ยังมะรุมมะตุ้มกันอยู่ว่า สุดท้ายจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงประชามติ ตกลงจะให้ส.ว. ร่วมโหวตรายชื่อบุคคลที่จะมานายกรัฐมนตรีตั้งแต่แรก หรือจะให้มาตอนส.ส.ไม่สามารถเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อได้แล้ว หรือล่าสุดเลยเถิดไปถึงขนาดว่า จะให้ ส.ว.ลากตั้ง 250 ชีวิต มีสิทธิ์จะเสนอรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย
จะว่าไปในเมื่อคำถามพ่วงประชามติผ่านไปแล้ว และเขียนแบบหัวหมอไว้เสียครอบจักรวาลขนาดนั้น การที่ ส.ว.จะมาโหวตตั้งแต่แรก หรือจะมาโหวตตอนที่ส.ส.หมดปัญญาจะดันคนในบัญชีรายชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี คงได้ทั้งนั้น ในเมื่อล็อกกันเอาไว้เสียขนาดนี้ว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปต้องชื่อ“บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกรอบ
แต่ประเภทจะให้ ส.ว.ลากตั้ง ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แถมยังก่อกำเนิดมาจากการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีอำนาจในการเสนอชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนกับส.ส.ที่ผ่านเวทีเลือกตั้งมา มันดูจะเอาล่อเอาเถิดกันเกินไป
ดูจะพยายามกันเกินเหตุที่จะล็อกตัวผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ ต้องบอกว่า หยามประชาชนกันชัดๆ
เอาจริงๆ เรื่องนี้ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ภายใต้การนำทีมของ ซือแป๋มีชัย ฤชุพันธุ์ ต้องมานั่งถกนั่งเถียงกันเอาเป็นเอาตาย เพราะมันเริ่มมีความไม่มั่นใจในกติกาที่ตัวเองร่างขึ้นเสียแล้วว่า ไอ้ที่ว่าแน่ๆ กลับไม่แน่
ขนาดเขียนแบบล็อกไว้ทุกประตูในการปูพรมแดงต้อนรับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีในอนาคต แต่จนแล้วจนรอดมันก็ยังมีช่องโหว่ให้นักการเมืองไทยเจาะสว่านเข้าไปได้ โดยเฉพาะการกำหนดเพดาน ส.ส.พรรคใหญ่ ที่หวังไม่ให้พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ผูกขาดคะแนนกันเพียงสองพรรค แล้วเอาไปหารเฉลี่ยให้กับพรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กขึ้นมามีบทบาท
ทว่าทำไปทำมา นักการเมืองไทยผู้ได้ชื่อว่าปรับเข้ากับทุกสภาพของกติกาได้เก่ง ก็สามารถพลิกแพลงเอาจนได้ ย้อนกลับไปดูตอนทำประชามติ แม้จะมีแคมเปญสารพัดจากค่ายเพื่อไทย เพื่อหวังไม่ให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แต่สุดท้ายเรียบร้อยโรงเรียนแป๊ะ ฝ่ายทหารเป็นผู้กำชัยดังกล่าว ศึกนั้นหลายคนมองว่า อิทธิฤทธิ์ของระบอบทักษิณ น่าจะสิ้นซากแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่
นายใหญ่แห่งค่ายเพื่อไทย แม้จะแสดงจุดยืนไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกับคนอื่นๆ แต่ก็เพียงแค่ประกาศเท่านั้น ไม่ได้ลงมาฟัดมาเหวี่ยงอย่างเต็มที่เสียเท่าไหร่ ผิดวิสัยสำหรับคนที่คิดจะสู้จริงๆ กลับกันหลายครั้งที่ผ่านมา ถ้าตัดสินใจสู้หมดหน้าตัก ท่อน้ำเลี้ยงจากแดนไกลจะไหลออกมาเพียบ แต่เที่ยวนี้ไม่มีแม้สักหยด
นั่นหมายความว่า พรรคเพื่อไทยมองข้ามช็อตไปอนาคตถึงการเลือกตั้งแล้วว่า สุดท้ายพวกเขายังมีสิทธิ์ที่จะพลิกกลับมาชนะได้ ต่อให้โดนกำหนดเพดานส.ส.ก็ตาม เหลียวหลังไปในอดีต ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ถูกยุบ มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่คิดว่าเขี้ยวโง้งแล้วขึ้นมาสกัด แต่สุดท้ายยังเกิดพรรคเพื่อไทย และมีนายกรัฐมนตรี ที่นามสกุลชินวัตรอยู่เลย
