วานนี้ (28ก.ย.) ที่รัฐสภา คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จัดสัมมนา เรื่องการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มีตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าร่วมประมาณ 50 พรรค เกือบทั้งหมดเป็นพรรคขนาดเล็ก พรรคขนาดกลาง มี นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคขนาดใหญ่มี นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วม ไม่มีตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย โดย นายประวิช รัตนเพียร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม ชี้แจงถึงการเสนอร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับ ว่า องค์ประกอบโครงร่างกฎหมาย สอดคล้องไปตามที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติกำหนด ขณะเดียวกัน ก็เสนอแนวทางใหม่ เช่น ขออำนาจให้กกต. สามารถเลื่อนวันเลือกตั้งได้เอง เพื่อแก้ปัญหาจากที่เราเคยมีประสบการณ์ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ประติมากรรมที่แตะต้องไม่ได้ กกต.พร้อมรับฟังความเห็น
จากนั้น ที่ประชุมจึงเปิดให้เสนอความเห็น โดยนายนิกร กล่าวว่า พรรคการเมืองต้องนำเสนอนโยบายได้ กกต.ไม่น่ามีความสามารถในการวินิจฉัยนโยบายจากพรรคการเมืองได้ แนวทางเรื่องนโยบาย ต้องอย่าลงรายละเอียด ส่วนเรื่องการยุบพรรค มีข้อสังเกตว่า จะกินความย้อยหลังหรือไม่ กฎหมายการยุบพรรคการเมือง ควรกำหนดให้ชัด เฉพาะฐานความผิดที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ ส่วนที่เหลือก็ไม่มีรายละเอียดกำหนดถึงมาตการการช่วยเหลือพรรคการเมืองจาก กกต. แนวทางที่เสนอมา เช่นการกำหนดสถานที่ติดป้ายหาเสียง จึงดูจะกลายเป็นข้อจำกัดสำหรับพรรคการเมืองมากกว่า
ด้านนายประวิช ชี้แจงถึงการนำเสนอนโยบาย ว่า กกต.ไม่ได้เป็นผู้พิจารณา ควบคุมการนำเสนอ เพียงแต่กำหนดให้ต้องแจ้ง กกต. เพื่อปิดประกาศให้สังคมรับทราบต่อไป
สำหรับตัวแทนจากพรรคขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ โดยเฉพาะการขึ้นค่าสมัครรับเลือกตั้ง จาก 5,000 บาท เป็น 10,000 บาท การกำหนดพื้นที่ติดป้ายหาเสียง ที่อาจจะทำให้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งลดลงได้ เนื่องจากไม่เห็นอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังวิจารณ์การทำงานของ กกต.ชุดปัจจุบันด้วยว่า บริหารจัดการไม่ดี ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งครั้งล่าสุดได้ และไม่สามารถนำเงินจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
จากนั้น ที่ประชุมจึงเปิดให้เสนอความเห็น โดยนายนิกร กล่าวว่า พรรคการเมืองต้องนำเสนอนโยบายได้ กกต.ไม่น่ามีความสามารถในการวินิจฉัยนโยบายจากพรรคการเมืองได้ แนวทางเรื่องนโยบาย ต้องอย่าลงรายละเอียด ส่วนเรื่องการยุบพรรค มีข้อสังเกตว่า จะกินความย้อยหลังหรือไม่ กฎหมายการยุบพรรคการเมือง ควรกำหนดให้ชัด เฉพาะฐานความผิดที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ ส่วนที่เหลือก็ไม่มีรายละเอียดกำหนดถึงมาตการการช่วยเหลือพรรคการเมืองจาก กกต. แนวทางที่เสนอมา เช่นการกำหนดสถานที่ติดป้ายหาเสียง จึงดูจะกลายเป็นข้อจำกัดสำหรับพรรคการเมืองมากกว่า
ด้านนายประวิช ชี้แจงถึงการนำเสนอนโยบาย ว่า กกต.ไม่ได้เป็นผู้พิจารณา ควบคุมการนำเสนอ เพียงแต่กำหนดให้ต้องแจ้ง กกต. เพื่อปิดประกาศให้สังคมรับทราบต่อไป
สำหรับตัวแทนจากพรรคขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ โดยเฉพาะการขึ้นค่าสมัครรับเลือกตั้ง จาก 5,000 บาท เป็น 10,000 บาท การกำหนดพื้นที่ติดป้ายหาเสียง ที่อาจจะทำให้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งลดลงได้ เนื่องจากไม่เห็นอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังวิจารณ์การทำงานของ กกต.ชุดปัจจุบันด้วยว่า บริหารจัดการไม่ดี ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งครั้งล่าสุดได้ และไม่สามารถนำเงินจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่