แฉไฟไหม้รถไฟ JR WEST คาโรงงานมักกะสัน เมื่อ 29 ส.ค. หลังนายกฯ เคาะระฆังปล่อยขบวนเที่ยวปฐมฤกษ์ แฉมีคำสั่งบิ๊กรถไฟฯ ลบข้อมูลและภาพออกจากเฟซบุ๊ก-โซเชียล-ชมรมการรถไฟฯ ตั้งประเด็นสำคัญการดัดแปลงทำได้อย่างไรทั้งที่ยังไม่เปิดประมูล ขณะที่ผู้ว่าฯ รถไฟเพิ่งเสนอบอร์ดใหม่ขออนุมัติดัดแปลงวันที่ 30 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่โรงงานมักกะสัน ได้เกิดเหตุ ไฟไหม้ รถ JR-West ซึ่งเป็นรถชุดที่ การรถไฟฯ ได้รับมาจาก West Japan Railway Company หรือ JR-West ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงเช้าวันดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพิ่งเป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถใหม่เที่ยวปฐมฤกษ์ ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้การจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ บริการเชิงพาณิชย์ จำนวน 115 คัน ไปหมาดๆ
โดยทันทีที่เกิดเหตุการณ์ ได้มีการโพสต์ข้อมูลและภาพเหตุการณ์ลงเฟซบุ๊ก" ๑ คน ๑ พลัง ร่วมใจกันสร้างความภาคภูมิใจให้กลับคืนมา" เพียงไม่นาน ก็มีการลบข้อมูลดังกล่าวออก จนหมด
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ได้มีบริษัทรายหนึ่ง เข้าไปในโรงงานมักกะสัน เพื่อทำการดัดแปลง รถ JR-West รวม 4 คัน เพื่อทำเป็นรถจัดเช่าพิเศษ หรือโบกี้จัดเฉพาะ (บจพ) หรือ SRT Prestige โดยเบื้องต้น ยังไม่มีการทำสัญญาจ้าง ใดๆ ซึ่งข่าววงใน ระบุว่า เป็นลักษณะการให้ทำงานไปก่อน แล้วค่อยขออนุมัติดำเนินโครงการภายหลัง ซึ่งหลังเกิดเหตุ ไฟไหม้ รถ 1 คัน บริษัทดังกล่าวขนคนและข้างของออกจากพื้นที่ทันที
ต่อมาวันที่ 30 ส.ค.หลังเกิดเหตุเพียงวันเดียว คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯชุดใหม่ ที่มีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นประธาน ได้มีการประชุม ทั้งๆที่ บอร์ดการรถไฟฯ ชุดนี้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ครม. เมื่อวันที่ 23 ส.ค. และ ประชุมนัดแรกไปเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา
การเรียกประชุมอีกครั้ง ภายใน5 วัน ต้องมีเรื่องเร่งด่วนหรือไม่ ?
รายงานข่าวแจ้งว่า มีการเสนอขออนุมัติงบประมาณดัดแปลงรถJR-West จำนวน 4 คัน ซึ่งบอร์ดการรถไฟฯ คนหนึ่ง ยอมรับว่า นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯการรถไฟฯ ได้ขอให้บอร์ดประชุมเนื่องจากมีเรื่องขออนุมัติเกี่ยวกับ การซ่อมบำรุง ซึ่งข้อเท็จจริง คือ มีการเสนอขออนุมัติงบประมาณกว่า 40 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคันละกว่า 10 ล้านบาทเพื่อดัดแปลงรถ JR-West 4 คัน แต่มติบอร์ดอนุมัติ 2 คัน หลังพิจารณาเห็นว่า อีก 2 คันยังไม่จำเป็นเร่งด่วน
ทั้งนี้ รายงานข่าวไม่ยืนยันว่า ในการเสนอขออนุมัติดัดแปลงรถJR-West ต่อบอร์ด เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ดังกล่าว เป็นของรถที่ถูกไฟไหม้หรือเป็นการดัดแปลงรถในชุดอื่น
แหล่งข่าวจากการรถไฟฯให้ข้อมูลว่า รถชุด4 คันที่เกิดไฟไหม้ไป 1คันนั้น มีคำสั่งให้บริษัทเอกชนเข้าไปดำเนินการ โดยยังไม่มีการอนุมัติและทำสัญญา ขณะที่มีการคำนวนค่าใช้จ่ายไว้ที่คันละ 4 ล้านบาท รวม4 คัน ประมาณ 16 ล้านบาท โดยเป็นการดัดแปลงตัวถัง ตัวรถ ต่อมามีการเพิ่มงานให้ทำโดยวงเงินปรับขึ้นเป็น คันละ 11 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นนี้มี ประเด็นที่น่าสังเกต คือ เหตุการณ์ ไฟไหม้ในโรงงาน ถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่กลับมีคำสั่งให้ปกปิดข่าว และลบข้อมูลหลักฐานออก มีการวิจารณ์ภายในรถไฟ แต่ไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ออกมา เนื่องจากมีคำสั่งจากผู้ใหญ่ของการรถไฟฯ อย่างเด็ดขาด
