ผู้จัดการรายวัน 360 - “ไพบูลย์” เล่าเป็นฉากๆ โรดแมปปั้น “บิ๊กตู่” เป็นนายกฯคนนอกหลังเลือกตั้ง ฟุ้งพรรคตัวเองได้ ส.ส.แน่ เชื่อ พท.-ปชป.จับมือไม่สำเร็จ เข้าล็อค ม.272 มั่นใจเสนอชื่อฉลุย อวย “คนดี - ซื่อสัตย์ -เก่ง” ด้าน ปชป.ค้านให้ ส.ว.ร่วมสรรหานายกฯคนนอก “นิพิฏฐ์” ขู่ข้ามหัว ส.ส.เจอร้องศาล รธน.
วานนี้ (16 ส.ค.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ริเริ่มก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป กล่าวถึงแนวทางของพรรคที่ต้องการผลักดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นนายกฯภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้าว่า พรรคประชาชนปฏิรูปจะไม่มีการเสนอบัญชีรายเพื่อนำบุคคลใดๆในพรรคเป็นนายกฯ แต่จะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯคนนอก ตามมาตรา 272 ของร่างรัฐธรรมนูญเพียงคนเดียว และเชื่อว่าจะได้เป็นนายกฯอย่างแน่นอน หลังจากรัฐสภาที่ประกอบไปด้วย ส.ส.และ ส.ว.ไม่สามารถเลือกนายกฯ ตามบัญชีของพรรคการเมืองในระบบปกติได้
“ภายหลังการเลือกตั้งปลายปี 2560 พรรคประชาชนปฏิรูปจะได้ ส.ส.เข้ามามากพอสมควร เนื่องจากประชาชนเบื่อหน่ายระบบแบบเก่า ขณะที่พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ ส.ส.ลดลง 20% จากผลการเลือกตั้งปี 2554” นายไพบูลย์ ระบุ
** เชื่อสุดท้าย พท.ปชป.ฮั้วแตก
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ในการเสนอชื่อนายกฯตามบัญชีรายชื่อ ภายหลังการเลือกตั้งปลายปี 2560 จะมีเพียงพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อบุคคลตามบัญชีของพรรคการเมืองเท่านั้น และเชื่อว่าสุดท้ายทั้ง 2 พรรคจะไม่มีใครได้เป็นนายกฯ แม้จะร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ เนื่องจากคะแนนเสียงสนับสนุนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือเกินจำนวน 375 เสียง เพราะ ส.ว.จำนวน 250 เสียง รวมกับพรรคประชาชนปฏิรูป และพรรคการเมืองอื่นๆจะงดออกเสียง หรืออีกกรณีพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ จับมือร่วมกัน โดยมี พรรคขนาดกลางเป็นรัฐบาลเป็นส่วนประกอบ แม้เสียงของพรรคทั้งหมดก่อนโหวตนายกฯจะเกิน 375 คน ก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะเชื่อว่าจะทำไม่สำเร็จ มี ส.ส.ที่โหวตสวนมติพรรคอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นการทำร้ายจิตใจประชาชนอย่างร้ายแรง หรืออาจประเมินว่าการทำงานในอนาคตก็ไม่สามารถไปกันรอด เพราะคนละอุดมการณ์ ก็จะเข้าเงื่อนไขตามที่ตนคาดการณ์เอาไว้ สุดท้ายจะมีการเจรจากันเองของ ส.ส.ในสภาฯ และรวบรวมเสียงของ ส.ส.จำนวนกึ่งหนึ่ง หรือไม่น้อยกว่า 250 คน ยื่นเรื่องให้ประธานรัฐสภาเพื่อเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อของดเว้นรายชื่อจากบัญชีพรรคการเมือง เนื่องจาก ส.ส.ส่วนใหญ่ ต้องการให้มีรัฐบาลโดยไว้ และไม่ต้องการให้สภาพการเมืองเป็นสุญญากาศ ที่ คสช.ยังอยู่ในอำนาจต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด หากยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ จากนั้นเมื่อเปิดประชุมรัฐสภาได้แล้ว ส.ส.และ ส.ว.ก็จะใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา เพื่อลงมติงดเว้นเลือกนายกฯ ตามบัญชีพรรคการเมือง ตามข้อยกเว้นมาตรา 272 จากนั้น พรรคประชาชนปฏิรูป ก็จะกลับไปรวมลงชื่อกับ ส.ส.พรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และเชื่อว่ารัฐสภาก็จะให้ความเห็นชอบลงมติเป็นนายกฯ คนนอก ในที่สุด
“สาเหตุที่พรรคประชาชนปฏิรูปเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ภายหลังเลือกตั้ง เนื่องจากมีความเหมาะสมที่สุด เพราะมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ 1.เป็นคนดี 2.ซื่อสัตย์ และ 3.มีความสามารถ ขณะที่นักการเมืองหรือคนอื่นๆ ในช่วงเวลานี้ไม่มีคุณสมบัติครบ 3 ข้อแบบไม่เห็นฝุ่น” นายไพบูลย์ กล่าว
** “นิพิฏฐ์” ขู่ยื่นศาล รธน.
ทางด้าน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เตรียมแก้ไขร่าง รธน. ในส่วนสาระคำถามพ่วง ประเด็นการให้ ส.ว.โหวตนายกรัฐมนตรีคนนอกว่า ตามหลักการ ส.ส.ต้องได้มีการคัดเลือกก่อน ตามบัญชีรายชื่อที่เสนอมาของแต่ละพรรค แต่ถ้าเลือกไม่ได้ ค่อยไปขอยกเว้น โดยต้องให้ ส.ว.ยินยอมด้วย แต่ถ้ามีใครมาแก้ไข โดยตัดข้ามขั้นตอนของส.ส.ออกไปตามที่เป็นข่าว ตนว่ามันทำไม่ได้ ถ้าทำรูปแบบการเลือกนายกฯ จะต่างจากร่างที่นำไปให้ประชาชนลงประชามติ
"เรื่องนี้ผมไม่คิดว่าใครจะกล้าทำ ถ้ามีคนทำอาจจะต้องถูกส่งตีความที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า มันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านการลงประชามติ" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
** เตือนเซตซีโรทำการเมืองอ่อนแอ
ขณะที่ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการร่างกฎหมายลูกเร่งด่วน 4 ฉบับ เพื่อรองรับการเลือกตั้งตามแผนโรดแมปรัฐบาลว่า ขอให้ กรธ.ตั้งหลักคิดให้ดีในการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง หากต้องการส่งเสริม สนับสนุน ให้พรรคการเมืองเข้มแข็งเพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพ ก็ต้องเขียนระบุให้ชัดเจน หากมีผู้เสนอให้มีการลดทอน หรือทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอลงก็อย่าบัญญัติไว้ ถึงแม้จะมีข่าวออกมาว่าไม่มีการเซตซีโรพรรคการเมืองเดิมที่มีอยู่ แต่ก็มีข่าวออกมาว่าจะมีการเขียนกฎหมายพรรคการเมืองอิงฉบับปี 2524 ก็เสมือนเป็นการเซตซีโรเช่นกัน
ทั้งนี้หากต้องการส่งเสริมให้พรรคการเมืองเข้มแข็งจริงก็ควรให้พรรคการเมืองพัฒนาการตัวเอง กฎหมายต้องเอื้อต่อการสนับสนุนพรรค ไม่ใช่บั่นทอน แล้วไปส่งเสริมพรรคขนาดกลางและเล็กให้มีอำนาจในการต่อรอง ซึ่งจะทำให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ
** "สดศรี" ค้านแนวคิดเซตซีโร
อีกด้าน นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกระแสข่าวการเซตซีโรพรรคการเมืองว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยหากจะต้องมีการเริ่มต้นพรรคการเมืองใหม่ทั้งหมด ลักษณะเหมือนกับการถูกยุบพรรค เพราะต้องเริ่มต้นหาสมาชิกใหม่ และต้องมาจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นใหม่อาจจะเป็นปัญหากับพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมได้ โดยเฉพาะพรรคที่ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลายาวนาน ที่จะต้องมาเริ่มต้นดำเนินการทุกอย่างใหม่ทั้งหมด ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า คณะทำงานยกร่างกฎหมายลูกของ กกต. เตรียมนำ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 มาเป็นแนวทางในการจัดตั้งมาพรรคการเมืองนั้น มองว่า การยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น ควรจะต้องไปดูว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติ เอื้ออำนวยกับการใช้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 หรือไม่ แต่เท่าที่ดู มองว่ามันน่าจะไปกันไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติใดก็ตาม เพราะหลักของการทำกฎหมายลูก จำเป็นต้องดูกฎหมายแม่ หรือตัวรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ดังนั้นจึงอยากฝากให้ กกต.พิจารณาว่า การยกร่างกฎหมายลูกควรดูที่เนื้อหาของตัวรัฐธรรมนูญ มากกว่าพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524.
วานนี้ (16 ส.ค.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ริเริ่มก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป กล่าวถึงแนวทางของพรรคที่ต้องการผลักดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นนายกฯภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้าว่า พรรคประชาชนปฏิรูปจะไม่มีการเสนอบัญชีรายเพื่อนำบุคคลใดๆในพรรคเป็นนายกฯ แต่จะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯคนนอก ตามมาตรา 272 ของร่างรัฐธรรมนูญเพียงคนเดียว และเชื่อว่าจะได้เป็นนายกฯอย่างแน่นอน หลังจากรัฐสภาที่ประกอบไปด้วย ส.ส.และ ส.ว.ไม่สามารถเลือกนายกฯ ตามบัญชีของพรรคการเมืองในระบบปกติได้
“ภายหลังการเลือกตั้งปลายปี 2560 พรรคประชาชนปฏิรูปจะได้ ส.ส.เข้ามามากพอสมควร เนื่องจากประชาชนเบื่อหน่ายระบบแบบเก่า ขณะที่พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ ส.ส.ลดลง 20% จากผลการเลือกตั้งปี 2554” นายไพบูลย์ ระบุ
** เชื่อสุดท้าย พท.ปชป.ฮั้วแตก
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ในการเสนอชื่อนายกฯตามบัญชีรายชื่อ ภายหลังการเลือกตั้งปลายปี 2560 จะมีเพียงพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อบุคคลตามบัญชีของพรรคการเมืองเท่านั้น และเชื่อว่าสุดท้ายทั้ง 2 พรรคจะไม่มีใครได้เป็นนายกฯ แม้จะร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ เนื่องจากคะแนนเสียงสนับสนุนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือเกินจำนวน 375 เสียง เพราะ ส.ว.จำนวน 250 เสียง รวมกับพรรคประชาชนปฏิรูป และพรรคการเมืองอื่นๆจะงดออกเสียง หรืออีกกรณีพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ จับมือร่วมกัน โดยมี พรรคขนาดกลางเป็นรัฐบาลเป็นส่วนประกอบ แม้เสียงของพรรคทั้งหมดก่อนโหวตนายกฯจะเกิน 375 คน ก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะเชื่อว่าจะทำไม่สำเร็จ มี ส.ส.ที่โหวตสวนมติพรรคอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นการทำร้ายจิตใจประชาชนอย่างร้ายแรง หรืออาจประเมินว่าการทำงานในอนาคตก็ไม่สามารถไปกันรอด เพราะคนละอุดมการณ์ ก็จะเข้าเงื่อนไขตามที่ตนคาดการณ์เอาไว้ สุดท้ายจะมีการเจรจากันเองของ ส.ส.ในสภาฯ และรวบรวมเสียงของ ส.ส.จำนวนกึ่งหนึ่ง หรือไม่น้อยกว่า 250 คน ยื่นเรื่องให้ประธานรัฐสภาเพื่อเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อของดเว้นรายชื่อจากบัญชีพรรคการเมือง เนื่องจาก ส.ส.ส่วนใหญ่ ต้องการให้มีรัฐบาลโดยไว้ และไม่ต้องการให้สภาพการเมืองเป็นสุญญากาศ ที่ คสช.ยังอยู่ในอำนาจต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด หากยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ จากนั้นเมื่อเปิดประชุมรัฐสภาได้แล้ว ส.ส.และ ส.ว.ก็จะใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา เพื่อลงมติงดเว้นเลือกนายกฯ ตามบัญชีพรรคการเมือง ตามข้อยกเว้นมาตรา 272 จากนั้น พรรคประชาชนปฏิรูป ก็จะกลับไปรวมลงชื่อกับ ส.ส.พรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และเชื่อว่ารัฐสภาก็จะให้ความเห็นชอบลงมติเป็นนายกฯ คนนอก ในที่สุด
“สาเหตุที่พรรคประชาชนปฏิรูปเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ภายหลังเลือกตั้ง เนื่องจากมีความเหมาะสมที่สุด เพราะมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ 1.เป็นคนดี 2.ซื่อสัตย์ และ 3.มีความสามารถ ขณะที่นักการเมืองหรือคนอื่นๆ ในช่วงเวลานี้ไม่มีคุณสมบัติครบ 3 ข้อแบบไม่เห็นฝุ่น” นายไพบูลย์ กล่าว
