ผู้จัดการรายวัน 360 - “แจ๊ค หม่า - เจ้าสัวธนินท์” ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามระหว่าง “ แอนท์ ไฟแนนเชียล - แอสเซนด์ มันนี่” บริษัทในเครือของทั้งคู่ ประกาศเป็นพันธมิตรลุย “ฟินเทค” ในภูมิภาค ก่อนขยายไปทั่วโลก ตั้งเป้าลูกค้า 2 พันล้านรายใน 10 ปี เผย “แอนท์ ไฟแนนเชียล” ของอาลีบาบา จะลงทุนใน “แอสเซนด์ มันนี่” ของซีพี 20 % ก่อน
วานนี้ (1 พ.ย.) รายงานข่าวจากเขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แจ้งว่า ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป หนึ่งในผู้นำการให้บริการทางการเงินดิจิทัลระดับโลก ในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป กับบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทย และอาเซียน ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมี นายแจ๊ค หม่า ประธานอาลีบาบา กรุ๊ป และนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร พร้อมผู้บริหารระดับสูงทั้ง 2 กลุ่ม เป็นสักขีพยานในการลงนามด้วย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า บ.แอนท์ ไฟแนนเชียล ของอาลีบาบา จะลงทุนในแอสเซนด์ มันนี่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ 20 เปอเซ็นต์ และจะเพิ่มทุนในอีก10 เปอร์เซ็นต์ ใน 2 ปีข้างหน้า
** ตั้งเป้าผู้ใช้ 2 พันล้านรายใน 10 ปี
นายอีริค จิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กล่าวว่า เป้าหมายหลักของแอนท์ ไฟแนนเชียล คือ การเพิ่มปริมาณผู้ใช้งานให้กลายเป็น 2 พันล้านราย ภายใน 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2569 ด้วย 3 คีย์ธุรกิจหลัก คือ การขยายพาร์ตเนอร์ การเข้าไปช่วยบริหารจัดการทางด้านการเงินให้แก่ธุรกิจรายย่อย และการสร้างอีโคซิสเตมส์สำหรับธุรกรรมทางการเงิน ทั้งนี้จับมือแอสเซนด์ มันนี่ ว่า ต้องการเข้าถึงฐานลูกค้าในไทย และลูกค้าในไทยสามารถใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางของอาลีเพย์ ได้ทั่วโลก
“ปัจจุบัน ธุรกิจของแอนท์ ไฟแนนเชียล แบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย ธุรกิจเพย์เมนต์ ที่มีลูกค้าใช้งานราย450 ล้านคนต่อเดือน การบริหารจัดการความมั่นคงทางการเงิน 200 ล้านรายต่อเดือน ธุรกิจประกัน 300 ล้านรายต่อเดือน การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน 200 ล้านรายต่อเดือน และธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล และเอสเอ็มอี 4ล้านรายต่อเดือน” ซีอีโอ แอนท์ ไฟแนนเชียล ระบุ
** ดึง “อาลีเพย์” ให้คนไทยใช้งาน
ด้าน นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า จะมีส่วนช่วยใน 3 ส่วนหลักๆคือ 1.ช่วยในแง่ของการขยายเครือข่ายการใช้งานระบบชำระค่าสินค้าออนไลน์ โดยผู้ใช้งานอาลีเพย์ สามารถเข้ามาใช้งานภายในประเทศไทยได้ ขณะที่ผู้ใช้ชาวไทยที่ใช้งานแอสเซนด์ มันนี่ ก็สามารถชำระเงินผ่านเครือข่ายอาลีเพย์ ทั่วโลกได้ 2.ช่วยให้แอสเซนด์ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการคลาวด์แพลตฟอร์มในการให้บริการรวมถึงการเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจการเงินของทางแอนท์ ไฟแนนเชียล ที่จะมาช่วยผลักดันบริการของทางแอสเซนด์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 3.จะทำให้แอนท์ ไฟแนนเชียล สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของแอสเซนด์ มันนี่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในกลุ่มลูกค้าทั่วไป และลูกค้าองค์กรขนาดกลางและย่อย (SMEs) ที่จะมีจำนวนผู้ใช้กว่า 100ล้านราย ภายในปี 2563 ซึ่งถือเป็นพันธมิตรรายที่ 2 ต่อจากเพย์ทีเอ็ม ของอินเดีย
ทั้งนี้ แอนท์ ไฟแนนเชียล ถือเป็นผู้ให้บริการ อาลีเพย์ ระบบชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพาที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ชาวจีน โดยปัจจุบันมีการใช้งานในแต่ละวันเกิน 1 พันล้านครั้ง โดยมีร้านค้าที่รับชำระบริการผ่านอาลีเพย์ กว่า 8หมื่นร้านค้าใน 70 ประเทศทั่วโลก
ส่วนแอสเซนด์ มันนี่ เป็นผู้ให้บริการธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้บริการภายใต้ชื่อบริษัท ทรู มันนี่ จำกัด สำหรับธุรกิจการให้บริการด้านการเงิน และบริษัท แอสเซนด์ นาโน สำหรับเงินกู้รายย่อยครอบคลุม 6 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา.
วานนี้ (1 พ.ย.) รายงานข่าวจากเขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แจ้งว่า ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป หนึ่งในผู้นำการให้บริการทางการเงินดิจิทัลระดับโลก ในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป กับบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทย และอาเซียน ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมี นายแจ๊ค หม่า ประธานอาลีบาบา กรุ๊ป และนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร พร้อมผู้บริหารระดับสูงทั้ง 2 กลุ่ม เป็นสักขีพยานในการลงนามด้วย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า บ.แอนท์ ไฟแนนเชียล ของอาลีบาบา จะลงทุนในแอสเซนด์ มันนี่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ 20 เปอเซ็นต์ และจะเพิ่มทุนในอีก10 เปอร์เซ็นต์ ใน 2 ปีข้างหน้า
** ตั้งเป้าผู้ใช้ 2 พันล้านรายใน 10 ปี
นายอีริค จิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กล่าวว่า เป้าหมายหลักของแอนท์ ไฟแนนเชียล คือ การเพิ่มปริมาณผู้ใช้งานให้กลายเป็น 2 พันล้านราย ภายใน 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2569 ด้วย 3 คีย์ธุรกิจหลัก คือ การขยายพาร์ตเนอร์ การเข้าไปช่วยบริหารจัดการทางด้านการเงินให้แก่ธุรกิจรายย่อย และการสร้างอีโคซิสเตมส์สำหรับธุรกรรมทางการเงิน ทั้งนี้จับมือแอสเซนด์ มันนี่ ว่า ต้องการเข้าถึงฐานลูกค้าในไทย และลูกค้าในไทยสามารถใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางของอาลีเพย์ ได้ทั่วโลก
“ปัจจุบัน ธุรกิจของแอนท์ ไฟแนนเชียล แบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย ธุรกิจเพย์เมนต์ ที่มีลูกค้าใช้งานราย450 ล้านคนต่อเดือน การบริหารจัดการความมั่นคงทางการเงิน 200 ล้านรายต่อเดือน ธุรกิจประกัน 300 ล้านรายต่อเดือน การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน 200 ล้านรายต่อเดือน และธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล และเอสเอ็มอี 4ล้านรายต่อเดือน” ซีอีโอ แอนท์ ไฟแนนเชียล ระบุ
** ดึง “อาลีเพย์” ให้คนไทยใช้งาน
ด้าน นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า จะมีส่วนช่วยใน 3 ส่วนหลักๆคือ 1.ช่วยในแง่ของการขยายเครือข่ายการใช้งานระบบชำระค่าสินค้าออนไลน์ โดยผู้ใช้งานอาลีเพย์ สามารถเข้ามาใช้งานภายในประเทศไทยได้ ขณะที่ผู้ใช้ชาวไทยที่ใช้งานแอสเซนด์ มันนี่ ก็สามารถชำระเงินผ่านเครือข่ายอาลีเพย์ ทั่วโลกได้ 2.ช่วยให้แอสเซนด์ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการคลาวด์แพลตฟอร์มในการให้บริการรวมถึงการเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจการเงินของทางแอนท์ ไฟแนนเชียล ที่จะมาช่วยผลักดันบริการของทางแอสเซนด์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 3.จะทำให้แอนท์ ไฟแนนเชียล สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของแอสเซนด์ มันนี่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในกลุ่มลูกค้าทั่วไป และลูกค้าองค์กรขนาดกลางและย่อย (SMEs) ที่จะมีจำนวนผู้ใช้กว่า 100ล้านราย ภายในปี 2563 ซึ่งถือเป็นพันธมิตรรายที่ 2 ต่อจากเพย์ทีเอ็ม ของอินเดีย
ทั้งนี้ แอนท์ ไฟแนนเชียล ถือเป็นผู้ให้บริการ อาลีเพย์ ระบบชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพาที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ชาวจีน โดยปัจจุบันมีการใช้งานในแต่ละวันเกิน 1 พันล้านครั้ง โดยมีร้านค้าที่รับชำระบริการผ่านอาลีเพย์ กว่า 8หมื่นร้านค้าใน 70 ประเทศทั่วโลก
ส่วนแอสเซนด์ มันนี่ เป็นผู้ให้บริการธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้บริการภายใต้ชื่อบริษัท ทรู มันนี่ จำกัด สำหรับธุรกิจการให้บริการด้านการเงิน และบริษัท แอสเซนด์ นาโน สำหรับเงินกู้รายย่อยครอบคลุม 6 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา.