ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ภายหลังจากการลงประชามติพร้อมคำถามพ่วง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าวิวัฒนาการลงประชามติครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากสนใจในเรื่องการฝักใฝ่เชื่อฝ่ายขั้วอำนาจใด โดยเฉพาะการประกาศการขยับตัวในโค้งสุดท้ายของ ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ฝ่ายตรงข้ามทักษิณตัดสินใจง่ายขึ้นในการรวมตัวกันในการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญพร้อมคำถามพ่วง
และท้ายสุดของโค้งสุดท้ายคือการประกาศรับรัฐธรรมนูญของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่นอกจากจะทำให้ทหารเป็นเอกภาพแล้ว ฝ่ายที่เดิมไม่รับรัฐธรรมนูญเพราะอยากให้ทหารอยู่ในอำนาจต่อก็เปลี่ยนใจอย่างเป็นเอกภาพรับรัฐธรรมนูญพร้อมคำถามพ่วงมากขึ้น
ยังไม่นับ มวลชนของ ส.ส. เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยเลือกไปลงรับประชามติพร้อมคำถามพ่วง เพราะ "อยากมีการเลือกตั้ง" เพื่อสร้างดุลอำนาจใหม่ที่เสียเปรียบทหารน้อยกว่าปัจจุบัน และรวมถึงการไม่ระดมสรรพกำลังอย่างเต็มที่ของพรรคเพื่อไทยเพราะยังไม่ใช่ฤดูกาลเลือกตั้ง
จากสถานการณ์"อำนาจทหาร"ปกครองประเทศที่เข้มแข็งแต่ถูกแรงบีบจากต่างชาติ กำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ "อำนาจผสม"ที่อาจอ่อนแอลงแต่มีความชอบธรรมมากขึ้นเพราะมาจากประชามติของประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ต้องจับตาต่อไปว่า "สมการอำนาจผสม" ที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้นเป็นอย่างไร?
โดยเฉพาะผลประชามติในคำถามพ่วง คือใน 5 ปีแรกนั้นจะต้องมีจำนวน "ครึ่งหนึ่งของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) รวมกัน" จึงจะเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งเมื่อ ส.ส.มีอยู่ 500 คน ส.ว.มีอยู่ 250 คน รวมกันได้ 750 คน นายกรัฐมนตรีจะต้องได้เสียงครึ่งหนึ่งจาก 2 สภา จะต้องมีเสียงที่ยกมือให้อย่างน้อย 375 คนขึ้นไป
และเนื่องจากรัฐบาลมีวาระคราวละ 4 ปี แต่การให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีได้ถึง 5 ปี แปลว่า ส.ว.ที่สิทธิ์จะยังมีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรีเหลื่อมเวลาออกไปหลังรัฐบาลชุดแรกหมดวาระลงไปอีก 1 ปีได้ด้วย ดังนั้น"สมการอำนาจผสม" ที่จะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยเสียง ส.ว. นั้นจะทำให้ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในโคงสร้างนี้อย่างน้อย 2 สมัยหน้า หรือมีอายุวาระสูงสุดได้ถึง 8 ปี
ภายใต้โครงสร้างดังกล่าว ปัจจุบันแบ่งออก 3 ขั้วอำนาจสำคัญที่จะเลือกนายกรัฐมนตรี
1. พรรคทหาร ซึ่งมี ส.ว. 250 คน จากจำนวนสมาชิก ส.ส.และ ส.ว. 750 ที่นั่ง หรือประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ส. และ ส.ว. เป็นก๊กที่ 1
2. พรรคเพื่อไทย ซึ่งสมมุติคำนวณจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 แล้วใช้การเลือกตั้งระบบใหม่ ก็อาจจะได้ ส.ส. 243 คน คิดเป็นประมาณเกือบ 1 ใน 3 เป็นก๊กที่ 2
3. พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสมมุติคำนวณจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 แล้วใช้การเลือกตั้งระบบใหม่ ก็อาจจะได้ ส.ส. 175 คน เป็นก๊กที่ 3
ส่วนพรรคขนาดกลางและขนาดย่อมรวมกันประมาณ 82 คน แม้จะเรียกได้ว่าเป็นก๊กที่ 4 แต่ก็จะเป็นเพียงเสริมเติมเต็มเข้าร่วมกับทุกขั้วอำนาจที่จับมือจัดตั้งรัฐบาลได้เท่านั้น ไม่ใช่ก๊กชี้ขาดเพราะรวมตัวกับก๊กใดก๊กหนึ่งก็ยังเสียงไม่พอครึ่งหนึ่งของ 2 สภาที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีอยู่ดี
ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับ 3 ก๊กสำคัญ คือ ส.ว.(พรรคทหาร) ประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ว่าใครจะจับมือกับใครได้ก่อนในการกำหนดนายกรัฐมนตรีสมัยหน้า
1. ถ้าพรรคทหารอาศัย ส.ว. 250 คน จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ 175 คน ก็จะได้จำนวน 425 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่ง ก็จะรวมกันเลือกนายกรัฐมนตรีได้ทันที ซึ่งเป็นไปได้มากที่สุดเพราะเป็น "หุ้นส่วนอำนาจเดิม"
2. ถ้าแต่พรรคเพื่อไทย 243 คน จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ 175 คน ก็จะได้จำนวน 418 คน จะมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่ง ก็จะเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่าพรรคเพื่อไทยได้ประกาศแล้วว่าพร้อมร่วมมือกับทุกพรรคการเมืองรวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อหยุดอำนาจจากทหาร
3. ถ้าพรรคทหารอาศัย ส.ว. 250 คน จับมือกับพรรคเพื่อไทย 243 คน ก็จะได้จำนวน 493 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่ง ก็จะรวมกันเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน (แม้จะเกิดขึ้นได้ยากสุดตามภาพลักษณ์ที่เห็นเพราะฝ่ายหนึ่งรัฐประหารมาอีกฝ่ายถูกรัฐประหาร)
จากตัวเลขข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่มีก๊กไหนสามารถสถานปนานายกรัฐมนตรีได้ด้วยก๊กของตัวเองเพียงลำพัง แต่จะต้องไปผสมรวมกับอีกก๊กหนึ่ง เป็น 2 ใน 3 ก๊กหลักเป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้
ในบรรดาทางเลือกข้างต้นโอกาสที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ "หุ้นส่วนอำนาจเดิม" ที่ทหารจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล เพราะไม่เสียความรู้สึกต่อฐานเสียงมวลชนเดิม เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่น
เหลือเพียงแต่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ว่าให้พรรคทหารร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์เลือกนายกรัฐมนตรีจะมาจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือจะเลือกนายกรัฐมนตรีคนอื่นตามที่พรรคทหารต้องการ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าทหารจะยอมรับนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ไหม? หรือพรรคประชาธิปัตย์จะยอมรับนายกรัฐมนตรีจาก ส.ว.พรรคทหารได้หรือไม่?
ถ้าพรรคทหารอยากได้ "นายกรัฐมนตรีคนนอก"ตามที่พรรคทหารต้องการ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบันจะยอมรับได้หรือไม่ ที่พรรคประชาธิปัตย์จะไปสนับสนุนคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี?
ในขณะที่ทหารเคยอุ้มพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลในอดีตนั้น เมื่อในขณะนี้มี ส.ว. ถึง 1 ใน 3 ของรัฐสภาเป็นของตัวเองแล้ว จะยอมรับการอยู่ภายใต้อำนาจนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่?
เพราะต้องไม่ลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่น่าจะใช่พรรคชนะเลือกตั้งอันดับ 1 อยู่แล้ว ดังนั้นต่อให้สมมุติว่าพรรคประชาธิปัตย์จับมือกับพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมืองที่มีโอกาสชนะเลือกตั้งอันดับ 1 ก็ไม่น่าจะยอมให้พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้เช่นเดียวกัน ถึงเวลานั้นพรรคประชาธิปัตย์จะเลือกสนับสนุนนายกรัฐมนตรีตามความต้องการของทหาร หรือตามความต้องการของพรรคเพื่อไทย?
ถ้าพรรคเพื่อไทยจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ได้ ก็คงอาศัยเหตุผลในการต่อต้านอำนาจจากทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อเชิดชูประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ทางเลือกนี้ทั้ง 2 พรรคจะเสียมวลชนของตัวเองไป แต่พรรคประชาธิปัตย์จะเสียหายมากกว่าเมื่อเทียบกับพรรคเพื่อไทย เพราะที่ผ่านมาผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์นั้นสนับสนุนทหารด้วยจำนวนมาก (ดูจากผลประชามติครั้งนี้ที่สวนทางกับพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เอง)
และด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์จึงยังไม่ตอบรับข้อเสนอของพรรคเพื่อไทยที่จะร่วมมือกับทุกพรรคการเมืองรวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาลในขณะนี้ เพราะกลัวว่าจะเสียฐานมวลชนของตัวเองก่อนการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธตอนนี้เช่นกันเพื่อรักษาอำนาจต่อรองกับทหารหลังเลือกตั้งแล้ว
แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยอมเปลี่ยนแปลงตัวหัวหน้าพรรค ที่พรรคทหารยินดีที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ด้วยก็จะลงตัวที่สุดในฐานะ"หุ้นส่วนอำนาจเดิม" เพราะเท่ากับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากพรรคประชาธิปัตย์ และกองทัพรับได้อีกด้วย
เพราะคำถามตามมาคือ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ยังจะได้เสียงตามทฤษฎีถึง 175 เสียง อยู่จริงหรือ?
คำตอบคือ การลงประชามตินั้นน่าจะเป็นคนละเรื่องกับการเลือกตั้งทั่วไป เพราะถ้ามีการเลือกตั้งทั่วไปคนที่กลัวหรือเกลียดพรรคเพื่อไทยก็จะหันไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์เป็นยุทธศาสตร์อยู่ดี (แม้อาจไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์เท่าไหร่นักก็ตาม)
แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงในพรรคประชาธิปัตย์ไม่เกิดขึ้น ก็อาจจะเกิดพรรคการเมืองเกิดขึ้นมาใหม่เพื่อแบ่งแยกเสียงลดทอนฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ให้อ่อนแอลงอยู่ดี และทำให้พรรคเพื่อไทยแข็งแกร่งขึ้นในที่สุด
ด้วยความไม่ลงตัวระหว่างพรรคทหาร กับ พรรคประชาธิปัตย์นี่เอง สัญญาณจึงได้เริ่มต้นส่อเค้าลางขึ้นมาแล้วเมื่อปรากฏเป็นตัวอย่างที่ สนช.ไพบูลย์ นิติตะวัน ได้ประกาศว่าจะตั้งพรรคการเมืองและจะเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนจะได้กระแสตอบรับดีอย่างมาก แม้แต่ในการสัมภาษณ์ในช่องฟ้าวันใหม่ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม
นั่นหมายความว่าแม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่สมัครพรรคการเมืองไหนเลย แต่พรรคการเมืองก็สามารถประกาศนโยบายเสนอนายกรัฐมนตรีคนนอกเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ และถ้าพรรคการเมืองที่ชูพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมีกระแสความนิยมแรงอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น?
คำตอบคือ "จะไปลดฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์"ให้ลดน้อยลงอย่างแน่นอน และทำให้พรรคทหารจะไม่มีแค่เพียง ส.ว. 250 คนอีกต่อไป แต่จะมีพรรคทหารเพิ่มจำนวนในสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย
และถ้าเพียงแค่พรรคทหารที่อาจเกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งจะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้เสียงชิงมาจากพรรคประชาธิปัตย์เพียงแค่ 45 คนขึ้นไป จะส่งผลต่อสมการอำนาจผสมทางการเมืองทันที
เพราะถ้าพรรคทหารมี ส.ว.ในมือ 250 คน แล้วสมมุติว่าผลการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ที่ชูพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีมีมากกว่า 45 คนขึ้นไปด้วย ก็จะรวมกันได้ 295 คน พรรคทหารจึงต้องการอีกเพียงแค่ 80 ที่นั่งเท่านั้นก็จะได้จำนวน ส.ว. และ ส.ส. มากกว่า 375 คนขึ้นไป ความสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์จะลดลงทันที พรรคทหารจะมีทางเลือกมากกว่าการจับมือกับพรรคใดพรรคหนึ่ง ระหว่างพรรคเพื่อไทย หรือ พรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะมีทางเลือกที่จับมือกับพรรคขนาดกลางที่น่าจะรวมกันมากกว่า 80 คนเสนอนายกรัฐมนตรีได้อีกทางเลือกหนึ่งด้วย
มิพักต้องคิดว่าหากมีกระแสชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการตอบรับจากประชาชนแรงกว่าที่คิด หรือ หากพรรคขนาดกลางอื่นๆต่างพากันชู พล.อ.ประยุทธ์ ไปตามกระแสไปด้วย หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปรับตัว ทั้งอำนาจต่อรองและความสำคัญต่อสมการอำนาจผสมทางการเมืองก็อาจจะลดลงไป
แต่ถ้าทหารจะเล่นเกมนี้จริงๆแล้ว เราก็จะต้องเห็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่าไม่ต้องอาศัยเสียงครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับ ส.ว.ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนนอกในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้ในครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าฐานเสียงของทหาร และประชาธิปัตย์นั้นทับซ้อนกันอยู่ ถ้ามีพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนทหารเกิดขึ้นมาก็มีแนวโน้มจะตัดเสียงกันเองในฝ่ายต้านพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคเพื่อไทยจะได้เสียงมากถึง 375 ที่นั่งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว
และในความจริงอีกด้านหนึ่ง เพียงแค่พรรคเพื่อไทยได้เสียงเพียง"ครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร" ต่อให้พรรคประชาธิปัตย์จับมือกับ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยก็จะสามารถลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรได้อยู่ดี ซึ่งแม้ว่า ส.ว.จะจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันเลือกนายกรัฐมนตรีคนเดิมต่อไปหลังจากนั้นได้ แต่ภาพลักษณ์และเสถียรภาพของรัฐบาลก็คงจะเสียหายอย่างมากเช่นกัน
นอกจากเสียงครึ่งหนึ่งของพรรคเพื่อไทย ในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นตัวแปรที่สำคัญแล้ว การกำหนด "หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่" ก็ยังอาจเป็นปัจจัยพลิกผันที่ทำให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ได้มากขึ้น และแม้กระทั่งจับมือกับ ส.ว.พรรคทหารได้มากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้เลย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การจับมือของพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ว.พรรคทหารยังไม่ลงตัว
แต่ก็อย่าเพิ่งมองข้ามการประนีประนอมในอำนาจของรัฐบาลแห่งชาติที่จับมือกันระหว่าง ส.ว.พรรคทหาร พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ที่แม้จะเป็นเรื่องยาก ถึงยากที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะอาจเป็นทางออกสุดท้าย หากต้องการความลงตัวระหว่างเสียงข้างมากของ 2 สภาเลือกนายกรัฐมนตรีที่ทุกฝ่ายยอมรับ เสียงข้างมากใน ส.ส.เพื่อตรากฎหมายและค้ำยันการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเสียง ส.ว.เพื่อผ่านกฎหมายของรัฐบาล โดยเฉพาะหากพรรคเพื่อไทยมีเสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร
อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของความชอบธรรมในสมการอำนาจทั้งหมดนับจากนี้ ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายใดจะสามารถครองหัวใจประชาชนได้จนถึงวันเลือกตั้ง?
