**ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องยอมรับบรรยากาศทางการเมืองเกือบจะร้อนแรงโดยฉับพลันทันใด กับความพยายามในการสร้างความปั่นป่วนกับราคาข้าว ส่วนใครเป็นคนปั่น ฝ่ายไหนต้องการจุดชนวน ฝ่ายไหนอยู่เบื้องหลัง เชื่อว่าแทบทุกคนย่อมมองออกได้ไม่ยาก เพียงแค่ใช้สติปัญญาไม่มากนัก ก็คงอ่านเกมได้ขาดอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี เรื่องข้าว เรื่องปัญหาราคาข้าวและชาวนาอยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน และที่สำคัญอยู่คู่กับการเมืองไทยมานานแล้วเช่นเดียวกัน หลายครั้งที่เกิดม็อบชาวนา จนเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมือง
คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน การออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับราคาข้าวของ เครือข่ายพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มองในมุมไหนก็ไม่มีทางพลาดว่านี่คือ "การเมือง" แบบเต็มๆ เป้าหมายเพื่อ "สะกิดชาวนา" ในเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ที่ตัวเอง คือยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับพวกกำลังโดนเช็กบิลกันแบบหนักหนาสาหัสขึ้นเรื่อยๆ
แน่นอนว่า การลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ย่อมถูกมองว่าต้องการหวังผลทางการเมืองแบบเนื้อๆ เน้นๆ กันเลยทีเดียว ส่วนรายละเอียดและวิธีการเคลื่อนไหวจะเป็นการ "จัดฉาก" หรือไม่ เชื่อว่าระดับคอการเมืองย่อมพิจารณาได้ดี และมีคำตอบอยู่แล้ว
**หากพิจารณาตามความเป็นจริงในเวลานี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับพวกกำลังถูกดำเนินคดีจากโครงการรับจำนำข้าวตัวเธอกำลังถูกดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีกำลังงวดเข้ามา เชื่อว่าราวปีหน้าก็คงจะทราบผลแล้วว่า "คุก" หรือไม่
ขณะเดียวกันในส่วนที่เกี่ยวกับคดีทางแพ่งอย่างที่รับรู้กันไปแล้ว รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ มีการออกคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปแล้วกว่า 3 หมื่นล้านบาท ส่วนนักการเมืองและข้าราชการอื่นๆ กำลังจะทยอยตามมา อีกไม่นานนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นอย่างที่รู้กันคือ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกถูกศาลตัดสินจำคุก และถูกเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากกรณีขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) แบบปลอมๆ กันจนอ่วมไปแล้ว
ซึ่งทั้งสองกรณีนั่นคือ ทั้งกรณีของ บุญทรง และ ยิ่งลักษณ์ ล้วนมาจากเรื่องข้าวที่เกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ ต้นเหตุมาจากเรื่องหลักคือนโยบายจำนำข้าว หรือความหมายตรงๆ คือการใช้เงินงบประมาณ หรือเงินหลวงไปรับซื้อข้าวทุกเมล็ดในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จนสร้างความเสียหายด้านกลไกตลาด เพราะบิดเบือนราคา เกิดความเสียหายด้านงบประมาณจำนวนมหาศาล เกิดช่องโหว่ ทำให้เกิดการทุจริตตามมา
ดังนั้นหากให้สรุปแบบรวบยอดในเวลานี้ก็ต้องบอกว่า สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเครือข่ายในพรรคเพื่อไทย กำลังลำบากอย่างหนัก อย่างแรกก็คือ คดีที่เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวที่ตัวเองกำลังโดนทั้งอาญา และแพ่ง อาญานั่นคือ ต้องลุ้นว่าจะต้องติดคุกหรือไม่ ซึ่งอีกไม่นานนักก็จะรู้ผลแล้ว ส่วนคดีทางแพ่งที่มีการเรียกค่าเสียหายกันนับหมื่นล้านบาท แม้ว่าตามขั้นมีการคัดค้าน มีการยื่นเรื่องอุทธรณ์ไปทางศาลปกครอง จนถึงศาลปกครองสูงสุด ที่ต้องใช้อีกนานนับปี แต่ถ้าพลาดพลั้งขึ้นมา มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
ขณะเดียวกัน หากปล่อยไปแบบเรื่อยๆ เรียงๆ แบบนี้ สำหรับอนาคตทางการเมืองนั้นไม่ต้องพูดถึง มันจบเห่ไปนานแล้ว จากเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมไปถึงสมาชิกพรรคเพื่อไทยอีกเป็นพรวน ซึ่งทุกอย่างล้วนมาจากเหตุ มาจากการกระทำผิดจนนำไปสู่คำพิพากษาของศาล ถูกถอดถอนโดยสภา ซึ่งคนพวกนี้หมดอนาคตทางการเมือง
เมื่อรูปการณ์ออกมาแบบนี้ มันก็ช่วยไม่ได้ที่พวกเขาจะต้องดิ้นรน เพื่อให้รอดจากหายนะที่รออยู่ข้างหน้า และก็ไม่มีอะไรที่น่าจะมีพลังเท่ากับพลังของชาวนา ซึ่งเคยเป็นฐานเสียงเก่า ดังนั้นการลงพื้นที่ในภาคอีสาน โฟกัสไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่หน้าฉากเพื่อไปแสดงความเห็นอกเห็นใจชาวนา ไปกันแบบ "น้ำตาท่วมจอ" มันก็ย่อมอธิบายภาพทั้งหลายได้ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว รวมไปถึงข้อสังเกตเรื่องการ "จัดฉาก" ตามมา
**แต่นั่นไม่เท่ากับคำพูดของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กล่าวกับชาวนาคนกันเองว่า "วันนี้หากยังเป็นรัฐบาล จะรับซื้อข้าวทั้งหมด (ทุกเมล็ด)" ความหมายก็คือ จะเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าว (รับซื้อข้าว) ต่อไป
แน่นอนว่า คำพูดแบบนี้ย่อมมีความหมาย เหมือนกับต้องการสะกิดความจำของชาวนา ที่ยังชื่นชมยินดีกับนโยบายจำนำข้าวที่ตันละหมื่นห้าพันบาท ซึ่งแม้ว่าชาวนาจะได้จริงแค่ ตันละ 11,000-13,000 บาทก็ตาม ก็แฮปปี้ ซึ่งจะว่าไปแล้วที่จริงน่าจะกำหนดให้สูงกว่านี้แบบเอาให้สุดๆไปเลย สักตันละ 2 หมื่น หรือ 3 หมื่นก็ได้ เพราะใช้เงินงบประมาณ ไม่ใช่เงินในกระเป๋าของ ยิ่งลักษณ์ แต่เอาเป็นว่า คำพูดจากวรรคทองดังกล่าวย่อมมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากหวังผลทางการเมือง ต้องการสร้างกระแสเปรียบเทียบด้านนโยบายว่า โครงการรับจำนำข้าวนั้นได้ราคาดีกว่าในยุคปัจจุบัน และคำว่า "หากยังเป็นรัฐบาลก็จะช่วยได้ดีกว่านี้" ก็ยิ่งมีความหมาย ทำนองว่า ตอนนี้เมื่อไม่ได้เป็น ก็ทำไมไม่ช่วยให้กลับมาได้เป็นรัฐบาลอีกล่ะ
ด้านหนึ่งเป็นการ"ดิสเครดิต" รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวดังกล่าวบังเอิญว่ามาในเวลาไล่เลี่ยกับข่าวราคาข้าวต่ำมากจนผิดสังเกต จากการกดราคารับซื้อของโรงสีบางแห่ง ซึ่งน่าจะปลุกกระแสความไม่พอใจของชาวนาจนกลายเป็น "ม็อบชาวนา" ลุกฮือได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี บางอย่างมันไม่เป็นไปตามคาดหมาย เป็นเพราะสถานการณ์เปลี่ยน บรรยากาศก็เปลี่ยนที่สำคัญชาวบ้านส่วนใหญ่ "รู้ทัน" และมองเห็นว่าเป็น "เรื่องการเมือง" ตั้งแต่ต้น มันจึงขาดพลัง อีกทั้งในยุคสมัยที่สื่อโซเชียลฯ มีบทบาทกระแสช่วยเหลือชาวนาขายตรงจึงสร้างความตื่นตัวจนบทบังความเคลื่อนไหวของพวกนักการเมืองเสียมิด เพราะกระแสไปอีกทาง กลายเป็นว่าภาพของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจจะไม่ถึงขั้นติดลบทั้งหมด เพราะยังมีแฟนคลับตามแห่อยู่บ้าง แต่ก็ถือว่า "หลุดเป้า" ไปเลย ไม่คุ้มกับที่หวังเอาไว้ ว่าต้องได้มากกว่านี้
**ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งมันก็เป็นการส่งสัญญาณเตือนไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลว่า ต้องเตรียมตั้งรับให้แน่น รวมไปถึงเตรียมการรับมือกับปัญหาข้าวนาปี และนาปรังในภาคกลางที่กำลังจะทะลักเข้ามา โดยเฉพาะการเปิดช่องทางการขายให้ชาวนาได้ขายข้าวได้สะดวกและรวดเร็วมากกว่าเดิม เพราะหากราคายังตกต่ำไม่กระเตื้องมันก็เป็นเงื่อนไขให้ฝ่ายตรงข้ามปลุกปั่นได้อย่างสะดวก ซึ่งประมาทไม่ได้เป็นอันขาด !!
อย่างไรก็ดี เรื่องข้าว เรื่องปัญหาราคาข้าวและชาวนาอยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน และที่สำคัญอยู่คู่กับการเมืองไทยมานานแล้วเช่นเดียวกัน หลายครั้งที่เกิดม็อบชาวนา จนเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมือง
คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน การออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับราคาข้าวของ เครือข่ายพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มองในมุมไหนก็ไม่มีทางพลาดว่านี่คือ "การเมือง" แบบเต็มๆ เป้าหมายเพื่อ "สะกิดชาวนา" ในเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ที่ตัวเอง คือยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับพวกกำลังโดนเช็กบิลกันแบบหนักหนาสาหัสขึ้นเรื่อยๆ
แน่นอนว่า การลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ย่อมถูกมองว่าต้องการหวังผลทางการเมืองแบบเนื้อๆ เน้นๆ กันเลยทีเดียว ส่วนรายละเอียดและวิธีการเคลื่อนไหวจะเป็นการ "จัดฉาก" หรือไม่ เชื่อว่าระดับคอการเมืองย่อมพิจารณาได้ดี และมีคำตอบอยู่แล้ว
**หากพิจารณาตามความเป็นจริงในเวลานี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับพวกกำลังถูกดำเนินคดีจากโครงการรับจำนำข้าวตัวเธอกำลังถูกดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีกำลังงวดเข้ามา เชื่อว่าราวปีหน้าก็คงจะทราบผลแล้วว่า "คุก" หรือไม่
ขณะเดียวกันในส่วนที่เกี่ยวกับคดีทางแพ่งอย่างที่รับรู้กันไปแล้ว รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ มีการออกคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปแล้วกว่า 3 หมื่นล้านบาท ส่วนนักการเมืองและข้าราชการอื่นๆ กำลังจะทยอยตามมา อีกไม่นานนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นอย่างที่รู้กันคือ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกถูกศาลตัดสินจำคุก และถูกเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากกรณีขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) แบบปลอมๆ กันจนอ่วมไปแล้ว
ซึ่งทั้งสองกรณีนั่นคือ ทั้งกรณีของ บุญทรง และ ยิ่งลักษณ์ ล้วนมาจากเรื่องข้าวที่เกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ ต้นเหตุมาจากเรื่องหลักคือนโยบายจำนำข้าว หรือความหมายตรงๆ คือการใช้เงินงบประมาณ หรือเงินหลวงไปรับซื้อข้าวทุกเมล็ดในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด จนสร้างความเสียหายด้านกลไกตลาด เพราะบิดเบือนราคา เกิดความเสียหายด้านงบประมาณจำนวนมหาศาล เกิดช่องโหว่ ทำให้เกิดการทุจริตตามมา
ดังนั้นหากให้สรุปแบบรวบยอดในเวลานี้ก็ต้องบอกว่า สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเครือข่ายในพรรคเพื่อไทย กำลังลำบากอย่างหนัก อย่างแรกก็คือ คดีที่เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวที่ตัวเองกำลังโดนทั้งอาญา และแพ่ง อาญานั่นคือ ต้องลุ้นว่าจะต้องติดคุกหรือไม่ ซึ่งอีกไม่นานนักก็จะรู้ผลแล้ว ส่วนคดีทางแพ่งที่มีการเรียกค่าเสียหายกันนับหมื่นล้านบาท แม้ว่าตามขั้นมีการคัดค้าน มีการยื่นเรื่องอุทธรณ์ไปทางศาลปกครอง จนถึงศาลปกครองสูงสุด ที่ต้องใช้อีกนานนับปี แต่ถ้าพลาดพลั้งขึ้นมา มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
ขณะเดียวกัน หากปล่อยไปแบบเรื่อยๆ เรียงๆ แบบนี้ สำหรับอนาคตทางการเมืองนั้นไม่ต้องพูดถึง มันจบเห่ไปนานแล้ว จากเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมไปถึงสมาชิกพรรคเพื่อไทยอีกเป็นพรวน ซึ่งทุกอย่างล้วนมาจากเหตุ มาจากการกระทำผิดจนนำไปสู่คำพิพากษาของศาล ถูกถอดถอนโดยสภา ซึ่งคนพวกนี้หมดอนาคตทางการเมือง
เมื่อรูปการณ์ออกมาแบบนี้ มันก็ช่วยไม่ได้ที่พวกเขาจะต้องดิ้นรน เพื่อให้รอดจากหายนะที่รออยู่ข้างหน้า และก็ไม่มีอะไรที่น่าจะมีพลังเท่ากับพลังของชาวนา ซึ่งเคยเป็นฐานเสียงเก่า ดังนั้นการลงพื้นที่ในภาคอีสาน โฟกัสไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่หน้าฉากเพื่อไปแสดงความเห็นอกเห็นใจชาวนา ไปกันแบบ "น้ำตาท่วมจอ" มันก็ย่อมอธิบายภาพทั้งหลายได้ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว รวมไปถึงข้อสังเกตเรื่องการ "จัดฉาก" ตามมา
**แต่นั่นไม่เท่ากับคำพูดของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กล่าวกับชาวนาคนกันเองว่า "วันนี้หากยังเป็นรัฐบาล จะรับซื้อข้าวทั้งหมด (ทุกเมล็ด)" ความหมายก็คือ จะเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าว (รับซื้อข้าว) ต่อไป
แน่นอนว่า คำพูดแบบนี้ย่อมมีความหมาย เหมือนกับต้องการสะกิดความจำของชาวนา ที่ยังชื่นชมยินดีกับนโยบายจำนำข้าวที่ตันละหมื่นห้าพันบาท ซึ่งแม้ว่าชาวนาจะได้จริงแค่ ตันละ 11,000-13,000 บาทก็ตาม ก็แฮปปี้ ซึ่งจะว่าไปแล้วที่จริงน่าจะกำหนดให้สูงกว่านี้แบบเอาให้สุดๆไปเลย สักตันละ 2 หมื่น หรือ 3 หมื่นก็ได้ เพราะใช้เงินงบประมาณ ไม่ใช่เงินในกระเป๋าของ ยิ่งลักษณ์ แต่เอาเป็นว่า คำพูดจากวรรคทองดังกล่าวย่อมมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากหวังผลทางการเมือง ต้องการสร้างกระแสเปรียบเทียบด้านนโยบายว่า โครงการรับจำนำข้าวนั้นได้ราคาดีกว่าในยุคปัจจุบัน และคำว่า "หากยังเป็นรัฐบาลก็จะช่วยได้ดีกว่านี้" ก็ยิ่งมีความหมาย ทำนองว่า ตอนนี้เมื่อไม่ได้เป็น ก็ทำไมไม่ช่วยให้กลับมาได้เป็นรัฐบาลอีกล่ะ
ด้านหนึ่งเป็นการ"ดิสเครดิต" รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวดังกล่าวบังเอิญว่ามาในเวลาไล่เลี่ยกับข่าวราคาข้าวต่ำมากจนผิดสังเกต จากการกดราคารับซื้อของโรงสีบางแห่ง ซึ่งน่าจะปลุกกระแสความไม่พอใจของชาวนาจนกลายเป็น "ม็อบชาวนา" ลุกฮือได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี บางอย่างมันไม่เป็นไปตามคาดหมาย เป็นเพราะสถานการณ์เปลี่ยน บรรยากาศก็เปลี่ยนที่สำคัญชาวบ้านส่วนใหญ่ "รู้ทัน" และมองเห็นว่าเป็น "เรื่องการเมือง" ตั้งแต่ต้น มันจึงขาดพลัง อีกทั้งในยุคสมัยที่สื่อโซเชียลฯ มีบทบาทกระแสช่วยเหลือชาวนาขายตรงจึงสร้างความตื่นตัวจนบทบังความเคลื่อนไหวของพวกนักการเมืองเสียมิด เพราะกระแสไปอีกทาง กลายเป็นว่าภาพของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจจะไม่ถึงขั้นติดลบทั้งหมด เพราะยังมีแฟนคลับตามแห่อยู่บ้าง แต่ก็ถือว่า "หลุดเป้า" ไปเลย ไม่คุ้มกับที่หวังเอาไว้ ว่าต้องได้มากกว่านี้
**ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งมันก็เป็นการส่งสัญญาณเตือนไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลว่า ต้องเตรียมตั้งรับให้แน่น รวมไปถึงเตรียมการรับมือกับปัญหาข้าวนาปี และนาปรังในภาคกลางที่กำลังจะทะลักเข้ามา โดยเฉพาะการเปิดช่องทางการขายให้ชาวนาได้ขายข้าวได้สะดวกและรวดเร็วมากกว่าเดิม เพราะหากราคายังตกต่ำไม่กระเตื้องมันก็เป็นเงื่อนไขให้ฝ่ายตรงข้ามปลุกปั่นได้อย่างสะดวก ซึ่งประมาทไม่ได้เป็นอันขาด !!