ที่สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ถ.พระราม 9 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ โดยมีผู้แทนหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า การรับฟังความเห็นครั้งนี้ เพื่อระดมความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้อำนาจตาม กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เกิดความสมดุลกัน ไม่เกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐ กระทบที่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ที่มีอัตราสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ และความปลอดภัยสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นทุกปีได้ด้วย
จากข้อมูลของศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย สพธอ. พบว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ตั้งปี56-58 มีอัตราเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว จากปี 56 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 1,745 คดี ในปี 58 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 4,371 คดี โดยคดีที่พบมากคือ การใช้โปรแกรมบุกรุกสร้างความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์ 35.4 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ คดีฉ้อโกง 26.1 เปอร์เซ็นต์ การพยายามเจาะระบบคอมพิวเตอร์ 22.9 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าหลังจากที่ได้ข้อสรุปแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯจะสามารถยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ได้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ด้านนางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า แม้ คณะกรรมการธิการวิสามัญฯจะมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อเอาผิดการทำเว็บไซต์เพื่อหลอกเอาทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ตีความรวมไปถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท ลดปัญหาการใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน แต่แอมเนสตี้ฯ ยังมีความห่วงใยถึงกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ตาม ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัย หรือระงับการทำให้แพร่หลาย หรือลบข้อมูลนั้นออกจากคอมพิวเตอร์ได้ อาจเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะพิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าการคุ้มครองความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ จะไม่กระทบสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัวของประชาชน
ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า การรับฟังความเห็นครั้งนี้ เพื่อระดมความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้อำนาจตาม กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เกิดความสมดุลกัน ไม่เกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐ กระทบที่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ที่มีอัตราสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ และความปลอดภัยสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นทุกปีได้ด้วย
จากข้อมูลของศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย สพธอ. พบว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ตั้งปี56-58 มีอัตราเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว จากปี 56 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 1,745 คดี ในปี 58 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 4,371 คดี โดยคดีที่พบมากคือ การใช้โปรแกรมบุกรุกสร้างความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์ 35.4 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ คดีฉ้อโกง 26.1 เปอร์เซ็นต์ การพยายามเจาะระบบคอมพิวเตอร์ 22.9 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าหลังจากที่ได้ข้อสรุปแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯจะสามารถยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ได้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ด้านนางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า แม้ คณะกรรมการธิการวิสามัญฯจะมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อเอาผิดการทำเว็บไซต์เพื่อหลอกเอาทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ตีความรวมไปถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท ลดปัญหาการใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน แต่แอมเนสตี้ฯ ยังมีความห่วงใยถึงกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ตาม ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัย หรือระงับการทำให้แพร่หลาย หรือลบข้อมูลนั้นออกจากคอมพิวเตอร์ได้ อาจเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะพิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าการคุ้มครองความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ จะไม่กระทบสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัวของประชาชน