วานนี้ (4ต.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนายกรัฐมนตรีคนนอกว่า เร็วเกินไปที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะเรายังไม่ทราบเลยว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร เพราะยังไม่เคยทดลองใช้ระบบการเลือกตั้งแบบบัตรเดียว และในอดีตก็เคยมีพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภา เด็ดขาดเกินร้อยละ 40 มาแล้ว ฉะนั้นการที่บอกว่าไม่มีใครได้เกินร้อยละ 50 นั้น เป็นการพูดเร็วเกินไป หรือหากไม่มีพรรคใดได้ถึง 250 เสียง แล้ววุฒิสภาพยายามสกัดกั้น ตนเชื่อว่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองแน่นอน เพราะได้เสียงจากประชาชนเกินครึ่ง แล้วแต่ถูกสกัดไม่ให้เป็นรัฐบาล หรือเป็นนายกฯ แล้วพรรคนั้นไม่ยอมไปร่วมรัฐบาลด้วย รัฐบาลที่มาแทน จะอยู่ได้ลำบาก
"หรือหากไม่มีพรรคไหนได้เกินครึ่ง ก็ไม่ได้มีสูตรว่า จะต้องให้ 2 พรรคใหญ่จับมือ แล้วเกินครึ่ง 2 พรรคใหญ่ไม่จับมือกันก็ได้ อาจจะมีพรรคใหญ่ บวกกับพรรคอื่นๆ แล้วเกินครึ่ง แต่หากมีพรรคใหญ่ได้เกิน 250 เสียง ถามว่าวุฒิสมาชิก จะยังไม่ให้เป็นรัฐบาลจะเป็นไปได้ไหม เราก็ไม่รู้ จึงเป็นการพูดที่เร็วเกินไป เพราะยังมีหลายปัจจัยที่ชี้ว่ารัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไร เมื่อสมมติเอาเองว่า 2 พรรคใหญ่ คือ ประชาธิปัตย์ กับเพื่อไทย จะต้องจับมือ หรือไม่จับมือกันเท่านั้น แล้วคนนอก ก็รู้สึกมีอยู่คนเดียวที่พูดกันอยู่ ก็คือพล.อ.ประยุทธ์ (จันทร์โอชา) เป็นการวิเคราะห์ที่เร็วเกินไป"
เมื่อถามว่าโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมกับพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถามตอนเลือกตั้ง เพราะขณะนี้ตนไม่รู้ว่าพรรคเพื่อไทย จะมีหรือไม่ หรือพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะถูกเซตซีโรก็ได้ และไม่รู้ว่าบุคลากร นโยบายต่างๆเป็นอย่างไร และตนพูดชัดเจนแล้วว่าหากพรรคเพื่อไทยยังคงจุดยืนเดิม เป็นเครื่องมือทางการเมืองให้กับครอบครัว หรือบุคคล แล้วก็ยังมีปัญหาเรื่องนิรโทษกรรม การคอร์รัปชัน หรือการดำเนินงานทางการเมืองที่เอาความรุนแรงมาใช้ ผ่านกลไกมวลชน พรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมด้วยแน่นอน หรือแม้จะแยกไปตั้งพรรคใหม่เพื่อมาขอร่วมด้วยก็ตาม
"วันนี้แทนที่จะถามประชาธิปัตย์ ต้องกลับไปถามคนอื่น เพราะเรามีจุดยืน นโยบายชัดเจนที่สุดในขณะนี้ และผมพูดตลอดว่า นี่คือนักการเมืองอาชีพ ต้องพูดอย่างนี้ แต่พรรคอื่น ขณะนี้ผมยังไม่ทราบว่าเขาคิดอย่างไร ส่วนพรรคเพื่อไทย จะไปร่วมกับพรรคไหน ผมไม่ทราบ ไม่รู้ว่าเป็นไปได้ หรือไม่ได้ ดีที่สุดวันนี้ เราควรเอาเรื่องของวิสัยทัศน์ ความตั้งใจของแต่ละพรรคมาพูดให้ชัดว่า แต่ละคนต้องการให้ประเทศไทยเดินไปทางไหน ไม่ใช่หมกหมุ่นกับว่า ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นนายกฯ โดยไม่ดูว่าทิศทางของประเทศจะเดินไปอย่างไร เพราะฉะนั้น กว่าจะถึงวันเลือกตั้ง สังคมไทยต้องค้นหาว่าแต่ละพรรคการเมือง คิดอย่างไร เพื่อไทยจะมีสาขา ไม่มีสาขา พรรคขนาดกลางคิดอย่างไร เมื่อตัวเลขออกมาถึงจะเป็นตัวบ่งบอก ไม่เช่นนั้นแล้ว ถ้าคิดแต่ว่าจะตกลงอะไรกันอย่างไรก็ได้ ขอให้ตัวเลขถึง การเมืองจะถอยหลังมาก เท่ากับว่าประชาชน ไม่มีส่วนร่วม และสรุปแล้วก็คือ นักการเมือง อะไรก็ได้ขอให้เป็นรัฐบาล"
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีการยุบสภา หากเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ว่า หากเลือกนายกฯไม่ได้ รัฐบาลชุดนี้ก็จะรักษาการต่อไปเรื่อยๆ และมีอำนาจ ม. 44 ที่จะทำงานต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ แต่ก็คงจะขลุกขลัก เพราะอาศัยกลไกของสภาตามปกติ คงยาก ซึ่งเท่ากับเป็นรัฐบาลที่ไม่มีเสียงในสภาเลย ยกเว้นวุฒิสภา ส่วนโอกาสที่รัฐบาลจะใช้ ม.44 ยุบสภา ให้มีเลือกตั้งกันใหม่นั้น ในอังกฤษ และสปน ก็เคยมี ถือเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย แต่ตนยังชื่อว่า ต่อให้เขาจะมาจากการแต่งตั้ง แต่ถ้ากระแสสังคมบอกว่า ต้องไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจนพอสมควร เขาก็ต้องฟัง แต่หากกระแสสังคมไม่ชัดเจน คือแล้วแต่นักการเมืองจะมาตกลงกัน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
