กกต.เตรียมแผนงานรองรับการเลือกตั้ง พร้อมรอดูความชัดเจนของกม.ลูก "สดศรี" หนุน สปท.รีเซต กก.องค์กรอิสระ หลัง รธน.ใหม่บังคับใช้ มั่นใจโละกกต.ไม่กระทบเลือกตั้ง ขณะเดียวกันจี้เร่งสรรหาเลขา กกต.ให้แล้วเสร็จ ด้านพรรคเพื่อไทยค้าน แนะ กกต.ไปเปิดเว็บไซต์เช็คความเป็นสมาชิกพรรค
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รักษาการแทนเลขาธิการกกต. กล่าวถึงความคืบหน้าการทำงานของกกต.ว่า ขณะนี้ทางกกต.ได้ทยอยเตรียมแผนการทำงานเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต แต่เบื้องต้นทาง กกต.ก็คงต้องรอดูความชัดเจนของ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ทั้ง 4 ฉบับ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่นเสียก่อน ว่าทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้อย่างไร เนื่องจากเนื้อหาอาจมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบพบว่าประเด็นที่ กกต.ได้เสนอความคิดเห็นไปนั้น อาทิ ระบบการหาเสียง กองทุนปราบปราบการทุจริตการเลือกตั้ง รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ดูเหมือนว่าทางกรธ. จะเห็นสอดคล้องกับสิ่งที่ กกต.ยกร่างไปพอสมควรด้วย
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. กล่าวกรณี พล.อ.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เรียกร้องให้มีการเซตซีโร กรรมการองค์กรอิสระ ภายหลังมีรัฐบาลใหม่ว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ คุณสมบัติของกรรมการองค์อิสระ เปลี่ยนแปลงไปมาก หากจะเริ่มต้นใหม่ เมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ทุกองค์กรอิสระก็ควรเริ่มต้นรีเซตใหม่ทั้งหมดด้วย แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้กรรมการองค์กรอิสระเดิม สามารถลงสมัครสรรหาใหม่ได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากรรมการองค์กรอิสระเดิม มีเพียงไม่กี่คน ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญใหม่กำหนด
ส่วนการที่ กกต.บางคนออกมาระบุว่า หากเซตซีโร กกต. จะทำให้กระทบการเลือกตั้ง เพราะขาดกรรมการที่มีประสบการณ์นั้น ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่มีผลกระทบอะไร เพราะ กกต.เป็นเพียงหัวโขนเท่านั้น การจัดการเลือกตั้ง ขั้นตอนการดำเนินงานทุกอย่าง ทั้งการแบ่งเขต เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ กกต.ฝ่ายประจำที่เป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น
"สมัยที่เข้ามารับตำแหน่งกกต. ถึงแม้จะเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน แต่ก็ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดเลือกตั้งมากเท่าเจ้าหน้าที่กกต. เพราะเจ้าหน้าที่เหล่านี้เคยทำงานอยู่กระทรวงมหาดไทยมาก่อน รู้ขั้นตอนจัดการเลือกตั้งดี บางเรื่องเรายังสู้เจ้าหน้าที่ กกต.ไม่ได้เลย"
นอกจากนี้ มองว่าเรื่องที่ 5 เสือ กกต.ชุดนี้ควรจะทำให้เร็วที่สุดคือ การตั้งเลขาธิการ กกต. ตนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าจะรออะไร ทำไมไม่ตั้งเลขาธิการ กกต.เสียที เพราะสำนักงาน กกต. ต้องมีหัวหน้าของรองเลขาธิการทั้ง 5 ด้าน คอยสั่งการ เซ็นคำสั่ง เปรียบเหมือนกับปลัดกระทรวง เมื่อถูกปฏิวัติรัฐประหาร รัฐมนตรีก็สิ้นสุดลง ปลัดกระทรวงจึงทำหน้าที่แทน เช่นเดียวกับ กกต. หาก กกต.ถูกเซตซีโร เลขาธิการ กกต.จะทำหน้าที่แทนทั้งหมด ซึ่งการจัดการเลือกตั้งก็สามารรถเดินหน้าต่อไปได้ ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด
วันเดียวกัน นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานติดตามร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวคิดการรีเซตองค์กรอิสระว่า ไม่จำเป็นต้องรีเซตอะไร เพราะแต่ละฝ่ายทำงานมาพอสมควร และรู้หน้าที่ของตัวเองแล้ว อาจจะให้อยู่ในวาระไปสักระยะ แล้วค่อยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มองว่าไม่ควรให้องค์กรอิสระพ้นจากตำแหน่งหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ เพราะองค์กรอิสระเข้าทำงานตามกติกาเก่า แต่หากจะเริ่มเข้ากระบวนการตามรัฐธรรมนูญใหม่ ควรระบุให้ชัดเจนว่าจะให้องค์กรอิสระอยู่ถึงช่วงใด และจะเริ่มใหม่ในช่วงไหนก็อยู่ที่ความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับกฎหมายลูก และรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
“รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ได้ระบุให้รีเซตพรรคการเมือง เพียงแต่ต้องให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง การจะให้ยกเลิกสมาชิกเดิมและหาสมาชิกใหม่นั้น จะทำให้เกิดความยุ่งยาก ถามว่าทำเพื่ออะไร”
ทั้งนี้ หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกพรรค กกต. ควรมีเว็บไซต์ให้ประชาชนตรวจสอบว่าตัวเองสังกัดพรรคใด หากพึงพอใจก็อยู่พรรคเดิม หากไม่พอใจก็ยื่นใบลาออกผ่านนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ต้องดูว่าระบบข้อมูลของ กกต.มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ การลาออกจากพรรคเพื่อไทยทำได้ไม่ยาก แต่พรรคทำอะไรไม่ได้ เพราะมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง นอกจากลาบวช ถือว่าขาดสมาชิกภาพไปโดยปริยาย หากต้องการกลับเป็นสมาชิกพรรคอีกครั้ง ต้องรอ คสช.ยกเลิกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองก่อน ถึงจะสมัครเป็นสมาชิกได้.
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รักษาการแทนเลขาธิการกกต. กล่าวถึงความคืบหน้าการทำงานของกกต.ว่า ขณะนี้ทางกกต.ได้ทยอยเตรียมแผนการทำงานเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต แต่เบื้องต้นทาง กกต.ก็คงต้องรอดูความชัดเจนของ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ทั้ง 4 ฉบับ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่นเสียก่อน ว่าทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้อย่างไร เนื่องจากเนื้อหาอาจมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบพบว่าประเด็นที่ กกต.ได้เสนอความคิดเห็นไปนั้น อาทิ ระบบการหาเสียง กองทุนปราบปราบการทุจริตการเลือกตั้ง รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ดูเหมือนว่าทางกรธ. จะเห็นสอดคล้องกับสิ่งที่ กกต.ยกร่างไปพอสมควรด้วย
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. กล่าวกรณี พล.อ.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เรียกร้องให้มีการเซตซีโร กรรมการองค์กรอิสระ ภายหลังมีรัฐบาลใหม่ว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ คุณสมบัติของกรรมการองค์อิสระ เปลี่ยนแปลงไปมาก หากจะเริ่มต้นใหม่ เมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ทุกองค์กรอิสระก็ควรเริ่มต้นรีเซตใหม่ทั้งหมดด้วย แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้กรรมการองค์กรอิสระเดิม สามารถลงสมัครสรรหาใหม่ได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากรรมการองค์กรอิสระเดิม มีเพียงไม่กี่คน ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญใหม่กำหนด
ส่วนการที่ กกต.บางคนออกมาระบุว่า หากเซตซีโร กกต. จะทำให้กระทบการเลือกตั้ง เพราะขาดกรรมการที่มีประสบการณ์นั้น ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่มีผลกระทบอะไร เพราะ กกต.เป็นเพียงหัวโขนเท่านั้น การจัดการเลือกตั้ง ขั้นตอนการดำเนินงานทุกอย่าง ทั้งการแบ่งเขต เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ กกต.ฝ่ายประจำที่เป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น
"สมัยที่เข้ามารับตำแหน่งกกต. ถึงแม้จะเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน แต่ก็ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดเลือกตั้งมากเท่าเจ้าหน้าที่กกต. เพราะเจ้าหน้าที่เหล่านี้เคยทำงานอยู่กระทรวงมหาดไทยมาก่อน รู้ขั้นตอนจัดการเลือกตั้งดี บางเรื่องเรายังสู้เจ้าหน้าที่ กกต.ไม่ได้เลย"
นอกจากนี้ มองว่าเรื่องที่ 5 เสือ กกต.ชุดนี้ควรจะทำให้เร็วที่สุดคือ การตั้งเลขาธิการ กกต. ตนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าจะรออะไร ทำไมไม่ตั้งเลขาธิการ กกต.เสียที เพราะสำนักงาน กกต. ต้องมีหัวหน้าของรองเลขาธิการทั้ง 5 ด้าน คอยสั่งการ เซ็นคำสั่ง เปรียบเหมือนกับปลัดกระทรวง เมื่อถูกปฏิวัติรัฐประหาร รัฐมนตรีก็สิ้นสุดลง ปลัดกระทรวงจึงทำหน้าที่แทน เช่นเดียวกับ กกต. หาก กกต.ถูกเซตซีโร เลขาธิการ กกต.จะทำหน้าที่แทนทั้งหมด ซึ่งการจัดการเลือกตั้งก็สามารรถเดินหน้าต่อไปได้ ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด
วันเดียวกัน นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานติดตามร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวคิดการรีเซตองค์กรอิสระว่า ไม่จำเป็นต้องรีเซตอะไร เพราะแต่ละฝ่ายทำงานมาพอสมควร และรู้หน้าที่ของตัวเองแล้ว อาจจะให้อยู่ในวาระไปสักระยะ แล้วค่อยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มองว่าไม่ควรให้องค์กรอิสระพ้นจากตำแหน่งหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ เพราะองค์กรอิสระเข้าทำงานตามกติกาเก่า แต่หากจะเริ่มเข้ากระบวนการตามรัฐธรรมนูญใหม่ ควรระบุให้ชัดเจนว่าจะให้องค์กรอิสระอยู่ถึงช่วงใด และจะเริ่มใหม่ในช่วงไหนก็อยู่ที่ความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับกฎหมายลูก และรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
“รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ได้ระบุให้รีเซตพรรคการเมือง เพียงแต่ต้องให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง การจะให้ยกเลิกสมาชิกเดิมและหาสมาชิกใหม่นั้น จะทำให้เกิดความยุ่งยาก ถามว่าทำเพื่ออะไร”
ทั้งนี้ หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกพรรค กกต. ควรมีเว็บไซต์ให้ประชาชนตรวจสอบว่าตัวเองสังกัดพรรคใด หากพึงพอใจก็อยู่พรรคเดิม หากไม่พอใจก็ยื่นใบลาออกผ่านนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ต้องดูว่าระบบข้อมูลของ กกต.มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ การลาออกจากพรรคเพื่อไทยทำได้ไม่ยาก แต่พรรคทำอะไรไม่ได้ เพราะมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง นอกจากลาบวช ถือว่าขาดสมาชิกภาพไปโดยปริยาย หากต้องการกลับเป็นสมาชิกพรรคอีกครั้ง ต้องรอ คสช.ยกเลิกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองก่อน ถึงจะสมัครเป็นสมาชิกได้.