบต่างๆ ออกวางจำหน่าย อาทิ โกศทรงขวดเครื่องสำอาง ซึ่งออกแบบโดยดีไซเนอร์แฟชั่นชื่อดัง ราคาใบละ 30,000-80,000 เยน (ราว 9,300-25,000 บาท) หรือโกศทรงกระปุกกลมทำด้วยอัลลอยด์ มีรูปสัตว์และต้นไม้โดยรอบ ทาสีชมพูและน้ำเงิน ตกแต่งด้วยคริสตัลและไข่มุกของชวารอฟสกี้ มองดูคล้ายตลับใส่ของมีค่า และเมื่อนำรูปคนตายติดไว้ด้านในของฝาโกศ ก็จะกลายเป็นแท่นบูชาทันทีเมื่อเปิดฝาขึ้น ราคาใบละ 500,000 เยน (ราว 155,000 บาท) ฟูเซะกล่าวว่า “ฉันออกแบบโกศให้เข้ากับการตกแต่งภายในบ้านได้ด้วย”
ปัจจุบัน ฟูเซะกำลังพัฒนาโกศที่มีตัวการ์ตูน เพื่อให้พ่อแม่ที่สูญเสียลูกเล็กๆใช้บรรจุอัฐิ โดยเลือกตัวการ์ตูนที่เด็กๆชื่นชอบ ซึ่งฟูเซะได้ผลิตโกศที่มีรูป “โรดี้” ตัวการ์ตูนรูปร่างคล้ายม้าของอิตาลี เธอกล่าวว่า “อุตสาหกรรมพิธีศพจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากภายใน 10 ปี ฉันอยากให้การพัฒนาโกศเป็นงานที่ฉันต้องทำไปชั่วชีวิต”
• ศาลสูงอินเดียมีคำสั่งให้แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ “คงคาและยมุนา” มีสถานะเป็นบุคคล
อินเดีย : เว็บไซต์ BBC รายงานว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2017 ศาลสูงในรัฐอุตตราขัณฑ์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีคำสั่งให้แม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา มีสถานะเป็น “บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่” เพื่อช่วยปกป้องและอนุรักษ์แม่น้ำทั้งสองสายที่มีมลพิษสูง ซึ่งสถานะตามกฎหมายนี้ ส่งผลให้การสร้างมลพิษลงสู่แม่น้ำ มีความผิดเทียบเท่ากับการทำร้ายบุคคล
แม่น้ำคงคาและยมุนา ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย ชาวอินเดียที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ถือว่าแม่น้ำทั้งสองเป็นเทพเจ้า ซึ่งศาลได้ระบุในคำตัดสินว่า ชาวฮินดูมีความศรัทธาลึกซึ้งและผูกพันกับแม่น้ำทั้งสองสาย ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ของประชากรอินเดียราวครึ่งหนึ่ง มันได้หล่อเลี้ยงทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณของชาวอินเดียมาแต่ครั้งอดีตกาล
แต่ปัจจุบัน แม่น้ำทั้งสองสายเต็มไปด้วยมลพิษสูง อันเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเติบโตอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง ศาลจึงได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุด 2 คน ให้เป็นผู้ปกครองแม่น้ำทั้งสองสายตามกฎหมาย และใช้สิทธิ์แทนได้
ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นไม่กี่วันภายหลังจากที่แม่น้ำวันกานุย ในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นแห่งแรกในโลกที่ได้รับสิทธิ์ทางกฎหมายเทียบเท่าบุคคล
บรรดานักเคลื่อนไหวกล่าวว่า คำสั่งนี้ออกมาเพื่อเร่งให้มีการบำบัดแม่น้ำทั้งสองสายให้ใสสะอาด
• อินโดนีเซียเล็งดัน “บุโรพุทโธ” ขึ้นแท่นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา เทียบเท่าโรมและเยรูซาเล็ม
อินโดนีเซีย : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า อินโดนีเซียกำลังมองหาลู่ทางขยายการท่องเที่ยวเชิงศาสนาไปยังบุโรพุทโธ ซึ่งเป็นวัดในพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เมืองมาเกอลัง ทางตอนกลางของเกาะชวา
โดยเมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิมรดกไทดาร์ (Tidar Heritage Foundation - THF) ได้จัดงานเทศกาลวัฒนธรรมขึ้นเป็นพิเศษ โดยหวังจะยกระดับสถานที่อันเป็นมรดกโลกแห่งนี้ ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เช่นเดียวกับนครเยรูซาเล็มและกรุงโรม รวมทั้งเพื่อส่งเสริมสันติสุขและความสามัคคีระหว่างศาสนาต่างๆทั่วโลก
งานดังกล่าวจัดขึ้นที่เมืองมาเกอลัง มีตัวแทนจากสถานทูตต่างๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน โครเอเชีย เยอรมนี ฮังการี เลบานอน มองโกเลีย โอมาน และฟิลิปปินส์ เข้าร่วมชมการแสดงทางวัฒนธรรมหลายชุด ที่เกี่ยวกับตำนานของโบรโตเนอร์มอย นักบวชจากเขาไทดาร์ ผู้เผยแพร่คำสอนด้านจิตวิญญาณ สันติสุข และความสามัคคี ซึ่งอยู่เหนือความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
“เราคาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้งานนี้ ช่วยยกระดับเมืองมาเกอลัง ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของอินโดนีเซีย เพื่อเป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากกรุงโรมหรือนครเยรูซาเล็ม ดังเป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า อินโดนีเซียเป็นสังคมที่ส่งเสริมสันติสุขและความสามัคคีให้เกิดขึ้นบนโลกนี้” เจ้าหน้าที่มูลนิธิกล่าว
ทั้งนี้ บุโรพุทโธเป็น 1 ใน 10 จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลวางแผนโปรโมทเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ อันเป็นภาคสำคัญของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย
อนึ่ง บุโรพุทโธ ได้ชื่อว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเนื้อที่ 15,000 ตร.ม. สร้างในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ ซึ่งปกครองชวานาน 500 ปี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10
ตัววัดสร้างด้วยสถาปัตยกรรมพุทธแบบชวา เป็นรูปทรงพีรามิด มีลานเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกัน 8 ชั้น โดย 5 ชั้นล่างเป็นลานสี่หลี่ยม และ 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม บนลานวงกลมชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานมหาสถูปแบบมหายาน สูง 10 เมตร และรายล้อมด้วยสถูปขนาดเล็ก 72 องค์ ซึ่งภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ องค์สถูปตกแต่งด้วยภาพสลักนูน 2,672 ชิ้น และพระพุทธรูป 504 องค์
บริเวณวัดประกอบด้วยวัดขนาดเล็ก 2 แห่ง ตั้งอยู่ในแนวเดียวกันทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ ได้แก่ วัดปาวัน (Pawan Temple) และวัดเมนดุท (Mendut Temple) ซึ่งภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ โดยวัดทั้ง 3 แห่งนี้ถือเป็นตัวแทน 3 ขั้นของการเข้าถึงนิพพาน
ต้นกำเนิดแท้จริงของบุโรพุทโธยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าผู้ปกครองดินแดนดังกล่าวในอดีต เป็นผู้ที่เลื่อมใสในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน มีทฤษฎีหนึ่งบอกว่า บุโรพุทโธเป็นตัวแทนจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ มีรูปทรงคล้ายมันดาลา
ทั้งนี้ ศาสนาพุทธเป็น 1 ใน 5 ศาสนาที่เป็นทางการของอินโดนีเซีย ข้อมูลจากการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2010 เผยว่า มีชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาพุทธราว 0.7% ศาสนาอิสลาม 87.2% ศาสนาคริสต์ 9.9% ศาสนาฮินดู 1.7% ลัทธิขงจื๊อและอื่นๆ 0.2% ของประชากรทั้งหมด
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 197 พฤษภาคม 2560 โดย เภตรา)
เกาหลีใต้ : เว็บไซต์ Yonhapnews รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2017 วัดแดกวาง (Daegwang) ซึ่งเป็นวัดสาขาในนิกายชอนแท ของคณะสงฆ์เกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในเมืองซ็องนัม ทางใต้ของกรุงโซล ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองวิหารหลังใหม่ที่ทำด้วยไม้ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตะวันออก หลังจากใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 14 ปี
วิหารดังกล่าวมีชื่อว่า Mireukbogeon (วิหารพระศรีอริยเมตไตรย) มีพื้นที่ 661 ตารางเมตร สูง 33 เมตร เป็นวิหารชั้นเดียว สร้างด้วยท่อนซุงราว 200 คันรถบรรทุก ส่วนที่เป็นขื่อคาน ทำจากไม้สนสีแดงอายุ 453 ปีที่ปลูกในประเทศแคนาดา โดยมี “ชิน อุง ซู” ปรมาจารย์ช่างไม้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง
ตรงกลางวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรยประทับนั่ง ขนาดสูง 17 เมตร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ 88 ตัน ปิดด้วยทองคำเปลวรูปสี่เหลี่ยมขนาด 11 ซม. จำนวน 150,000 แผ่น และทาทับด้วยฝุ่นทองหนัก 1.6 กก.
โดยมีผู้เข้าร่วมในพิธีราว 10,000 คน รวมทั้ง พระโดยอง สังฆราชแห่งนิกายชอนแท และ ซอง ซู กวน รองรัฐมนตรีวัฒนธรรม ซึ่งพระวอลโด เจ้าอาวาสวัดแดกวางกล่าวว่า “พระพุทธรูปองค์นี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่นำพาประเทศเกาหลีใต้ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น และนำสันติสุขมาสู่คาบสมุทรเกาหลี ทำให้โลกสงบสุข”
• วัดโตเกียวแหวกประเพณีการฝังศพ เปิดบริการหลุมศพคู่รักเพศเดียวกัน
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ Japantimes รายงานว่า วัดโชไดจิ เขตเอโดะกาวะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดให้บริการหลุมศพสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน เนื่องจากมีการสอบถามเข้ามายังวัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับหลุมศพสำหรับผู้ตายที่เป็นเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ ที่เรียกรวมกันว่า LGBT
“เราอยากดูแลกลุ่มคนที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง และช่วยให้พวกเขาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับหลุมฝังศพหลังการเสียชีวิต” เจ้าหน้าที่วัดรายหนึ่งกล่าว
มัตสึมิ โยโกตะ หัวหน้านักวิจัยของสมาคมสุสานในญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำวิจัยและให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินงานของสุสานและเรื่องที่เกี่ยวข้อง เผยว่า แม้ว่าในญี่ปุ่นจะไม่มีกฎหมายห้ามการฝังศพของคู่ที่ไม่ใช่สามีภรรยา แต่การฝังศพดังกล่าวถือเป็นเรื่องผิดปกติ เนื่องจากถูกคัดค้านโดยญาติของผู้ตาย และเจ้าหน้าที่สุสานมักไม่เต็มใจ เพราะเกรงกลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
