นโยบายสำคัญของรัฐบาลประการหนึ่งที่พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงอยู่เสมอก็คือ การขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยกับคนจนให้ลดลง และมีความความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย
เราคงเคยได้ยิน พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา พูดผ่านสื่อมวลชนว่า “คุกไม่ได้มีไว้สำหรับขังคนจนกับสุนัขเท่านั้น”
ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามจึงพยายามเร่งรัดให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาฐานทุจริตประพฤติมิชอบในหน้าที่ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ในการใช้บังคับกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
แต่ในรัฐบาลเดียวกันนี้ คณะรัฐมนตรีกลับมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา หรือที่เรียกว่า “กฎหมายชะลอฟ้อง” ที่ให้อำนาจตำรวจไกล่เกลี่ยคู่กรณีให้ตกลงกัน และให้อำนาจอัยการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งชะลอฟ้องผู้ต้องหาคดีอาญาที่กระทำผิดโดยประมาท และคดีอาญาอื่น ๆ ทุกประเภทที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี
อันเป็นการเพิ่มอำนาจให้ตำรวจและพนักงานอัยการไกล่เกลี่ยคู่กรณีและสั่งยุติคดีอาญาได้บนโต๊ะทำงาน โดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เปิดเผยและโปร่งใส
พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา น่าจะทราบว่า โดยบริบทของสังคมไทยและกระบวนการยุติธรรมไทยที่ยังมิได้มีการปฏิรูปองค์กรให้มีมาตรฐานสากลนั้น การใช้ดุลพินิจสั่งการให้ยุติคดีอาญาโดยปราศจากการตรวจสอบจากองค์กรที่เป็นกลางและได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ย่อมเป็นที่มาของความไม่เสมอภาคและก่อให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบของคนในองค์กรนั้น ๆ ได้ง่าย
ดังนั้น หากกฎหมายฉบับดังกล่าวผ่านสภานิติบัญญัติออกมาใช้บังคับแล้ว คนรวยหรือผู้มีอิทธิพลซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาจะมีโอกาสถูกลงโทษทางอาญาน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นจะใช้ทรัพย์สินเงินทองชดใช้เยียวยาแก่ผู้เสียหาย หรือใช้อิทธิพลบีบบังคับผู้เสียหายที่เป็นคนยากจนให้ยินยอมไม่ติดใจเอาความ และวิ่งเต้นให้มีการสั่งชะลอฟ้องคดีอาญาให้แก่ตน เครือญาติและพวกพ้องได้โดยไม่ยากนัก
ขอยกตัวอย่าง เช่น ผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ซึ่งมีอัตราโทษตามกฎหมายสูงถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อมีการไกล่เกลี่ยจนผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่ผู้ต้องหาเพราะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือถูกบีบบังคับก็ตาม อาจมีการขอให้เปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่เป็นว่า “ทำปืนลั่นโดยประมาท” ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะสั่งชะลอฟ้องได้
ผู้ต้องหาคดีทำร้ายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัสซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า ๕ ปี ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะสั่งชะลอฟ้อง ก็อาจขอให้เปลี่ยนเป็นข้อหาทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย (ไม่ถึงสาหัส) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี และอยู่ในเกณฑ์ที่จะสั่งชะลอฟ้องได้
ส่วนคนยากคนจนที่ตกเป็นผู้ต้องหา ไม่มีทรัพย์สินเงินทองที่จะชดใช้เยียวยาแก่ผู้เสียหาย และไม่มีอิทธิพลบีบบังคับให้ผู้เสียหายยินยอมไม่เอาความแก่ตน คนจนก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามปกติ
คดีหญิงไก่ที่เป็นข่าวครึกโครมอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า คนรวยหรือผู้มีอิทธิพลในสังคมไทยสามารถบีบบังคับให้คนจนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาให้จำต้องยอมรับสารภาพ ทั้งๆที่ไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคนรู้เห็นเป็นใจกับฝ่ายผู้เสียหาย
แม้ไม่มีกฎหมายชะลอฟ้อง คนรวยหรือผู้มีอิทธิพลในสังคมไทย ไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นผู้เสียหาย ก็ย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบคนจนอยู่แล้ว
รัฐบาลจึงไม่ควรออกกฎหมายเพิ่มความได้เปรียบแก่บุคคลเหล่านี้ เพื่อขยายความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฎหมายให้มากขึ้นไปอีก
ผู้เขียนไม่ทราบว่า เหตุใดนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างเอาการเอางานจึงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ดีนักหนา และว่าศาลยุติธรรมก็เห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้แล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง
เมื่อผู้เกี่ยวข้องและต้องการใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้ เคยพยายามเร่งรัดให้นำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาครั้งหนึ่งแล้ว
แต่นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ทำหนังสือคัดค้านไปยังพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายพรเพชร วิชิตชลชัยประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพราะเห็นว่าหากร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายจะเกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีเอง
เมื่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับหนังสือคัดค้านแล้ว ก็แสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมาว่า ในเมื่อกฎหมายฉบับนี้ยังมีปัญหาขัดแย้งระหว่างองค์กรในกระบวนการยุติธรรมก็ยังไม่สมควรนำมาพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อีกทั้งยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา คดีรถเบนซ์ก็คงไม่ถึงศาล”
หลังจากนั้น นายวิษณุ เครืองาม ได้ขอให้มีการประชุมปรึกษาหารือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเพื่อหาข้อยุติ แต่ในที่สุดก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปได้
เพราะปัญหาสำคัญประเด็นหนึ่งก็คือ ฝ่ายอัยการไม่ประสงค์จะให้องค์กรอื่นที่เป็นกลางหรือศาลตรวจสอบการใช้อำนาจสั่งชะลอฟ้อง
หลังจากนั้นมีแนวโน้มว่า ฝ่ายที่สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้จะพยายามเร่งรัดให้มีการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ได้
ผู้เขียนจึงเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นหน้าที่ของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่จะต้องตัดสินใจ หากเห็นว่า ข้อคัดค้านของประธานศาลฎีกามีเหตุมีผลก็ควรสั่งการไม่ให้นำกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่สภา โดยไม่ต้องเกรงว่าคณะรัฐมนตรีจะเสียหน้า และไม่ควรเกรงอกเกรงใจผู้ใด เพราะย่อมเป็นธรรมดาที่บุคคลในคณะรัฐมนตรีอาจไม่รู้รายละเอียดลึกซึ้งในร่างกฎหมายที่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเสนอแนะมา
แต่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ระบบกระบวนการยุติธรรมไทยและประชาชนเป็นสำคัญ
หากพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เห็นว่า ข้อคัดค้านของประธานศาลฎีกา และคำให้สัมภาษณ์ของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ข้างต้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะยับยั้งหรือถอนคืนร่างกฎหมายนี้ออกมา และเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนเพราะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ก็อาจมีบัญชาให้นำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และหากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ขอให้ติดตามดูผลของการบังคับใช้กฎหมายต่อไปว่า คนรวยและผู้มีอิทธิพลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในคดีอาญาสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นคดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย คดีกระทำผิดเกี่ยวกับป่าไม้ คดีสิ่งแวดล้อม คดีโกงภาษี และแม้แต่คดีโกงเลือกตั้งบางข้อหานั้น ผลของคดีจะเป็นอย่างไร
ถ้าผลปรากฏว่ามีการสั่งชะลอฟ้อง ทั้ง ๆ ที่ผู้ต้องหาเหล่านั้นควรจะถูกลงโทษทางอาญาตามกฎหมาย ความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายชะลอฟ้องที่เกิดขึ้นนั้น ก็คือผลงานชิ้นโบว์ดำของท่านทั้งหลาย
ผู้เขียนเห็นว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้มากที่สุดก็คือ คนที่กระทำความผิดอาญา โดยเฉพาะคนรวยและผู้มีอิทธิพลที่กระทำผิดอาญาจะมีทางรอดจากการถูกดำเนินคดีได้มากขึ้น
หากจะเรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า เป็นกฎหมายที่ใช้ประโยชน์ในการปรองดองกับผู้กระทำผิดกฎหมายก็น่าจะเรียกได้ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติและประชาชน
ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปประเทศ รัฐบาลไม่ควรนำเอาเรื่องที่ยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรในกระบวนการยุติธรรมและสุ่มเสียงต่อความเสียหายแก่ชาติบ้านเมืองเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน
แต่ควรรีบดำเนินการปฏิรูปองค์กรในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน และรีบจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเดินหน้าไปด้วยความราบรื่น ก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน มากกว่าที่จะคิดผลักดันกฎหมายชะลอการฟ้องคดีอาญา
โดย....นายหิ่งห้อย
เราคงเคยได้ยิน พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา พูดผ่านสื่อมวลชนว่า “คุกไม่ได้มีไว้สำหรับขังคนจนกับสุนัขเท่านั้น”
ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามจึงพยายามเร่งรัดให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาฐานทุจริตประพฤติมิชอบในหน้าที่ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ในการใช้บังคับกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
แต่ในรัฐบาลเดียวกันนี้ คณะรัฐมนตรีกลับมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา หรือที่เรียกว่า “กฎหมายชะลอฟ้อง” ที่ให้อำนาจตำรวจไกล่เกลี่ยคู่กรณีให้ตกลงกัน และให้อำนาจอัยการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งชะลอฟ้องผู้ต้องหาคดีอาญาที่กระทำผิดโดยประมาท และคดีอาญาอื่น ๆ ทุกประเภทที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี
อันเป็นการเพิ่มอำนาจให้ตำรวจและพนักงานอัยการไกล่เกลี่ยคู่กรณีและสั่งยุติคดีอาญาได้บนโต๊ะทำงาน โดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เปิดเผยและโปร่งใส
พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา น่าจะทราบว่า โดยบริบทของสังคมไทยและกระบวนการยุติธรรมไทยที่ยังมิได้มีการปฏิรูปองค์กรให้มีมาตรฐานสากลนั้น การใช้ดุลพินิจสั่งการให้ยุติคดีอาญาโดยปราศจากการตรวจสอบจากองค์กรที่เป็นกลางและได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ย่อมเป็นที่มาของความไม่เสมอภาคและก่อให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบของคนในองค์กรนั้น ๆ ได้ง่าย
ดังนั้น หากกฎหมายฉบับดังกล่าวผ่านสภานิติบัญญัติออกมาใช้บังคับแล้ว คนรวยหรือผู้มีอิทธิพลซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาจะมีโอกาสถูกลงโทษทางอาญาน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นจะใช้ทรัพย์สินเงินทองชดใช้เยียวยาแก่ผู้เสียหาย หรือใช้อิทธิพลบีบบังคับผู้เสียหายที่เป็นคนยากจนให้ยินยอมไม่ติดใจเอาความ และวิ่งเต้นให้มีการสั่งชะลอฟ้องคดีอาญาให้แก่ตน เครือญาติและพวกพ้องได้โดยไม่ยากนัก
ขอยกตัวอย่าง เช่น ผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ซึ่งมีอัตราโทษตามกฎหมายสูงถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อมีการไกล่เกลี่ยจนผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่ผู้ต้องหาเพราะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือถูกบีบบังคับก็ตาม อาจมีการขอให้เปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่เป็นว่า “ทำปืนลั่นโดยประมาท” ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะสั่งชะลอฟ้องได้
ผู้ต้องหาคดีทำร้ายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัสซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า ๕ ปี ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะสั่งชะลอฟ้อง ก็อาจขอให้เปลี่ยนเป็นข้อหาทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย (ไม่ถึงสาหัส) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี และอยู่ในเกณฑ์ที่จะสั่งชะลอฟ้องได้
ส่วนคนยากคนจนที่ตกเป็นผู้ต้องหา ไม่มีทรัพย์สินเงินทองที่จะชดใช้เยียวยาแก่ผู้เสียหาย และไม่มีอิทธิพลบีบบังคับให้ผู้เสียหายยินยอมไม่เอาความแก่ตน คนจนก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามปกติ
คดีหญิงไก่ที่เป็นข่าวครึกโครมอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า คนรวยหรือผู้มีอิทธิพลในสังคมไทยสามารถบีบบังคับให้คนจนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาให้จำต้องยอมรับสารภาพ ทั้งๆที่ไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคนรู้เห็นเป็นใจกับฝ่ายผู้เสียหาย
แม้ไม่มีกฎหมายชะลอฟ้อง คนรวยหรือผู้มีอิทธิพลในสังคมไทย ไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นผู้เสียหาย ก็ย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบคนจนอยู่แล้ว
รัฐบาลจึงไม่ควรออกกฎหมายเพิ่มความได้เปรียบแก่บุคคลเหล่านี้ เพื่อขยายความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฎหมายให้มากขึ้นไปอีก
ผู้เขียนไม่ทราบว่า เหตุใดนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างเอาการเอางานจึงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ดีนักหนา และว่าศาลยุติธรรมก็เห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้แล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง
เมื่อผู้เกี่ยวข้องและต้องการใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้ เคยพยายามเร่งรัดให้นำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาครั้งหนึ่งแล้ว
แต่นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ทำหนังสือคัดค้านไปยังพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายพรเพชร วิชิตชลชัยประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพราะเห็นว่าหากร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายจะเกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีเอง
เมื่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับหนังสือคัดค้านแล้ว ก็แสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมาว่า ในเมื่อกฎหมายฉบับนี้ยังมีปัญหาขัดแย้งระหว่างองค์กรในกระบวนการยุติธรรมก็ยังไม่สมควรนำมาพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อีกทั้งยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา คดีรถเบนซ์ก็คงไม่ถึงศาล”
หลังจากนั้น นายวิษณุ เครืองาม ได้ขอให้มีการประชุมปรึกษาหารือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเพื่อหาข้อยุติ แต่ในที่สุดก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปได้
เพราะปัญหาสำคัญประเด็นหนึ่งก็คือ ฝ่ายอัยการไม่ประสงค์จะให้องค์กรอื่นที่เป็นกลางหรือศาลตรวจสอบการใช้อำนาจสั่งชะลอฟ้อง
หลังจากนั้นมีแนวโน้มว่า ฝ่ายที่สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้จะพยายามเร่งรัดให้มีการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ได้
ผู้เขียนจึงเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นหน้าที่ของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่จะต้องตัดสินใจ หากเห็นว่า ข้อคัดค้านของประธานศาลฎีกามีเหตุมีผลก็ควรสั่งการไม่ให้นำกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่สภา โดยไม่ต้องเกรงว่าคณะรัฐมนตรีจะเสียหน้า และไม่ควรเกรงอกเกรงใจผู้ใด เพราะย่อมเป็นธรรมดาที่บุคคลในคณะรัฐมนตรีอาจไม่รู้รายละเอียดลึกซึ้งในร่างกฎหมายที่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเสนอแนะมา
แต่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ระบบกระบวนการยุติธรรมไทยและประชาชนเป็นสำคัญ
หากพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เห็นว่า ข้อคัดค้านของประธานศาลฎีกา และคำให้สัมภาษณ์ของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ข้างต้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะยับยั้งหรือถอนคืนร่างกฎหมายนี้ออกมา และเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนเพราะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ก็อาจมีบัญชาให้นำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และหากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ขอให้ติดตามดูผลของการบังคับใช้กฎหมายต่อไปว่า คนรวยและผู้มีอิทธิพลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในคดีอาญาสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นคดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย คดีกระทำผิดเกี่ยวกับป่าไม้ คดีสิ่งแวดล้อม คดีโกงภาษี และแม้แต่คดีโกงเลือกตั้งบางข้อหานั้น ผลของคดีจะเป็นอย่างไร
ถ้าผลปรากฏว่ามีการสั่งชะลอฟ้อง ทั้ง ๆ ที่ผู้ต้องหาเหล่านั้นควรจะถูกลงโทษทางอาญาตามกฎหมาย ความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายชะลอฟ้องที่เกิดขึ้นนั้น ก็คือผลงานชิ้นโบว์ดำของท่านทั้งหลาย
ผู้เขียนเห็นว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้มากที่สุดก็คือ คนที่กระทำความผิดอาญา โดยเฉพาะคนรวยและผู้มีอิทธิพลที่กระทำผิดอาญาจะมีทางรอดจากการถูกดำเนินคดีได้มากขึ้น
หากจะเรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า เป็นกฎหมายที่ใช้ประโยชน์ในการปรองดองกับผู้กระทำผิดกฎหมายก็น่าจะเรียกได้ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติและประชาชน
ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปประเทศ รัฐบาลไม่ควรนำเอาเรื่องที่ยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรในกระบวนการยุติธรรมและสุ่มเสียงต่อความเสียหายแก่ชาติบ้านเมืองเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน
แต่ควรรีบดำเนินการปฏิรูปองค์กรในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน และรีบจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเดินหน้าไปด้วยความราบรื่น ก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน มากกว่าที่จะคิดผลักดันกฎหมายชะลอการฟ้องคดีอาญา
โดย....นายหิ่งห้อย