การให้คนนอกเข้าไปในโรงงานมักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะยังไม่ได้ทำสัญญาจ้าง ทำได้หรือไม่และถือเป็นการบุกรุกหรือไม่ และที่สุดการตรวจสอบ จะดำเนินการได้หรือไม่ กรณีรถที่ไฟไหม้ จะหาหลักฐานจากไหน เข้าข่ายมีการทำลายหลักฐานหรือไม่ และเอกชนที่เข้าไปทำการดัดแปลง มีการขนของออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วน โดยไม่มีการตรวจสอบใดๆ กรณีที่มีบุคคลภายในเข้าไปในโรงงาน การเข้าออกพื้นที่กระทำโดยสะดวก ไม่มีเอกสารและการตรวจสอบ นี่เป็นการทำงานของการรถไฟฯยุคนี้.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่โรงงานมักกะสัน ได้เกิดเหตุ ไฟไหม้ รถ JR-West ซึ่งเป็นรถชุดที่ การรถไฟฯ ได้รับมาจาก West Japan Railway Company หรือ JR-West ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงเช้าวันดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพิ่งเป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถใหม่เที่ยวปฐมฤกษ์ ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้การจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ บริการเชิงพาณิชย์ จำนวน 115 คัน ไปหมาดๆ
โดยทันทีที่เกิดเหตุการณ์ ได้มีการโพสต์ข้อมูลและภาพเหตุการณ์ลงเฟซบุ๊ก" ๑ คน ๑ พลัง ร่วมใจกันสร้างความภาคภูมิใจให้กลับคืนมา" เพียงไม่นาน ก็มีการลบข้อมูลดังกล่าวออก จนหมด
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ได้มีบริษัทรายหนึ่ง เข้าไปในโรงงานมักกะสัน เพื่อทำการดัดแปลง รถ JR-West รวม 4 คัน เพื่อทำเป็นรถจัดเช่าพิเศษ หรือโบกี้จัดเฉพาะ (บจพ) หรือ SRT Prestige โดยเบื้องต้น ยังไม่มีการทำสัญญาจ้าง ใดๆ ซึ่งข่าววงใน ระบุว่า เป็นลักษณะการให้ทำงานไปก่อน แล้วค่อยขออนุมัติดำเนินโครงการภายหลัง ซึ่งหลังเกิดเหตุ ไฟไหม้ รถ 1 คัน บริษัทดังกล่าวขนคนและข้างของออกจากพื้นที่ทันที
ต่อมาวันที่ 30 ส.ค.หลังเกิดเหตุเพียงวันเดียว คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯชุดใหม่ ที่มีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นประธาน ได้มีการประชุม ทั้งๆที่ บอร์ดการรถไฟฯ ชุดนี้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ครม. เมื่อวันที่ 23 ส.ค. และ ประชุมนัดแรกไปเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา
การเรียกประชุมอีกครั้ง ภายใน5 วัน ต้องมีเรื่องเร่งด่วนหรือไม่ ?
รายงานข่าวแจ้งว่า มีการเสนอขออนุมัติงบประมาณดัดแปลงรถJR-West จำนวน 4 คัน ซึ่งบอร์ดการรถไฟฯ คนหนึ่ง ยอมรับว่า นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯการรถไฟฯ ได้ขอให้บอร์ดประชุมเนื่องจากมีเรื่องขออนุมัติเกี่ยวกับ การซ่อมบำรุง ซึ่งข้อเท็จจริง คือ มีการเสนอขออนุมัติงบประมาณกว่า 40 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคันละกว่า 10 ล้านบาทเพื่อดัดแปลงรถ JR-West 4 คัน แต่มติบอร์ดอนุมัติ 2 คัน หลังพิจารณาเห็นว่า อีก 2 คันยังไม่จำเป็นเร่งด่วน
ทั้งนี้ รายงานข่าวไม่ยืนยันว่า ในการเสนอขออนุมัติดัดแปลงรถJR-West ต่อบอร์ด เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ดังกล่าว เป็นของรถที่ถูกไฟไหม้หรือเป็นการดัดแปลงรถในชุดอื่น
แหล่งข่าวจากการรถไฟฯให้ข้อมูลว่า รถชุด4 คันที่เกิดไฟไหม้ไป 1คันนั้น มีคำสั่งให้บริษัทเอกชนเข้าไปดำเนินการ โดยยังไม่มีการอนุมัติและทำสัญญา ขณะที่มีการคำนวนค่าใช้จ่ายไว้ที่คันละ 4 ล้านบาท รวม4 คัน ประมาณ 16 ล้านบาท โดยเป็นการดัดแปลงตัวถัง ตัวรถ ต่อมามีการเพิ่มงานให้ทำโดยวงเงินปรับขึ้นเป็น คันละ 11 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นนี้มี ประเด็นที่น่าสังเกต คือ เหตุการณ์ ไฟไหม้ในโรงงาน ถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่กลับมีคำสั่งให้ปกปิดข่าว และลบข้อมูลหลักฐานออก มีการวิจารณ์ภายในรถไฟ แต่ไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ออกมา เนื่องจากมีคำสั่งจากผู้ใหญ่ของการรถไฟฯ อย่างเด็ดขาด
การให้คนนอกเข้าไปในโรงงานมักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะยังไม่ได้ทำสัญญาจ้าง ทำได้หรือไม่และถือเป็นการบุกรุกหรือไม่ และที่สุดการตรวจสอบ จะดำเนินการได้หรือไม่ กรณีรถที่ไฟไหม้ จะหาหลักฐานจากไหน เข้าข่ายมีการทำลายหลักฐานหรือไม่ และเอกชนที่เข้าไปทำการดัดแปลง มีการขนของออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วน โดยไม่มีการตรวจสอบใดๆ กรณีที่มีบุคคลภายในเข้าไปในโรงงาน การเข้าออกพื้นที่กระทำโดยสะดวก ไม่มีเอกสารและการตรวจสอบ นี่เป็นการทำงานของการรถไฟฯยุคนี้.