เช่นเดียวกันกับครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะปรับสภาพตัวเองให้เข้ากับกติกาเพื่อให้กลับเข้าสู่อำนาจเช่นกัน ซึ่งมันมีช่องอยู่พอสมควร อย่างเช่นในเมื่อรวมกันแล้วตายหมู่ ไม่มีทางชนะ ก็ต้องกระจายกำลังกันตี เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับทุกคะแนนเสียง ส่งผลให้พรรคขนาดเล็ก และพรรคขนาดกลางมีโอกาสได้ส.ส.เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น มันมีโอกาสจะเกิดพรรคสาขาของเพื่อไทยออกมา
ลองถ้าพรรคเพื่อไทยตั้งพรรคสาขา แม้จะคนละชื่อ แต่ถ้าชูชื่อทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ประชาชนรู้ว่านี่คือพวกเดียวกัน พรรคเหล่านี้มีสิทธิโกยส.ส.เข้าสภาได้เพียบ จากนั้นไหลไปรวมกันในสภา คะแนนเสียงมีสิทธิ์ท่วมท้นเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยไม่ต้องง้อพรรคขนาดเล็ก และพรรคขนาดกลางมากเท่าไหร่
พอเป็นแบบนี้อะไรที่ว่าแน่ มันเลยไม่แน่ แผนดันนายกรัฐมนตรีคนนอกอาจล้มเหลว อุตส่าห์ร่างเอาไว้เองกับมือ แต่ต้องมาพลาดท่า มันเลยเป็นที่มาของความพยายามทำทุกอย่างในตอนนี้เพื่อให้ชัวร์ที่สุดสำหรับเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของ“บิ๊กตู่” ดูตั้งแต่แนวคิดให้ส.ว.ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีกับส.ส.เลยตั้งแต่แรก เพื่อหวังจะเอาคะแนน 250 เสียงของ ส.ว.มาสู้กับเสียงของส.ส.
เพราะขืนปล่อยให้ส.ว.รอให้ส.ส.เลือกกันเองก่อน มีสิทธิ์ที่นายกรัฐมนตรี จะมาตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ไม่ถึงมือส.ว. ทุกอย่างที่ล็อกไว้พังหมด กลายเป็นเรียบร้อยโรงเรียนเพื่อไทยแทน
แต่แม้จะเขียนล็อกไว้ทุกอย่าง เพื่อการันตีเก้าอี้นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นคนของทหารที่เลือกกันไว้ตั้งแต่ตอนนี้ โดยปิดช่องทุกทางที่จะให้พรรคการเมืองมาปาดหน้าได้ โดยให้ ส.ว.เข้าไปร่วมโหวตตั้งแต่แรก หรือแม้กระทั่งมีสิทธิ์เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีด้วย แต่ในทางปฏิบัติ มันไม่ง่ายอย่างนั้นแน่
สิ่งที่คิดว่าง่ายอาจกลายเป็นสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า ถ้าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย ยังคงได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 โดยชนะพรรคอันดับสองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ แบบขาดวิ่นเหมือนเดิมหลายเสียง ตลกร้ายถ้าตอนโหวตในรัฐสภา พบว่าคะแนน ส.ส.สนับสนุนคนในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย มีจำนวนมาก แต่ที่แพ้เพราะสู้เสียง 250 เสียงของ ส.ว.ไม่ได้ ตรงนี้อาจเป็นเรื่องใหญ่
ถ้ามีคนสักคนปลุกระดมว่า คะแนนเสียงประชาชนถูกปล้นในสภา เพราะสมมติคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทยชนะเยอะขึ้นมา อารมณ์คนตอนนั้นมันก็ถูกจุดติดขึ้นง่ายๆ ได้เหมือนกัน เพราะคนที่เขาสนับสนุนกลับไม่ได้เป็น เพราะถูกอำนาจบางอย่างสกัด
หรือต่อให้ผ่านพ้นตอนเลือกนายกรัฐมนตรีไปได้ จนก่อตั้งรัฐบาลสำเร็จ ปัญหาที่จะตามมาคือ แล้วนายกรัฐมนตรีคนนอกคนนั้น จะบริหารประเทศได้อย่างไร ในเมื่อส.ส.ส่วนใหญ่ในสภาไม่ได้ให้การสนับสนุน แต่ที่เป็นนายกรัฐมนตรีมาได้เพราะเสียง ส.ว.ค้ำจุน ภาพความขัดแย้งลอยมาอยู่รำไร
เหนือสิ่งอื่นใด เหมือนที่ “ตุ๊ดตู่”จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานเสื้อแดงพูด การเป็นนายกรัฐมนตรีตอนสภาปกติ กับตอนเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลเผด็จการมันแตกต่างกัน ตอนนั้นกระบองในมืออย่าง มาตรา 44 ก็ไม่มีแล้ว ในสภาก็ไม่ได้มีพวก สนช.แล้ว มีแต่ ส.ส.ที่ฝีปากจัดจ้าน การจะสั่งซ้ายหัน ขวาหัน เลิกคิดไปเลย
ไม่มีใครกลัวคนชื่อประยุทธ์แล้วในตอนนั้น !
จะว่าไปในเมื่อคำถามพ่วงประชามติผ่านไปแล้ว และเขียนแบบหัวหมอไว้เสียครอบจักรวาลขนาดนั้น การที่ ส.ว.จะมาโหวตตั้งแต่แรก หรือจะมาโหวตตอนที่ส.ส.หมดปัญญาจะดันคนในบัญชีรายชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี คงได้ทั้งนั้น ในเมื่อล็อกกันเอาไว้เสียขนาดนี้ว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปต้องชื่อ“บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกรอบ
แต่ประเภทจะให้ ส.ว.ลากตั้ง ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แถมยังก่อกำเนิดมาจากการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีอำนาจในการเสนอชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนกับส.ส.ที่ผ่านเวทีเลือกตั้งมา มันดูจะเอาล่อเอาเถิดกันเกินไป
ดูจะพยายามกันเกินเหตุที่จะล็อกตัวผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับใช้เลยด้วยซ้ำ ต้องบอกว่า หยามประชาชนกันชัดๆ
เอาจริงๆ เรื่องนี้ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ภายใต้การนำทีมของ ซือแป๋มีชัย ฤชุพันธุ์ ต้องมานั่งถกนั่งเถียงกันเอาเป็นเอาตาย เพราะมันเริ่มมีความไม่มั่นใจในกติกาที่ตัวเองร่างขึ้นเสียแล้วว่า ไอ้ที่ว่าแน่ๆ กลับไม่แน่
ขนาดเขียนแบบล็อกไว้ทุกประตูในการปูพรมแดงต้อนรับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีในอนาคต แต่จนแล้วจนรอดมันก็ยังมีช่องโหว่ให้นักการเมืองไทยเจาะสว่านเข้าไปได้ โดยเฉพาะการกำหนดเพดาน ส.ส.พรรคใหญ่ ที่หวังไม่ให้พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ผูกขาดคะแนนกันเพียงสองพรรค แล้วเอาไปหารเฉลี่ยให้กับพรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กขึ้นมามีบทบาท
ทว่าทำไปทำมา นักการเมืองไทยผู้ได้ชื่อว่าปรับเข้ากับทุกสภาพของกติกาได้เก่ง ก็สามารถพลิกแพลงเอาจนได้ ย้อนกลับไปดูตอนทำประชามติ แม้จะมีแคมเปญสารพัดจากค่ายเพื่อไทย เพื่อหวังไม่ให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แต่สุดท้ายเรียบร้อยโรงเรียนแป๊ะ ฝ่ายทหารเป็นผู้กำชัยดังกล่าว ศึกนั้นหลายคนมองว่า อิทธิฤทธิ์ของระบอบทักษิณ น่าจะสิ้นซากแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่
นายใหญ่แห่งค่ายเพื่อไทย แม้จะแสดงจุดยืนไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกับคนอื่นๆ แต่ก็เพียงแค่ประกาศเท่านั้น ไม่ได้ลงมาฟัดมาเหวี่ยงอย่างเต็มที่เสียเท่าไหร่ ผิดวิสัยสำหรับคนที่คิดจะสู้จริงๆ กลับกันหลายครั้งที่ผ่านมา ถ้าตัดสินใจสู้หมดหน้าตัก ท่อน้ำเลี้ยงจากแดนไกลจะไหลออกมาเพียบ แต่เที่ยวนี้ไม่มีแม้สักหยด
นั่นหมายความว่า พรรคเพื่อไทยมองข้ามช็อตไปอนาคตถึงการเลือกตั้งแล้วว่า สุดท้ายพวกเขายังมีสิทธิ์ที่จะพลิกกลับมาชนะได้ ต่อให้โดนกำหนดเพดานส.ส.ก็ตาม เหลียวหลังไปในอดีต ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ถูกยุบ มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่คิดว่าเขี้ยวโง้งแล้วขึ้นมาสกัด แต่สุดท้ายยังเกิดพรรคเพื่อไทย และมีนายกรัฐมนตรี ที่นามสกุลชินวัตรอยู่เลย
เช่นเดียวกันกับครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะปรับสภาพตัวเองให้เข้ากับกติกาเพื่อให้กลับเข้าสู่อำนาจเช่นกัน ซึ่งมันมีช่องอยู่พอสมควร อย่างเช่นในเมื่อรวมกันแล้วตายหมู่ ไม่มีทางชนะ ก็ต้องกระจายกำลังกันตี เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับทุกคะแนนเสียง ส่งผลให้พรรคขนาดเล็ก และพรรคขนาดกลางมีโอกาสได้ส.ส.เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น มันมีโอกาสจะเกิดพรรคสาขาของเพื่อไทยออกมา
