จากกรณี ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ออกมาเปิดเผยว่า ตลาดบุหรี่ไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 5.2 หมื่นล้านมวน และมีมูลค่าสูงถึง 1.9 แสนล้านบาท เหตุใช้กลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ จับนักสูบหน้าใหม่ ประเด็นนี้นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า "สิ่งที่นักล็อบบี้ยิสท์ต้านบุหรี่กล่าว เป็นการโยนบาปให้ธุรกิจ และคนทำมาหากินที่สินค้านี้ยังเป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย อีกทั้งประเทศไทยเอง มีกฎหมายที่ควบคุมเรื่องการขายยาสูบอย่างเข้มงวดเป็นอันดับต้นๆของโลก ข้อมูลดังกล่าวสวนทางกันเองกับข้อมูลที่หน่วยงานตนเองได้เอามาเผยแพร่ ว่า ระหว่างปี 2534 - 2558 ขณะที่จำนวนคนที่สูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่กลับลดลงเหลือ 10.9 ล้านคน นั่นคือลดลงจาก 12.3 ล้านคน ในปี 2534 ลดไป 1.4 ล้านคน
ปัจจุบัน ตลาดบุหรี่ในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีราคาถูก หรือราคาต่ำ อันเป็นผลมาจากมาตรการภาษีที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน ที่รัฐกำหนดให้ภาษีสรรพสามิตยาสูบเพิ่มสูงเป็นร้อยละ 90 จนชนเพดานการจัดเก็บ ส่งผลให้ราคาบุหรี่พุ่งขึ้นไปจากเดิมในช่วง 10-25 บาท ทั้งบุหรี่ไทยและบุหรี่นำเข้า แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ การ down-trading ที่ผู้บริโภคไม่ได้หยุดซื้อ แต่กลับไปหาของราคาถูกกว่าแทน ซึ่งส่วนมาจะเป็นสินค้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ สัดส่วนการบริโภคยาสูบของไทยกว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้ใช้ยาเส้นมวนเอง ที่มีการเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำมาก จนถึงไม่เก็บเลย จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในท้องตลาด
สิ่งที่ต้องตั้งคำถาม คือ แนวทางการรณรงค์ของหน่วยงานเหล่านี้ ที่ได้รับงบประมาณมหาศาลจากการเก็บภาษีสุรา-ยาสูบ กว่า 4 พันล้านบาท ต่อปี ว่านโยบายที่นำเสนอนั้น มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่ ร่างกฎหมายควบคุมยาสูบปัจจุบัน ที่เหล่านักรณรงค์กำลังผลักดันวิ่งเต้นใน สนช. มีข้อกำหนดที่สุดโต่ง และละเมิดสิทธิ์ผู้ค้าขายมากเกินไป และไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมไม่ให้เยาวชนเข้าใกล้ยาสูบ เช่น กฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบ ที่ห้ามไม่ให้พิมพ์โลโก้ และเครื่องหมายการค้าใดๆ อันเป็นสิทธิ์ชอบธรรมของภาคธุรกิจ สิ่งนี้จะทำให้ซองบุหรี่ปลอมง่ายขึ้น สถานการณ์บุหรี่เถื่อน-ปลอม ก็จะยิ่งเลวร้าญ ปัจจุบันเรามีกฎหมายเรื่องกำหนดอายุขั้นต่ำผู้ซื้ออยู่แล้ว ที่จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทาง อีกทั้งสมาคมฯ มองว่า รัฐควรเน้นมาตรการที่ให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่เยาวชนดีกว่าที่จะมาออกกฎหมายที่สุดโต่ง แต่ตีไม่ตรงประเด็น และไร้ประสิทธิภาพ สมาคมฯขอวิงวอนให้สนช. ศึกษาและรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องผลกระทบจากร่างกฎหมายสุดโต่งนี้อย่างรอบด้านกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งกลุ่มผู้ค้าปลีกโชห่วย ชาวไร่ยาสูบ และผู้เกี่ยวข้อง" ผอ.บริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าว
ปัจจุบัน ตลาดบุหรี่ในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีราคาถูก หรือราคาต่ำ อันเป็นผลมาจากมาตรการภาษีที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน ที่รัฐกำหนดให้ภาษีสรรพสามิตยาสูบเพิ่มสูงเป็นร้อยละ 90 จนชนเพดานการจัดเก็บ ส่งผลให้ราคาบุหรี่พุ่งขึ้นไปจากเดิมในช่วง 10-25 บาท ทั้งบุหรี่ไทยและบุหรี่นำเข้า แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ การ down-trading ที่ผู้บริโภคไม่ได้หยุดซื้อ แต่กลับไปหาของราคาถูกกว่าแทน ซึ่งส่วนมาจะเป็นสินค้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ สัดส่วนการบริโภคยาสูบของไทยกว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้ใช้ยาเส้นมวนเอง ที่มีการเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำมาก จนถึงไม่เก็บเลย จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในท้องตลาด
สิ่งที่ต้องตั้งคำถาม คือ แนวทางการรณรงค์ของหน่วยงานเหล่านี้ ที่ได้รับงบประมาณมหาศาลจากการเก็บภาษีสุรา-ยาสูบ กว่า 4 พันล้านบาท ต่อปี ว่านโยบายที่นำเสนอนั้น มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่ ร่างกฎหมายควบคุมยาสูบปัจจุบัน ที่เหล่านักรณรงค์กำลังผลักดันวิ่งเต้นใน สนช. มีข้อกำหนดที่สุดโต่ง และละเมิดสิทธิ์ผู้ค้าขายมากเกินไป และไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมไม่ให้เยาวชนเข้าใกล้ยาสูบ เช่น กฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบ ที่ห้ามไม่ให้พิมพ์โลโก้ และเครื่องหมายการค้าใดๆ อันเป็นสิทธิ์ชอบธรรมของภาคธุรกิจ สิ่งนี้จะทำให้ซองบุหรี่ปลอมง่ายขึ้น สถานการณ์บุหรี่เถื่อน-ปลอม ก็จะยิ่งเลวร้าญ ปัจจุบันเรามีกฎหมายเรื่องกำหนดอายุขั้นต่ำผู้ซื้ออยู่แล้ว ที่จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทาง อีกทั้งสมาคมฯ มองว่า รัฐควรเน้นมาตรการที่ให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่เยาวชนดีกว่าที่จะมาออกกฎหมายที่สุดโต่ง แต่ตีไม่ตรงประเด็น และไร้ประสิทธิภาพ สมาคมฯขอวิงวอนให้สนช. ศึกษาและรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องผลกระทบจากร่างกฎหมายสุดโต่งนี้อย่างรอบด้านกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งกลุ่มผู้ค้าปลีกโชห่วย ชาวไร่ยาสูบ และผู้เกี่ยวข้อง" ผอ.บริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าว