** “นิพิฏฐ์” ขู่ยื่นศาล รธน.
ทางด้าน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เตรียมแก้ไขร่าง รธน. ในส่วนสาระคำถามพ่วง ประเด็นการให้ ส.ว.โหวตนายกรัฐมนตรีคนนอกว่า ตามหลักการ ส.ส.ต้องได้มีการคัดเลือกก่อน ตามบัญชีรายชื่อที่เสนอมาของแต่ละพรรค แต่ถ้าเลือกไม่ได้ ค่อยไปขอยกเว้น โดยต้องให้ ส.ว.ยินยอมด้วย แต่ถ้ามีใครมาแก้ไข โดยตัดข้ามขั้นตอนของส.ส.ออกไปตามที่เป็นข่าว ตนว่ามันทำไม่ได้ ถ้าทำรูปแบบการเลือกนายกฯ จะต่างจากร่างที่นำไปให้ประชาชนลงประชามติ
"เรื่องนี้ผมไม่คิดว่าใครจะกล้าทำ ถ้ามีคนทำอาจจะต้องถูกส่งตีความที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า มันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านการลงประชามติ" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
** เตือนเซตซีโรทำการเมืองอ่อนแอ
ขณะที่ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการร่างกฎหมายลูกเร่งด่วน 4 ฉบับ เพื่อรองรับการเลือกตั้งตามแผนโรดแมปรัฐบาลว่า ขอให้ กรธ.ตั้งหลักคิดให้ดีในการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง หากต้องการส่งเสริม สนับสนุน ให้พรรคการเมืองเข้มแข็งเพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพ ก็ต้องเขียนระบุให้ชัดเจน หากมีผู้เสนอให้มีการลดทอน หรือทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอลงก็อย่าบัญญัติไว้ ถึงแม้จะมีข่าวออกมาว่าไม่มีการเซตซีโรพรรคการเมืองเดิมที่มีอยู่ แต่ก็มีข่าวออกมาว่าจะมีการเขียนกฎหมายพรรคการเมืองอิงฉบับปี 2524 ก็เสมือนเป็นการเซตซีโรเช่นกัน
ทั้งนี้หากต้องการส่งเสริมให้พรรคการเมืองเข้มแข็งจริงก็ควรให้พรรคการเมืองพัฒนาการตัวเอง กฎหมายต้องเอื้อต่อการสนับสนุนพรรค ไม่ใช่บั่นทอน แล้วไปส่งเสริมพรรคขนาดกลางและเล็กให้มีอำนาจในการต่อรอง ซึ่งจะทำให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ
** "สดศรี" ค้านแนวคิดเซตซีโร
อีกด้าน นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกระแสข่าวการเซตซีโรพรรคการเมืองว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยหากจะต้องมีการเริ่มต้นพรรคการเมืองใหม่ทั้งหมด ลักษณะเหมือนกับการถูกยุบพรรค เพราะต้องเริ่มต้นหาสมาชิกใหม่ และต้องมาจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นใหม่อาจจะเป็นปัญหากับพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมได้ โดยเฉพาะพรรคที่ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลายาวนาน ที่จะต้องมาเริ่มต้นดำเนินการทุกอย่างใหม่ทั้งหมด ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า คณะทำงานยกร่างกฎหมายลูกของ กกต. เตรียมนำ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 มาเป็นแนวทางในการจัดตั้งมาพรรคการเมืองนั้น มองว่า การยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น ควรจะต้องไปดูว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติ เอื้ออำนวยกับการใช้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 หรือไม่ แต่เท่าที่ดู มองว่ามันน่าจะไปกันไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติใดก็ตาม เพราะหลักของการทำกฎหมายลูก จำเป็นต้องดูกฎหมายแม่ หรือตัวรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ดังนั้นจึงอยากฝากให้ กกต.พิจารณาว่า การยกร่างกฎหมายลูกควรดูที่เนื้อหาของตัวรัฐธรรมนูญ มากกว่าพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524.