นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม กรธ. ถึงแนวทางการเลือกไขว้ ส.ว.จาก 20 กลุ่มอาชีพ ตามที่กกต. เสนอ ในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ว่า ได้ยินมาว่ากกต. สามารถคิดสูตรการป้องกันการฮั้ว และการบล็อกโหวตได้สำเร็จ ถ้าเป็นเรื่องจริงก็น่ายินดี กรธ.ต้องรับฟังความเชี่ยวชาญของกกต. เพื่อมากำหนดวิธีการเลือกส.ว. แต่ทั้งนี้ในร่างรธน. ฉบับผ่านประชามติ ไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวว่าส.ว. จะต้องมาจากการเลือกไขว้ เพราะมีคนท้วงติงมาว่า มันมีช่องทางทำให้ไม่สุจริต จึงเขียนเปิดช่องให้ใช้วิธีอื่นได้ วิธีอื่นก็เช่น ให้มีข้อตกลงกันในหมู่วิชาชีพ กลั่นกรองกันเองให้เรียบร้อยก่อน ว่าใครจะเป็นตัวแทน ป้องกันไม่ให้มีผู้ใดไปจ้างนอมินีลงสมัคร เพื่อจะได้มีเสียงไว้โหวตให้ตัวเอง แต่ก็ยังต้องคงหลักการเดิมเอาไว้ ไม่เช่นนั้นหากกลุ่มอาชีพหนึ่ง มีผู้สมัคร 50 คน แต่เป็นนอมินี มีคนจ้างลงสมัครไปแล้ว 40 คน ก็จะทำให้มีปัญหาได้ โดยการสรรหาส.ว. ที่ให้มาจากการเลือกไขว้ 50 คน จากส.ว.สรรหาทั้งหมด 250 คน ตามบทเฉพาะกาล ก็ต้องช่วยกันดูว่าเป็นอย่างไร หากมีปัญหามาก ก็เปลี่ยนวิธีการในกฎหมายลูกตามที่เปิดช่องไว้ จะได้ไม่ต้องแก้รธน.
ส่วนการตรวจสอบภาคประชาชน มองว่าน่าจะต้องกำหนดให้มี คนที่สนใจ และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในพื้นที่ลงคะแนนมาสามารถมาสมัคร เพื่อช่วยลงไปตรวจตรา ดูการลงคะแนน โดยกำหนดให้มีสถานะมารองรับ และให้มีอำนาจในการแจ้งความจับได้ หากพบเหตุต้องสงสัย ซึ่งส่วนนี้จะนำไปใช้กับการเลือกตั้งส.ส.ด้วย
นอกจากนี้ กรธ. จะจัดให้มีการสัมนาอีกครั้งในส่วนของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ซึ่งอยากให้ฝ่ายการเมืองมาร่วมด้วย กรธ.ต้องการรับฟังประสบการณ์การเมืองว่า ตรงไหนปฏิบัติจริงไม่ได้บ้าง
** กกต.แบไต๋ขออยู่ต่อครบวาระ
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรธ. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็น ของ กรธ. กล่าวถึงรายละเอียดใน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. ในส่วนของบทเฉพาะกาล มีเนื้อหาสาระว่า ภายหลังจากรธน. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. มีผลบังคับใช้ ให้กกต.ชุดเดิม ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ซึ่งในร่างฯ นี้ ไม่มีการพูดถึงการตั้งกกต.ใหม่เพิ่มเติม 2 คน ซึ่งทั้งหมดก็เป็นเพียงข้อเสนอที่ กกต.เสนอมาให้กรธ.พิจารณาร่วมกับข้อเสนออื่นๆ จากฝ่ายต่างๆ ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมกรธ. ยังได้มีการพูดถึงการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ เวลา 13.00 น.ที่รัฐสภา ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และมีตัวแทนจาก กกต. นำเสนอความคิดเห็นร่าง พ.ร.ป.ทั้ง 2 ฉบับ จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ สนช. - สปท. นักวิชาการ และภาคส่วนต่างๆได้นำเสนอความคิดเห็น เพื่อให้กรธ. นำไปพิจารณาต่อไป