"หรือหากไม่มีพรรคไหนได้เกินครึ่ง ก็ไม่ได้มีสูตรว่า จะต้องให้ 2 พรรคใหญ่จับมือ แล้วเกินครึ่ง 2 พรรคใหญ่ไม่จับมือกันก็ได้ อาจจะมีพรรคใหญ่ บวกกับพรรคอื่นๆ แล้วเกินครึ่ง แต่หากมีพรรคใหญ่ได้เกิน 250 เสียง ถามว่าวุฒิสมาชิก จะยังไม่ให้เป็นรัฐบาลจะเป็นไปได้ไหม เราก็ไม่รู้ จึงเป็นการพูดที่เร็วเกินไป เพราะยังมีหลายปัจจัยที่ชี้ว่ารัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไร เมื่อสมมติเอาเองว่า 2 พรรคใหญ่ คือ ประชาธิปัตย์ กับเพื่อไทย จะต้องจับมือ หรือไม่จับมือกันเท่านั้น แล้วคนนอก ก็รู้สึกมีอยู่คนเดียวที่พูดกันอยู่ ก็คือพล.อ.ประยุทธ์ (จันทร์โอชา) เป็นการวิเคราะห์ที่เร็วเกินไป"
เมื่อถามว่าโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมกับพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถามตอนเลือกตั้ง เพราะขณะนี้ตนไม่รู้ว่าพรรคเพื่อไทย จะมีหรือไม่ หรือพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะถูกเซตซีโรก็ได้ และไม่รู้ว่าบุคลากร นโยบายต่างๆเป็นอย่างไร และตนพูดชัดเจนแล้วว่าหากพรรคเพื่อไทยยังคงจุดยืนเดิม เป็นเครื่องมือทางการเมืองให้กับครอบครัว หรือบุคคล แล้วก็ยังมีปัญหาเรื่องนิรโทษกรรม การคอร์รัปชัน หรือการดำเนินงานทางการเมืองที่เอาความรุนแรงมาใช้ ผ่านกลไกมวลชน พรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมด้วยแน่นอน หรือแม้จะแยกไปตั้งพรรคใหม่เพื่อมาขอร่วมด้วยก็ตาม
"วันนี้แทนที่จะถามประชาธิปัตย์ ต้องกลับไปถามคนอื่น เพราะเรามีจุดยืน นโยบายชัดเจนที่สุดในขณะนี้ และผมพูดตลอดว่า นี่คือนักการเมืองอาชีพ ต้องพูดอย่างนี้ แต่พรรคอื่น ขณะนี้ผมยังไม่ทราบว่าเขาคิดอย่างไร ส่วนพรรคเพื่อไทย จะไปร่วมกับพรรคไหน ผมไม่ทราบ ไม่รู้ว่าเป็นไปได้ หรือไม่ได้ ดีที่สุดวันนี้ เราควรเอาเรื่องของวิสัยทัศน์ ความตั้งใจของแต่ละพรรคมาพูดให้ชัดว่า แต่ละคนต้องการให้ประเทศไทยเดินไปทางไหน ไม่ใช่หมกหมุ่นกับว่า ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นนายกฯ โดยไม่ดูว่าทิศทางของประเทศจะเดินไปอย่างไร เพราะฉะนั้น กว่าจะถึงวันเลือกตั้ง สังคมไทยต้องค้นหาว่าแต่ละพรรคการเมือง คิดอย่างไร เพื่อไทยจะมีสาขา ไม่มีสาขา พรรคขนาดกลางคิดอย่างไร เมื่อตัวเลขออกมาถึงจะเป็นตัวบ่งบอก ไม่เช่นนั้นแล้ว ถ้าคิดแต่ว่าจะตกลงอะไรกันอย่างไรก็ได้ ขอให้ตัวเลขถึง การเมืองจะถอยหลังมาก เท่ากับว่าประชาชน ไม่มีส่วนร่วม และสรุปแล้วก็คือ นักการเมือง อะไรก็ได้ขอให้เป็นรัฐบาล"
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีการยุบสภา หากเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ว่า หากเลือกนายกฯไม่ได้ รัฐบาลชุดนี้ก็จะรักษาการต่อไปเรื่อยๆ และมีอำนาจ ม. 44 ที่จะทำงานต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ แต่ก็คงจะขลุกขลัก เพราะอาศัยกลไกของสภาตามปกติ คงยาก ซึ่งเท่ากับเป็นรัฐบาลที่ไม่มีเสียงในสภาเลย ยกเว้นวุฒิสภา ส่วนโอกาสที่รัฐบาลจะใช้ ม.44 ยุบสภา ให้มีเลือกตั้งกันใหม่นั้น ในอังกฤษ และสปน ก็เคยมี ถือเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย แต่ตนยังชื่อว่า ต่อให้เขาจะมาจากการแต่งตั้ง แต่ถ้ากระแสสังคมบอกว่า ต้องไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจนพอสมควร เขาก็ต้องฟัง แต่หากกระแสสังคมไม่ชัดเจน คือแล้วแต่นักการเมืองจะมาตกลงกัน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง