คำว่า คน เป็นคำนามหมายถึงสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกับสัตว์ แต่มีความแตกต่างจากสัตว์ 2 ประการคือ
1. ด้านร่างกาย
คนมีโครงสร้างทางกายเจริญขึ้นในแนวดิ่ง หรือสูงขึ้นจากพื้นผิวของโลก
สัตว์มีโครงสร้างยาวไปตามแนวนอนขนานกับพื้นผิวของโลก
2. ทางด้านจิตใจ
คนมีเหตุอยู่เหนือความต้องการ การแสดงพฤติกรรมใดๆ เป็นไปด้วยการสั่งการของสมองหรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า จิต ซึ่งเป็นพลังอันเกิดจากการทำงานของสมอง และจิตที่ว่านี้ได้รับการฝึกฝนให้มีเหตุผลกำกับพฤติกรรม
ส่วนสัตว์มีความต้องการอันเกิดจากสัญชาตญาณกำกับพฤติกรรม ส่วนคำว่า คน เป็นกริยาหมายถึงทำให้ปนกัน หรือคลุกเคล้าให้กันเป็นเนื้อเดียวกัน
คนตามนัยแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้หลายประเภทตามสภาวะแห่งจิตใจ ในขณะที่แสดงออกซึ่งพฤติกรรมนั้นๆ ดังต่อไปนี้
1. มนุสฺโส คนมนุษย์หมายถึงคนที่มีจิตใจสูง เนื่องจากได้รับการฝึกฝนให้มีคุณธรรมและจริยธรรม คนเช่นนี้ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ (ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ คนที่ยึดดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในบรรดาคนทั้งหลาย)
2. มนุสสเปโต คนเปรตหมายถึงคนที่ไม่ทำมาหากินอะไร ได้แต่นั่งรอนอนรอให้คนอื่นเขาหยิบยื่นให้เหมือนเปรตที่ไม่มีอาหารกินต้องรอให้ญาติทำบุญอุทิศไปให้
3. มนุสสเดรัจฉาน คนสัตว์เดรัจฉานหมายถึงคนที่มีจิตใจขาดคุณธรรม และจริยธรรม มีพฤติกรรมเยี่ยงสัตว์
ในวิชาบริหารคนคือ 1 ใน 4 ของปัจจัยในการจัดการที่เหลืออีก 3 ประการคือ เงิน วัสดุ และการจัดการ เมื่อรวมคนเข้าด้วยจึงเป็น 4 ในวิชาสังคมศาสตร์ คนเป็นสัตว์สังคม (Social Animal)
จากนัยแห่งศาสตร์ต่างๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าคนเป็นปัจจัยหลักในทุกกิจการ
ดังนั้น ถ้าในสังคมใดหรือแม้กระทั่งในประเทศใด คนได้รับการฝึกให้เป็นมนุษย์คือผู้มีจิตใจสูงแล้วสังคมนั้นจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในทุกด้าน และการพัฒนาคนจะต้องดำเนินการ ทั้งในวัตถุและด้านจิตใจพร้อมๆ กัน จึงจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกันและจะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
จะพัฒนาคนอย่างไร ประเทศไทยจึงจะก้าวต่อไปได้ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม
ก่อนที่จะตอบโจทย์ทั้งสองประเด็นดังกล่าวข้างต้น
ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสังคมไทยดั้งเดิมก่อนที่การศึกษาของประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาตามรูปแบบของประเทศตะวันตก การศึกษาของประเทศไทยมีศูนย์กลางอยู่กับวัดในพระพุทธศาสนา โดยมีพระสงฆ์เป็นครูสอน และวิชาที่สอนก็มีไม่มากมายเหมือนในยุคปัจจุบัน แต่ปรากฏว่าคนไทยในยุคนั้นมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่วิ่งไล่ความอยากเช่นกับในปัจจุบัน
ประชากรในภาคเกษตรผลิตเพื่อกินเหลือขาย ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือยจึงไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่น ชาวนาในทุกวันนี้ และที่สำคัญเหนืออื่นใด คนที่ทำงานในภาครัฐหรือที่เรียกว่า ข้าราชการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ไม่คิดคดโกงในลักษณะฉ้อราษฎร์บังหลวงคือกดขี่ และเรียกร้องผลประโยชน์โดยใช้อำนาจหน้าที่จากความเป็นข้าราชการเยี่ยงที่ข้าราชการบางประเภท และบางคนกระทำอยู่ในปัจจุบัน และเบียดบังรายได้ที่รัฐควรจะได้ในรูปของภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยใช้อำนาจหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้กระทำผิด ด้วยการเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อแลกกับการเรียกร้องผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของตนเอง และทำให้รายได้เข้ารัฐลดลง
เหตุที่ทำให้คนในภาคเกษตรกรรมพอมีพอกิน ไม่มีหนี้สินก็ดี และทำให้คนในภาครัฐไม่คดโกงหรือคดโกงน้อยกว่าในปัจจุบันก็ดี เป็นผลของการศึกษาที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการอบรมทางด้านจิตใจ โดยอาศัยวัดเป็นแหล่งเพาะบ่มนั่นเอง