ถ้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้งรอบด้าน สะสางปัญหาสำคัญของชาติได้สำเร็จจนครองใจประชาชนได้มากเท่าใด ความชอบธรรมการกำหนดนายกรัฐมนตรีจาก ส.ว.พรรคทหารก็จะมากขึ้นเท่านั้น ถึงเวลานั้นพรรคการเมืองเกิดใหม่เพื่อมาสนับสนุนทหารก็จะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้นไปด้วย
โดยเฉพาะกรณีธรรมกาย, กรณีการสะสางปัญหาผู้ถูกเสนอชื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราช, กรณีการใช้อำนาจเพื่อแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียมที่กำลังมีปัญหาและอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช., การเปิดประมูลแข่งขันการผลิตแหล่งปิโตรเลียมบงกช และเอราวัณอย่างเสรีและเป็นธรรม, กรณีการใช้อำนาจโค้งสุดท้ายให้หลักประกันอำนาจต่อเนื่องของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และการปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงให้เป็นรูปธรรม, การกระตุ้นฟื้นฟูทางเศรษฐกิจฯลฯ เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เห็นเป็นประจักษ์จึงจะครองใจประชาชนได้
แต่ถ้าเวลานับจากนี้จนถึงก่อนการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถปฏิรูปบ้านเมืองจนครองใจประชาชนก่อนการเลือกตั้งได้ หรือไม่สามารถสะสางปัญหาสำคัญให้สำเร็จ ทำไปแบบลูบหน้าปะจมูก หรือสร้างความผิดหวังให้กับประชาชนเท่าใด ความชอบธรรมของพรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมืองที่ต่อต้านการรัฐประหารก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น และทำให้ความชอบธรรมของนายกรัฐมนตรีคนนอกจากพรรคทหารไม่ว่าจะร่วมมือกับพรรคการเมืองใดก็ตามจะลดน้อยลง ไม่เว้นแต่การที่ ส.ว.พรรคทหาร เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนนอก หากไม่ใช่คนที่ประชาชนต้องการ ก็จะถูกต่อต้านได้เช่นกัน
ในขณะเดียวกันถ้าพรรคประชาธิปัตย์ปฏิรูปภายในพรรคจนเป็นความหวังต่อประชาชนในการกำหนดอนาคตของประเทศไทย ก็มีโอกาสจะเป็นหนึ่งในสมการอำนาจที่สำคัญต่อไป และรวมถึงอาจมีโอกาสทำให้ ส.ว.พรรคทหารต้องกลับมายอมรับเสนอนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปได้
แต่ถ้าไม่ปฏิรูปนอกจากพรรคประชาธิปัตย์จะคะแนนเสียงลดลงแล้ว ยังอาจทำให้แนวร่วมฝ่ายตรงข้ามพรรคเพื่อไทยเสียงแตก ซึ่งจะเป็นผลทำให้สมการอำนาจเปลี่ยนไปเป็นความได้เปรียบของพรรคเพื่อไทยมากขึ้นได้ด้วย
ส่วนพรรคเพื่อไทยหากยังคงยึดเรื่องการช่วยเหลือนิรโทษกรรมล้างผิดให้ทักษิณและครอบครัวมาเป็นเรื่องหลักในการเข้าสู่อำนาจต่อไป นอกจากจะยากในการเข้าสู่สมการทางการเมืองเพราะจับมือกับก๊กอื่นไม่ได้แล้ว ต่อให้เข้าสู่อำนาจได้ก็ต้องถูกโค่นล้มอีกอยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เหมือนบทเรียนที่ไม่เคยจำตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา
และเมื่อทุกขั้วอำนาจต้องเร่งครองใจประชาชนให้มากเป็นสำคัญ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายควรจะหันกลับมาฟังเสียงเรียกร้องอันแท้จริงของประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปประเทศไทย สะสางแก้ไขปัญหาในอดีตและปัจจุบัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนต่อไป
และคำถามที่ท้าทายที่สุดคืออำนาจผสมกันระหว่างทหารกับนักการเมืองมารวมกันนั้น จะสามารถปฏิรูปตรงตามเจนารมณ์ของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ภายหลังจากการลงประชามติพร้อมคำถามพ่วง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าวิวัฒนาการลงประชามติครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากสนใจในเรื่องการฝักใฝ่เชื่อฝ่ายขั้วอำนาจใด โดยเฉพาะการประกาศการขยับตัวในโค้งสุดท้ายของ ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ฝ่ายตรงข้ามทักษิณตัดสินใจง่ายขึ้นในการรวมตัวกันในการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญพร้อมคำถามพ่วง
