การเลือกตั้งในอเมริกาดูจะก่อให้เกิดการด่านางฮิลลารี คลินตัน กันอย่างต่อเนื่องในเมืองไทย หลายคนแสดงความวิตกว่า ถ้าเธอได้เป็นประธานาธิบดี ผลร้ายจะมีต่อเมืองไทยมากกว่าถ้านายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็น ผมเห็นว่าไม่น่าวิตก ไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี ผลกระทบที่มีต่อเมืองไทยจะไม่ต่างไปอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้น ใส่ใจต่อการช่วยกันแก้ปัญหาในเมืองไทยจะมีผลดีกว่า โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากความฉ้อฉลของคนไทยด้วยกัน
ผมไม่ทราบว่าผู้ที่พากันด่านางคลินตันนั้น เคยใส่ใจในความเป็นมาของสตรีคนนี้หรือไม่ หรือรู้เรื่องราวของเธอมากน้อยเพียงไร ผมสนใจในสตรีคนนี้เนื่องจากเธอมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นช่วงที่ผมไปเรียนปริญญาตรีอยู่ที่อเมริกา ตอนเธอเรียนจบนิตยสาร Life นำเรื่องราวของเธอไปเสนอ ต่อมาเมื่อผมเริ่มเขียนหนังสือ ผมได้นำเรื่องของเธอมาเสนอไว้ในเรื่อง เสือ สิงห์ กระทิง แรด ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
ฮิลลารีมีความปราดเปรื่อง ความกล้าและความทุ่มเทสูง เนื่องจากเธอเรียนจบปริญญาตรีที่วิทยาลัยเวลล์สลีย์ด้วยคะแนนสูงสุด เธอจึงได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวปาฐกถาในงานประสาทปริญญาซึ่งมีแขกผู้ใหญ่ในสังคมไปร่วมงานพร้อมกับญาติของนักศึกษาผู้เรียนจบ ในช่วงนั้น สังคมอเมริกันตกอยู่ในภาวะแตกแยกสูง โดยเฉพาะระหว่างผู้ใหญ่และคนวัยหนุ่มสาวซึ่งส่วนหนึ่งต่อต้านการดำเนินชีวิตแบบไม่รู้จักพอของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ความเหลื่อมล้ำในสังคมอเมริกันและสงครามเวียดนาม ในเนื้อหาของปาฐกถา ฮิลลารีท้าทายผู้ใหญ่ในงานให้คิดกันใหม่เพื่อทำให้สังคมดีขึ้น เธอจบปาฐกถาด้วยกลอนซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ในงานสะเทือนกันอย่างทั่วถึง กลอนนั้นจบด้วยบทที่ถอดเป็นไทยได้ว่า
ฉันก้าวออก นอกประตู ไปสู่โลก
ไม่เศร้าโศก ห่วงใย หรือไร้หวัง
หญิงงมงาย ชายโฉด จงโปรดฟัง
คนหล้าหลัง โลกยุคใหม่ ไม่ต้องการ
หลังจากนั้น ฮิลลารีเข้าเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล เธอพบบิล คลินตันในระหว่างเรียนอยู่ที่นั่น อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เยลเป็นสถาบันอันโด่งดัง ผู้เรียนจบกฎหมายจากที่นั่นอาจเลือกงานได้งานหลายอย่างสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว ฮิลลารีไม่ไปทำงานจำพวกนั้น หากไปทำงานทางด้านบริการสังคมกับองค์กรการกุศลที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อช่วยเหลือเด็กโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส
ตั้งแต่นั้นมา เธอทุ่มเทเวลาและความสามารถส่วนใหญ่ไปในทางบริการสังคมแทนการแสวงหาความร่ำรวยไม่ว่าเธอจะไปรับงานอะไร หรือมีตำแหน่งสูงขนาดไหน ฮิลลารียังให้ความใส่ใจต่อเรื่องสวัสดิการของเด็ก ในระหว่างที่บิล คลินตัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ฮิลลารีตกอยู่ในภาวะ “ว่างงาน” อยู่ชั่วระยะหนึ่ง เธอจึงใช้เวลานั้นค้นคว้าและเขียนหนังสือออกมาชื่อ It Takes a Village: And Other Lessons Children Teach Us (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา)
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้อาจนำไปตีความได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับพลังของความสามัคคีนอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับที่มาของชื่อหนังสือซึ่งมีความหมายลึกซึ้งในด้านการศึกษา ชื่อหนังสือเป็นส่วนหนึ่งของสุภาษิตของชาวแอฟริกาซึ่งแปลเต็มๆ ว่า It Takes a Village to Raise a Child หรือ “ทั้งหมู่บ้านต้องช่วยกันเลี้ยงเด็ก” ผมสนใจประเด็นนี้มากเป็นพิเศษเพราะปัญหาการศึกษาของเด็กไทยส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิดคิดกันว่าการศึกษาเป็นหน้าที่ของโรงเรียน การคิดเช่นนั้นเป็นเสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ปัญหาสารพัดจึงตามมา
ตามความเป็นจริง การศึกษาของเด็กเกิดขึ้นตลอดเวลาเด็กเรียนรู้จากสิ่งรอบด้าน ในยุคที่การสื่อสารและการคมนาคมยังไม่สะดวกและไม่กว้างขวาง “หมู่บ้าน” โดยทั่วไปจำกัดอยู่ในหมู่บ้านอันเป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดเล็ก ในสมัยนี้ การสื่อสารและการคมนาคมสะดวกและกว้างขวางมาก “หมู่บ้าน” สำหรับเด็กจำนวนมากจึงขยายออกไปถึงหลายส่วนของโลก การเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งคือการลอกเลียนแบบ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านทำอะไรให้เด็กเห็นย่อมมีความสำคัญยิ่ง ในยุคที่การสื่อสารผ่านระบบเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เด็กอาจเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้ทั่วโลก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจำกัดสิ่งที่เด็กอาจลอกเลียนแบบที่ไม่เหมาะสมกับสังคมของตนจากสื่อเหล่านั้น นั่นหมายความว่า ผู้ใหญ่ต้องให้ความใส่ใจมากขึ้นทั้งในสิ่งที่ตนทำและในสิ่งที่ตนมิได้ทำ
อันที่จริง นักการศึกษาส่วนหนึ่งของเราเข้าใจเรื่องนี้ดี เราจึงมีสิ่งที่เรียกว่า “บ. ว. ร.” ซึ่งย่อมาจาก “บ้าน วัด โรงเรียน” การศึกษาตามอุดมการณ์เกิดจากการร่วมมือกันของสถาบันสำคัญยิ่งในสังคม ได้แก่ บ้านอันได้แก่ครอบครัวและชุมชน วัดอันได้แก่สถาบันทางศาสนา และโรงเรียนอันได้แก่สถานศึกษา แม้จะมีสิ่งนี้อยู่ในห้วงความคิดของนักการศึกษาไทย แต่โดยทั่วไปเรามิได้นำไปทำกันอย่างจริงจัง
ความใส่ใจในเรื่องเด็กและเรื่องสังคมของนางคลินตัน จะมีผลดีทางด้านนี้ต่ออเมริกามากกว่าถ้าเธอได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปแทนที่จะเป็นนายทรัมป์ นั่นหมายความว่าเธอจะสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีสตรีคนแรก ถ้าเธอได้เป็นจริง ปัจจัยสำคัญจะเป็นความสามารถและประสบการณ์ของเธอ มิใช่เพราะเธอมีสามีเป็นประธานาธิบดีมาก่อน ทั้งนี้เพราะระบบการเมืองของเขาต่างกับของเราตรงที่ไม่มีใครคุมพรรคการเมืองได้ด้วยการใช้เงิน หรือซื้อเสียงได้ ความสามารถและประสบการณ์ของนางคลินตันคงเป็นที่รับรู้กันอยู่บ้างแล้ว เช่นเดียวกับการทำงานเพื่อการบริการสังคมและประเทศชาติของเธอ สองตำแหน่งล่าสุดได้แก่รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศซึ่งเป็นตำแหน่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และมีอาวุโสสูงสุดในบรรดารัฐมนตรีด้วยกัน และวุฒิสมาชิกจากรัฐนิวยอร์กซึ่งเลือกโดยประชาชนของรัฐนั้น
เรื่องของนางคลินตันต่างกับนายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของไทย ซึ่งมีพี่ชายเป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อนเพราะเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เธอขาดทั้งความสามารถและประสบการณ์ เธอขึ้นครองตำแหน่งแสนสำคัญนั้นได้เพราะพี่ชายเป็นเสมือนเจ้าของพรรคการเมือง และชักใยอยู่เบื้องหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งครั้งนั้นมีการซื้อเสียงกันอย่างกว้างขวาง การขาดความสามารถ ประสบการณ์ และการถูกชักใยทำให้เธอทำทั้งความขายหน้า และความเสียหายมหาศาลให้แก่ประเทศชาติซึ่งไม่เคยมีมาก่อน โครงการรับจำนำข้าวเพียงอย่างเดียวสร้างความเสียหายหลายแสนล้านบาท ความเสียหายนั้นเกิดจากทั้งการไม่เข้าใจเรื่องข้าวและความฉ้อฉล
เมื่อรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หากฮิลลารี คลินตันได้เป็นประธานาธิบดี นโยบายของเธออาจมีผลกระทบทางลบต่อประเทศไทยบ้าง แต่มันจะไม่สร้างความเสียหายใหญ่หลวงเท่ากับที่นายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของไทยทำแน่นอน ฉะนั้น อย่าด่านางคลินตันกันจะดีกว่า หากคันปากจนอยากด่า จงมองหาคนที่สมควรถูกด่ามากกว่านั้นกันเถอะ ดีกว่านั้นคือการช่วยกันยุติความฉ้อฉลของคนไทย
ผมไม่ทราบว่าผู้ที่พากันด่านางคลินตันนั้น เคยใส่ใจในความเป็นมาของสตรีคนนี้หรือไม่ หรือรู้เรื่องราวของเธอมากน้อยเพียงไร ผมสนใจในสตรีคนนี้เนื่องจากเธอมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นช่วงที่ผมไปเรียนปริญญาตรีอยู่ที่อเมริกา ตอนเธอเรียนจบนิตยสาร Life นำเรื่องราวของเธอไปเสนอ ต่อมาเมื่อผมเริ่มเขียนหนังสือ ผมได้นำเรื่องของเธอมาเสนอไว้ในเรื่อง เสือ สิงห์ กระทิง แรด ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
ฮิลลารีมีความปราดเปรื่อง ความกล้าและความทุ่มเทสูง เนื่องจากเธอเรียนจบปริญญาตรีที่วิทยาลัยเวลล์สลีย์ด้วยคะแนนสูงสุด เธอจึงได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวปาฐกถาในงานประสาทปริญญาซึ่งมีแขกผู้ใหญ่ในสังคมไปร่วมงานพร้อมกับญาติของนักศึกษาผู้เรียนจบ ในช่วงนั้น สังคมอเมริกันตกอยู่ในภาวะแตกแยกสูง โดยเฉพาะระหว่างผู้ใหญ่และคนวัยหนุ่มสาวซึ่งส่วนหนึ่งต่อต้านการดำเนินชีวิตแบบไม่รู้จักพอของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ความเหลื่อมล้ำในสังคมอเมริกันและสงครามเวียดนาม ในเนื้อหาของปาฐกถา ฮิลลารีท้าทายผู้ใหญ่ในงานให้คิดกันใหม่เพื่อทำให้สังคมดีขึ้น เธอจบปาฐกถาด้วยกลอนซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ในงานสะเทือนกันอย่างทั่วถึง กลอนนั้นจบด้วยบทที่ถอดเป็นไทยได้ว่า
ฉันก้าวออก นอกประตู ไปสู่โลก
ไม่เศร้าโศก ห่วงใย หรือไร้หวัง
หญิงงมงาย ชายโฉด จงโปรดฟัง
คนหล้าหลัง โลกยุคใหม่ ไม่ต้องการ
หลังจากนั้น ฮิลลารีเข้าเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล เธอพบบิล คลินตันในระหว่างเรียนอยู่ที่นั่น อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เยลเป็นสถาบันอันโด่งดัง ผู้เรียนจบกฎหมายจากที่นั่นอาจเลือกงานได้งานหลายอย่างสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว ฮิลลารีไม่ไปทำงานจำพวกนั้น หากไปทำงานทางด้านบริการสังคมกับองค์กรการกุศลที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อช่วยเหลือเด็กโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส
ตั้งแต่นั้นมา เธอทุ่มเทเวลาและความสามารถส่วนใหญ่ไปในทางบริการสังคมแทนการแสวงหาความร่ำรวยไม่ว่าเธอจะไปรับงานอะไร หรือมีตำแหน่งสูงขนาดไหน ฮิลลารียังให้ความใส่ใจต่อเรื่องสวัสดิการของเด็ก ในระหว่างที่บิล คลินตัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ฮิลลารีตกอยู่ในภาวะ “ว่างงาน” อยู่ชั่วระยะหนึ่ง เธอจึงใช้เวลานั้นค้นคว้าและเขียนหนังสือออกมาชื่อ It Takes a Village: And Other Lessons Children Teach Us (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา)
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้อาจนำไปตีความได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับพลังของความสามัคคีนอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับที่มาของชื่อหนังสือซึ่งมีความหมายลึกซึ้งในด้านการศึกษา ชื่อหนังสือเป็นส่วนหนึ่งของสุภาษิตของชาวแอฟริกาซึ่งแปลเต็มๆ ว่า It Takes a Village to Raise a Child หรือ “ทั้งหมู่บ้านต้องช่วยกันเลี้ยงเด็ก” ผมสนใจประเด็นนี้มากเป็นพิเศษเพราะปัญหาการศึกษาของเด็กไทยส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิดคิดกันว่าการศึกษาเป็นหน้าที่ของโรงเรียน การคิดเช่นนั้นเป็นเสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ปัญหาสารพัดจึงตามมา
ตามความเป็นจริง การศึกษาของเด็กเกิดขึ้นตลอดเวลาเด็กเรียนรู้จากสิ่งรอบด้าน ในยุคที่การสื่อสารและการคมนาคมยังไม่สะดวกและไม่กว้างขวาง “หมู่บ้าน” โดยทั่วไปจำกัดอยู่ในหมู่บ้านอันเป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดเล็ก ในสมัยนี้ การสื่อสารและการคมนาคมสะดวกและกว้างขวางมาก “หมู่บ้าน” สำหรับเด็กจำนวนมากจึงขยายออกไปถึงหลายส่วนของโลก การเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งคือการลอกเลียนแบบ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านทำอะไรให้เด็กเห็นย่อมมีความสำคัญยิ่ง ในยุคที่การสื่อสารผ่านระบบเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เด็กอาจเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้ทั่วโลก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจำกัดสิ่งที่เด็กอาจลอกเลียนแบบที่ไม่เหมาะสมกับสังคมของตนจากสื่อเหล่านั้น นั่นหมายความว่า ผู้ใหญ่ต้องให้ความใส่ใจมากขึ้นทั้งในสิ่งที่ตนทำและในสิ่งที่ตนมิได้ทำ
อันที่จริง นักการศึกษาส่วนหนึ่งของเราเข้าใจเรื่องนี้ดี เราจึงมีสิ่งที่เรียกว่า “บ. ว. ร.” ซึ่งย่อมาจาก “บ้าน วัด โรงเรียน” การศึกษาตามอุดมการณ์เกิดจากการร่วมมือกันของสถาบันสำคัญยิ่งในสังคม ได้แก่ บ้านอันได้แก่ครอบครัวและชุมชน วัดอันได้แก่สถาบันทางศาสนา และโรงเรียนอันได้แก่สถานศึกษา แม้จะมีสิ่งนี้อยู่ในห้วงความคิดของนักการศึกษาไทย แต่โดยทั่วไปเรามิได้นำไปทำกันอย่างจริงจัง
ความใส่ใจในเรื่องเด็กและเรื่องสังคมของนางคลินตัน จะมีผลดีทางด้านนี้ต่ออเมริกามากกว่าถ้าเธอได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปแทนที่จะเป็นนายทรัมป์ นั่นหมายความว่าเธอจะสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีสตรีคนแรก ถ้าเธอได้เป็นจริง ปัจจัยสำคัญจะเป็นความสามารถและประสบการณ์ของเธอ มิใช่เพราะเธอมีสามีเป็นประธานาธิบดีมาก่อน ทั้งนี้เพราะระบบการเมืองของเขาต่างกับของเราตรงที่ไม่มีใครคุมพรรคการเมืองได้ด้วยการใช้เงิน หรือซื้อเสียงได้ ความสามารถและประสบการณ์ของนางคลินตันคงเป็นที่รับรู้กันอยู่บ้างแล้ว เช่นเดียวกับการทำงานเพื่อการบริการสังคมและประเทศชาติของเธอ สองตำแหน่งล่าสุดได้แก่รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศซึ่งเป็นตำแหน่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และมีอาวุโสสูงสุดในบรรดารัฐมนตรีด้วยกัน และวุฒิสมาชิกจากรัฐนิวยอร์กซึ่งเลือกโดยประชาชนของรัฐนั้น
เรื่องของนางคลินตันต่างกับนายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของไทย ซึ่งมีพี่ชายเป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อนเพราะเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เธอขาดทั้งความสามารถและประสบการณ์ เธอขึ้นครองตำแหน่งแสนสำคัญนั้นได้เพราะพี่ชายเป็นเสมือนเจ้าของพรรคการเมือง และชักใยอยู่เบื้องหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งครั้งนั้นมีการซื้อเสียงกันอย่างกว้างขวาง การขาดความสามารถ ประสบการณ์ และการถูกชักใยทำให้เธอทำทั้งความขายหน้า และความเสียหายมหาศาลให้แก่ประเทศชาติซึ่งไม่เคยมีมาก่อน โครงการรับจำนำข้าวเพียงอย่างเดียวสร้างความเสียหายหลายแสนล้านบาท ความเสียหายนั้นเกิดจากทั้งการไม่เข้าใจเรื่องข้าวและความฉ้อฉล
เมื่อรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หากฮิลลารี คลินตันได้เป็นประธานาธิบดี นโยบายของเธออาจมีผลกระทบทางลบต่อประเทศไทยบ้าง แต่มันจะไม่สร้างความเสียหายใหญ่หลวงเท่ากับที่นายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของไทยทำแน่นอน ฉะนั้น อย่าด่านางคลินตันกันจะดีกว่า หากคันปากจนอยากด่า จงมองหาคนที่สมควรถูกด่ามากกว่านั้นกันเถอะ ดีกว่านั้นคือการช่วยกันยุติความฉ้อฉลของคนไทย