“หนึ่งความคิด”
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ตามข่าว นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า คณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง กระทรวงการคลัง ได้พิจารณาสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ประชุมสรุปความเห็นความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือก โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งหนังสือท้วงติงจะเกิดความเสียหายจากการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 56/57 แต่ยังเดินหน้ารับจำนำข้าวต่อไปอีก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จึงมีความประมาทร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายในการรับจำนำข้าววงเงิน 1.78 แสนล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ยึดหลักมาตรา 8 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ปี 2539 ให้คำนึงถึงความเป็นธรรม ไม่ให้พิจารณาลูกหนี้ร่วม จึงหักความรับผิดชอบในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่เพียงผู้เดียว ในสัดส่วน 20% ของมูลค่าความเสียหาย 1.78 แสนล้านบาท เป็นเงินต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น 35,717 ล้านบาท ซึ่งกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คดีจะหมดอายุความเดือนกุมภาพันธ์ 2560
ขั้นตอนต่อไปก็คือนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องลงนาม ก็ต้องรอดูว่าจะปัดและยื้อเหมือนกระทรวงพาณิชย์หรือไม่ นายกรัฐมนตรีจะลงนามเองหรือมอบอำนาจให้คนอื่นลงนามแทนเหมือนกรณีของกระทรวงพาณิชย์หรือไม่
แต่อ่านข่าวนี้แล้วงงนะว่า ทำไมถึงเรียกค่าเสียหายทางแพ่งยิ่งลักษณ์ 20% เป็นเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท จากความเสียหายถึง 1.78 แสนล้าน ทำไมไม่10% 30% 50%หรือทั้ง 100% เขาคิดกันยังไงว่าใครต้องรับผิดชอบกี่เปอร์เซนต์มีหลักการ มีประกาศ มีระเบียบให้ยึดปฏิบัติหรือไม่
ต่อมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาให้สัมภาษณ์อธิบายเรื่องนี้ลองฟังดูนะครับว่าฟังได้ไหม
นายวิษณุบอกว่า “ในจำนวนเงิน 1.7 แสนล้านบาท การจะต้องพิจารณาว่าใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติมา 4-5 ปีแล้วว่า กรณีที่เป็นความรับผิดแบบทำกันหลายคนจะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการรับผิด ซึ่งมีการกำหนดไว้ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการละเลย ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ก็ไปเฉลี่ยกับผู้ที่มีส่วนทำความผิด ซึ่งในครั้งนี้มีการประเมินกันว่าควรจะเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขจึงออกมาอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท จาก 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งหมดมีหลักเกณฑ์และสามารถอธิบายได้ตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าไม่ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ความหมายก็คือ ถ้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สมมุติมีผู้รับผิด 10 คน 9 คนไม่มีจ่าย คนที่ 1 ที่มีจ่ายต้องจ่ายทั้งหมดแล้วค่อยไปเก็บจากคนที่เหลือเอาเอง หมายถึงการรับผิดแทนได้ทั้งหมด แต่ถ้ากฎหมายบัญญัติว่า ไม่รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็คือ ส่วนของใครก็ของมัน จะให้คนอื่นมารับหนี้แทนไม่ได้ กรณีนี้ประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ต้องรับผิดเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงที่รับผิดชอบต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง”
ผมว่ามันยิ่งยุ่งนะกับการอ้างว่าการเรียกเก็บ 20%เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติกันมา สำหรับการละเลย ซึ่งแปลตรงๆ ก็คือ อ้างว่าเขาเคยคิดกันมาอย่างนั้น ไม่มีประกาศคำสั่ง ระเบียบหรือกฎหมายได้ให้ยึดถือหรอก
แต่แค่เรียกเก็บยิ่งลักษณ์ 20% ป้าแกสู้ก็เหนื่อยนะ ลองคิดดูว่าถ้ายิ่งลักษณ์ไปฟ้องศาลแล้วจะอ้างในศาลได้ไหมว่า เป็นหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติกันมา แถมเปิดช่องไว้อีกว่า กรณีแบบนี้เคยเก็บกันที่ 10-20% เขาก็ต้องถามว่าแล้วคิดอย่างไรว่าเก็บ 10 หรือ 20 ทำไมมาเก็บฉัน 20 เพราะคิดเป็นเงินแล้วต่างกันเป็นหมื่นล้านนะ
เชื่อว่ายิ่งลักษณ์จะต้องไปฟ้องยับยั้งกับศาลปกครองแน่ๆ และขอคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้ถูกยึดทรัพย์ ผมว่ามีโอกาสสูงที่ศาลจะคุ้มครองนะ เพราะความเสียหายจากจำนำข้าวมันหยุดแล้ว และเขาไม่ได้มีอำนาจจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานหลักฐานแล้ว ไม่มีเหตุว่าต้องยึดเงินเขาทันที ให้เขาสู้คดีแล้วค่อยยึดพร้อมดอกเบี้ยก็ได้
มีคนตั้งข้อสังเกตเหมือนกันว่า การที่รัฐใช้คำสั่งทางปกครองในการยึดทรัพย์เป็นการเปิดช่องให้ยิ่งลักษณ์สู้ได้เพราะยาวแน่ถ้าสู้กัน 2 ชั้นศาลปกครอง แล้วคำสั่งทางปกครองถ้าเขาชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาลเขายกเลิกได้นะ แต่งงว่าทำไมรัฐบาลไม่เลือกฟ้องแพ่ง ตอนนี้ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้ว ถ้าศาลอาญาบอกว่าผิดอีกคดีแพ่งก็รอดยาก
ทีนี้มาถึงคำถามว่าแล้วความเสียหายอีก 80%ที่เหลือล่ะ เห็นตอนนี้มีข่าวออกมาแล้วว่า คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กบข.)ต้องรับผิดชอบ 60%หรือ1.068 ล้าน รองนายกรัฐมนตรี รมว.และครม.ต้องรับผิดชอบ 20% หรือ 3.56 หมื่นล้าน ซึ่งรู้ชื่อรู้ตัวบุคคลหมดแล้วว่ามีใครบ้าง ทำไมไม่ทำไปพร้อมกันจะต้องไปสอบสวนอะไรอีก
ทำไมไม่ทำแบบเดียวกับจีทูจีเก๊ของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการไปพร้อมกันเฉลี่ยความรับผิดชอบกันทั้งรมว.ฝ่ายการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐทีเดียวเลย แต่กรณีนี้คนอื่นอีก 80%ยังไม่ได้ทำอะไรเลย มันตอบยากนะว่าไม่ได้เลือกปฏิบัติซึ่งเป็นช่องให้เขาสู้
ใครเกี่ยวข้องก็ดำเนินการไปในคราวเดียวกันเมื่อเป็นกรณีเดียวกันกระทำผิดร่วมกัน จะได้ความเสียหายคืนมาทั้ง 1.78 แสนล้าน เพราะรู้อยู่แล้วว่าโยงไปที่ใครบ้าง จะปัดไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปทวงถามทำไม ถ้าอ่านตามข่าวอ้างว่ามีอายุความ 10 ปี แล้วงงนะที่นายวิษณุบอกว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงที่รับผิดชอบต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง
ถ้าจะอ้างว่าที่เรียกค่าเสียหายจากยิ่งลักษณ์ก่อนเป็นเพราะยิ่งลักษณ์เป็นคนที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว และคดีอยู่ในศาล แต่เราก็บอกไม่ใช่เหรอว่า การเรียกค่าเสียหายทางแพ่งไม่เกี่ยวกับคดีในศาล เมื่อพบว่ารัฐเกิดความเสียหายแล้วก็ดำเนินการได้เลย ดังนั้นก็ต้องถามอีกนั่นแหละว่า ความเสียหายอีกตั้ง 80%จะได้คืนมามั้ย แล้วจะดำเนินการจริงๆจังๆ มั้ย
กรณีของกฎหมายทางปกครองนั้น เมื่อผู้ทำให้เกิดความเสียหายเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” รัฐมีอำนาจเต็มอยู่แล้ว ที่จะใช้อำนาจรัฐเรียกความเสียหายคืนจากเจ้าหน้าที่รัฐได้ทันที จะรอไปทำไม 10 ปี และจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสอบอะไรอีก
แล้วอ้างว่าส่วนที่เหลืออีก 80%มีอายุความ 10 ปีก็งงอีก ทำไมของยิ่งลักษณ์ที่รับผิด20%ถึงบอกว่าหมดอายุความในกุมภาพันธ์ปี 60 อ้าวแล้วอีก 80%ที่การกระทำเรื่องเดียวกันคราวเดียวกันจึงมีอายุความอีก 10 ปี แล้วถ้าเกิดใน 10 ปีไม่มีการดำเนินการเลยจนขาดอายุความมันจะกลายเป็นความผิดของใคร เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลชุดนี้ไหม
เรื่องอายุความที่แตกต่างกันนี้จะบอกว่าที่เหลือยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดอายุความจึงยังไม่เริ่มก็ไม่น่าจะใช่ เพราะการสอบสวนกรณีนี้ว่าเป็นความผิดของใครต้องทำในคราวเดียวกัน แล้วรู้ตัวว่าใครผิดบ้างใครต้องชดใช้บ้างอยู่แล้ว แต่กลับไม่ดำเนินการในอีก 80% ที่เหลือแล้วโยนไปว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ที่ทักท้วงมาก็เพราะว่า จะถูกฝ่ายยิ่งลักษณ์กล่าวหาว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ถ้าโครงการนี้เกิดความเสียหายแล้วให้ยิ่งลักษณ์รับผิด 20%ใครทำผิดต้องรับผิดชอบอีกแสนกว่าล้าน80%ต้องลากคอมาลงโทษพร้อมกันถึงจะถูกต้องและเป็นธรรม
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ตามข่าว นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า คณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง กระทรวงการคลัง ได้พิจารณาสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ประชุมสรุปความเห็นความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือก โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งหนังสือท้วงติงจะเกิดความเสียหายจากการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 56/57 แต่ยังเดินหน้ารับจำนำข้าวต่อไปอีก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จึงมีความประมาทร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายในการรับจำนำข้าววงเงิน 1.78 แสนล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ยึดหลักมาตรา 8 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ปี 2539 ให้คำนึงถึงความเป็นธรรม ไม่ให้พิจารณาลูกหนี้ร่วม จึงหักความรับผิดชอบในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่เพียงผู้เดียว ในสัดส่วน 20% ของมูลค่าความเสียหาย 1.78 แสนล้านบาท เป็นเงินต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น 35,717 ล้านบาท ซึ่งกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คดีจะหมดอายุความเดือนกุมภาพันธ์ 2560
ขั้นตอนต่อไปก็คือนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องลงนาม ก็ต้องรอดูว่าจะปัดและยื้อเหมือนกระทรวงพาณิชย์หรือไม่ นายกรัฐมนตรีจะลงนามเองหรือมอบอำนาจให้คนอื่นลงนามแทนเหมือนกรณีของกระทรวงพาณิชย์หรือไม่
แต่อ่านข่าวนี้แล้วงงนะว่า ทำไมถึงเรียกค่าเสียหายทางแพ่งยิ่งลักษณ์ 20% เป็นเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท จากความเสียหายถึง 1.78 แสนล้าน ทำไมไม่10% 30% 50%หรือทั้ง 100% เขาคิดกันยังไงว่าใครต้องรับผิดชอบกี่เปอร์เซนต์มีหลักการ มีประกาศ มีระเบียบให้ยึดปฏิบัติหรือไม่
ต่อมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาให้สัมภาษณ์อธิบายเรื่องนี้ลองฟังดูนะครับว่าฟังได้ไหม
นายวิษณุบอกว่า “ในจำนวนเงิน 1.7 แสนล้านบาท การจะต้องพิจารณาว่าใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติมา 4-5 ปีแล้วว่า กรณีที่เป็นความรับผิดแบบทำกันหลายคนจะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการรับผิด ซึ่งมีการกำหนดไว้ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการละเลย ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ก็ไปเฉลี่ยกับผู้ที่มีส่วนทำความผิด ซึ่งในครั้งนี้มีการประเมินกันว่าควรจะเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขจึงออกมาอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท จาก 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งหมดมีหลักเกณฑ์และสามารถอธิบายได้ตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าไม่ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ความหมายก็คือ ถ้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สมมุติมีผู้รับผิด 10 คน 9 คนไม่มีจ่าย คนที่ 1 ที่มีจ่ายต้องจ่ายทั้งหมดแล้วค่อยไปเก็บจากคนที่เหลือเอาเอง หมายถึงการรับผิดแทนได้ทั้งหมด แต่ถ้ากฎหมายบัญญัติว่า ไม่รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็คือ ส่วนของใครก็ของมัน จะให้คนอื่นมารับหนี้แทนไม่ได้ กรณีนี้ประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ต้องรับผิดเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงที่รับผิดชอบต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง”
ผมว่ามันยิ่งยุ่งนะกับการอ้างว่าการเรียกเก็บ 20%เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติกันมา สำหรับการละเลย ซึ่งแปลตรงๆ ก็คือ อ้างว่าเขาเคยคิดกันมาอย่างนั้น ไม่มีประกาศคำสั่ง ระเบียบหรือกฎหมายได้ให้ยึดถือหรอก
แต่แค่เรียกเก็บยิ่งลักษณ์ 20% ป้าแกสู้ก็เหนื่อยนะ ลองคิดดูว่าถ้ายิ่งลักษณ์ไปฟ้องศาลแล้วจะอ้างในศาลได้ไหมว่า เป็นหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติกันมา แถมเปิดช่องไว้อีกว่า กรณีแบบนี้เคยเก็บกันที่ 10-20% เขาก็ต้องถามว่าแล้วคิดอย่างไรว่าเก็บ 10 หรือ 20 ทำไมมาเก็บฉัน 20 เพราะคิดเป็นเงินแล้วต่างกันเป็นหมื่นล้านนะ
เชื่อว่ายิ่งลักษณ์จะต้องไปฟ้องยับยั้งกับศาลปกครองแน่ๆ และขอคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้ถูกยึดทรัพย์ ผมว่ามีโอกาสสูงที่ศาลจะคุ้มครองนะ เพราะความเสียหายจากจำนำข้าวมันหยุดแล้ว และเขาไม่ได้มีอำนาจจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานหลักฐานแล้ว ไม่มีเหตุว่าต้องยึดเงินเขาทันที ให้เขาสู้คดีแล้วค่อยยึดพร้อมดอกเบี้ยก็ได้
มีคนตั้งข้อสังเกตเหมือนกันว่า การที่รัฐใช้คำสั่งทางปกครองในการยึดทรัพย์เป็นการเปิดช่องให้ยิ่งลักษณ์สู้ได้เพราะยาวแน่ถ้าสู้กัน 2 ชั้นศาลปกครอง แล้วคำสั่งทางปกครองถ้าเขาชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาลเขายกเลิกได้นะ แต่งงว่าทำไมรัฐบาลไม่เลือกฟ้องแพ่ง ตอนนี้ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้ว ถ้าศาลอาญาบอกว่าผิดอีกคดีแพ่งก็รอดยาก
ทีนี้มาถึงคำถามว่าแล้วความเสียหายอีก 80%ที่เหลือล่ะ เห็นตอนนี้มีข่าวออกมาแล้วว่า คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กบข.)ต้องรับผิดชอบ 60%หรือ1.068 ล้าน รองนายกรัฐมนตรี รมว.และครม.ต้องรับผิดชอบ 20% หรือ 3.56 หมื่นล้าน ซึ่งรู้ชื่อรู้ตัวบุคคลหมดแล้วว่ามีใครบ้าง ทำไมไม่ทำไปพร้อมกันจะต้องไปสอบสวนอะไรอีก
ทำไมไม่ทำแบบเดียวกับจีทูจีเก๊ของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการไปพร้อมกันเฉลี่ยความรับผิดชอบกันทั้งรมว.ฝ่ายการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐทีเดียวเลย แต่กรณีนี้คนอื่นอีก 80%ยังไม่ได้ทำอะไรเลย มันตอบยากนะว่าไม่ได้เลือกปฏิบัติซึ่งเป็นช่องให้เขาสู้
ใครเกี่ยวข้องก็ดำเนินการไปในคราวเดียวกันเมื่อเป็นกรณีเดียวกันกระทำผิดร่วมกัน จะได้ความเสียหายคืนมาทั้ง 1.78 แสนล้าน เพราะรู้อยู่แล้วว่าโยงไปที่ใครบ้าง จะปัดไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปทวงถามทำไม ถ้าอ่านตามข่าวอ้างว่ามีอายุความ 10 ปี แล้วงงนะที่นายวิษณุบอกว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงที่รับผิดชอบต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง
ถ้าจะอ้างว่าที่เรียกค่าเสียหายจากยิ่งลักษณ์ก่อนเป็นเพราะยิ่งลักษณ์เป็นคนที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว และคดีอยู่ในศาล แต่เราก็บอกไม่ใช่เหรอว่า การเรียกค่าเสียหายทางแพ่งไม่เกี่ยวกับคดีในศาล เมื่อพบว่ารัฐเกิดความเสียหายแล้วก็ดำเนินการได้เลย ดังนั้นก็ต้องถามอีกนั่นแหละว่า ความเสียหายอีกตั้ง 80%จะได้คืนมามั้ย แล้วจะดำเนินการจริงๆจังๆ มั้ย
กรณีของกฎหมายทางปกครองนั้น เมื่อผู้ทำให้เกิดความเสียหายเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” รัฐมีอำนาจเต็มอยู่แล้ว ที่จะใช้อำนาจรัฐเรียกความเสียหายคืนจากเจ้าหน้าที่รัฐได้ทันที จะรอไปทำไม 10 ปี และจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสอบอะไรอีก
แล้วอ้างว่าส่วนที่เหลืออีก 80%มีอายุความ 10 ปีก็งงอีก ทำไมของยิ่งลักษณ์ที่รับผิด20%ถึงบอกว่าหมดอายุความในกุมภาพันธ์ปี 60 อ้าวแล้วอีก 80%ที่การกระทำเรื่องเดียวกันคราวเดียวกันจึงมีอายุความอีก 10 ปี แล้วถ้าเกิดใน 10 ปีไม่มีการดำเนินการเลยจนขาดอายุความมันจะกลายเป็นความผิดของใคร เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลชุดนี้ไหม
เรื่องอายุความที่แตกต่างกันนี้จะบอกว่าที่เหลือยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดอายุความจึงยังไม่เริ่มก็ไม่น่าจะใช่ เพราะการสอบสวนกรณีนี้ว่าเป็นความผิดของใครต้องทำในคราวเดียวกัน แล้วรู้ตัวว่าใครผิดบ้างใครต้องชดใช้บ้างอยู่แล้ว แต่กลับไม่ดำเนินการในอีก 80% ที่เหลือแล้วโยนไปว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ที่ทักท้วงมาก็เพราะว่า จะถูกฝ่ายยิ่งลักษณ์กล่าวหาว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ถ้าโครงการนี้เกิดความเสียหายแล้วให้ยิ่งลักษณ์รับผิด 20%ใครทำผิดต้องรับผิดชอบอีกแสนกว่าล้าน80%ต้องลากคอมาลงโทษพร้อมกันถึงจะถูกต้องและเป็นธรรม