ในปัจจุบันการศึกษาของประเทศไทยเจริญก้าวหน้าในด้านวิชาการสาขาต่างๆ เป็นอันมาก เมื่อเทียบกับในยุคก่อน แต่การอบรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนและพึ่งธรรมเช่นการสอนให้คนมีสันโดษ 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษคือการยินดีตามที่ได้หมายความว่า ตนได้สิ่งใดมาหรือเพียรหาสิ่งใดได้มา ไม่ว่าจะเป็นของหยาบหรือประณีตแค่ไหน ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่อยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อน ไม่กระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้หรือเกินกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้องและชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ ไม่ริษยาเขา
2. ยถาพลสันโดษคือยินดีตามกำลังได้แก่ ยินดีแต่พอกำลังร่างกาย และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดี ไม่อยากได้เกินกำลังของตนหรือได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกต้องกับร่างกายหรือสุขภาพ เช่น ภิกษุได้อาหารบิณฑบาตที่แสลงต่อโรคของตน หรือเกินกำลังบริโภคใช้สอย ก็ไม่หวงแหนเก็บไว้ให้เสียเปล่าหรือฝืนใช้ไปเป็นโทษแก่ตน ยอมสละให้แก่ผู้อื่นที่จะใช้ได้หรือแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เหมาะแก่ตน แค่เพียงพอต่อประโยชน์ใช้สอยแห่งตน
3. ยถาสารุปปสันโดษคือยินดีตามสมควร หรือยินดีตามที่เหมาะแก่ตนได้สมควรแก่เพศและภาวะ และฐานะทางสังคมแห่งตน เช่น ภิกษุไม่ปรารถนาสิ่งของอันไม่ควรแก่สมณะภาวะ เป็นต้น
เนื้อหาสาระแห่งสันโดษ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นพื้นฐานในการฝึกหัดจิตใจของผู้ที่ดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งกำลังเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการทุจริต และเร่งรัดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการคดโกงในภาครัฐ ควรอย่างยิ่งจะได้เริ่มการศึกษาโดยการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแขนงต่างๆ ควบคู่ไปกับการให้การอบรมทางด้านจิตใจ เพื่อพัฒนาคนในชาติให้มีคุณภาพ และมีคุณธรรมไปพร้อมๆ กัน
ถ้าทำได้เช่นนี้เชื่อได้ว่าปัญหาทุจริตในภาครัฐ และความไม่รับผิดชอบต่อผู้บริโภคของธุรกิจภาคเอกชน จะค่อยๆ ลดลงแน่นอน
1. ด้านร่างกาย
คนมีโครงสร้างทางกายเจริญขึ้นในแนวดิ่ง หรือสูงขึ้นจากพื้นผิวของโลก
สัตว์มีโครงสร้างยาวไปตามแนวนอนขนานกับพื้นผิวของโลก
2. ทางด้านจิตใจ
คนมีเหตุอยู่เหนือความต้องการ การแสดงพฤติกรรมใดๆ เป็นไปด้วยการสั่งการของสมองหรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า จิต ซึ่งเป็นพลังอันเกิดจากการทำงานของสมอง และจิตที่ว่านี้ได้รับการฝึกฝนให้มีเหตุผลกำกับพฤติกรรม
ส่วนสัตว์มีความต้องการอันเกิดจากสัญชาตญาณกำกับพฤติกรรม ส่วนคำว่า คน เป็นกริยาหมายถึงทำให้ปนกัน หรือคลุกเคล้าให้กันเป็นเนื้อเดียวกัน
คนตามนัยแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้หลายประเภทตามสภาวะแห่งจิตใจ ในขณะที่แสดงออกซึ่งพฤติกรรมนั้นๆ ดังต่อไปนี้
1. มนุสฺโส คนมนุษย์หมายถึงคนที่มีจิตใจสูง เนื่องจากได้รับการฝึกฝนให้มีคุณธรรมและจริยธรรม คนเช่นนี้ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ (ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ คนที่ยึดดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในบรรดาคนทั้งหลาย)
2. มนุสสเปโต คนเปรตหมายถึงคนที่ไม่ทำมาหากินอะไร ได้แต่นั่งรอนอนรอให้คนอื่นเขาหยิบยื่นให้เหมือนเปรตที่ไม่มีอาหารกินต้องรอให้ญาติทำบุญอุทิศไปให้
3. มนุสสเดรัจฉาน คนสัตว์เดรัจฉานหมายถึงคนที่มีจิตใจขาดคุณธรรม และจริยธรรม มีพฤติกรรมเยี่ยงสัตว์
ในวิชาบริหารคนคือ 1 ใน 4 ของปัจจัยในการจัดการที่เหลืออีก 3 ประการคือ เงิน วัสดุ และการจัดการ เมื่อรวมคนเข้าด้วยจึงเป็น 4 ในวิชาสังคมศาสตร์ คนเป็นสัตว์สังคม (Social Animal)
จากนัยแห่งศาสตร์ต่างๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าคนเป็นปัจจัยหลักในทุกกิจการ
ดังนั้น ถ้าในสังคมใดหรือแม้กระทั่งในประเทศใด คนได้รับการฝึกให้เป็นมนุษย์คือผู้มีจิตใจสูงแล้วสังคมนั้นจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในทุกด้าน และการพัฒนาคนจะต้องดำเนินการ ทั้งในวัตถุและด้านจิตใจพร้อมๆ กัน จึงจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกันและจะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
จะพัฒนาคนอย่างไร ประเทศไทยจึงจะก้าวต่อไปได้ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม
ก่อนที่จะตอบโจทย์ทั้งสองประเด็นดังกล่าวข้างต้น
ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสังคมไทยดั้งเดิมก่อนที่การศึกษาของประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาตามรูปแบบของประเทศตะวันตก การศึกษาของประเทศไทยมีศูนย์กลางอยู่กับวัดในพระพุทธศาสนา โดยมีพระสงฆ์เป็นครูสอน และวิชาที่สอนก็มีไม่มากมายเหมือนในยุคปัจจุบัน แต่ปรากฏว่าคนไทยในยุคนั้นมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่วิ่งไล่ความอยากเช่นกับในปัจจุบัน
ประชากรในภาคเกษตรผลิตเพื่อกินเหลือขาย ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือยจึงไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่น ชาวนาในทุกวันนี้ และที่สำคัญเหนืออื่นใด คนที่ทำงานในภาครัฐหรือที่เรียกว่า ข้าราชการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ไม่คิดคดโกงในลักษณะฉ้อราษฎร์บังหลวงคือกดขี่ และเรียกร้องผลประโยชน์โดยใช้อำนาจหน้าที่จากความเป็นข้าราชการเยี่ยงที่ข้าราชการบางประเภท และบางคนกระทำอยู่ในปัจจุบัน และเบียดบังรายได้ที่รัฐควรจะได้ในรูปของภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยใช้อำนาจหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้กระทำผิด ด้วยการเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อแลกกับการเรียกร้องผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของตนเอง และทำให้รายได้เข้ารัฐลดลง
เหตุที่ทำให้คนในภาคเกษตรกรรมพอมีพอกิน ไม่มีหนี้สินก็ดี และทำให้คนในภาครัฐไม่คดโกงหรือคดโกงน้อยกว่าในปัจจุบันก็ดี เป็นผลของการศึกษาที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการอบรมทางด้านจิตใจ โดยอาศัยวัดเป็นแหล่งเพาะบ่มนั่นเอง
ในปัจจุบันการศึกษาของประเทศไทยเจริญก้าวหน้าในด้านวิชาการสาขาต่างๆ เป็นอันมาก เมื่อเทียบกับในยุคก่อน แต่การอบรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนและพึ่งธรรมเช่นการสอนให้คนมีสันโดษ 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษคือการยินดีตามที่ได้หมายความว่า ตนได้สิ่งใดมาหรือเพียรหาสิ่งใดได้มา ไม่ว่าจะเป็นของหยาบหรือประณีตแค่ไหน ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่อยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อน ไม่กระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้หรือเกินกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้องและชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ ไม่ริษยาเขา
2. ยถาพลสันโดษคือยินดีตามกำลังได้แก่ ยินดีแต่พอกำลังร่างกาย และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดี ไม่อยากได้เกินกำลังของตนหรือได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกต้องกับร่างกายหรือสุขภาพ เช่น ภิกษุได้อาหารบิณฑบาตที่แสลงต่อโรคของตน หรือเกินกำลังบริโภคใช้สอย ก็ไม่หวงแหนเก็บไว้ให้เสียเปล่าหรือฝืนใช้ไปเป็นโทษแก่ตน ยอมสละให้แก่ผู้อื่นที่จะใช้ได้หรือแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เหมาะแก่ตน แค่เพียงพอต่อประโยชน์ใช้สอยแห่งตน
3. ยถาสารุปปสันโดษคือยินดีตามสมควร หรือยินดีตามที่เหมาะแก่ตนได้สมควรแก่เพศและภาวะ และฐานะทางสังคมแห่งตน เช่น ภิกษุไม่ปรารถนาสิ่งของอันไม่ควรแก่สมณะภาวะ เป็นต้น
เนื้อหาสาระแห่งสันโดษ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นพื้นฐานในการฝึกหัดจิตใจของผู้ที่ดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งกำลังเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการทุจริต และเร่งรัดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการคดโกงในภาครัฐ ควรอย่างยิ่งจะได้เริ่มการศึกษาโดยการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแขนงต่างๆ ควบคู่ไปกับการให้การอบรมทางด้านจิตใจ เพื่อพัฒนาคนในชาติให้มีคุณภาพ และมีคุณธรรมไปพร้อมๆ กัน
ถ้าทำได้เช่นนี้เชื่อได้ว่าปัญหาทุจริตในภาครัฐ และความไม่รับผิดชอบต่อผู้บริโภคของธุรกิจภาคเอกชน จะค่อยๆ ลดลงแน่นอน