ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมกกต. เมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่คณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายของสำนักงานเป็นผู้เสนอ นอกจากที่ประชุมจะเห็นชอบ และปรับแก้ร่างตามข้อเสนอการปฏิรูปการเลือกตั้งใน 4 ด้าน ตามที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เสนอแล้ว ยังมีรายงานว่า ที่ประชุมได้มีการถกเถียงในประเด็นเรื่อง"ใบดำ" หรือ การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ที่ร่างรธน.ฉบับผ่านการลงประชามติ กำหนดไว้ในมาตรา226 และยังมีการกำหนดไว้เป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทางการเมือง และกรรมการองค์กรอิสระ ตามมาตราต่างๆ โดยที่ประชุมเห็นว่า การที่คณะทำงาน สร้างคำเรียก การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งว่า" ใบดำ" นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่นวัตกรรมที่ กกต.สร้างขึ้น ทำให้กกต.ถูกโจมตีจากสังคม ทั้งที่โทษการเพิกถอนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งนั้น กรธ.เป็นผู้กำหนดขึ้น และเขียนบัญญัติไว้ในมาตรา 226 ของร่างรธน.
รวมทั้งยังเห็นว่า ร่างรธน. มาตรา 226 วรรคสาม ที่ให้ศาลฎีกาสั่งลงโทษผู้ที่กระทำทุจริตโดยสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปีนั้น ไม่ชัดเจนว่า หมายถึงแต่ละชนิดโทษนั้นมีระยะเวลา 10 ปี หรือโทษ 10 ปีเฉพาะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และโทษเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นโทษตลอดชีพ และเมื่อพิจารณาร่างรธน.มาตรา 98 (11) ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามการลงสมัครส.ส.ไว้ว่า ต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง มีความหมายครอบคลุมให้ผู้ทุจริตที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการองค์กรอิสระได้ตลอดชีพอยู่แล้ว การเขียนร่างรธน. ของกรธ.จึงมีลักษณะเหมือนซ้อนทับกันอยู่ ซึ่งกกต. ก็เป็นเพียงผู้ยกร่างกฎหมายลูกเบื้องต้น เท่านั้น จึงมีมติให้คณะทำงานไปแก้ไขร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง โดยไม่ให้เขียนเรื่องการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ในร่างกม.ดังกล่าว แล้วทำเป็นข้อสังเกตของ กกต. แนบถึง กรธ.แทนว่า เรื่องนี้ไม่จำเป็นที่เขียนในร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ให้ศาลเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากผลตาม มาตรา 98(11) ทำให้เป็นการตัดสิทธิตลอดชีพอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้คณะทำงานไปปรับแก้โดยตัดอำนาจ กกต. กรณีสามารถเสนอศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งใหม่อย่างเดียว( ใบเหลือง) หลังการประกาศผลการเลือกตั้งได้ หากมีหลักฐานว่าการเลือกตั้งนั้นไม่สุจริต แต่ความผิดไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังผู้สมัครได้ โดยเห็นว่า ร่างรธน.มาตรา 225,226 ไม่เปิดโอกาสให้กกต .ดำเนินการได้
รวมทั้งยังเห็นว่า ร่างรธน. มาตรา 226 วรรคสาม ที่ให้ศาลฎีกาสั่งลงโทษผู้ที่กระทำทุจริตโดยสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปีนั้น ไม่ชัดเจนว่า หมายถึงแต่ละชนิดโทษนั้นมีระยะเวลา 10 ปี หรือโทษ 10 ปีเฉพาะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และโทษเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นโทษตลอดชีพ และเมื่อพิจารณาร่างรธน.มาตรา 98 (11) ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามการลงสมัครส.ส.ไว้ว่า ต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง มีความหมายครอบคลุมให้ผู้ทุจริตที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการองค์กรอิสระได้ตลอดชีพอยู่แล้ว การเขียนร่างรธน. ของกรธ.จึงมีลักษณะเหมือนซ้อนทับกันอยู่ ซึ่งกกต. ก็เป็นเพียงผู้ยกร่างกฎหมายลูกเบื้องต้น เท่านั้น จึงมีมติให้คณะทำงานไปแก้ไขร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง โดยไม่ให้เขียนเรื่องการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ในร่างกม.ดังกล่าว แล้วทำเป็นข้อสังเกตของ กกต. แนบถึง กรธ.แทนว่า เรื่องนี้ไม่จำเป็นที่เขียนในร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ให้ศาลเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากผลตาม มาตรา 98(11) ทำให้เป็นการตัดสิทธิตลอดชีพอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้คณะทำงานไปปรับแก้โดยตัดอำนาจ กกต. กรณีสามารถเสนอศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งใหม่อย่างเดียว( ใบเหลือง) หลังการประกาศผลการเลือกตั้งได้ หากมีหลักฐานว่าการเลือกตั้งนั้นไม่สุจริต แต่ความผิดไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังผู้สมัครได้ โดยเห็นว่า ร่างรธน.มาตรา 225,226 ไม่เปิดโอกาสให้กกต .ดำเนินการได้