กรุงเทพโพล สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง"ความหวังของประชาชนกับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเมืองไทย" โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,221 คน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.3 คิดว่า ควรมีการปฏิรูปการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง อย่างจริงจังก่อนการเลือกตั้งปีหน้า ขณะที่ ร้อยละ 22.6 คิดว่าดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร และร้อยละ 6.1 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเซตซีโรพรรคการเมือง (โดยทุกพรรคจะต้องเหมือนนับหนึ่งใหม่ เช่น จดทะเบียนพรรค สมาชิกพรรค หัวหน้าพรรค เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบก่อนการเลือกตั้งในปีหน้า) ส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.1 เห็นด้วย เพราะจะได้มีทางเลือกมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีพรรคการเมือง นักการเมืองใหม่มากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ต้องยุบพรรคใหญ่ และใช้เวลานานในการตั้งพรรคใหม่ เซตพรรคใหม่ ส่วนร้อยละ 5.7 ไม่แน่ใจ เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับการจำกัดค่าใช้จ่ายและการจำกัดการใช้สื่อในการหาเสียงของส.ส. ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.5 เห็นด้วย เพราะจะทำให้นักการเมืองมีการหาเสียงได้เท่าเทียมกัน ขณะที่ ร้อยละ 17.3 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้การหาเสียงไม่คึกคัก ขาดสีสัน ส่วนที่เหลือร้อยละ 4.2 ไม่แน่ใจ
สำหรับสิ่งที่ประชาชนคาดหวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด หลังจากการปฏิรูประบบการเมืองไทย คือ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ นโยบายหาเสียงใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน (ร้อยละ 62.7) รองลงมาอยากให้การเมืองไทยมีการแข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ซื้อเสียง (ร้อยละ 57.4) และอยากให้นักการเมืองลดการแสวงหาผลประโยชน์ภายหลังการเลือกตั้ง(ร้อยละ 48.2)
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเซตซีโร องค์กรอิสระทั้งหมด โดยเริ่มจาก กกต.เป็นที่แรกพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.8 เห็นด้วย เพราะควรเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ก่อนเลือกตั้งปีหน้า ขณะที่ร้อยละ 25.2 ไม่เห็นด้วย เพราะระบบเดิมดีอยู่แล้ว ที่เหลือร้อยละ 7.0 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล คสช. ในการปฏิรูประบบการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ใหม่ทั้งหมด จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้กว่าอดีตที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 33.1 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 6.6 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเซตซีโรพรรคการเมือง (โดยทุกพรรคจะต้องเหมือนนับหนึ่งใหม่ เช่น จดทะเบียนพรรค สมาชิกพรรค หัวหน้าพรรค เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบก่อนการเลือกตั้งในปีหน้า) ส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.1 เห็นด้วย เพราะจะได้มีทางเลือกมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีพรรคการเมือง นักการเมืองใหม่มากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ต้องยุบพรรคใหญ่ และใช้เวลานานในการตั้งพรรคใหม่ เซตพรรคใหม่ ส่วนร้อยละ 5.7 ไม่แน่ใจ เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับการจำกัดค่าใช้จ่ายและการจำกัดการใช้สื่อในการหาเสียงของส.ส. ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.5 เห็นด้วย เพราะจะทำให้นักการเมืองมีการหาเสียงได้เท่าเทียมกัน ขณะที่ ร้อยละ 17.3 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้การหาเสียงไม่คึกคัก ขาดสีสัน ส่วนที่เหลือร้อยละ 4.2 ไม่แน่ใจ
สำหรับสิ่งที่ประชาชนคาดหวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด หลังจากการปฏิรูประบบการเมืองไทย คือ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ นโยบายหาเสียงใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน (ร้อยละ 62.7) รองลงมาอยากให้การเมืองไทยมีการแข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ซื้อเสียง (ร้อยละ 57.4) และอยากให้นักการเมืองลดการแสวงหาผลประโยชน์ภายหลังการเลือกตั้ง(ร้อยละ 48.2)
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเซตซีโร องค์กรอิสระทั้งหมด โดยเริ่มจาก กกต.เป็นที่แรกพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.8 เห็นด้วย เพราะควรเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ก่อนเลือกตั้งปีหน้า ขณะที่ร้อยละ 25.2 ไม่เห็นด้วย เพราะระบบเดิมดีอยู่แล้ว ที่เหลือร้อยละ 7.0 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล คสช. ในการปฏิรูประบบการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ใหม่ทั้งหมด จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้กว่าอดีตที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 33.1 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 6.6 ไม่แน่ใจ