**”บิ๊กตู่”อุบเซตซีโร กกต.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีที่ กกต. ระบุว่า จะมีการเลือกตั้งในเดือนต.ค.60 ว่า “เป็นเรื่องของกกต.คิดไป ผมมีโรดแมปของผม ส่วนวันเลือกตั้ง ไม่รู้ ไม่ใช่หน้าที่กกต. พูดมาก คนละเรื่อง หน้าที่เขาจัดเมื่อไรก็จัดไป ไม่ใช่หน้าที่มากำหนดรัฐบาลทำนี่ ทำโน่น มันไม่ใช่หน้าที่ ทำงานในหน้าที่เสียหน่อย ดีแต่พูดกันทั้งนั้นแหล่ะ”
เมื่อถามว่า มีแนวคิดจะเซตซีโร กกต.หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ”ไม่รู้ เดี๋ยวดูก่อน เดี๋ยวดูกันเอง มีคนดูแลอยู่เรื่องนี้ แล้วผมจะบอกทำไม ผมก็มีมาตรการรองรับของผม ถ้าตอบหมด แล้ววันหน้าจะมาถามอะไร เพราะวันนี้ตอบหมดแล้ว แล้วจะอยู่ทำไม ไม่รู้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
**ศาลรธน.ชี้ขาดคำถามพ่วง วันนี้
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติคำร้องที่ กรธ. ส่งร่างรธน. ซึ่งแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ในประเด็นเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาว่า เป็นการชอบด้วยกับผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ตามรธน. ฉบับชั่วคราว 2557 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 2558 มาตรา 37/1 ในวันที่ 28 ก.ย. โดยจะเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
สำหรับขั้นตอนการพิจารณา ตุลาการแต่ละคนจะนำความเห็นมาแถลงด้วยวาจาในที่ประชุม ก่อนที่จะลงมติ เพื่อที่จะทำเป็นคำวินิจฉัยกลาง อีกทั้งจะไม่ออกนั่งบัลลังก์ เนื่องจากเป็นคำร้องที่พิจารณาบทบัญญัติกฎหมายว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ได้เป็นลักษณะคำร้องที่มีคู่กรณี อย่างไรก็ตาม คาดว่า การทำคำวินิจฉัยกลางอย่างเป็นทางการนั้น น่าจะทำได้แล้วเสร็จในวันนี้ (28ก.ย.) และสามารถส่งให้กรธ.ได้ในวันเดียวกัน
**"สมชัย"โว10 สิ่งใหม่ในเลือกตั้ง60
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ยืนยันว่าไม่จินตนาการ แต่ทำงานจริง พร้อมระบุว่าเลือกตั้งทั่วไปปี 60 มีอะไรใหม่ คือ 1. พรรคการเมืองมีช่องทางการสมัครส.ส. ทางระบบอินเทอร์เน็ต เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ป้องกันกรณีการปิดล้อมสถานที่รับสมัคร 2. เปิดช่องทางการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์นอกเขตจังหวัดล่วงหน้าและนอกราชอาณาจักรทางอินเทอร์เน็ต และกำหนดต้องให้ลงใหม่ครั้งต่อครั้ง เมื่อมีเลือกตั้ง 3. การเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขตจังหวัดทั่วประเทศประมาณ 100 จุด จะมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงตนโดยใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart card)โดยไม่ต้องตรวจสอบชื่อ ลำดับที่ หน้าหน่วย 4.คนไทยในต่างประเทศ จำนวน 3 ประเทศ จากจำนวนประเทศทั่วโลกประมาณ 200 ประเทศ จะสามารถใช้สิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตได้
5. เปลี่ยนระบบการส่งผลการใช้สิทธิ์ของคนไทยในต่างประเทศ จากส่งถุงเมล์ กลับทางไปรษณีย์ มาเป็นการนับคะแนนที่สถานทูต ภายใน24 ชม. หลังจากเวลาปิดหีบที่ไทย 6. แอพพลิเคชั่น “ฉลาดเลือกผู้แทน”จะให้รายละเอียดเชิงลึกของผู้สมัคร และนโยบายพรรคการเมือง เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจเลือกได้อย่างมีคุณภาพ 7. แอพพลิเคชั่น “ตาสับปะรด”จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างสุจริต และเที่ยงธรรม สอดคล้องกับการมีรางวัลนำจับผู้สมัครที่ซื้อเสียง สูงถึง 100,000 บาท
8.แอพพลิเคชั่น“ดาวเหนือ”จะพัฒนาต่อไปให้เกิดความสมบูรณ์ ในการนำประชาชนไปยังหน่วยออกเสียงแบบไม่ผิดพลาด ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 9. แอพพลิเคชั่น “แรพพิดรีพอร์ต (Rapid report)”จะยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการรายงานผลที่ไม่เป็นทางการ ภายใน 3 ชั่วโมง หลังจากปิดหีบ และยังเพิ่มการรายงานถึงจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ ในช่วงระยะเวลาของการเลือกตั้ง เพื่อกระตุ้นให้คนออกมาใช้สิทธิ์ และ 10. มีการนำร่องใช้เครื่องลงคะแนนอีเลก ทรอนิกส์ เป็นทางเลือกของประชาชนแทนการใช้บัตร ในหน่วยเลือกตั้งประมาณ 100 หน่วย จาก 95,000 หน่วยด้วย
ส่วนการตรวจสอบภาคประชาชน มองว่าน่าจะต้องกำหนดให้มี คนที่สนใจ และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในพื้นที่ลงคะแนนมาสามารถมาสมัคร เพื่อช่วยลงไปตรวจตรา ดูการลงคะแนน โดยกำหนดให้มีสถานะมารองรับ และให้มีอำนาจในการแจ้งความจับได้ หากพบเหตุต้องสงสัย ซึ่งส่วนนี้จะนำไปใช้กับการเลือกตั้งส.ส.ด้วย
นอกจากนี้ กรธ. จะจัดให้มีการสัมนาอีกครั้งในส่วนของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ซึ่งอยากให้ฝ่ายการเมืองมาร่วมด้วย กรธ.ต้องการรับฟังประสบการณ์การเมืองว่า ตรงไหนปฏิบัติจริงไม่ได้บ้าง
** กกต.แบไต๋ขออยู่ต่อครบวาระ
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรธ. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็น ของ กรธ. กล่าวถึงรายละเอียดใน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. ในส่วนของบทเฉพาะกาล มีเนื้อหาสาระว่า ภายหลังจากรธน. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. มีผลบังคับใช้ ให้กกต.ชุดเดิม ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ซึ่งในร่างฯ นี้ ไม่มีการพูดถึงการตั้งกกต.ใหม่เพิ่มเติม 2 คน ซึ่งทั้งหมดก็เป็นเพียงข้อเสนอที่ กกต.เสนอมาให้กรธ.พิจารณาร่วมกับข้อเสนออื่นๆ จากฝ่ายต่างๆ ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมกรธ. ยังได้มีการพูดถึงการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ เวลา 13.00 น.ที่รัฐสภา ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และมีตัวแทนจาก กกต. นำเสนอความคิดเห็นร่าง พ.ร.ป.ทั้ง 2 ฉบับ จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ สนช. - สปท. นักวิชาการ และภาคส่วนต่างๆได้นำเสนอความคิดเห็น เพื่อให้กรธ. นำไปพิจารณาต่อไป
**”บิ๊กตู่”อุบเซตซีโร กกต.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีที่ กกต. ระบุว่า จะมีการเลือกตั้งในเดือนต.ค.60 ว่า “เป็นเรื่องของกกต.คิดไป ผมมีโรดแมปของผม ส่วนวันเลือกตั้ง ไม่รู้ ไม่ใช่หน้าที่กกต. พูดมาก คนละเรื่อง หน้าที่เขาจัดเมื่อไรก็จัดไป ไม่ใช่หน้าที่มากำหนดรัฐบาลทำนี่ ทำโน่น มันไม่ใช่หน้าที่ ทำงานในหน้าที่เสียหน่อย ดีแต่พูดกันทั้งนั้นแหล่ะ”
เมื่อถามว่า มีแนวคิดจะเซตซีโร กกต.หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ”ไม่รู้ เดี๋ยวดูก่อน เดี๋ยวดูกันเอง มีคนดูแลอยู่เรื่องนี้ แล้วผมจะบอกทำไม ผมก็มีมาตรการรองรับของผม ถ้าตอบหมด แล้ววันหน้าจะมาถามอะไร เพราะวันนี้ตอบหมดแล้ว แล้วจะอยู่ทำไม ไม่รู้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
