แต่งตั้งบิ๊ก ร.ฟ.ท.ล็อตใหญ่ ส่อป่วน "ผู้ช่วยผู้ว่าฯ" ร้องผลการคัดสรรตั้งรองผู้ว่าฯ ไม่โปร่งใส ไร้หลักเกณฑ์ ข้ามระบบอาวุโส ยื่นบอร์ดและผู้ว่าฯ ขอทราบหลักเกณฑ์ ผลคะแนนภายใน 5 วัน พร้อมเตรียมยื่นฟ้องศาลเป็นรายบุคคล กรณีละเว้น มาตรา 157 และยื่นนายกฯและหัวหน้า คสช. ด้วย
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ครั้งที่ 16/2559 เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ที่มีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งเลื่อนระดับและโยกย้ายพนักงานรวม 14 ตำแหน่ง โดยระบุว่า เพื่อให้การบริหารจัดการและปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยในระดับรองผู้ว่าฯ ถือว่า เป็นการโยกย้ายสลับหน้าที่รับผิดชอบและมีแต่งตั้งทดแทนครั้งใหญ่ เพราะมีรองผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ที่ครบเกษียณอายุในวันที่ 30 ก.ย. 2559 ถึง 3 คน คือ นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย รองผู้ว่าร.ฟ.ท.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน , นายปานฑพ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าร.ฟ.ท. กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และ นายณรงฤทธิ์ ศิวะสาโรช รองผู้ว่าร.ฟ.ท.กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน
ซึ่งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. ได้ลงนามคำสั่งเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2559 แต่งตั้งโยกย้ายรวม 14 ราย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2559 เป็นต้นไป
ได้แก่ 1. ให้นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ (นักบริหาร14) ไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุง รถจักรและล้อเลื่อน 2. ให้นายประเสริฐ อันนะนันทน์ รองผู้ว่าการกลุ่มบรอหารธุรกิจรถไฟฟ้า (นักบริหาร14) ไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 3. ให้นางสิริมา หิรัญเจริญเวช ผู้อำนวยการฝ่ายบริการสินค้า (นักบริหาร 13) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน (นักบริหาร14)
4. ให้นายเอก สิทธิเวคิน ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี (นักบริหาร13) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ (นักบริหาร14) 5. ให้นายจเร รุ่งฐานีย์ วิศวกรฝ่ายการช่างโยธา (นักบริหาร13) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มบรืหารรถไฟฟ้า (นักบริหาร 14) 6. นางสาวเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (นักบริหาร13) ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการด้านบริหาร(นักบริหาร13) เป็นต้น
ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ ผู้ช่วยผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2559 ตนได้ยื่นหนังสือถึง นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท. และกรรมการ ร.ฟ.ท.อีก 7 คน เพื่อขอทราบคะแนน หลักเกณฑ์และเหตุผลในการแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงาน ระดับ 13 เป็นระดับ 14 ครั้งนี้ และขอให้บอร์ด มีมติระงับคำสั่งแต่งตั้งเลื่อนระดับดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะทบทวนกระบวนการคัดสรรให้ถี่ถ้วน โดยขอทราบผลภายใน 5 วัน
พร้อมกันนี้ ได้ทำหนังสือต่อนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาเบื้องต้นเพื่อสรรหาผู้มีความเหมาะสมสืบทอดตำแหน่งนักบริหาร 13-14 และกรรมการด้วย
โดยหนังสือได้ระบุเหมือนกันว่า เนื่องจากตนเป็น1 ในผู้ยื่นสมัครและมีคุณสมบัติสูงสึดแต่ไม่ได้รับการคัดเลือก จึงเห็นว่ามีความไม่โปร่งใสไม่เป็นธรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการหลายประการ จึงขอรับทราบคะแนนทหลักเกณฑ์ และเหตุผลในการพิจารณาคัดสรรของแต่ละท่าน เพื่อประกอบการพิจารณาเรียกร้องความยุติธรรม
โดยจะเดินหน้าฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม เป็นรายบุคคลฐานเป็นเจ้าพนักงานค่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่งตามมาตรา 157 และยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. รวมถึงทูลเกล้ายื่นถวายฏีกา
ผศ.ดร.ศิริพงศ์กล่าวว่า ต้องการทราบหลักเกณฑ์ผลคะแนน เนื่องจากมีประกาศรับสมัครเมื่อเดือนมิ.ย.2559 โดยไม่บอกเกณฑ์การวัดผล มาประกาศเกณฑ์ภายหลังที่ประกาศผลแล้ว ที่สำคัญ การแต่งตั้งครั้งนี้ มีความไม่โปร่งใสอย่างมาก เช่น ผู้ที่เพิ่มขึ้นระดับ 13 เพียง 1 ปี ขึ้นเป็นรองผู้ว่าฯระดับ 14 ขณะที่ตน เป็นนักบริหาร 13 มา 10 ปีแล้ว ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะสั่งไม่ได้ทุกเรื่อง เป็นการข้ามอาวุโส และเมื่อปีที่แล้ว ที่ได้เข้ารับการคัดสรรด้วย แต่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ขอร้องไว้ขอตั้งคนของตัวเองก่อน ซึ่งเมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งล่าสุดออกมา จึงเห็นว่าไม่โปร่งใส รถไฟควรมีบรรทัดฐานหลักเกณฑ์ในการคัดสรรผู้บริหารให้ดี ไม่ใช่ทำแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
"การพิจารณาตำแหน่งต่างๆ ถ้าใช้ระบบคุณธรรมผสมอุปถัมภ์ยังพอรับได้ แต่ที่ทำงานรถไฟมาทั้งชีวิต ไร้คุณธรรม มีการกลั่นแกล้ง ขนาดเป็นผู้บริหารระดับสูง โดนซ้ำแล้วซ้ำอีก พนักงานระดับล่าง ไม่ต้องพูดถึง คนเดินตามนาย ทำตามนายสั่งมักได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้มีระบบบ้าง บรรทัดฐานบ้างน่าจะดีสำหรับรถไฟ" ผศ.ดร.ศิริพงศ์ กล่าว.
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ครั้งที่ 16/2559 เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ที่มีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งเลื่อนระดับและโยกย้ายพนักงานรวม 14 ตำแหน่ง โดยระบุว่า เพื่อให้การบริหารจัดการและปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยในระดับรองผู้ว่าฯ ถือว่า เป็นการโยกย้ายสลับหน้าที่รับผิดชอบและมีแต่งตั้งทดแทนครั้งใหญ่ เพราะมีรองผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ที่ครบเกษียณอายุในวันที่ 30 ก.ย. 2559 ถึง 3 คน คือ นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย รองผู้ว่าร.ฟ.ท.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน , นายปานฑพ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าร.ฟ.ท. กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และ นายณรงฤทธิ์ ศิวะสาโรช รองผู้ว่าร.ฟ.ท.กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน
ซึ่งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. ได้ลงนามคำสั่งเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2559 แต่งตั้งโยกย้ายรวม 14 ราย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2559 เป็นต้นไป
ได้แก่ 1. ให้นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ (นักบริหาร14) ไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุง รถจักรและล้อเลื่อน 2. ให้นายประเสริฐ อันนะนันทน์ รองผู้ว่าการกลุ่มบรอหารธุรกิจรถไฟฟ้า (นักบริหาร14) ไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 3. ให้นางสิริมา หิรัญเจริญเวช ผู้อำนวยการฝ่ายบริการสินค้า (นักบริหาร 13) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน (นักบริหาร14)
4. ให้นายเอก สิทธิเวคิน ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี (นักบริหาร13) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ (นักบริหาร14) 5. ให้นายจเร รุ่งฐานีย์ วิศวกรฝ่ายการช่างโยธา (นักบริหาร13) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการกลุ่มบรืหารรถไฟฟ้า (นักบริหาร 14) 6. นางสาวเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (นักบริหาร13) ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการด้านบริหาร(นักบริหาร13) เป็นต้น
ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ ผู้ช่วยผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2559 ตนได้ยื่นหนังสือถึง นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท. และกรรมการ ร.ฟ.ท.อีก 7 คน เพื่อขอทราบคะแนน หลักเกณฑ์และเหตุผลในการแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงาน ระดับ 13 เป็นระดับ 14 ครั้งนี้ และขอให้บอร์ด มีมติระงับคำสั่งแต่งตั้งเลื่อนระดับดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะทบทวนกระบวนการคัดสรรให้ถี่ถ้วน โดยขอทราบผลภายใน 5 วัน
พร้อมกันนี้ ได้ทำหนังสือต่อนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาเบื้องต้นเพื่อสรรหาผู้มีความเหมาะสมสืบทอดตำแหน่งนักบริหาร 13-14 และกรรมการด้วย
โดยหนังสือได้ระบุเหมือนกันว่า เนื่องจากตนเป็น1 ในผู้ยื่นสมัครและมีคุณสมบัติสูงสึดแต่ไม่ได้รับการคัดเลือก จึงเห็นว่ามีความไม่โปร่งใสไม่เป็นธรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการหลายประการ จึงขอรับทราบคะแนนทหลักเกณฑ์ และเหตุผลในการพิจารณาคัดสรรของแต่ละท่าน เพื่อประกอบการพิจารณาเรียกร้องความยุติธรรม
โดยจะเดินหน้าฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม เป็นรายบุคคลฐานเป็นเจ้าพนักงานค่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่งตามมาตรา 157 และยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. รวมถึงทูลเกล้ายื่นถวายฏีกา
ผศ.ดร.ศิริพงศ์กล่าวว่า ต้องการทราบหลักเกณฑ์ผลคะแนน เนื่องจากมีประกาศรับสมัครเมื่อเดือนมิ.ย.2559 โดยไม่บอกเกณฑ์การวัดผล มาประกาศเกณฑ์ภายหลังที่ประกาศผลแล้ว ที่สำคัญ การแต่งตั้งครั้งนี้ มีความไม่โปร่งใสอย่างมาก เช่น ผู้ที่เพิ่มขึ้นระดับ 13 เพียง 1 ปี ขึ้นเป็นรองผู้ว่าฯระดับ 14 ขณะที่ตน เป็นนักบริหาร 13 มา 10 ปีแล้ว ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะสั่งไม่ได้ทุกเรื่อง เป็นการข้ามอาวุโส และเมื่อปีที่แล้ว ที่ได้เข้ารับการคัดสรรด้วย แต่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ขอร้องไว้ขอตั้งคนของตัวเองก่อน ซึ่งเมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งล่าสุดออกมา จึงเห็นว่าไม่โปร่งใส รถไฟควรมีบรรทัดฐานหลักเกณฑ์ในการคัดสรรผู้บริหารให้ดี ไม่ใช่ทำแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
"การพิจารณาตำแหน่งต่างๆ ถ้าใช้ระบบคุณธรรมผสมอุปถัมภ์ยังพอรับได้ แต่ที่ทำงานรถไฟมาทั้งชีวิต ไร้คุณธรรม มีการกลั่นแกล้ง ขนาดเป็นผู้บริหารระดับสูง โดนซ้ำแล้วซ้ำอีก พนักงานระดับล่าง ไม่ต้องพูดถึง คนเดินตามนาย ทำตามนายสั่งมักได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้มีระบบบ้าง บรรทัดฐานบ้างน่าจะดีสำหรับรถไฟ" ผศ.ดร.ศิริพงศ์ กล่าว.