สนช.จัดสัมมนารับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่ หลังคดีอาชญากรรมออนไลน์พุ่งขึ้นทุกปี ปลัด ยธ.แจงระดมความเห็นเพื่อการใช้อำนาจป้องกันอันตราย-สิทธิฯ สมดุลกัน คาดอีก 3 เดือนสามารถยกร่าง กม.เสร็จ ด้านเอ็นจีโอห่วงปัญหาการใช้อำนาจรัฐ อาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คงเชื่อมั่น กมธ.
วันนี้ (17 ส.ค.) ที่สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ถ.พระราม 9 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ โดยมีผู้แทนหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า การรับฟังความเห็นในวันนี้เพื่อระดมความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกิดความสมดุลกัน ไม่เกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐกระทบที่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่อัตราสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและความปลอดภัยสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นทุกปีได้ด้วย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย สพธอ.พบว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี 2556-2558 มีอัตราเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว จากปี 2556 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 1,745 คดี ในปี 2558 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 4,371คดี โดยคดีที่พบมาก คือ การใช้โปรแกรมบุกรุกสร้างความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์ 35.4เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือคดีฉ้อโกง 26.1 เปอร์เซ็นต์ การพยายามเจาะระบบคอมพิวเตอร์ 22.9เปอร์เซ็นต์ คาดว่าหลังจากที่ได้ข้อสรุปในวันนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะสามารถยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ด้านนางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า แม้คณะกรรมการธิการวิสามัญฯ จะมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อเอาผิดการทำเว็บไซต์เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ตีความรวมไปถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท ลดปัญหาการใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน แต่แอมเนสตี้ฯ ยังมีความห่วงใยถึงกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัย หรือระงับการทำให้แพร่หลาย หรือลบข้อมูลนั้นออกจากคอมพิวเตอร์ได้ อาจเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม แอมเนสตี้ฯ เชื่อว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯจะพิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าการคุ้มครองความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์จะไม่กระทบสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัวของประชาชน
วันนี้ (17 ส.ค.) ที่สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ถ.พระราม 9 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ โดยมีผู้แทนหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า การรับฟังความเห็นในวันนี้เพื่อระดมความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกิดความสมดุลกัน ไม่เกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐกระทบที่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่อัตราสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและความปลอดภัยสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นทุกปีได้ด้วย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย สพธอ.พบว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี 2556-2558 มีอัตราเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว จากปี 2556 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 1,745 คดี ในปี 2558 เกิดคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 4,371คดี โดยคดีที่พบมาก คือ การใช้โปรแกรมบุกรุกสร้างความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์ 35.4เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือคดีฉ้อโกง 26.1 เปอร์เซ็นต์ การพยายามเจาะระบบคอมพิวเตอร์ 22.9เปอร์เซ็นต์ คาดว่าหลังจากที่ได้ข้อสรุปในวันนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะสามารถยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ด้านนางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า แม้คณะกรรมการธิการวิสามัญฯ จะมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อเอาผิดการทำเว็บไซต์เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ตีความรวมไปถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท ลดปัญหาการใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน แต่แอมเนสตี้ฯ ยังมีความห่วงใยถึงกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัย หรือระงับการทำให้แพร่หลาย หรือลบข้อมูลนั้นออกจากคอมพิวเตอร์ได้ อาจเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม แอมเนสตี้ฯ เชื่อว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯจะพิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าการคุ้มครองความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์จะไม่กระทบสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัวของประชาชน