วานนี้ (15ส.ค.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่ชาติ (สนช.) ได้เดินทางเข้าพบ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขบทเฉพาะกาล ในร่างรธน.ให้เป็นไปตามที่คำถามพ่วงได้ผ่านประชามติจากประชาชนแล้ว
ต่อมานายมีชัย ให้สัมภาษณ์ว่า กรธ.อยากให้สนช. ส่งผู้แทนมาร่วมหารือกับกรธ.ว่า ความหมายของคำถามพ่วงกว้างไกลแค่ไหน อย่างไร ซึ่ง สนช.จะ
กลับไปประชุม และคัดตัวแทนส่งมาร่วมประชุมต่อ กรธ. ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ ในระหว่างนี้ กรธ.ก็จะปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลที่ทางฝ่ายเลขา กรธ.ไปได้ข้อมูลมาเก็บ
จะทำไปพลางๆ ก่อน เมื่อได้ข้อมูลที่ สนช.ชี้แจงมา เราก็จะนำมาปรับแก้ต่อไป
เมื่อถามว่า มาตรา 272 เรื่องขอยกเว้นเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก หลังจากเลือกตั้งนายกฯ ในสภาฯ ตามบัญชีรายชื่อรอบแรกไม่สำเร็จ จะมีการแก้ไขหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าเวลานี้กำลังรอฟังสนช.อยู่ว่า คิดเรื่องนี้อย่างไร เพราะถ้าให้เราดูอย่างเดียว เราก็คิดว่าต้องทำ 2 หน (หนแรก คือ ส.ส.จำนวน 250 ยื่นเรื่องให้สภาฯขอยกเว้นรายชื่อตามบัญชีพรรคการเมือง หนสอง คือ รัฐสภามีมติ 2 ใน 3 หรือจำนวน 500 คน จาก 700 คน ลงมติยกเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชีพรรคการเมือง) จะได้เป็นเรื่องให้ ส.ส.ได้ตัดสินใจ และเวลานี้ยังไม่ได้มีใครเสนอว่า ต้องทำหนเดียว
เมื่อถามว่าเวลานี้ยังยืนยันหรือไม่ว่า คนที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี คือ ส.ส. นายมีชัย กล่าวว่า ในความคิดของกรธ. ที่ร่างรธน.มา ยังเป็นเช่นนั้น แต่ต้องฟังคำอธิบายจาก สนช. ว่าไปพูดกันประชาชนอย่างไร เมื่อถามย้ำว่าสนช.ไปอธิบายกับประชาชนว่า ส.ส.ยังเป็นผู้เลือกนายกฯ นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดี เพราะตรงกันกับ กรธ. จะได้ไม่เกิดปัญหา
เมื่อถามว่า ก่อนการจะปรับแก้ร่างรธน. จะต้องรับฟังฝ่ายไหนบ้าง นายมีชัย กล่าวว่า ก็ต้องฟังจาก สนช. เพราะเป็นเจ้าของเรื่อง ถ้าจะให้ฟังคนอื่นคง
ไม่ถูก เพราะเขาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
เมื่อถามว่า ตัวคำถามพ่วงได้กำหนดกรอบเอาไว้ 5 ปี แต่ไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำการโหวตนายกฯ ได้กี่ครั้ง เช่น หากมีการเลือกตั้ง 3 ครั้ง จะต้องเลือกนายกฯ ตามกรอบ 5 ปี ทั้ง 3 ครั้งหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าเขียนไว้ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ตนก็ยังสงสัย เพราะที่อื่นจะเขียนว่า“เริ่มแรกกี่ปี”แต่ในคำถามพ่วง เขียนว่า “ในวาระเริ่มแรก เมื่อมีการเลือก ส.ส.แล้ว ซึ่งจะมีครั้งเดียวที่ยกเว้น” หมายความว่า เมื่อคุณเลือกกันไม่ได้ ก็มาขอ ซึ่งมันอาจเลือกกันไม่ได้ คนที่มาร่วมเลือกมันร่วมเลือกไปได้ 5 ปี แต่ที่จะมาขอยกเว้นรายชื่อนายกฯนอกบัญชี ที่พรรคการเมืองเสนอ อาจจะเฉพาะสภาผู้เทนราษฎร ชุดแรกเท่านั้น
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะจดทะเบียนตั้งพรรคนั้น จะสามารถเกิดได้ง่ายหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ไม่ทราบเพราะในรธน. ยังไม่ได้พูดถึงการตั้งพรรคการเมือง ต้องไปดูกฎหมายพรรคการเมือง ที่เวลานี้มีข้อเสนอเข้ามามาก เช่น เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นของสมาชิกพรรค พรรคควรจะมีค่าบำรุงพรรค ตรงนี้บรรดาพรรคการเมือง ต้องช่วยกันคิดว่าตรงนี้ดีหรือไม่ดี อย่างไร
เมื่อถามต่อว่า รูปแบบในการกาเบอร์เดียว จะทำให้พรรคเล็กลำบากหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า พรรคนายไพบูลย์ อาจจะเป็นพรรคใหญ่ก็ได้ ทำไมไปคิดว่าเขาเป็นพรรคเล็ก เมื่อถามว่า ในช่วงนี้ สามารถจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ต้องไปดูที่คำสั่งคสช. ว่าอนุญาตหรือไม่ แต่ทางที่ดี ควรรอกฎหมายพรรคการเมืองก่อน
ต่อมานายมีชัย ให้สัมภาษณ์ว่า กรธ.อยากให้สนช. ส่งผู้แทนมาร่วมหารือกับกรธ.ว่า ความหมายของคำถามพ่วงกว้างไกลแค่ไหน อย่างไร ซึ่ง สนช.จะ
กลับไปประชุม และคัดตัวแทนส่งมาร่วมประชุมต่อ กรธ. ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ ในระหว่างนี้ กรธ.ก็จะปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลที่ทางฝ่ายเลขา กรธ.ไปได้ข้อมูลมาเก็บ
จะทำไปพลางๆ ก่อน เมื่อได้ข้อมูลที่ สนช.ชี้แจงมา เราก็จะนำมาปรับแก้ต่อไป
เมื่อถามว่า มาตรา 272 เรื่องขอยกเว้นเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก หลังจากเลือกตั้งนายกฯ ในสภาฯ ตามบัญชีรายชื่อรอบแรกไม่สำเร็จ จะมีการแก้ไขหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าเวลานี้กำลังรอฟังสนช.อยู่ว่า คิดเรื่องนี้อย่างไร เพราะถ้าให้เราดูอย่างเดียว เราก็คิดว่าต้องทำ 2 หน (หนแรก คือ ส.ส.จำนวน 250 ยื่นเรื่องให้สภาฯขอยกเว้นรายชื่อตามบัญชีพรรคการเมือง หนสอง คือ รัฐสภามีมติ 2 ใน 3 หรือจำนวน 500 คน จาก 700 คน ลงมติยกเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชีพรรคการเมือง) จะได้เป็นเรื่องให้ ส.ส.ได้ตัดสินใจ และเวลานี้ยังไม่ได้มีใครเสนอว่า ต้องทำหนเดียว
เมื่อถามว่าเวลานี้ยังยืนยันหรือไม่ว่า คนที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี คือ ส.ส. นายมีชัย กล่าวว่า ในความคิดของกรธ. ที่ร่างรธน.มา ยังเป็นเช่นนั้น แต่ต้องฟังคำอธิบายจาก สนช. ว่าไปพูดกันประชาชนอย่างไร เมื่อถามย้ำว่าสนช.ไปอธิบายกับประชาชนว่า ส.ส.ยังเป็นผู้เลือกนายกฯ นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดี เพราะตรงกันกับ กรธ. จะได้ไม่เกิดปัญหา
เมื่อถามว่า ก่อนการจะปรับแก้ร่างรธน. จะต้องรับฟังฝ่ายไหนบ้าง นายมีชัย กล่าวว่า ก็ต้องฟังจาก สนช. เพราะเป็นเจ้าของเรื่อง ถ้าจะให้ฟังคนอื่นคง
ไม่ถูก เพราะเขาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
เมื่อถามว่า ตัวคำถามพ่วงได้กำหนดกรอบเอาไว้ 5 ปี แต่ไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำการโหวตนายกฯ ได้กี่ครั้ง เช่น หากมีการเลือกตั้ง 3 ครั้ง จะต้องเลือกนายกฯ ตามกรอบ 5 ปี ทั้ง 3 ครั้งหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าเขียนไว้ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ตนก็ยังสงสัย เพราะที่อื่นจะเขียนว่า“เริ่มแรกกี่ปี”แต่ในคำถามพ่วง เขียนว่า “ในวาระเริ่มแรก เมื่อมีการเลือก ส.ส.แล้ว ซึ่งจะมีครั้งเดียวที่ยกเว้น” หมายความว่า เมื่อคุณเลือกกันไม่ได้ ก็มาขอ ซึ่งมันอาจเลือกกันไม่ได้ คนที่มาร่วมเลือกมันร่วมเลือกไปได้ 5 ปี แต่ที่จะมาขอยกเว้นรายชื่อนายกฯนอกบัญชี ที่พรรคการเมืองเสนอ อาจจะเฉพาะสภาผู้เทนราษฎร ชุดแรกเท่านั้น
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะจดทะเบียนตั้งพรรคนั้น จะสามารถเกิดได้ง่ายหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ไม่ทราบเพราะในรธน. ยังไม่ได้พูดถึงการตั้งพรรคการเมือง ต้องไปดูกฎหมายพรรคการเมือง ที่เวลานี้มีข้อเสนอเข้ามามาก เช่น เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นของสมาชิกพรรค พรรคควรจะมีค่าบำรุงพรรค ตรงนี้บรรดาพรรคการเมือง ต้องช่วยกันคิดว่าตรงนี้ดีหรือไม่ดี อย่างไร
เมื่อถามต่อว่า รูปแบบในการกาเบอร์เดียว จะทำให้พรรคเล็กลำบากหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า พรรคนายไพบูลย์ อาจจะเป็นพรรคใหญ่ก็ได้ ทำไมไปคิดว่าเขาเป็นพรรคเล็ก เมื่อถามว่า ในช่วงนี้ สามารถจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ต้องไปดูที่คำสั่งคสช. ว่าอนุญาตหรือไม่ แต่ทางที่ดี ควรรอกฎหมายพรรคการเมืองก่อน