ลองถ้าพรรคเพื่อไทยตั้งพรรคสาขา แม้จะคนละชื่อ แต่ถ้าชูชื่อทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ประชาชนรู้ว่านี่คือพวกเดียวกัน พรรคเหล่านี้มีสิทธิโกยส.ส.เข้าสภาได้เพียบ จากนั้นไหลไปรวมกันในสภา คะแนนเสียงมีสิทธิ์ท่วมท้นเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยไม่ต้องง้อพรรคขนาดเล็ก และพรรคขนาดกลางมากเท่าไหร่
พอเป็นแบบนี้อะไรที่ว่าแน่ มันเลยไม่แน่ แผนดันนายกรัฐมนตรีคนนอกอาจล้มเหลว อุตส่าห์ร่างเอาไว้เองกับมือ แต่ต้องมาพลาดท่า มันเลยเป็นที่มาของความพยายามทำทุกอย่างในตอนนี้เพื่อให้ชัวร์ที่สุดสำหรับเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของ“บิ๊กตู่” ดูตั้งแต่แนวคิดให้ส.ว.ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีกับส.ส.เลยตั้งแต่แรก เพื่อหวังจะเอาคะแนน 250 เสียงของ ส.ว.มาสู้กับเสียงของส.ส.
เพราะขืนปล่อยให้ส.ว.รอให้ส.ส.เลือกกันเองก่อน มีสิทธิ์ที่นายกรัฐมนตรี จะมาตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ไม่ถึงมือส.ว. ทุกอย่างที่ล็อกไว้พังหมด กลายเป็นเรียบร้อยโรงเรียนเพื่อไทยแทน
แต่แม้จะเขียนล็อกไว้ทุกอย่าง เพื่อการันตีเก้าอี้นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นคนของทหารที่เลือกกันไว้ตั้งแต่ตอนนี้ โดยปิดช่องทุกทางที่จะให้พรรคการเมืองมาปาดหน้าได้ โดยให้ ส.ว.เข้าไปร่วมโหวตตั้งแต่แรก หรือแม้กระทั่งมีสิทธิ์เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีด้วย แต่ในทางปฏิบัติ มันไม่ง่ายอย่างนั้นแน่
สิ่งที่คิดว่าง่ายอาจกลายเป็นสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า ถ้าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย ยังคงได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 โดยชนะพรรคอันดับสองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ แบบขาดวิ่นเหมือนเดิมหลายเสียง ตลกร้ายถ้าตอนโหวตในรัฐสภา พบว่าคะแนน ส.ส.สนับสนุนคนในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย มีจำนวนมาก แต่ที่แพ้เพราะสู้เสียง 250 เสียงของ ส.ว.ไม่ได้ ตรงนี้อาจเป็นเรื่องใหญ่
ถ้ามีคนสักคนปลุกระดมว่า คะแนนเสียงประชาชนถูกปล้นในสภา เพราะสมมติคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทยชนะเยอะขึ้นมา อารมณ์คนตอนนั้นมันก็ถูกจุดติดขึ้นง่ายๆ ได้เหมือนกัน เพราะคนที่เขาสนับสนุนกลับไม่ได้เป็น เพราะถูกอำนาจบางอย่างสกัด
หรือต่อให้ผ่านพ้นตอนเลือกนายกรัฐมนตรีไปได้ จนก่อตั้งรัฐบาลสำเร็จ ปัญหาที่จะตามมาคือ แล้วนายกรัฐมนตรีคนนอกคนนั้น จะบริหารประเทศได้อย่างไร ในเมื่อส.ส.ส่วนใหญ่ในสภาไม่ได้ให้การสนับสนุน แต่ที่เป็นนายกรัฐมนตรีมาได้เพราะเสียง ส.ว.ค้ำจุน ภาพความขัดแย้งลอยมาอยู่รำไร
เหนือสิ่งอื่นใด เหมือนที่ “ตุ๊ดตู่”จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานเสื้อแดงพูด การเป็นนายกรัฐมนตรีตอนสภาปกติ กับตอนเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลเผด็จการมันแตกต่างกัน ตอนนั้นกระบองในมืออย่าง มาตรา 44 ก็ไม่มีแล้ว ในสภาก็ไม่ได้มีพวก สนช.แล้ว มีแต่ ส.ส.ที่ฝีปากจัดจ้าน การจะสั่งซ้ายหัน ขวาหัน เลิกคิดไปเลย
ไม่มีใครกลัวคนชื่อประยุทธ์แล้วในตอนนั้น !