วานนี้ (28 ก.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้มีการพิจารณา การแถลงเปิดสำนวนถอดถอน นายประชา ประสพดี อดีต รมช.มหาดไทย ออกจากตำแหน่ง กรณีใช้ตำแหน่ง รมช.มหาดไทย แทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการองค์การตลาด(อ.ต.) กระทรวงมหาดไทย ตามที่คณะกรรมการป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้สนช.พิจารณา
น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แถลงเปิดสำนวนกล่าวหา นายประชาว่าในเดือนมิ.ย.55 มีการร้องเรียน นายธีธัช สุขสะอาด ผอ.องค์การตลาดในขณะนั้น ตามความผิด พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 กรณีสมยอมราคาการปรับปรุงอาคารทรงไทย สำนักงานองค์การตลาด จ.ฉะเชิงเทรา ทำให้องค์การตลาดเสียประโยชน์ ซึ่งองค์การตลาดได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงและสรุปผลสอบสวน นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมองค์การตลาด ในวันที่ 2 พ.ย. 55 เพื่อพิจารณาเลิกจ้างนายธีธัช
แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 1 พ.ย.55 นายประชาได้โทรศัพท์ไปหารองประธานอ.ต.ในขณะนั้น เพื่อสั่งการให้ชะลอการประชุมองค์การตลาดในวันที่ 2 พ.ย.ออกไปก่อน ทำให้ นายสำคัญ ธรรมรัต ประธานองค์การตลาดในขณะนั้นต้องเลื่อนการประชุมออกไป แม้ต่อมานายสำคัญ จะนัดประชุมบอร์ด อ.ต. เพื่อพิจารณาลงโทษนายธีธัชอีกครั้ง ในวันที่ 12 พ.ย. 55 แต่มีหนังสือลงนามจากนายประชา สั่งให้ชะลอการประชุมออกไปอีกจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง แต่บอร์ดได้นัดประชุมครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 พ.ย. 55 และมีมติปลดนายธีธัช ออกจากตำแหน่ง ผอ.อต. ทำให้นายประชา โทรศัพท์ไปต่อว่านายสำคัญ ที่นัดประชุมว่าฝ่าฝืนคำสั่ง และยังให้สัมภาษณ์สื่อว่า คำสั่งเลิกจ้างนายธีธัช ของบอร์ดอ.ต.เป็นการประชุมโดยมิชอบ ไม่มีผลผูกพัน จากนั้นนายประชา มีคำสั่งปลดบอร์ด อ.ต. 4 คน ที่เกี่ยวข้องกับการปลดนายธีธัช
"ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์ของนายประชา เข้าข่ายการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการอ.ต. แม้จะเป็น รมช.มหาดไทย รับผิดชอบองค์กรนี้ แต่ก็มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะเรื่องนโยบายเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายเรื่องการเลื่อนประชุม และการพิจารณาลงโทษ ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการ อ.ต.ได้ และนายประชาได้รับการแต่งตั้งเป็น รมช.มหาดไทย เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 55 แต่ระหว่างนั้น ยังไม่มีการถวายสัตย์ปฏิญาณ และนายประชา ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานองค์การตลาด เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 55 ดังนั้น การดำเนินการของนายประชาในช่วงก่อนวันที่ 12 พ.ย. และหลังวันที่ 12 พ.ย. จึงเป็นการแทรกแซง เข้าข่ายถูกถอดถอน ตามความผิด มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 และ มาตรา 64 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 จึงส่งเรื่องให้สนช. ดำเนินการถอดถอนต่อไป"
ด้านนายประชา แถลงคัดค้านว่า ตนขอคัดค้านทุกข้อกล่าวหาเพราะ การที่ ป.ป.ช.ได้มีมติส่งเรื่องถอดถอนตนนั้น ตามข้อกฎหมายทำไม่ได้ เพราะไม่ได้มีการยื่นคำร้องในการถอดถอนตนในกรณีดังกล่าวตั้งแต่แรก ประกอบกับคณะอนุกรรมการไต่สวน และกรรมการป.ป.ช. เสียงข้างน้อย ได้ทักท้วงเรื่องนี้ แต่กรรมการป.ป.ช. ก็ไม่ได้วินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตนเองก่อน แต่กลับส่งเรื่องให้สนช.พิจารณาถอดถอนตน
สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่า ตนใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปแทรกแซง ก้าวก่าย ที่ประชุมอ.ต.นั้น ทางป.ป.ช. ก็มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมาย ทั้งเรื่องการเลิกจ้าง ผอ.กต.ที่จะต้องเสนอต่อผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง หรือถอดถอนให้ความเห็นชอบก่อน ซึ่งเรื่องนี้มีพยาน และความเห็นทางกฎหมายจากหลายหน่วยงาน ทั้งในส่วนกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) รวมไปถึงคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันด้วย ส่วนการใช้อำนาจสั่งการให้ชะลอการประชุม คณะกรรมการ อ.ต.นั้น ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาก้าวก่ายแทรกแซง เพียงขอให้รอตนเข้าไปมอบนโยบายก่อน โดยได้ทำหนังสือแจ้งไปยังอ.ต.อย่างเปิดเผย และเป็นทางการ เพราะตนเข้าใจโดยสุจริตว่า รมช.มหาไทย มีอำนาจหน้าที่ที่จะทำได้ ซึ่งศาลปกครองกลาง ก็ได้มีคำพิพากษาว่า ความเป็นรมช. ของตนสามารถใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าว และยังมีผลตามกฎหมายด้วย จึงทำให้มติของที่ประชุมก.ต. ที่สั่งให้เลิกจ้างนายธีธัช ไม่มีผล และไม่ผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งกรรมการป.ป.ช.ก็ยอมรับอำนาจหน้าที่ของตน
"ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่า เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงตามที่ถูกกล่าวหา และก็ยังไม่มีเหตุผลใดที่จะเข้าไปช่วย หรือเอื้อประโยชน์กับนายธีธัช เพื่อไม่ให้ไปดำเนินการทางวินัย และอาญา อีกทั้ง กระบวนการให้การดำเนินคดีกับนายธีธัช ก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งกรรมการป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวตกไป ส่วนการดำเนินการทางวินัย ก็สอบสวนจนเป็นที่ยุติว่านายธีธัช ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงทำให้ผมต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการ อ.ต. พ้นจากตำแหน่ง ก็เป็นอำนาจของครม. ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น ก็ทำเป็นประจำในทุกรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ อ.ต. มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง และรัฐบาลปัจจุบัน ก็เปลี่ยนแล้วถึง 2 ครั้ง โดยที่ผมมิได้มีเจตนาที่กลั่นแกล้ง หรือทำความเสียหายให้แก่กรรมการคนใด ฉะนั้น ด้วยข้อจริง และข้อกฎหมาย จึงข้อคัดค้าน โต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนข้อกล่าวหาทั้งหมด เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ผิดไปจากหลักการทางกฎหมาย และไม่เป็นความจริง ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ถูกยกเลิกไปแล้ว และผมก็ได้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตั้งนานแล้วด้วย จึงขอให้สนช. พิจารณาข้อเท็จจริงด้วยความเป็นธรรม"
จากนั้น นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 7 คน ก่อนได้กำหนดนัดประชุม เพื่อให้คณะกรรมาธิการ ซักถามถามคู่กรณีในวันที่ 11 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แถลงเปิดสำนวนกล่าวหา นายประชาว่าในเดือนมิ.ย.55 มีการร้องเรียน นายธีธัช สุขสะอาด ผอ.องค์การตลาดในขณะนั้น ตามความผิด พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 กรณีสมยอมราคาการปรับปรุงอาคารทรงไทย สำนักงานองค์การตลาด จ.ฉะเชิงเทรา ทำให้องค์การตลาดเสียประโยชน์ ซึ่งองค์การตลาดได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงและสรุปผลสอบสวน นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมองค์การตลาด ในวันที่ 2 พ.ย. 55 เพื่อพิจารณาเลิกจ้างนายธีธัช
แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 1 พ.ย.55 นายประชาได้โทรศัพท์ไปหารองประธานอ.ต.ในขณะนั้น เพื่อสั่งการให้ชะลอการประชุมองค์การตลาดในวันที่ 2 พ.ย.ออกไปก่อน ทำให้ นายสำคัญ ธรรมรัต ประธานองค์การตลาดในขณะนั้นต้องเลื่อนการประชุมออกไป แม้ต่อมานายสำคัญ จะนัดประชุมบอร์ด อ.ต. เพื่อพิจารณาลงโทษนายธีธัชอีกครั้ง ในวันที่ 12 พ.ย. 55 แต่มีหนังสือลงนามจากนายประชา สั่งให้ชะลอการประชุมออกไปอีกจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง แต่บอร์ดได้นัดประชุมครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 พ.ย. 55 และมีมติปลดนายธีธัช ออกจากตำแหน่ง ผอ.อต. ทำให้นายประชา โทรศัพท์ไปต่อว่านายสำคัญ ที่นัดประชุมว่าฝ่าฝืนคำสั่ง และยังให้สัมภาษณ์สื่อว่า คำสั่งเลิกจ้างนายธีธัช ของบอร์ดอ.ต.เป็นการประชุมโดยมิชอบ ไม่มีผลผูกพัน จากนั้นนายประชา มีคำสั่งปลดบอร์ด อ.ต. 4 คน ที่เกี่ยวข้องกับการปลดนายธีธัช
"ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์ของนายประชา เข้าข่ายการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการอ.ต. แม้จะเป็น รมช.มหาดไทย รับผิดชอบองค์กรนี้ แต่ก็มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะเรื่องนโยบายเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายเรื่องการเลื่อนประชุม และการพิจารณาลงโทษ ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการ อ.ต.ได้ และนายประชาได้รับการแต่งตั้งเป็น รมช.มหาดไทย เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 55 แต่ระหว่างนั้น ยังไม่มีการถวายสัตย์ปฏิญาณ และนายประชา ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานองค์การตลาด เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 55 ดังนั้น การดำเนินการของนายประชาในช่วงก่อนวันที่ 12 พ.ย. และหลังวันที่ 12 พ.ย. จึงเป็นการแทรกแซง เข้าข่ายถูกถอดถอน ตามความผิด มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 และ มาตรา 64 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 จึงส่งเรื่องให้สนช. ดำเนินการถอดถอนต่อไป"
ด้านนายประชา แถลงคัดค้านว่า ตนขอคัดค้านทุกข้อกล่าวหาเพราะ การที่ ป.ป.ช.ได้มีมติส่งเรื่องถอดถอนตนนั้น ตามข้อกฎหมายทำไม่ได้ เพราะไม่ได้มีการยื่นคำร้องในการถอดถอนตนในกรณีดังกล่าวตั้งแต่แรก ประกอบกับคณะอนุกรรมการไต่สวน และกรรมการป.ป.ช. เสียงข้างน้อย ได้ทักท้วงเรื่องนี้ แต่กรรมการป.ป.ช. ก็ไม่ได้วินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตนเองก่อน แต่กลับส่งเรื่องให้สนช.พิจารณาถอดถอนตน
สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่า ตนใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปแทรกแซง ก้าวก่าย ที่ประชุมอ.ต.นั้น ทางป.ป.ช. ก็มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมาย ทั้งเรื่องการเลิกจ้าง ผอ.กต.ที่จะต้องเสนอต่อผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง หรือถอดถอนให้ความเห็นชอบก่อน ซึ่งเรื่องนี้มีพยาน และความเห็นทางกฎหมายจากหลายหน่วยงาน ทั้งในส่วนกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) รวมไปถึงคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันด้วย ส่วนการใช้อำนาจสั่งการให้ชะลอการประชุม คณะกรรมการ อ.ต.นั้น ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาก้าวก่ายแทรกแซง เพียงขอให้รอตนเข้าไปมอบนโยบายก่อน โดยได้ทำหนังสือแจ้งไปยังอ.ต.อย่างเปิดเผย และเป็นทางการ เพราะตนเข้าใจโดยสุจริตว่า รมช.มหาไทย มีอำนาจหน้าที่ที่จะทำได้ ซึ่งศาลปกครองกลาง ก็ได้มีคำพิพากษาว่า ความเป็นรมช. ของตนสามารถใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าว และยังมีผลตามกฎหมายด้วย จึงทำให้มติของที่ประชุมก.ต. ที่สั่งให้เลิกจ้างนายธีธัช ไม่มีผล และไม่ผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งกรรมการป.ป.ช.ก็ยอมรับอำนาจหน้าที่ของตน
"ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่า เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงตามที่ถูกกล่าวหา และก็ยังไม่มีเหตุผลใดที่จะเข้าไปช่วย หรือเอื้อประโยชน์กับนายธีธัช เพื่อไม่ให้ไปดำเนินการทางวินัย และอาญา อีกทั้ง กระบวนการให้การดำเนินคดีกับนายธีธัช ก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งกรรมการป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวตกไป ส่วนการดำเนินการทางวินัย ก็สอบสวนจนเป็นที่ยุติว่านายธีธัช ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงทำให้ผมต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการ อ.ต. พ้นจากตำแหน่ง ก็เป็นอำนาจของครม. ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น ก็ทำเป็นประจำในทุกรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ อ.ต. มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง และรัฐบาลปัจจุบัน ก็เปลี่ยนแล้วถึง 2 ครั้ง โดยที่ผมมิได้มีเจตนาที่กลั่นแกล้ง หรือทำความเสียหายให้แก่กรรมการคนใด ฉะนั้น ด้วยข้อจริง และข้อกฎหมาย จึงข้อคัดค้าน โต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนข้อกล่าวหาทั้งหมด เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ผิดไปจากหลักการทางกฎหมาย และไม่เป็นความจริง ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ถูกยกเลิกไปแล้ว และผมก็ได้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตั้งนานแล้วด้วย จึงขอให้สนช. พิจารณาข้อเท็จจริงด้วยความเป็นธรรม"
จากนั้น นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 7 คน ก่อนได้กำหนดนัดประชุม เพื่อให้คณะกรรมาธิการ ซักถามถามคู่กรณีในวันที่ 11 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป