ปัญญาพลวัตร
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
แม้การลงประชามติจบลง แต่การเมืองยังคงเคลื่อนตัวไปตลอดเวลา ผลลัพธ์ของประชามติจะมีอิทธิพลต่อทิศทางและสถานการณ์ของการเมืองไม่น้อย หากผลประชามติออกมาว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ ภาพการเมืองจะมีหน้าตาแบบหนึ่ง แต่หากออกมาว่าไม่รับก็จะมีภาพอีกแบบหนึ่งเกิดขึ้น แม้ว่าในท้ายที่สุดรัฐบาลกำหนดเป้าหมายเอาไว้แล้วว่าจะให้มีการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ.2560 ก็ตาม แต่ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นแบบนั้น
หากจบลงด้วยการที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติจะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะชนะมากหรือน้อยก็ตาม กลไกการเมืองต่างๆ ที่วางเอาไว้ก็จะเดินหน้าต่อไปตามแผน สังคมก็จะให้ความสนใจและถกเถียงในเรื่องเนื้อหาของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา
สำหรับบรรดาพรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรคอย่างพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ก็จะถูกกดดันและเรียกร้องจากสังคมให้แสดงความรับผิดชอบต่อจุดยืนที่ได้ออกมาแถลงว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ข้อเรียกร้องหลักก็คงเป็นเรื่องให้ทั้งสองพรรคยุติบทบาททางการเมืองลงชั่วคราวโดยไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเขาไม่เห็นด้วย
ลำพังอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทยคงไม่เท่าไร เพราะหากไม่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทยก็อาจสมัครในนามพรรคที่มีชื่ออื่น ซึ่งอยู่ภายใต้สนับสนุนของตระกูลชินวัตรต่อไป หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสังกัดพรรคใหม่ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคตก็ได้
แต่กลุ่มที่อาจจะถูกแรงกดดันอย่างหนักคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ และผู้สนับสนุนเขาอาจถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งอาจต้องยุติบทบาทการเมืองลงชั่วคราว ขณะที่กลุ่มอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแกนนำ กปปส. ก็จะเข้ามาช่วงชิงการนำพรรคและบริหารพรรคต่อไป ผมคิดว่าประชาธิปัตย์สาย กปปส. มีโอกาสสูงที่จะยึดพรรคได้
ขณะเดียวกันในอีกเวทีหนึ่ง เครือข่ายอำนาจในปัจจุบันก็มีแนวโน้มจะจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อรองรับการส่งต่ออำนาจ พรรคนี้ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดก็ตามจะอาศัยอดีตนักการเมืองเก่าบางคนเป็นแกนในการรวบรวมบรรดาอดีต ส.ส.ที่กระจัดกระจายตามพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กให้มาอยู่ร่วมกัน ขณะเดียวกันก็อาจดึงอดีตส.ส.จากพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์บางส่วนเข้ามาร่วมก็ได้
นอกจากจะมีนักการเมืองภายใต้สังกัดแล้ว พรรคการเมืองภายใต้การอุปถัมภ์ของเครือข่ายอำนาจในปัจจุบันก็ยังมีฐานอยู่ที่สมาชิกวุฒิสภาอีกด้วย ซึ่งตรงนี้จะเป็นขุมกำลังสำคัญในการเป็นเสาค้ำความมั่นคงให้กับรัฐบาลในอนาคต และหากประเด็น คำถามพ่วงที่ให้วุฒิสมาชิกมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีผ่านการลงประชามติด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้การส่งต่ออำนาจมีความราบรื่นและมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
แต่หากประเด็นคำถามพ่วงไม่ผ่าน อำนาจของวุฒิสมาชิกก็จะลดลงไปบางส่วน โดยไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เครือข่ายอำนาจก็คงต้องลงแรงในการผลักดันมากขึ้นเพื่อให้พรรคการเมืองตกลงรับข้อเสนอของพวกเขา เพราะอย่างไรก็ตามวุฒิสมาชิกก็ยังมีอำนาจในด้านนิติบัญญัติสูงยิ่ง ซึ่งคงทำให้พรรคการเมืองยากที่จะปฏิเสธข้อเสนอ หากพวกเขาประสงค์มีส่วนร่วมในอำนาจการเมือง
หากเครือข่ายอำนาจในปัจจุบันต้องการความมั่นใจว่าพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่สามารถสร้างบทบาทนำในเวทีการเมืองได้ พวกเขาอาจบัญญัติเนื้อหาในพ.ร.บ.พรรคการเมือง หรืออาจใช้มาตรา 44 สั่งให้พรรคการเมืองที่มีอยู่ก่อนพ.ร.บ.พรรคการเมืองฉบับใหม่ประกาศใช้สิ้นสภาพไป และเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่
การเริ่มนับหนึ่งใหม่ของพรรคการเมืองจะทำพรรคการเมืองของเครือข่ายอำนาจ ที่จะจัดตั้งขึ้นมามีความสะดวกมากขึ้นในการกวาดต้อนอดีตส.ส.จากพรรคเก่าๆ เข้ามาอยู่ภายในพรรค ซึ่งจะทำให้หนทางในการส่งต่ออำนาจสะดวกยิ่งขึ้น
สำหรับข้ออ้างในการให้พรรคการเมืองเก่าสิ้นสภาพไปมีมากมาย ซึ่งสามารถทำให้ดูเสมือนมีความชอบธรรมสูงด้วย เช่น การอ้างว่าประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าประชาชนปฏิเสธพรรคการเมืองเก่าและการเมืองแบบเก่าที่ล้มเหลว ดังนั้นเพื่อให้การเริ่มต้นใหม่เป็นการวางรากฐานประชาธิปไตยและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองภายใต้ระบบการเมืองแบบใหม่อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบ จึงจำเป็นต้องให้พรรคการเมืองที่มีอยู่สิ้นสภาพไป และให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อเข้าสู่เวทีและกติกาการเมืองแบบใหม่ ซึ่งจะทำให้การเมืองไทยหลุดพ้นจากความล้มเหลวแบบเก่าเสียที
ด้านภาคประชาชน สิทธิและการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการได้ถูกลดทอนลงภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนต้องแสวงหาหนทางอื่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในอำนาจการเมือง เมื่อประชาชนไม่ถูกผนวกรวมอยู่ในโครงสร้างอำนาจ พวกเขาก็จำเป็นต้องใช้เวทีสาธารณะแสดงบทบาทและเจตจำนงทางการเมืองแทน
ในปัจจุบันเวทีสาธารณะมีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ไอเพด และคอมพิวเตอร์ ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูลข่าวสาร และการรณรงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นนโยบายสาธารณะได้อย่างกว้างขวาง ประชาชนจะใช้สื่อเหล่านี้กดดันผู้มีอำนาจและใช้อำนาจรัฐในองค์การต่างๆมากขึ้น
ขณะเดียวกันการชุมนุมทางการเมืองในท้องถนนหรือตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีการใช้อย่างกว้างขวางในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ก็ยังคงเป็นอีกเวทีหนึ่งที่ประชาชนจะใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงพลัง และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้นเพราะว่าพวกเขาถูกจำกัดไม่ให้แสดงบทบาทในเวทีการเมืองที่เป็นทางการนั่นเอง
การปิดกั้นช่องทางการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการของประชาชนจะส่งผลให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดทำโครงการขนาดใหญ่ ที่สร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจะต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากประชาชนในรูปแบบต่างๆมากขึ้น เฉกเช่นเดียวกับรัฐบาลในอนาคตที่จะต้องเผชิญหน้ากับกระแสการเรียกร้องและแรงกดดันจากประชาชนอย่างไม่ขาดสาย
สำหรับกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ สิ่งที่ตามมาคือความชอบธรรมและเสถียรภาพของรัฐบาลปัจจุบันลดลง และจะเกิดแรงกดดันในเรื่องกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มต่างๆในสังคมจะเสนอให้มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งหากรัฐบาลตอบรับข้อเสนอก็จะทำให้ความตึงเครียดทางการเมืองลดลง แต่ระยะเวลาในการเลือกตั้งอาจไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดเอาไว้ กล่าวคือหากใช้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแบบมีส่วนร่วม กว่าจะเสร็จกระบวนการอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้ยาวกว่าที่คาดเอาไว้ และการเมืองก็หันความสนใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแทน แรงกดดันต่อรัฐบาลก็จะลดลง
แต่หากรัฐบาลใช้กระบวนการร่างแบบเดิม เพื่อให้เลือกตั้งทันตามแผนที่กำหนดเอาไว้ แรงกดดันมหาศาลก็จะโถมเข้าใส่ เพราะคราวนี้รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งจะต้องตอบสนองความต้องการและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และนักการเมืองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องลดอำนาจของข้าราชการลงไป
แต่หากรัฐบาลยืนกรานรักษาอำนาจของข้าราชการดังเดิมหรือมากขึ้นกว่าเดิม รัฐบาลก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม ผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐบาลก็จะแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น ทำให้มีโอกาสการเผชิญหน้าและปะทะกันมากขึ้น ส่งผลให้ความตึงเครียดและขัดแย้งทางการเมืองสูงตามไปด้วย ท้ายที่สุดรัฐบาลก็จะประสบกับปัญหาความชอบธรรมยิ่งขึ้น
นี่เป็นภาพรวมที่ผมใช้จินตนาการมองไปในอนาคต หากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน หรือไม่ผ่านการลงประชามติ แต่อนาคตเป็นเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่คาดการณ์เอาไว้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ หรืออาจเกิดขึ้นบางส่วนและไม่เกิดบางส่วน หรืออาจเกิดเป็นส่วนใหญ่ก็ได้ครับ
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
แม้การลงประชามติจบลง แต่การเมืองยังคงเคลื่อนตัวไปตลอดเวลา ผลลัพธ์ของประชามติจะมีอิทธิพลต่อทิศทางและสถานการณ์ของการเมืองไม่น้อย หากผลประชามติออกมาว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ ภาพการเมืองจะมีหน้าตาแบบหนึ่ง แต่หากออกมาว่าไม่รับก็จะมีภาพอีกแบบหนึ่งเกิดขึ้น แม้ว่าในท้ายที่สุดรัฐบาลกำหนดเป้าหมายเอาไว้แล้วว่าจะให้มีการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ.2560 ก็ตาม แต่ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นแบบนั้น
หากจบลงด้วยการที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติจะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะชนะมากหรือน้อยก็ตาม กลไกการเมืองต่างๆ ที่วางเอาไว้ก็จะเดินหน้าต่อไปตามแผน สังคมก็จะให้ความสนใจและถกเถียงในเรื่องเนื้อหาของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา
สำหรับบรรดาพรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรคอย่างพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ก็จะถูกกดดันและเรียกร้องจากสังคมให้แสดงความรับผิดชอบต่อจุดยืนที่ได้ออกมาแถลงว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ข้อเรียกร้องหลักก็คงเป็นเรื่องให้ทั้งสองพรรคยุติบทบาททางการเมืองลงชั่วคราวโดยไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเขาไม่เห็นด้วย
ลำพังอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทยคงไม่เท่าไร เพราะหากไม่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทยก็อาจสมัครในนามพรรคที่มีชื่ออื่น ซึ่งอยู่ภายใต้สนับสนุนของตระกูลชินวัตรต่อไป หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสังกัดพรรคใหม่ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคตก็ได้
แต่กลุ่มที่อาจจะถูกแรงกดดันอย่างหนักคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ และผู้สนับสนุนเขาอาจถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งอาจต้องยุติบทบาทการเมืองลงชั่วคราว ขณะที่กลุ่มอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแกนนำ กปปส. ก็จะเข้ามาช่วงชิงการนำพรรคและบริหารพรรคต่อไป ผมคิดว่าประชาธิปัตย์สาย กปปส. มีโอกาสสูงที่จะยึดพรรคได้
ขณะเดียวกันในอีกเวทีหนึ่ง เครือข่ายอำนาจในปัจจุบันก็มีแนวโน้มจะจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อรองรับการส่งต่ออำนาจ พรรคนี้ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดก็ตามจะอาศัยอดีตนักการเมืองเก่าบางคนเป็นแกนในการรวบรวมบรรดาอดีต ส.ส.ที่กระจัดกระจายตามพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กให้มาอยู่ร่วมกัน ขณะเดียวกันก็อาจดึงอดีตส.ส.จากพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์บางส่วนเข้ามาร่วมก็ได้
นอกจากจะมีนักการเมืองภายใต้สังกัดแล้ว พรรคการเมืองภายใต้การอุปถัมภ์ของเครือข่ายอำนาจในปัจจุบันก็ยังมีฐานอยู่ที่สมาชิกวุฒิสภาอีกด้วย ซึ่งตรงนี้จะเป็นขุมกำลังสำคัญในการเป็นเสาค้ำความมั่นคงให้กับรัฐบาลในอนาคต และหากประเด็น คำถามพ่วงที่ให้วุฒิสมาชิกมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีผ่านการลงประชามติด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้การส่งต่ออำนาจมีความราบรื่นและมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
แต่หากประเด็นคำถามพ่วงไม่ผ่าน อำนาจของวุฒิสมาชิกก็จะลดลงไปบางส่วน โดยไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เครือข่ายอำนาจก็คงต้องลงแรงในการผลักดันมากขึ้นเพื่อให้พรรคการเมืองตกลงรับข้อเสนอของพวกเขา เพราะอย่างไรก็ตามวุฒิสมาชิกก็ยังมีอำนาจในด้านนิติบัญญัติสูงยิ่ง ซึ่งคงทำให้พรรคการเมืองยากที่จะปฏิเสธข้อเสนอ หากพวกเขาประสงค์มีส่วนร่วมในอำนาจการเมือง
หากเครือข่ายอำนาจในปัจจุบันต้องการความมั่นใจว่าพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่สามารถสร้างบทบาทนำในเวทีการเมืองได้ พวกเขาอาจบัญญัติเนื้อหาในพ.ร.บ.พรรคการเมือง หรืออาจใช้มาตรา 44 สั่งให้พรรคการเมืองที่มีอยู่ก่อนพ.ร.บ.พรรคการเมืองฉบับใหม่ประกาศใช้สิ้นสภาพไป และเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่
การเริ่มนับหนึ่งใหม่ของพรรคการเมืองจะทำพรรคการเมืองของเครือข่ายอำนาจ ที่จะจัดตั้งขึ้นมามีความสะดวกมากขึ้นในการกวาดต้อนอดีตส.ส.จากพรรคเก่าๆ เข้ามาอยู่ภายในพรรค ซึ่งจะทำให้หนทางในการส่งต่ออำนาจสะดวกยิ่งขึ้น
สำหรับข้ออ้างในการให้พรรคการเมืองเก่าสิ้นสภาพไปมีมากมาย ซึ่งสามารถทำให้ดูเสมือนมีความชอบธรรมสูงด้วย เช่น การอ้างว่าประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าประชาชนปฏิเสธพรรคการเมืองเก่าและการเมืองแบบเก่าที่ล้มเหลว ดังนั้นเพื่อให้การเริ่มต้นใหม่เป็นการวางรากฐานประชาธิปไตยและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองภายใต้ระบบการเมืองแบบใหม่อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบ จึงจำเป็นต้องให้พรรคการเมืองที่มีอยู่สิ้นสภาพไป และให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อเข้าสู่เวทีและกติกาการเมืองแบบใหม่ ซึ่งจะทำให้การเมืองไทยหลุดพ้นจากความล้มเหลวแบบเก่าเสียที
ด้านภาคประชาชน สิทธิและการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการได้ถูกลดทอนลงภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนต้องแสวงหาหนทางอื่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในอำนาจการเมือง เมื่อประชาชนไม่ถูกผนวกรวมอยู่ในโครงสร้างอำนาจ พวกเขาก็จำเป็นต้องใช้เวทีสาธารณะแสดงบทบาทและเจตจำนงทางการเมืองแทน
ในปัจจุบันเวทีสาธารณะมีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ไอเพด และคอมพิวเตอร์ ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูลข่าวสาร และการรณรงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นนโยบายสาธารณะได้อย่างกว้างขวาง ประชาชนจะใช้สื่อเหล่านี้กดดันผู้มีอำนาจและใช้อำนาจรัฐในองค์การต่างๆมากขึ้น
ขณะเดียวกันการชุมนุมทางการเมืองในท้องถนนหรือตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีการใช้อย่างกว้างขวางในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ก็ยังคงเป็นอีกเวทีหนึ่งที่ประชาชนจะใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงพลัง และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้นเพราะว่าพวกเขาถูกจำกัดไม่ให้แสดงบทบาทในเวทีการเมืองที่เป็นทางการนั่นเอง
การปิดกั้นช่องทางการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการของประชาชนจะส่งผลให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดทำโครงการขนาดใหญ่ ที่สร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจะต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากประชาชนในรูปแบบต่างๆมากขึ้น เฉกเช่นเดียวกับรัฐบาลในอนาคตที่จะต้องเผชิญหน้ากับกระแสการเรียกร้องและแรงกดดันจากประชาชนอย่างไม่ขาดสาย
สำหรับกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ สิ่งที่ตามมาคือความชอบธรรมและเสถียรภาพของรัฐบาลปัจจุบันลดลง และจะเกิดแรงกดดันในเรื่องกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มต่างๆในสังคมจะเสนอให้มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งหากรัฐบาลตอบรับข้อเสนอก็จะทำให้ความตึงเครียดทางการเมืองลดลง แต่ระยะเวลาในการเลือกตั้งอาจไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดเอาไว้ กล่าวคือหากใช้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแบบมีส่วนร่วม กว่าจะเสร็จกระบวนการอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้ยาวกว่าที่คาดเอาไว้ และการเมืองก็หันความสนใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแทน แรงกดดันต่อรัฐบาลก็จะลดลง
แต่หากรัฐบาลใช้กระบวนการร่างแบบเดิม เพื่อให้เลือกตั้งทันตามแผนที่กำหนดเอาไว้ แรงกดดันมหาศาลก็จะโถมเข้าใส่ เพราะคราวนี้รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งจะต้องตอบสนองความต้องการและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และนักการเมืองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องลดอำนาจของข้าราชการลงไป
แต่หากรัฐบาลยืนกรานรักษาอำนาจของข้าราชการดังเดิมหรือมากขึ้นกว่าเดิม รัฐบาลก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม ผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐบาลก็จะแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น ทำให้มีโอกาสการเผชิญหน้าและปะทะกันมากขึ้น ส่งผลให้ความตึงเครียดและขัดแย้งทางการเมืองสูงตามไปด้วย ท้ายที่สุดรัฐบาลก็จะประสบกับปัญหาความชอบธรรมยิ่งขึ้น
นี่เป็นภาพรวมที่ผมใช้จินตนาการมองไปในอนาคต หากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน หรือไม่ผ่านการลงประชามติ แต่อนาคตเป็นเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่คาดการณ์เอาไว้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ หรืออาจเกิดขึ้นบางส่วนและไม่เกิดบางส่วน หรืออาจเกิดเป็นส่วนใหญ่ก็ได้ครับ