**ศาลรธน.ชี้ขาดคำถามพ่วง วันนี้
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติคำร้องที่ กรธ. ส่งร่างรธน. ซึ่งแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ในประเด็นเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาว่า เป็นการชอบด้วยกับผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ตามรธน. ฉบับชั่วคราว 2557 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 2558 มาตรา 37/1 ในวันที่ 28 ก.ย. โดยจะเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
สำหรับขั้นตอนการพิจารณา ตุลาการแต่ละคนจะนำความเห็นมาแถลงด้วยวาจาในที่ประชุม ก่อนที่จะลงมติ เพื่อที่จะทำเป็นคำวินิจฉัยกลาง อีกทั้งจะไม่ออกนั่งบัลลังก์ เนื่องจากเป็นคำร้องที่พิจารณาบทบัญญัติกฎหมายว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ได้เป็นลักษณะคำร้องที่มีคู่กรณี อย่างไรก็ตาม คาดว่า การทำคำวินิจฉัยกลางอย่างเป็นทางการนั้น น่าจะทำได้แล้วเสร็จในวันนี้ (28ก.ย.) และสามารถส่งให้กรธ.ได้ในวันเดียวกัน
**"สมชัย"โว10 สิ่งใหม่ในเลือกตั้ง60
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ยืนยันว่าไม่จินตนาการ แต่ทำงานจริง พร้อมระบุว่าเลือกตั้งทั่วไปปี 60 มีอะไรใหม่ คือ 1. พรรคการเมืองมีช่องทางการสมัครส.ส. ทางระบบอินเทอร์เน็ต เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ป้องกันกรณีการปิดล้อมสถานที่รับสมัคร 2. เปิดช่องทางการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์นอกเขตจังหวัดล่วงหน้าและนอกราชอาณาจักรทางอินเทอร์เน็ต และกำหนดต้องให้ลงใหม่ครั้งต่อครั้ง เมื่อมีเลือกตั้ง 3. การเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขตจังหวัดทั่วประเทศประมาณ 100 จุด จะมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงตนโดยใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart card)โดยไม่ต้องตรวจสอบชื่อ ลำดับที่ หน้าหน่วย 4.คนไทยในต่างประเทศ จำนวน 3 ประเทศ จากจำนวนประเทศทั่วโลกประมาณ 200 ประเทศ จะสามารถใช้สิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตได้
5. เปลี่ยนระบบการส่งผลการใช้สิทธิ์ของคนไทยในต่างประเทศ จากส่งถุงเมล์ กลับทางไปรษณีย์ มาเป็นการนับคะแนนที่สถานทูต ภายใน24 ชม. หลังจากเวลาปิดหีบที่ไทย 6. แอพพลิเคชั่น “ฉลาดเลือกผู้แทน”จะให้รายละเอียดเชิงลึกของผู้สมัคร และนโยบายพรรคการเมือง เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจเลือกได้อย่างมีคุณภาพ 7. แอพพลิเคชั่น “ตาสับปะรด”จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างสุจริต และเที่ยงธรรม สอดคล้องกับการมีรางวัลนำจับผู้สมัครที่ซื้อเสียง สูงถึง 100,000 บาท
8.แอพพลิเคชั่น“ดาวเหนือ”จะพัฒนาต่อไปให้เกิดความสมบูรณ์ ในการนำประชาชนไปยังหน่วยออกเสียงแบบไม่ผิดพลาด ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 9. แอพพลิเคชั่น “แรพพิดรีพอร์ต (Rapid report)”จะยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการรายงานผลที่ไม่เป็นทางการ ภายใน 3 ชั่วโมง หลังจากปิดหีบ และยังเพิ่มการรายงานถึงจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ ในช่วงระยะเวลาของการเลือกตั้ง เพื่อกระตุ้นให้คนออกมาใช้สิทธิ์ และ 10. มีการนำร่องใช้เครื่องลงคะแนนอีเลก ทรอนิกส์ เป็นทางเลือกของประชาชนแทนการใช้บัตร ในหน่วยเลือกตั้งประมาณ 100 หน่วย จาก 95,000 หน่วยด้วย