นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศ (สปท.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคการเมืองคัดค้านข้อเสนอร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส. ที่ให้กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้งแทน กกต. และให้ คสช.ควบคุมการเลือกตั้งในปี 2560 ว่า การให้กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้งแทน กกต.นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะยกอำนาจควบคุมการเลือกตั้งทั้งหมดให้กระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเป็นเพียงผู้ช่วยกกต. คือ มีอำนาจแค่ให้เจ้าหน้าที่มาควบคุมดูแลหน่วยเลือกตั้งเท่านั้น โดยไม่ต้องใช้ กกต.จังหวัด เพราะที่ผ่านมา กกต.จังหวัดมักเป็นคนของพรรคการเมือง ทำให้ถูกแทรกแซงได้ง่าย
อย่างไรก็ตามอำนาจหลายอย่างยังคงเป็นของกกต. เช่น การทำสำนวนคดีทุจริตการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่ฝ่ายการเมืองออกมาคัดค้าน เพราะกลัวว่า จะเข้าไปหาประโยชน์ไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงกกต.จังหวัดได้
นายเสรี กล่าวอีกว่า ส่วนข้อเสนอในบทเฉพาะกาลให้ คสช.มาช่วยควบคุมการเลือกตั้งในปี 2560 นั้น เจตนาเพื่อต้องการให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ได้ต้องการให้คสช.มาแทรกแซงการเลือกตั้ง เพราะที่ผ่านมาการเลือกตั้งมีปัญหา ไม่สามารถแก้ปัญหาความวุ่นวายได้ เช่น ปัญหาการถูกปิดล้อมหน่วยเลือกตั้ง จึงต้องให้ คสช.มาช่วยควบคุมการเลือกตั้ง
สำหรับข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปอย่างเป็นทางการจากที่ประชุมกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง โดยยอมรับว่า สปท.การเมือง ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว แต่มีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งในวันที่ 6 กันยายนนี้ กรรมาธิการฯจะหารือเพื่อหาข้อยุติร่วมกันอีกครั้ง
นายเสรี ยังกล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองที่จะเสนอต่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) นั้น มีสาระสำคัญ คือ ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยหนึ่งในแนวทางที่จะเสนอคือ การให้สมาชิกพรรคต้องเสียค่าธรรมเนียมการเป็นสมาชิกพรรค ปีละไม่เกิน 200 บาท และจะมีการเซตบัญชีรายชื่อสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ทั้งหมด โดยทุกพรรคการเมืองต้องให้สมาชิกพรรคมาแสดงเจตจำนงยืนยันการเป็นสมาชิกพรรคใหม่ทั้งหมด แต่ยังสามารถใช้ชื่อพรรคเดิมได้ เพราะที่ผ่านมาตัวเลขสมาชิกพรรคที่กล่าวอ้าง ไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด เป็นเพียงการแอบอ้างชื่อเท่านั้น
อย่างไรก็ตามไม่ถือว่าเป็นขั้นตอน "เซตซีโร่"พรรคการเมืองใหม่ทั้งหมด เป็นเพียงการมายืนยันว่า จะเป็นสมาชิกพรรคเดิม หรือเปลี่ยนไปอยู่พรรคใหม่เท่านั้น
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเป็นเพียงผู้ช่วยกกต. คือ มีอำนาจแค่ให้เจ้าหน้าที่มาควบคุมดูแลหน่วยเลือกตั้งเท่านั้น โดยไม่ต้องใช้ กกต.จังหวัด เพราะที่ผ่านมา กกต.จังหวัดมักเป็นคนของพรรคการเมือง ทำให้ถูกแทรกแซงได้ง่าย
อย่างไรก็ตามอำนาจหลายอย่างยังคงเป็นของกกต. เช่น การทำสำนวนคดีทุจริตการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่ฝ่ายการเมืองออกมาคัดค้าน เพราะกลัวว่า จะเข้าไปหาประโยชน์ไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงกกต.จังหวัดได้
นายเสรี กล่าวอีกว่า ส่วนข้อเสนอในบทเฉพาะกาลให้ คสช.มาช่วยควบคุมการเลือกตั้งในปี 2560 นั้น เจตนาเพื่อต้องการให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ได้ต้องการให้คสช.มาแทรกแซงการเลือกตั้ง เพราะที่ผ่านมาการเลือกตั้งมีปัญหา ไม่สามารถแก้ปัญหาความวุ่นวายได้ เช่น ปัญหาการถูกปิดล้อมหน่วยเลือกตั้ง จึงต้องให้ คสช.มาช่วยควบคุมการเลือกตั้ง
สำหรับข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปอย่างเป็นทางการจากที่ประชุมกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง โดยยอมรับว่า สปท.การเมือง ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว แต่มีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งในวันที่ 6 กันยายนนี้ กรรมาธิการฯจะหารือเพื่อหาข้อยุติร่วมกันอีกครั้ง
นายเสรี ยังกล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองที่จะเสนอต่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) นั้น มีสาระสำคัญ คือ ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยหนึ่งในแนวทางที่จะเสนอคือ การให้สมาชิกพรรคต้องเสียค่าธรรมเนียมการเป็นสมาชิกพรรค ปีละไม่เกิน 200 บาท และจะมีการเซตบัญชีรายชื่อสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ทั้งหมด โดยทุกพรรคการเมืองต้องให้สมาชิกพรรคมาแสดงเจตจำนงยืนยันการเป็นสมาชิกพรรคใหม่ทั้งหมด แต่ยังสามารถใช้ชื่อพรรคเดิมได้ เพราะที่ผ่านมาตัวเลขสมาชิกพรรคที่กล่าวอ้าง ไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด เป็นเพียงการแอบอ้างชื่อเท่านั้น
อย่างไรก็ตามไม่ถือว่าเป็นขั้นตอน "เซตซีโร่"พรรคการเมืองใหม่ทั้งหมด เป็นเพียงการมายืนยันว่า จะเป็นสมาชิกพรรคเดิม หรือเปลี่ยนไปอยู่พรรคใหม่เท่านั้น