ผู้จัดการรายวัน360-"บิ๊กตู่"เปิดประชุม ACD ส่งสัญญาณต่อประชาคมโลก เอเชียจะเดินหน้าผนึกกำลังสู่การเป็นประชาคมเอเชีย วางกรอบความร่วมมือ 6 เสาหลัก ตั้งแต่ความร่วมมือด้านอาหาร น้ำ พลังงาน เทคโนโลยี การศึกษา ทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ไปจนถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ย้ำไทยพร้อมเป็นสะพานเชื่อมประเทศในเอเชีย เพื่อเดินหน้าไปสู่ความมั่งคั่ง ยั่งยืนร่วมกัน พร้อมแนะสมาชิกยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เหตุการพัฒนาเศรษฐกิจต้องยึดหลักสมดุลด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ (10ต.ค.) ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ครั้งที่ 2 โดยมีพระประมุข ประมุข หัวหน้ารัฐบาล และผู้แทนจาก 33 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมการประชุม
พล.อ.ประยุทธ์ ได้ย้ำต่อที่ประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชียร่วมกัน เพราะเอเชียมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเอเชียใต้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก เอเชียตะวันออก มีเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ระดับแนวหน้าและลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ ในโลก เอเชียกลางมีความมั่นคงทางพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เอเชียตะวันตก เป็นแหล่งพลังงานของโลกและมีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติชั้นนำของโลก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความมั่นคงทางอาหาร และเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตของผู้ประกอบการอันดับต้นๆ ของโลก
"เอเชียมีศักยภาพเพียงพอที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศสมาชิก ACD จะต้องร่วมมือกันกำหนดทิศทางและเป้าหมายความร่วมมือ โดยใช้จุดแข็งของแต่ละประเทศในการสร้างความอยู่ดีของประชาชนในภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้กับเอเชีย และสร้างการเจริญเติบโตที่มั่นคงให้กับประชาคมโลก"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ประเทศเอเชียได้กำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือเอเชีย (ACD Vision 2030) เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ของโลกในอีก 14 ปีข้างหน้า มีเป้าหมายและทิศทางที่จะสร้าง “ประชาคมเอเชีย” ในอนาคต โดยจะเน้นความร่วมมือใน6 เสาหลัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงาน ความเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และการส่งเสริมแนวทางสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน โดยเน้นความเป็นหุ้นส่วนของทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อให้ความร่วมมือเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
"ไทยในฐานะที่มีสภาพภูมิยุทธศาสตร์ที่เอื้ออำนวยในการเชื่อมโยง มีความยินดีที่จะเป็นหนึ่งในสะพานเชื่อมระหว่างภูมิภาคต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันตกกับเอเชียตะวันออก ไทยเล็งเห็นศักยภาพในการผลักดันความเชื่อมโยงในทุกมิติและคลอบคลุมทั้งเอเชีย โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัย และสอดคล้องกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างทั่วถึงและยั่งยืน"
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยกตัวอย่างว่า ในการประชุมภาคธุรกิจ ACD ไทยได้นำเสนอเรื่องความเชื่อมโยง โดยเน้นประเด็นการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมการเชื่อมโยงทางการเงิน และการระดมทุนเพื่อส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน เพราะศักยภาพทางการเงินในภูมิภาค ACD มีเงินทุนสำรองจำนวนมาก จึงต้องเข้ามาให้การสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาค
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของไทย ได้พัฒนานโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์กับประเทศสมาชิกใน 6 เสาหลักของ ACD ได้ และไทยเองยังมีนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรม ระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน และการพัฒนา SMEs ซึ่งล้วนแต่เป็นการเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศเชื่อมโยงไปสู่ระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอตัวเป็นประเทศผู้นำในเสาหลักด้านแนวทางสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งไทยให้ความสำคัญและผลักดันมาโดยตลอดในช่วงที่เป็นประธาน ACD และกลุ่ม 77 ซึ่งการพัฒนาประเทศไม่ควรเน้นที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงคุณภาพความสมดุลและความสุขของประชาชนด้วย เช่น การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ที่มุ่งให้เกิดความเป็นเอกภาพระหว่างมิติของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมมาใช้ ซึ่งรวมไปถึงแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏาน เพราะไม่มีสูตรตายตัวสำหรับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
สำหรับภาคประชาชน ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจคู่ขนานของความร่วมมือใน ACDโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการมีส่วนร่วมของภาคการศึกษา จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับประชากรรุ่นใหม่ของ ACDในการรับมือกับความท้าทายระหว่างประเทศทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ รวมทั้งการผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 6 เสาหลักความร่วมมือของ ACD และเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างเต็มศักยภาพ
ทั้งนี้ ในช่วงท้าย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอบคุณคูเวต ที่ได้ให้พื้นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการ ACD รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายของสำนักงานทั้งหมด และยังได้แสดงความยินดีกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในฐานะประธาน ADC และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมตรี ADC ครั้งที่ 15 ณ กรุงอาบูดาบี ในเดือนม.ค.2560 และอิหร่านที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด ACD ครั้งที่ 3 ในปี 2561 ก่อนปิดท้าย โดยย้ำถึงการประสานจุดแข็งและศักยภาพที่หลากหลายของประเทศสมาชิกเพื่อมุ่งสู่เอเชียที่เป็นหนึ่งเดียว โดยเอเชียจะก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง ยั่งยืนและครอบคลุม และเอเชียที่จะเป็นพลวัตขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจโลก โดยไม่ทอดทิ้งใครหรือประเทศใดไว้เบื้องหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ (10ต.ค.) ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ครั้งที่ 2 โดยมีพระประมุข ประมุข หัวหน้ารัฐบาล และผู้แทนจาก 33 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมการประชุม
พล.อ.ประยุทธ์ ได้ย้ำต่อที่ประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชียร่วมกัน เพราะเอเชียมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเอเชียใต้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก เอเชียตะวันออก มีเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ระดับแนวหน้าและลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ ในโลก เอเชียกลางมีความมั่นคงทางพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เอเชียตะวันตก เป็นแหล่งพลังงานของโลกและมีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติชั้นนำของโลก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความมั่นคงทางอาหาร และเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตของผู้ประกอบการอันดับต้นๆ ของโลก
"เอเชียมีศักยภาพเพียงพอที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศสมาชิก ACD จะต้องร่วมมือกันกำหนดทิศทางและเป้าหมายความร่วมมือ โดยใช้จุดแข็งของแต่ละประเทศในการสร้างความอยู่ดีของประชาชนในภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้กับเอเชีย และสร้างการเจริญเติบโตที่มั่นคงให้กับประชาคมโลก"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ประเทศเอเชียได้กำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือเอเชีย (ACD Vision 2030) เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ของโลกในอีก 14 ปีข้างหน้า มีเป้าหมายและทิศทางที่จะสร้าง “ประชาคมเอเชีย” ในอนาคต โดยจะเน้นความร่วมมือใน6 เสาหลัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงาน ความเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และการส่งเสริมแนวทางสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน โดยเน้นความเป็นหุ้นส่วนของทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อให้ความร่วมมือเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
"ไทยในฐานะที่มีสภาพภูมิยุทธศาสตร์ที่เอื้ออำนวยในการเชื่อมโยง มีความยินดีที่จะเป็นหนึ่งในสะพานเชื่อมระหว่างภูมิภาคต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันตกกับเอเชียตะวันออก ไทยเล็งเห็นศักยภาพในการผลักดันความเชื่อมโยงในทุกมิติและคลอบคลุมทั้งเอเชีย โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัย และสอดคล้องกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างทั่วถึงและยั่งยืน"
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยกตัวอย่างว่า ในการประชุมภาคธุรกิจ ACD ไทยได้นำเสนอเรื่องความเชื่อมโยง โดยเน้นประเด็นการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมการเชื่อมโยงทางการเงิน และการระดมทุนเพื่อส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน เพราะศักยภาพทางการเงินในภูมิภาค ACD มีเงินทุนสำรองจำนวนมาก จึงต้องเข้ามาให้การสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาค
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของไทย ได้พัฒนานโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์กับประเทศสมาชิกใน 6 เสาหลักของ ACD ได้ และไทยเองยังมีนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรม ระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน และการพัฒนา SMEs ซึ่งล้วนแต่เป็นการเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศเชื่อมโยงไปสู่ระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอตัวเป็นประเทศผู้นำในเสาหลักด้านแนวทางสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งไทยให้ความสำคัญและผลักดันมาโดยตลอดในช่วงที่เป็นประธาน ACD และกลุ่ม 77 ซึ่งการพัฒนาประเทศไม่ควรเน้นที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงคุณภาพความสมดุลและความสุขของประชาชนด้วย เช่น การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ที่มุ่งให้เกิดความเป็นเอกภาพระหว่างมิติของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมมาใช้ ซึ่งรวมไปถึงแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏาน เพราะไม่มีสูตรตายตัวสำหรับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
สำหรับภาคประชาชน ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจคู่ขนานของความร่วมมือใน ACDโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการมีส่วนร่วมของภาคการศึกษา จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับประชากรรุ่นใหม่ของ ACDในการรับมือกับความท้าทายระหว่างประเทศทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ รวมทั้งการผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 6 เสาหลักความร่วมมือของ ACD และเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างเต็มศักยภาพ
ทั้งนี้ ในช่วงท้าย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอบคุณคูเวต ที่ได้ให้พื้นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการ ACD รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายของสำนักงานทั้งหมด และยังได้แสดงความยินดีกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในฐานะประธาน ADC และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมตรี ADC ครั้งที่ 15 ณ กรุงอาบูดาบี ในเดือนม.ค.2560 และอิหร่านที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด ACD ครั้งที่ 3 ในปี 2561 ก่อนปิดท้าย โดยย้ำถึงการประสานจุดแข็งและศักยภาพที่หลากหลายของประเทศสมาชิกเพื่อมุ่งสู่เอเชียที่เป็นหนึ่งเดียว โดยเอเชียจะก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง ยั่งยืนและครอบคลุม และเอเชียที่จะเป็นพลวัตขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจโลก โดยไม่ทอดทิ้งใครหรือประเทศใดไว้เบื้องหลัง