และท้ายสุดของโค้งสุดท้ายคือการประกาศรับรัฐธรรมนูญของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่นอกจากจะทำให้ทหารเป็นเอกภาพแล้ว ฝ่ายที่เดิมไม่รับรัฐธรรมนูญเพราะอยากให้ทหารอยู่ในอำนาจต่อก็เปลี่ยนใจอย่างเป็นเอกภาพรับรัฐธรรมนูญพร้อมคำถามพ่วงมากขึ้น
ยังไม่นับ มวลชนของ ส.ส. เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยเลือกไปลงรับประชามติพร้อมคำถามพ่วง เพราะ "อยากมีการเลือกตั้ง" เพื่อสร้างดุลอำนาจใหม่ที่เสียเปรียบทหารน้อยกว่าปัจจุบัน และรวมถึงการไม่ระดมสรรพกำลังอย่างเต็มที่ของพรรคเพื่อไทยเพราะยังไม่ใช่ฤดูกาลเลือกตั้ง
จากสถานการณ์"อำนาจทหาร"ปกครองประเทศที่เข้มแข็งแต่ถูกแรงบีบจากต่างชาติ กำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ "อำนาจผสม"ที่อาจอ่อนแอลงแต่มีความชอบธรรมมากขึ้นเพราะมาจากประชามติของประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ต้องจับตาต่อไปว่า "สมการอำนาจผสม" ที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้นเป็นอย่างไร?
โดยเฉพาะผลประชามติในคำถามพ่วง คือใน 5 ปีแรกนั้นจะต้องมีจำนวน "ครึ่งหนึ่งของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) รวมกัน" จึงจะเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งเมื่อ ส.ส.มีอยู่ 500 คน ส.ว.มีอยู่ 250 คน รวมกันได้ 750 คน นายกรัฐมนตรีจะต้องได้เสียงครึ่งหนึ่งจาก 2 สภา จะต้องมีเสียงที่ยกมือให้อย่างน้อย 375 คนขึ้นไป
และเนื่องจากรัฐบาลมีวาระคราวละ 4 ปี แต่การให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีได้ถึง 5 ปี แปลว่า ส.ว.ที่สิทธิ์จะยังมีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรีเหลื่อมเวลาออกไปหลังรัฐบาลชุดแรกหมดวาระลงไปอีก 1 ปีได้ด้วย ดังนั้น"สมการอำนาจผสม" ที่จะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยเสียง ส.ว. นั้นจะทำให้ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในโคงสร้างนี้อย่างน้อย 2 สมัยหน้า หรือมีอายุวาระสูงสุดได้ถึง 8 ปี
ภายใต้โครงสร้างดังกล่าว ปัจจุบันแบ่งออก 3 ขั้วอำนาจสำคัญที่จะเลือกนายกรัฐมนตรี
1. พรรคทหาร ซึ่งมี ส.ว. 250 คน จากจำนวนสมาชิก ส.ส.และ ส.ว. 750 ที่นั่ง หรือประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ส. และ ส.ว. เป็นก๊กที่ 1
2. พรรคเพื่อไทย ซึ่งสมมุติคำนวณจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 แล้วใช้การเลือกตั้งระบบใหม่ ก็อาจจะได้ ส.ส. 243 คน คิดเป็นประมาณเกือบ 1 ใน 3 เป็นก๊กที่ 2
3. พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสมมุติคำนวณจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 แล้วใช้การเลือกตั้งระบบใหม่ ก็อาจจะได้ ส.ส. 175 คน เป็นก๊กที่ 3
ส่วนพรรคขนาดกลางและขนาดย่อมรวมกันประมาณ 82 คน แม้จะเรียกได้ว่าเป็นก๊กที่ 4 แต่ก็จะเป็นเพียงเสริมเติมเต็มเข้าร่วมกับทุกขั้วอำนาจที่จับมือจัดตั้งรัฐบาลได้เท่านั้น ไม่ใช่ก๊กชี้ขาดเพราะรวมตัวกับก๊กใดก๊กหนึ่งก็ยังเสียงไม่พอครึ่งหนึ่งของ 2 สภาที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีอยู่ดี
ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับ 3 ก๊กสำคัญ คือ ส.ว.(พรรคทหาร) ประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ว่าใครจะจับมือกับใครได้ก่อนในการกำหนดนายกรัฐมนตรีสมัยหน้า
1. ถ้าพรรคทหารอาศัย ส.ว. 250 คน จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ 175 คน ก็จะได้จำนวน 425 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่ง ก็จะรวมกันเลือกนายกรัฐมนตรีได้ทันที ซึ่งเป็นไปได้มากที่สุดเพราะเป็น "หุ้นส่วนอำนาจเดิม"
2. ถ้าแต่พรรคเพื่อไทย 243 คน จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ 175 คน ก็จะได้จำนวน 418 คน จะมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่ง ก็จะเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่าพรรคเพื่อไทยได้ประกาศแล้วว่าพร้อมร่วมมือกับทุกพรรคการเมืองรวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อหยุดอำนาจจากทหาร
3. ถ้าพรรคทหารอาศัย ส.ว. 250 คน จับมือกับพรรคเพื่อไทย 243 คน ก็จะได้จำนวน 493 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่ง ก็จะรวมกันเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน (แม้จะเกิดขึ้นได้ยากสุดตามภาพลักษณ์ที่เห็นเพราะฝ่ายหนึ่งรัฐประหารมาอีกฝ่ายถูกรัฐประหาร)
จากตัวเลขข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่มีก๊กไหนสามารถสถานปนานายกรัฐมนตรีได้ด้วยก๊กของตัวเองเพียงลำพัง แต่จะต้องไปผสมรวมกับอีกก๊กหนึ่ง เป็น 2 ใน 3 ก๊กหลักเป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้
ในบรรดาทางเลือกข้างต้นโอกาสที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ "หุ้นส่วนอำนาจเดิม" ที่ทหารจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล เพราะไม่เสียความรู้สึกต่อฐานเสียงมวลชนเดิม เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่น
เหลือเพียงแต่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ว่าให้พรรคทหารร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์เลือกนายกรัฐมนตรีจะมาจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือจะเลือกนายกรัฐมนตรีคนอื่นตามที่พรรคทหารต้องการ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าทหารจะยอมรับนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ไหม? หรือพรรคประชาธิปัตย์จะยอมรับนายกรัฐมนตรีจาก ส.ว.พรรคทหารได้หรือไม่?
ถ้าพรรคทหารอยากได้ "นายกรัฐมนตรีคนนอก"ตามที่พรรคทหารต้องการ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบันจะยอมรับได้หรือไม่ ที่พรรคประชาธิปัตย์จะไปสนับสนุนคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี?
ในขณะที่ทหารเคยอุ้มพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลในอดีตนั้น เมื่อในขณะนี้มี ส.ว. ถึง 1 ใน 3 ของรัฐสภาเป็นของตัวเองแล้ว จะยอมรับการอยู่ภายใต้อำนาจนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่?
เพราะต้องไม่ลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่น่าจะใช่พรรคชนะเลือกตั้งอันดับ 1 อยู่แล้ว ดังนั้นต่อให้สมมุติว่าพรรคประชาธิปัตย์จับมือกับพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมืองที่มีโอกาสชนะเลือกตั้งอันดับ 1 ก็ไม่น่าจะยอมให้พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้เช่นเดียวกัน ถึงเวลานั้นพรรคประชาธิปัตย์จะเลือกสนับสนุนนายกรัฐมนตรีตามความต้องการของทหาร หรือตามความต้องการของพรรคเพื่อไทย?
ถ้าพรรคเพื่อไทยจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ได้ ก็คงอาศัยเหตุผลในการต่อต้านอำนาจจากทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อเชิดชูประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ทางเลือกนี้ทั้ง 2 พรรคจะเสียมวลชนของตัวเองไป แต่พรรคประชาธิปัตย์จะเสียหายมากกว่าเมื่อเทียบกับพรรคเพื่อไทย เพราะที่ผ่านมาผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์นั้นสนับสนุนทหารด้วยจำนวนมาก (ดูจากผลประชามติครั้งนี้ที่สวนทางกับพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เอง)
และด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์จึงยังไม่ตอบรับข้อเสนอของพรรคเพื่อไทยที่จะร่วมมือกับทุกพรรคการเมืองรวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาลในขณะนี้ เพราะกลัวว่าจะเสียฐานมวลชนของตัวเองก่อนการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธตอนนี้เช่นกันเพื่อรักษาอำนาจต่อรองกับทหารหลังเลือกตั้งแล้ว
แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยอมเปลี่ยนแปลงตัวหัวหน้าพรรค ที่พรรคทหารยินดีที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ด้วยก็จะลงตัวที่สุดในฐานะ"หุ้นส่วนอำนาจเดิม" เพราะเท่ากับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากพรรคประชาธิปัตย์ และกองทัพรับได้อีกด้วย
เพราะคำถามตามมาคือ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ยังจะได้เสียงตามทฤษฎีถึง 175 เสียง อยู่จริงหรือ?
คำตอบคือ การลงประชามตินั้นน่าจะเป็นคนละเรื่องกับการเลือกตั้งทั่วไป เพราะถ้ามีการเลือกตั้งทั่วไปคนที่กลัวหรือเกลียดพรรคเพื่อไทยก็จะหันไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์เป็นยุทธศาสตร์อยู่ดี (แม้อาจไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์เท่าไหร่นักก็ตาม)
แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงในพรรคประชาธิปัตย์ไม่เกิดขึ้น ก็อาจจะเกิดพรรคการเมืองเกิดขึ้นมาใหม่เพื่อแบ่งแยกเสียงลดทอนฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ให้อ่อนแอลงอยู่ดี และทำให้พรรคเพื่อไทยแข็งแกร่งขึ้นในที่สุด
ด้วยความไม่ลงตัวระหว่างพรรคทหาร กับ พรรคประชาธิปัตย์นี่เอง สัญญาณจึงได้เริ่มต้นส่อเค้าลางขึ้นมาแล้วเมื่อปรากฏเป็นตัวอย่างที่ สนช.ไพบูลย์ นิติตะวัน ได้ประกาศว่าจะตั้งพรรคการเมืองและจะเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนจะได้กระแสตอบรับดีอย่างมาก แม้แต่ในการสัมภาษณ์ในช่องฟ้าวันใหม่ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม
นั่นหมายความว่าแม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่สมัครพรรคการเมืองไหนเลย แต่พรรคการเมืองก็สามารถประกาศนโยบายเสนอนายกรัฐมนตรีคนนอกเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ และถ้าพรรคการเมืองที่ชูพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมีกระแสความนิยมแรงอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น?
คำตอบคือ "จะไปลดฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์"ให้ลดน้อยลงอย่างแน่นอน และทำให้พรรคทหารจะไม่มีแค่เพียง ส.ว. 250 คนอีกต่อไป แต่จะมีพรรคทหารเพิ่มจำนวนในสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย
และถ้าเพียงแค่พรรคทหารที่อาจเกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งจะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้เสียงชิงมาจากพรรคประชาธิปัตย์เพียงแค่ 45 คนขึ้นไป จะส่งผลต่อสมการอำนาจผสมทางการเมืองทันที
เพราะถ้าพรรคทหารมี ส.ว.ในมือ 250 คน แล้วสมมุติว่าผลการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ที่ชูพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีมีมากกว่า 45 คนขึ้นไปด้วย ก็จะรวมกันได้ 295 คน พรรคทหารจึงต้องการอีกเพียงแค่ 80 ที่นั่งเท่านั้นก็จะได้จำนวน ส.ว. และ ส.ส. มากกว่า 375 คนขึ้นไป ความสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์จะลดลงทันที พรรคทหารจะมีทางเลือกมากกว่าการจับมือกับพรรคใดพรรคหนึ่ง ระหว่างพรรคเพื่อไทย หรือ พรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะมีทางเลือกที่จับมือกับพรรคขนาดกลางที่น่าจะรวมกันมากกว่า 80 คนเสนอนายกรัฐมนตรีได้อีกทางเลือกหนึ่งด้วย
มิพักต้องคิดว่าหากมีกระแสชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการตอบรับจากประชาชนแรงกว่าที่คิด หรือ หากพรรคขนาดกลางอื่นๆต่างพากันชู พล.อ.ประยุทธ์ ไปตามกระแสไปด้วย หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปรับตัว ทั้งอำนาจต่อรองและความสำคัญต่อสมการอำนาจผสมทางการเมืองก็อาจจะลดลงไป
แต่ถ้าทหารจะเล่นเกมนี้จริงๆแล้ว เราก็จะต้องเห็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่าไม่ต้องอาศัยเสียงครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับ ส.ว.ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนนอกในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้ในครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าฐานเสียงของทหาร และประชาธิปัตย์นั้นทับซ้อนกันอยู่ ถ้ามีพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนทหารเกิดขึ้นมาก็มีแนวโน้มจะตัดเสียงกันเองในฝ่ายต้านพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคเพื่อไทยจะได้เสียงมากถึง 375 ที่นั่งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว
และในความจริงอีกด้านหนึ่ง เพียงแค่พรรคเพื่อไทยได้เสียงเพียง"ครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร" ต่อให้พรรคประชาธิปัตย์จับมือกับ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยก็จะสามารถลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรได้อยู่ดี ซึ่งแม้ว่า ส.ว.จะจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันเลือกนายกรัฐมนตรีคนเดิมต่อไปหลังจากนั้นได้ แต่ภาพลักษณ์และเสถียรภาพของรัฐบาลก็คงจะเสียหายอย่างมากเช่นกัน
นอกจากเสียงครึ่งหนึ่งของพรรคเพื่อไทย ในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นตัวแปรที่สำคัญแล้ว การกำหนด "หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่" ก็ยังอาจเป็นปัจจัยพลิกผันที่ทำให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ได้มากขึ้น และแม้กระทั่งจับมือกับ ส.ว.พรรคทหารได้มากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้เลย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การจับมือของพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ว.พรรคทหารยังไม่ลงตัว
แต่ก็อย่าเพิ่งมองข้ามการประนีประนอมในอำนาจของรัฐบาลแห่งชาติที่จับมือกันระหว่าง ส.ว.พรรคทหาร พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ที่แม้จะเป็นเรื่องยาก ถึงยากที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะอาจเป็นทางออกสุดท้าย หากต้องการความลงตัวระหว่างเสียงข้างมากของ 2 สภาเลือกนายกรัฐมนตรีที่ทุกฝ่ายยอมรับ เสียงข้างมากใน ส.ส.เพื่อตรากฎหมายและค้ำยันการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเสียง ส.ว.เพื่อผ่านกฎหมายของรัฐบาล โดยเฉพาะหากพรรคเพื่อไทยมีเสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร
อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของความชอบธรรมในสมการอำนาจทั้งหมดนับจากนี้ ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายใดจะสามารถครองหัวใจประชาชนได้จนถึงวันเลือกตั้ง?
ถ้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้งรอบด้าน สะสางปัญหาสำคัญของชาติได้สำเร็จจนครองใจประชาชนได้มากเท่าใด ความชอบธรรมการกำหนดนายกรัฐมนตรีจาก ส.ว.พรรคทหารก็จะมากขึ้นเท่านั้น ถึงเวลานั้นพรรคการเมืองเกิดใหม่เพื่อมาสนับสนุนทหารก็จะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้นไปด้วย
โดยเฉพาะกรณีธรรมกาย, กรณีการสะสางปัญหาผู้ถูกเสนอชื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราช, กรณีการใช้อำนาจเพื่อแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียมที่กำลังมีปัญหาและอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช., การเปิดประมูลแข่งขันการผลิตแหล่งปิโตรเลียมบงกช และเอราวัณอย่างเสรีและเป็นธรรม, กรณีการใช้อำนาจโค้งสุดท้ายให้หลักประกันอำนาจต่อเนื่องของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และการปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงให้เป็นรูปธรรม, การกระตุ้นฟื้นฟูทางเศรษฐกิจฯลฯ เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เห็นเป็นประจักษ์จึงจะครองใจประชาชนได้
แต่ถ้าเวลานับจากนี้จนถึงก่อนการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถปฏิรูปบ้านเมืองจนครองใจประชาชนก่อนการเลือกตั้งได้ หรือไม่สามารถสะสางปัญหาสำคัญให้สำเร็จ ทำไปแบบลูบหน้าปะจมูก หรือสร้างความผิดหวังให้กับประชาชนเท่าใด ความชอบธรรมของพรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมืองที่ต่อต้านการรัฐประหารก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น และทำให้ความชอบธรรมของนายกรัฐมนตรีคนนอกจากพรรคทหารไม่ว่าจะร่วมมือกับพรรคการเมืองใดก็ตามจะลดน้อยลง ไม่เว้นแต่การที่ ส.ว.พรรคทหาร เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนนอก หากไม่ใช่คนที่ประชาชนต้องการ ก็จะถูกต่อต้านได้เช่นกัน
ในขณะเดียวกันถ้าพรรคประชาธิปัตย์ปฏิรูปภายในพรรคจนเป็นความหวังต่อประชาชนในการกำหนดอนาคตของประเทศไทย ก็มีโอกาสจะเป็นหนึ่งในสมการอำนาจที่สำคัญต่อไป และรวมถึงอาจมีโอกาสทำให้ ส.ว.พรรคทหารต้องกลับมายอมรับเสนอนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปได้
แต่ถ้าไม่ปฏิรูปนอกจากพรรคประชาธิปัตย์จะคะแนนเสียงลดลงแล้ว ยังอาจทำให้แนวร่วมฝ่ายตรงข้ามพรรคเพื่อไทยเสียงแตก ซึ่งจะเป็นผลทำให้สมการอำนาจเปลี่ยนไปเป็นความได้เปรียบของพรรคเพื่อไทยมากขึ้นได้ด้วย
ส่วนพรรคเพื่อไทยหากยังคงยึดเรื่องการช่วยเหลือนิรโทษกรรมล้างผิดให้ทักษิณและครอบครัวมาเป็นเรื่องหลักในการเข้าสู่อำนาจต่อไป นอกจากจะยากในการเข้าสู่สมการทางการเมืองเพราะจับมือกับก๊กอื่นไม่ได้แล้ว ต่อให้เข้าสู่อำนาจได้ก็ต้องถูกโค่นล้มอีกอยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เหมือนบทเรียนที่ไม่เคยจำตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา
และเมื่อทุกขั้วอำนาจต้องเร่งครองใจประชาชนให้มากเป็นสำคัญ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายควรจะหันกลับมาฟังเสียงเรียกร้องอันแท้จริงของประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปประเทศไทย สะสางแก้ไขปัญหาในอดีตและปัจจุบัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนต่อไป
และคำถามที่ท้าทายที่สุดคืออำนาจผสมกันระหว่างทหารกับนักการเมืองมารวมกันนั้น จะสามารถปฏิรูปตรงตามเจนารมณ์ของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด?