ในช่วงนี้ มีข่าวพาดหัวเกือบทุกวันเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งนี้เพราะภาคการศึกษามีปัญหาหนักหนาสาหัสจนทุกฝ่ายมองว่าถึงเวลาปฏิรูปใหญ่กันอีกครั้ง ข่าวล่าสุดเป็นเรื่องของการใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาด้านธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งถูกมองว่ามีปัญหาหมักหมมมานมนาน
“ธรรมาภิบาล” เป็นศัพท์ใหม่ซึ่งแปลมาจาก Good Governance คำนี้มีความหมายกว้างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรทั้งหลายให้มีประสิทธิภาพ ธนาคารโลกเป็นสถาบันแรกที่นำคำนี้มาใช้อย่างกว้างขวางกับกระบวนการพัฒนา โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าธนาคารโลกต้องการหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า Corruption โดยตรงกับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะการใช้คำนั้นจะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันกับข้าราชการและนักการเมืองของประเทศต่างๆ ดังเป็นที่ทราบกันดี คนเหล่านั้นมักมีความฉ้อฉลสูง (Corruption ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมซึ่งอาจใช้ในนัยของ “ความฉ้อฉล” “ความไม่โปร่งใส” “การฉ้อราษฎร์บังหลวง” หรือ “ความคดโกง” ก็ได้)
ในกรณีของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่รัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาเกิดจากความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการ และความขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของสถาบันเหล่านั้น ผู้อ่านข่าวรายวันน่าจะสรุปได้โดยปราศจากข้อกังขาแล้วว่า ความไม่โปร่งใสมิได้จำกัดอยู่แค่ในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น หากยังกระจายอยู่ทั่วไปในวงการต่างๆ อย่างทั่วถึงอีกด้วย และถ้าเงี่ยหูฟังกันอย่างตั้งใจจะได้ยินว่า ความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาแทรกซึมเข้าไปถึงในสถาบันการศึกษาขนาดเล็กระดับโรงเรียนชั้นประถมแล้ว
สำหรับผู้มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนา เรื่องความไม่โปร่งใสแทรกซึมเข้าไปถึงในองค์กรขนาดเล็กเช่นโรงเรียนชั้นประถมไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ทั้งนี้เพราะอุปสรรคใหญ่ในกระบวนการพัฒนาคือความฉ้อฉลของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะคนในภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่จะไม่ประสบผลสำเร็จตามความคาดหวัง หากความไม่โปร่งใสที่ฝังลึกอยู่โดยทั่วไปยังไม่ถูกกำจัด การแก้ปัญหาด้านธรรมาภิบาลโดยการใช้มาตรา 44 หรืออะไรก็ตามที่มีความเข้มข้นจริงๆ จึงควรขยายต่อไปจนกว่าจะเกิดความโปร่งใสขึ้นในสังคมโดยรวม
สำหรับในด้านการปฏิรูปการศึกษา การกำจัดความไม่โปร่งใสนอกจากจะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการศึกษา หรือการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างยิ่งยวดอีกด้วย การสรุปเช่นนี้มีที่มาจากการมองการศึกษากว้างกว่าดังที่มักมองกันโดยทั่วไป กล่าวคือ การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ส่วนใหญ่เกิดนอกสถาบันการศึกษามากกว่าในสถาบัน และหลักการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งได้แก่การลอกเลียนแบบ
การมองว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลานี้มีมานานและมีความสำคัญมาก หากเราเชื่อว่าบรรพบุรุษของมนุษย์เราถือกำเนิดในทวีปแอฟริกา และมองต่อไปว่าชาวแอฟริกามองการศึกษาอย่างไร เราจะพบว่า ชาวแอฟริกาหลายเผ่ามีคำพังเพยน่าสนใจมาก นั่นคือ “ต้องใช้ทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงเด็ก” หรือ It takes a whole village to raise a child. ผู้ที่ติดตามเรื่องการเมืองในสหรัฐอเมริกาคงทราบแล้วว่า ฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเคยเขียนหนังสือชื่อ It Takes a Village ชื่อนี้มีที่มาจากคำพังเพยดังกล่าว หนังสือขายดีมากส่งผลให้ฮิลลารี คลินตันมีรายได้หลายล้านดอลลาร์ แต่เธอมิได้เก็บรายได้นั้นไว้ หากบริจาคให้องค์กรเพื่อการกุศล
อนึ่ง คำพังเพยดังกล่าวนั้นมิใช่พูดกันขึ้นมาลอยๆ หากสะท้อนแนวคิดที่มีความสำคัญยิ่ง นั่นคือ การจะเลี้ยงเด็กให้เติบใหญ่ขึ้นได้เป็นอย่างดีและมีการศึกษาตามที่สังคมต้องการ จะต้องอาศัยความใส่ใจของผู้ใหญ่ทุกคนในชุมชน ชุมชนในที่นี้มีความหมายกว้างมากเนื่องจากในปัจจุบันเด็กรับรู้ข่าวสารข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว รวมทั้งข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดและพฤติกรรมของพวกเขาด้วย นั่นหมายความว่า การเรียนรู้ที่สำคัญเกิดจากการลอกเลียนแบบ เรื่องนี้มีตัวอย่างที่คงรับรู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้วเกี่ยวกับเด็กในครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่ เด็กจากครอบครัวเหล่านี้จะติดบุหรี่มากกว่าเด็กจากครอบครัวที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีคำพังเพยเชิงขบขันของชาวอเมริกันว่า Monkey see, monkey do. หรือ “ลิงเห็น ลิงย่อมทำตาม”
สำหรับในด้านการศึกษา คำพังเพยของชาวอเมริกันนั้นขบขันเลย ตรงข้าม ผู้ใหญ่ต้องใส่ใจมันอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ถ่ายทอดไปถึงเด็กอยู่ตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งการศึกษาเกิดขึ้นตลอดเวลา และการให้การศึกษาที่ดีที่สุดคือการทำตนเป็นต้นแบบที่ดี ด้วยเหตุนี้ ผู้ใหญ่ในสังคมโดยทั่วไปต้องปฏิรูปตัวเองก่อน การจะปฏิรูปการศึกษาจึงจะประสบความสำเร็จ
ผู้ใหญ่จะต้องปฏิรูปตัวเองทางด้านไหนจึงจะทำให้เด็กไทยมีการศึกษาตามที่สังคมปรารถนาและพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง?
เนื่องจากเราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของต่างชาติที่เด็กอาจยึดเป็นต้นแบบได้ การปฏิรูปตัวเองในที่นี้จึงจำกัดอยู่ที่การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทย ส่วนคำถามที่ตั้งขึ้นมานั้นตอบได้จากหลายมุมมอง เช่น ถ้าผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กสนใจศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือ ผู้ใหญ่จะต้องหมั่นอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่พวกเขายังอ่านหนังสือไม่ได้ และจะต้องอ่านให้พวกเขาเห็นเป็นประจำวันในการดำเนินชีวิต หรือเกี่ยวกับเรื่องความฉ้อฉลที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา ถ้าจะสอนให้เด็กปฏิบัติตามคำขวัญในแนว “เมื่อเติบโตไปจะไม่โกง” ผู้ใหญ่จะต้องไม่โกงให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง การโกงในที่นี้มีความครอบคลุมมาก จากการไม่ทำตามกฎเกณฑ์เล็กๆ เช่นการทิ้งขยะลงบนถนนไปจนถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวงในโครงการขนาดยักษ์
ที่เขียนมานี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ถ้าจะปฏิรูปการศึกษา อย่าจ้องมองไปที่การปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาดังที่เคยทำมาแล้ว หรือการยกระดับธรรมาภิบาลของสถาบันทางการศึกษาเท่านั้น หากจะต้องทำสิ่งที่สำคัญกว่าด้วย ได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใหญ่ให้เป็นต้นแบบ ผู้ใหญ่อยากเห็นเด็กเป็นเช่นไร ตัวเองต้องทำตนให้เป็นเช่นนั้นก่อน
“ธรรมาภิบาล” เป็นศัพท์ใหม่ซึ่งแปลมาจาก Good Governance คำนี้มีความหมายกว้างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรทั้งหลายให้มีประสิทธิภาพ ธนาคารโลกเป็นสถาบันแรกที่นำคำนี้มาใช้อย่างกว้างขวางกับกระบวนการพัฒนา โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าธนาคารโลกต้องการหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า Corruption โดยตรงกับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะการใช้คำนั้นจะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันกับข้าราชการและนักการเมืองของประเทศต่างๆ ดังเป็นที่ทราบกันดี คนเหล่านั้นมักมีความฉ้อฉลสูง (Corruption ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมซึ่งอาจใช้ในนัยของ “ความฉ้อฉล” “ความไม่โปร่งใส” “การฉ้อราษฎร์บังหลวง” หรือ “ความคดโกง” ก็ได้)
ในกรณีของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่รัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาเกิดจากความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการ และความขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของสถาบันเหล่านั้น ผู้อ่านข่าวรายวันน่าจะสรุปได้โดยปราศจากข้อกังขาแล้วว่า ความไม่โปร่งใสมิได้จำกัดอยู่แค่ในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น หากยังกระจายอยู่ทั่วไปในวงการต่างๆ อย่างทั่วถึงอีกด้วย และถ้าเงี่ยหูฟังกันอย่างตั้งใจจะได้ยินว่า ความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาแทรกซึมเข้าไปถึงในสถาบันการศึกษาขนาดเล็กระดับโรงเรียนชั้นประถมแล้ว
สำหรับผู้มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนา เรื่องความไม่โปร่งใสแทรกซึมเข้าไปถึงในองค์กรขนาดเล็กเช่นโรงเรียนชั้นประถมไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ทั้งนี้เพราะอุปสรรคใหญ่ในกระบวนการพัฒนาคือความฉ้อฉลของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะคนในภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่จะไม่ประสบผลสำเร็จตามความคาดหวัง หากความไม่โปร่งใสที่ฝังลึกอยู่โดยทั่วไปยังไม่ถูกกำจัด การแก้ปัญหาด้านธรรมาภิบาลโดยการใช้มาตรา 44 หรืออะไรก็ตามที่มีความเข้มข้นจริงๆ จึงควรขยายต่อไปจนกว่าจะเกิดความโปร่งใสขึ้นในสังคมโดยรวม
สำหรับในด้านการปฏิรูปการศึกษา การกำจัดความไม่โปร่งใสนอกจากจะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการศึกษา หรือการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างยิ่งยวดอีกด้วย การสรุปเช่นนี้มีที่มาจากการมองการศึกษากว้างกว่าดังที่มักมองกันโดยทั่วไป กล่าวคือ การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ส่วนใหญ่เกิดนอกสถาบันการศึกษามากกว่าในสถาบัน และหลักการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งได้แก่การลอกเลียนแบบ
การมองว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลานี้มีมานานและมีความสำคัญมาก หากเราเชื่อว่าบรรพบุรุษของมนุษย์เราถือกำเนิดในทวีปแอฟริกา และมองต่อไปว่าชาวแอฟริกามองการศึกษาอย่างไร เราจะพบว่า ชาวแอฟริกาหลายเผ่ามีคำพังเพยน่าสนใจมาก นั่นคือ “ต้องใช้ทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงเด็ก” หรือ It takes a whole village to raise a child. ผู้ที่ติดตามเรื่องการเมืองในสหรัฐอเมริกาคงทราบแล้วว่า ฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเคยเขียนหนังสือชื่อ It Takes a Village ชื่อนี้มีที่มาจากคำพังเพยดังกล่าว หนังสือขายดีมากส่งผลให้ฮิลลารี คลินตันมีรายได้หลายล้านดอลลาร์ แต่เธอมิได้เก็บรายได้นั้นไว้ หากบริจาคให้องค์กรเพื่อการกุศล
อนึ่ง คำพังเพยดังกล่าวนั้นมิใช่พูดกันขึ้นมาลอยๆ หากสะท้อนแนวคิดที่มีความสำคัญยิ่ง นั่นคือ การจะเลี้ยงเด็กให้เติบใหญ่ขึ้นได้เป็นอย่างดีและมีการศึกษาตามที่สังคมต้องการ จะต้องอาศัยความใส่ใจของผู้ใหญ่ทุกคนในชุมชน ชุมชนในที่นี้มีความหมายกว้างมากเนื่องจากในปัจจุบันเด็กรับรู้ข่าวสารข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว รวมทั้งข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดและพฤติกรรมของพวกเขาด้วย นั่นหมายความว่า การเรียนรู้ที่สำคัญเกิดจากการลอกเลียนแบบ เรื่องนี้มีตัวอย่างที่คงรับรู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้วเกี่ยวกับเด็กในครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่ เด็กจากครอบครัวเหล่านี้จะติดบุหรี่มากกว่าเด็กจากครอบครัวที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีคำพังเพยเชิงขบขันของชาวอเมริกันว่า Monkey see, monkey do. หรือ “ลิงเห็น ลิงย่อมทำตาม”
สำหรับในด้านการศึกษา คำพังเพยของชาวอเมริกันนั้นขบขันเลย ตรงข้าม ผู้ใหญ่ต้องใส่ใจมันอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ถ่ายทอดไปถึงเด็กอยู่ตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งการศึกษาเกิดขึ้นตลอดเวลา และการให้การศึกษาที่ดีที่สุดคือการทำตนเป็นต้นแบบที่ดี ด้วยเหตุนี้ ผู้ใหญ่ในสังคมโดยทั่วไปต้องปฏิรูปตัวเองก่อน การจะปฏิรูปการศึกษาจึงจะประสบความสำเร็จ
ผู้ใหญ่จะต้องปฏิรูปตัวเองทางด้านไหนจึงจะทำให้เด็กไทยมีการศึกษาตามที่สังคมปรารถนาและพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง?
เนื่องจากเราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของต่างชาติที่เด็กอาจยึดเป็นต้นแบบได้ การปฏิรูปตัวเองในที่นี้จึงจำกัดอยู่ที่การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทย ส่วนคำถามที่ตั้งขึ้นมานั้นตอบได้จากหลายมุมมอง เช่น ถ้าผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กสนใจศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือ ผู้ใหญ่จะต้องหมั่นอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่พวกเขายังอ่านหนังสือไม่ได้ และจะต้องอ่านให้พวกเขาเห็นเป็นประจำวันในการดำเนินชีวิต หรือเกี่ยวกับเรื่องความฉ้อฉลที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา ถ้าจะสอนให้เด็กปฏิบัติตามคำขวัญในแนว “เมื่อเติบโตไปจะไม่โกง” ผู้ใหญ่จะต้องไม่โกงให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง การโกงในที่นี้มีความครอบคลุมมาก จากการไม่ทำตามกฎเกณฑ์เล็กๆ เช่นการทิ้งขยะลงบนถนนไปจนถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวงในโครงการขนาดยักษ์
ที่เขียนมานี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ถ้าจะปฏิรูปการศึกษา อย่าจ้องมองไปที่การปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาดังที่เคยทำมาแล้ว หรือการยกระดับธรรมาภิบาลของสถาบันทางการศึกษาเท่านั้น หากจะต้องทำสิ่งที่สำคัญกว่าด้วย ได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใหญ่ให้เป็นต้นแบบ ผู้ใหญ่อยากเห็นเด็กเป็นเช่นไร ตัวเองต้องทำตนให้เป็นเช่นนั้นก่อน