นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล ยุติการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากโครงการรับจำนำข้าว ว่า ในแถลงการณ์ฉบับนี้มีการกล่าวอ้างอยู่หลายประการ
1. โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไม่อาจใช้เกณฑ์เรื่องกำไรหรือขาดทุนเพื่อกำหนดความเสียหายต่องบประมาณ ซึ่งประเด็นนี้ถูกพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยการดำเนินนโยบายสาธารณะที่ต้องใช้จ่ายงบประมาณ ไม่ควรคิดเป็นกำไรขาดทุนนั้นถูกต้อง ไม่มีใครว่า แต่การดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อการทุจริต สร้างความเสียหายต่อชาติ และผลประโยชน์ส่วนนี้ไม่ถึงประชาชน หลายหน่วยงานเตือนแล้วเตือนอีก ก็ไม่สนใจ ส่วนที่ไม่ถึงมือประชาชนนี่ต่างหาก ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ
2. การที่รัฐบาลออกคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหาย ยึด อายัดทรัพย์สินอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องได้ทันทีโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางศาล เป็นการกระทำที่ขาดความชอบธรรมนั้น ตนขอเรียนว่า เรื่องนี้ทางพรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือน เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจในการยึด อายัดทรัพย์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทันที กฎหมายยังให้โอกาสร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง ท้ายที่สุดทุกอย่างก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาล
3. ในแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทยได้ระบุว่า คณะกรรมการดังกล่าวอยู่ในการบังคับบัญชาของรัฐบาลและคสช. ที่สามารถจะชี้นำได้ทุกอย่าง การตรวจสอบและการเรียกค่าเสียหาย จึงขาดความเป็นกลาง ตนคิดว่าพรรคเพื่อไทยก็น่าจะรู้ว่า พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดนั้นมีความรัดกุม และให้ความเป็นธรรมอยู่แล้ว จึงกำหนดให้สามารถขอความเป็นธรรมผ่านศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน และถ้าคิดว่าคณะกรรมการถูกชี้นำ หรือแทรกแซง ก็สามารถไปขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้
4. แทนที่รัฐบาลจะเรียกค่าเสียหายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยใช้กลไกทางคดีแพ่งปกติ แต่รัฐบาลกลับเลือกที่จะใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครอง และอาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 ซึ่งตนเข้าใจว่า พรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือนว่า พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่กฏหมายปกติ แต่กฎหมายดังกล่าวเอาไว้ใช้เรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีประมาทอย่างร้ายแรง ที่สำคัญรัฐบาลควรเป็นผู้เลือกใช้กฏหมายที่มีอยู่ ที่เหมาะกับรูปคดี ข้อเท็จจริง เทียบกับข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปล่อยให้จำเลยเป็นฝ่ายเรียกร้องขอเลือกใช้กฎหมาย ส่วนเรื่องมาตรา 44 ก็คงอ้างให้ดูว่าใช้อำนาจแทรกแซงการพิจารณาคดี ซึ่งไม่เป็นความจริง เพียงแต่ให้กรมบังคับคดีทำหน้าที่แทนกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
5. แถลงการณ์ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีเนื้อหาขัดหลักการประชาธิปไตย ขัดหลักนิติธรรมนั้น อย่างที่เรียนไว้ มาตรา44 ไม่ได้ไปแซกแทรงการพิจารณาคดีแต่อย่างใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังมีสิทธิ์ขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้ตามปกติ
"การแสดงออกของพรรคเพื่อไทย มีพฤติกรรมกรรมที่ยอมรับกฎหมายบางฉบับ และไม่ยอมรับกฎหมายบางฉบับ พยายามเรียกร้องขอเลือกใช้กฎหมายที่คิดว่าได้ประโยชน์แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำกัน อยากเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย เคารพกฏหมายทุกฉบับของประเทศ มิฉะนั้นพรรคเพื่อไทยก็จะยิ่งกว่าสองมาตรฐาน กลายเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ที่เป็นผู้ขอเลือกใช้กฎหมายกับฝ่ายตนเอง ขณะที่จำเลยคนอื่นไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง ที่สำคัญทุกอย่างก็จบที่กระบวนการของศาล ตามที่พรรคเพื่อไทยต้องการ" นพ.วรงค์ กล่าว
1. โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไม่อาจใช้เกณฑ์เรื่องกำไรหรือขาดทุนเพื่อกำหนดความเสียหายต่องบประมาณ ซึ่งประเด็นนี้ถูกพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยการดำเนินนโยบายสาธารณะที่ต้องใช้จ่ายงบประมาณ ไม่ควรคิดเป็นกำไรขาดทุนนั้นถูกต้อง ไม่มีใครว่า แต่การดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อการทุจริต สร้างความเสียหายต่อชาติ และผลประโยชน์ส่วนนี้ไม่ถึงประชาชน หลายหน่วยงานเตือนแล้วเตือนอีก ก็ไม่สนใจ ส่วนที่ไม่ถึงมือประชาชนนี่ต่างหาก ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ
2. การที่รัฐบาลออกคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหาย ยึด อายัดทรัพย์สินอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องได้ทันทีโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางศาล เป็นการกระทำที่ขาดความชอบธรรมนั้น ตนขอเรียนว่า เรื่องนี้ทางพรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือน เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจในการยึด อายัดทรัพย์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทันที กฎหมายยังให้โอกาสร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง ท้ายที่สุดทุกอย่างก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาล
3. ในแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทยได้ระบุว่า คณะกรรมการดังกล่าวอยู่ในการบังคับบัญชาของรัฐบาลและคสช. ที่สามารถจะชี้นำได้ทุกอย่าง การตรวจสอบและการเรียกค่าเสียหาย จึงขาดความเป็นกลาง ตนคิดว่าพรรคเพื่อไทยก็น่าจะรู้ว่า พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดนั้นมีความรัดกุม และให้ความเป็นธรรมอยู่แล้ว จึงกำหนดให้สามารถขอความเป็นธรรมผ่านศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน และถ้าคิดว่าคณะกรรมการถูกชี้นำ หรือแทรกแซง ก็สามารถไปขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้
4. แทนที่รัฐบาลจะเรียกค่าเสียหายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยใช้กลไกทางคดีแพ่งปกติ แต่รัฐบาลกลับเลือกที่จะใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครอง และอาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 ซึ่งตนเข้าใจว่า พรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือนว่า พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่กฏหมายปกติ แต่กฎหมายดังกล่าวเอาไว้ใช้เรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีประมาทอย่างร้ายแรง ที่สำคัญรัฐบาลควรเป็นผู้เลือกใช้กฏหมายที่มีอยู่ ที่เหมาะกับรูปคดี ข้อเท็จจริง เทียบกับข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปล่อยให้จำเลยเป็นฝ่ายเรียกร้องขอเลือกใช้กฎหมาย ส่วนเรื่องมาตรา 44 ก็คงอ้างให้ดูว่าใช้อำนาจแทรกแซงการพิจารณาคดี ซึ่งไม่เป็นความจริง เพียงแต่ให้กรมบังคับคดีทำหน้าที่แทนกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
5. แถลงการณ์ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีเนื้อหาขัดหลักการประชาธิปไตย ขัดหลักนิติธรรมนั้น อย่างที่เรียนไว้ มาตรา44 ไม่ได้ไปแซกแทรงการพิจารณาคดีแต่อย่างใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังมีสิทธิ์ขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้ตามปกติ
"การแสดงออกของพรรคเพื่อไทย มีพฤติกรรมกรรมที่ยอมรับกฎหมายบางฉบับ และไม่ยอมรับกฎหมายบางฉบับ พยายามเรียกร้องขอเลือกใช้กฎหมายที่คิดว่าได้ประโยชน์แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำกัน อยากเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย เคารพกฏหมายทุกฉบับของประเทศ มิฉะนั้นพรรคเพื่อไทยก็จะยิ่งกว่าสองมาตรฐาน กลายเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ที่เป็นผู้ขอเลือกใช้กฎหมายกับฝ่ายตนเอง ขณะที่จำเลยคนอื่นไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง ที่สำคัญทุกอย่างก็จบที่กระบวนการของศาล ตามที่พรรคเพื่อไทยต้องการ" นพ.วรงค์ กล่าว