“เท่าที่อาตมารู้ ยังไม่มีหลุมศพสำหรับฝังคู่รักเพศเดียวกัน” พระโจจิ อินูเอะ เจ้าอาวาสวัดโชไดจิ วัย 43 ปี กล่าว ท่านจึงเปิดให้บริการหลุมศพสำหรับพวกเขา โดยจัดสรรพื้นที่ในสุสานจังหวัดชิบะและไซตามะ เพื่อต้องการเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการฝังศพในญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นไปตามทะเบียนสำมะโนครัว
โดยตั้งชื่อหลุมศพว่า “อันโดะ” หมายถึงความโล่งใจ เพื่อให้ผู้ตายได้หลับอย่างสงบกับคนรักในวาระสุดท้าย มีป้ายหินอ่อนสีขาวหน้าหลุมศพ สูง 1.2 เมตร จารึกชื่อจริงหรือชื่อเล่นของผู้ตายทั้งสอง
ทั้งนี้ กลุ่ม LGBT อาจไม่มีบุตรหลานคอยดูแลหลุมศพ ดังนั้น หลังจากฝังไว้ 6 ปี ทางวัดจะเคลื่อนย้ายอัฐิของพวกเขาไปฝังรวมกันในหลุมศพหมู่
“ศาสนาพุทธไม่ได้แบ่งแยกเรื่องเพศ หรือบอกว่าบุคคลควรเป็นเช่นไร อาตมาหวังที่จะลดอคติและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง” เจ้าอาวาสวัดโชไดจิ กล่าว
• อากาศร้อนจัดในอินเดีย ทำ “ต้นโพธิ์พุทธคยา” ใบร่วงหมดต้น
อินเดีย : เว็บไซต์ Hindustantimes.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการจัดการวัดมหาโพธิ์ (Mahabodhi Temple Management Committee - BTMC) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในเมืองพุทธคยา เมืองมรดกโลกนั้น ได้แสดงความกังวลต่อการเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็วของต้นโพธิ์ เนื่องจากได้ผลัดใบนอกฤดูกาล ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง และยังไม่มีวี่แววว่าจะผลิใบใหม่ ซึ่งต่างจากต้นไม้อื่นๆที่ผลิใบใหม่ออกมาแล้ว
การที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ผลัดใบอย่างกะทันหัน และยังไม่ผลิใบใหม่ ทำให้ เอ็น ดอร์ยี ประธานคณะกรรมการฯ ต้องเดินทางไปยังเมืองเดห์ราดูน เมืองหลวงของรัฐอุตตราขัณฑ์ เพื่อหารือกับนักพฤกษศาสตร์ ซึ่งเคยช่วยฟื้นฟูต้นพระศรีมหาโพธิ์เมื่อ 3 ปีก่อน
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการดังกล่าวเผยว่า เมื่อเดือนมกราคม 2017 นักพฤกษศาสตร์จากเดห์ราดูน ได้เดินทางมายังพุทธคยา เพื่อตรวจสภาพต้นพระศรีมหาโพธิ์ พบว่ามีสภาพที่แข็งแรง และไม่มีสัญญาณของการผุพังแต่อย่างใด
ขณะที่ อาร์วินด์ กุมาร ซิงห์ คณะกรรมการอาวุโส ได้ให้เหตุผลของการที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ผลัดใบผิดปกติว่า เกิดจากสภาพอากาศที่ผิดปกติ อุณหภูมิพุ่งสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในเดือนมีนาคม ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงไม่มีอะไรต้องน่าวิตก เพราะมันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
อนึ่ง ต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งเมืองพุทธคยา เป็นต้นที่สืบหน่อจากต้นเดิมที่ปลูกเมื่อ 288 ปีก่อนคริสตกาล อันเป็นสถานที่ซึ่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จึงเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก และใบโพธิ์ที่ร่วงหล่นจะถูกชาวพุทธที่มีจิตศรัทธาเก็บไปสักการบูชา
• จีนจัดพิธีต้อนรับเสาหินพุทธโบราณ อายุ 1,000 กว่าปี คืนสู่บ้านเกิด
จีน : สำนักข่าวจีน Xinhua รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2017 พิพิธภัณฑ์จังหวัดซานซี ประเทศจีน ได้จัดพิธีต้อนรับการกลับคืนสู่บ้านเกิดของเสาหินพุทธศาสนาโบราณองค์หนึ่ง ที่ถูกขโมยไปจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของจีนเมื่อ 19 ปีที่แล้ว
เสาหินดังกล่าวมีชื่อว่า “เสาหินเดงยู้” (Dengyu stone tower) มีต้นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านเดงยู้ เขตยูฉี จังหวัดซานซี สร้างในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) มีความสูงจากฐานถึงปลายยอด 320 ซม. ส่วนตัวเสาสูง 177 ซม. มีภาพพระพุทธรูปแกะสลักโดยรอบทั้ง 4 ด้าน ได้รับยกย่องว่าเป็นการแกะสลักหินอันยอดเยี่ยมในยุคราชวงศ์ถัง และได้รับการขึ้นทะเบียนคุ้มครองระดับจังหวัด เมื่อค.ศ. 1965
ในค.ศ. 1996 ส่วนปลายยอดของเสาหินถูกขโมยไป ซึ่งปัจจุบันยังคงหายสาบสูญ ส่วนตัวเสาหินถูกขโมยออกจากจีน เมื่อค.ศ. 1998 และต่อมาตกอยู่ในความครอบครองของนักสะสม ซึ่งได้บริจาคให้แก่วัดชุงไตชาน ประเทศไต้หวันในค.ศ.2015 เมื่อทางวัดได้รับการยืนยันถึงแหล่งที่มาของเสาหินเดงยู้ จึงตัดสินใจส่งคืนให้จีนเมื่อ ค.ศ. 2016 ซึ่งพิพิธภัณฑ์จังหวัดซานซีได้รับมอบเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2017
“เราซาบซึ้งต่อการตัดสินใจของวัดชุงไตชานเป็นอย่างยิ่ง” หวัง ไตหมิง หัวหน้ากองวัตถุโบราณเขตยูฉี กล่าว
“การบริจาคถือเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไต้หวันและจีน” พระเจียน เด็ง เจ้าอาวาสวัดชุงไตชาน กล่าว
ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์จังหวัดซานซีเผยว่า จะเร่งปรับปรุงด้านความปลอดภัย เพื่อคุ้มครองเสาหินเดงยู้ และเตรียมจัดนิทรรศการในเร็วๆนี้
• สาวนักออกแบบญี่ปุ่นผลิต “โกศ” ฟรุ้งฟริ้ง น่ารักโดนใจผู้พบเห็น
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า มิคาโกะ ฟูเซะ สาวนักออกแบบได้ผุดไอเดียผลิตโกศคาไวอิ (โกศขนาดเล็กน่ารัก) เมื่อเธอได้เห็นอัฐิของเพื่อนหลายคนบรรจุลงในโกศเรียบๆสีขาว จึงคิดที่จะผลิตโกศที่มีเอกลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของผู้ตาย
ฟูเซะ วัย 43 ปี เคยทำงานด้านออกแบบเครื่องแต่งกาย เธอหวังที่จะออกแบบโกศที่ตัวเองต้องการ จึงตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวกับการฝังศพ และผลิตโกศที่ตกแต่งด้วยคริสตัลและเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
“ฉันต้องการสวมใส่ชุดที่ชื่นชอบหลังเสียชีวิต และอยากให้อัฐิของฉันได้บรรจุลงในโกศ ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับฉัน” ฟูเซะ กล่าว
โกศคาไวอิวางขายภายใต้แบรนด์ชั้นนำ และเคยนำไปจัดแสดงในงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพิธีศพในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015 ซึ่งเธอได้ยินสตรีรุ่นเดียวกับเธอพูดว่า “โกศน่ารักจัง ฉันอยากได้” ตั้งแต่นั้นมาเธอจึงผลิตโกศรูปแบบต่างๆ ออกวางจำหน่าย อาทิ โกศทรงขวดเครื่องสำอาง ซึ่งออกแบบโดยดีไซเนอร์แฟชั่นชื่อดัง ราคาใบละ 30,000-80,000 เยน (ราว 9,300-25,000 บาท) หรือโกศทรงกระปุกกลมทำด้วยอัลลอยด์ มีรูปสัตว์และต้นไม้โดยรอบ ทาสีชมพูและน้ำเงิน ตกแต่งด้วยคริสตัลและไข่มุกของชวารอฟสกี้ มองดูคล้ายตลับใส่ของมีค่า และเมื่อนำรูปคนตายติดไว้ด้านในของฝาโกศ ก็จะกลายเป็นแท่นบูชาทันทีเมื่อเปิดฝาขึ้น ราคาใบละ 500,000 เยน (ราว 155,000 บาท) ฟูเซะกล่าวว่า “ฉันออกแบบโกศให้เข้ากับการตกแต่งภายในบ้านได้ด้วย”
ปัจจุบัน ฟูเซะกำลังพัฒนาโกศที่มีตัวการ์ตูน เพื่อให้พ่อแม่ที่สูญเสียลูกเล็กๆใช้บรรจุอัฐิ โดยเลือกตัวการ์ตูนที่เด็กๆชื่นชอบ ซึ่งฟูเซะได้ผลิตโกศที่มีรูป “โรดี้” ตัวการ์ตูนรูปร่างคล้ายม้าของอิตาลี เธอกล่าวว่า “อุตสาหกรรมพิธีศพจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากภายใน 10 ปี ฉันอยากให้การพัฒนาโกศเป็นงานที่ฉันต้องทำไปชั่วชีวิต”
• ศาลสูงอินเดียมีคำสั่งให้แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ “คงคาและยมุนา” มีสถานะเป็นบุคคล
อินเดีย : เว็บไซต์ BBC รายงานว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2017 ศาลสูงในรัฐอุตตราขัณฑ์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีคำสั่งให้แม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา มีสถานะเป็น “บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่” เพื่อช่วยปกป้องและอนุรักษ์แม่น้ำทั้งสองสายที่มีมลพิษสูง ซึ่งสถานะตามกฎหมายนี้ ส่งผลให้การสร้างมลพิษลงสู่แม่น้ำ มีความผิดเทียบเท่ากับการทำร้ายบุคคล
แม่น้ำคงคาและยมุนา ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย ชาวอินเดียที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ถือว่าแม่น้ำทั้งสองเป็นเทพเจ้า ซึ่งศาลได้ระบุในคำตัดสินว่า ชาวฮินดูมีความศรัทธาลึกซึ้งและผูกพันกับแม่น้ำทั้งสองสาย ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ของประชากรอินเดียราวครึ่งหนึ่ง มันได้หล่อเลี้ยงทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณของชาวอินเดียมาแต่ครั้งอดีตกาล
แต่ปัจจุบัน แม่น้ำทั้งสองสายเต็มไปด้วยมลพิษสูง อันเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเติบโตอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง ศาลจึงได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงสุด 2 คน ให้เป็นผู้ปกครองแม่น้ำทั้งสองสายตามกฎหมาย และใช้สิทธิ์แทนได้
ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นไม่กี่วันภายหลังจากที่แม่น้ำวันกานุย ในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นแห่งแรกในโลกที่ได้รับสิทธิ์ทางกฎหมายเทียบเท่าบุคคล
บรรดานักเคลื่อนไหวกล่าวว่า คำสั่งนี้ออกมาเพื่อเร่งให้มีการบำบัดแม่น้ำทั้งสองสายให้ใสสะอาด
• อินโดนีเซียเล็งดัน “บุโรพุทโธ” ขึ้นแท่นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา เทียบเท่าโรมและเยรูซาเล็ม
อินโดนีเซีย : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า อินโดนีเซียกำลังมองหาลู่ทางขยายการท่องเที่ยวเชิงศาสนาไปยังบุโรพุทโธ ซึ่งเป็นวัดในพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เมืองมาเกอลัง ทางตอนกลางของเกาะชวา
โดยเมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิมรดกไทดาร์ (Tidar Heritage Foundation - THF) ได้จัดงานเทศกาลวัฒนธรรมขึ้นเป็นพิเศษ โดยหวังจะยกระดับสถานที่อันเป็นมรดกโลกแห่งนี้ ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เช่นเดียวกับนครเยรูซาเล็มและกรุงโรม รวมทั้งเพื่อส่งเสริมสันติสุขและความสามัคคีระหว่างศาสนาต่างๆทั่วโลก
งานดังกล่าวจัดขึ้นที่เมืองมาเกอลัง มีตัวแทนจากสถานทูตต่างๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน โครเอเชีย เยอรมนี ฮังการี เลบานอน มองโกเลีย โอมาน และฟิลิปปินส์ เข้าร่วมชมการแสดงทางวัฒนธรรมหลายชุด ที่เกี่ยวกับตำนานของโบรโตเนอร์มอย นักบวชจากเขาไทดาร์ ผู้เผยแพร่คำสอนด้านจิตวิญญาณ สันติสุข และความสามัคคี ซึ่งอยู่เหนือความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
“เราคาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้งานนี้ ช่วยยกระดับเมืองมาเกอลัง ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของอินโดนีเซีย เพื่อเป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากกรุงโรมหรือนครเยรูซาเล็ม ดังเป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า อินโดนีเซียเป็นสังคมที่ส่งเสริมสันติสุขและความสามัคคีให้เกิดขึ้นบนโลกนี้” เจ้าหน้าที่มูลนิธิกล่าว
ทั้งนี้ บุโรพุทโธเป็น 1 ใน 10 จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลวางแผนโปรโมทเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ อันเป็นภาคสำคัญของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย
อนึ่ง บุโรพุทโธ ได้ชื่อว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเนื้อที่ 15,000 ตร.ม. สร้างในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ ซึ่งปกครองชวานาน 500 ปี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10
ตัววัดสร้างด้วยสถาปัตยกรรมพุทธแบบชวา เป็นรูปทรงพีรามิด มีลานเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกัน 8 ชั้น โดย 5 ชั้นล่างเป็นลานสี่หลี่ยม และ 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม บนลานวงกลมชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานมหาสถูปแบบมหายาน สูง 10 เมตร และรายล้อมด้วยสถูปขนาดเล็ก 72 องค์ ซึ่งภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ องค์สถูปตกแต่งด้วยภาพสลักนูน 2,672 ชิ้น และพระพุทธรูป 504 องค์
บริเวณวัดประกอบด้วยวัดขนาดเล็ก 2 แห่ง ตั้งอยู่ในแนวเดียวกันทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ ได้แก่ วัดปาวัน (Pawan Temple) และวัดเมนดุท (Mendut Temple) ซึ่งภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ โดยวัดทั้ง 3 แห่งนี้ถือเป็นตัวแทน 3 ขั้นของการเข้าถึงนิพพาน
ต้นกำเนิดแท้จริงของบุโรพุทโธยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าผู้ปกครองดินแดนดังกล่าวในอดีต เป็นผู้ที่เลื่อมใสในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน มีทฤษฎีหนึ่งบอกว่า บุโรพุทโธเป็นตัวแทนจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ มีรูปทรงคล้ายมันดาลา
ทั้งนี้ ศาสนาพุทธเป็น 1 ใน 5 ศาสนาที่เป็นทางการของอินโดนีเซีย ข้อมูลจากการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2010 เผยว่า มีชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาพุทธราว 0.7% ศาสนาอิสลาม 87.2% ศาสนาคริสต์ 9.9% ศาสนาฮินดู 1.7% ลัทธิขงจื๊อและอื่นๆ 0.2% ของประชากรทั้งหมด
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 197 พฤษภาคม 2560 โดย เภตรา)