ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดเร่งบูรณาการงานด้านต่างๆเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่องตามแผนมุ่งเน้น “เสริมสร้างความเข้าใจ ใฝ่รู้ภาษา มุ่งพัฒนาสัมพันธ์ เท่าทันเทคโนโลยี สามัคคีอาเซียน” ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนไทยมีศักยภาพพร้อมอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ”
และจากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใน 10 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยมี จ.เชียงราย รวมอยู่ด้วยนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้เข้าไปกำกับดูแลจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไปพร้อมๆกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่บริเวณชายแดน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคนรองรับความต้องการในพื้นที่และการพัฒนาประเทศโดยรวม
เมื่อเร็วๆนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะผู้บริหารการศึกษา ได้ลงพื้นที่ร่วมประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ ห้องประชุมจอมกิตติ ศาลากลาง จ.เชียงราย โดยมีวาระการประชุมถึงแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ รวมถึงทิศทางการพัฒนา พร้อมทราบถึงความต้องการที่จะให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสนับสนุนในด้านต่างๆ
สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เป็นแผนระยะยาว 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560-2569 มีกรอบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเฉพาะพื้นที่ พัฒนากระบวนการบริหารโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายควบคู่กับการพัฒนาครูและบุคลาการทางการศึกษา มุ่งหมายสนับสนุนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายใน 3 พื้นที่
ประกอบด้วย อ.แม่สาย เน้นพัฒนาด่านชายแดนรองรับการค้า การท่องเที่ยว เตรียมพื้นที่จัดตั้งโรงแรม ศูนย์การประชุม ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์ขนส่งมวลชน และศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว (TradingCity)
อ.เชียงแสน เน้นเขตการค้าเสรี เขตปลอดภาษีอากร ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เตรียมพื้นที่จัดตั้งท่าเรือ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายและคลังสินค้าพาณิชยกรรม สำนักงานและศุลกากร
(PortCity)
และ อ.เชียงของ เน้นการค้า การท่องเที่ยว ศูนย์ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เตรียมพื้นที่รับศูนย์โลจิสติกส์ พาณิชยกรรม สำนักงานการค้าและศุลกากร (Logistics City)
ในการประชุม พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้เน้นย้ำการบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ทำงานสอดประสานกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยมีคุณภาพเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในศตวรรษที่ 21 โดยการนำแผนงานโครงการ การจัดการ ซึ่งอาจรวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณตามระเบียบราชการ ให้เกิดประโยชน์ ไม่ซ้ำซ้อน และประสานสอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังได้กำชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคประชาสังคมในรูปแบบสานพลังประชารัฐ ให้มีความก้าวหน้ายกระดับคุณภาพการพัฒนาด้านการศึกษา สายอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาผู้นำเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย
นอกจากนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ยังได้ย้ำถึงการพัฒนาคนจะต้องให้ความสำคัญกับคุณธรรมจริยธรรม เพราะถือเป็นหนึ่งในแผนงานที่สำคัญ เพราะการสร้างคนให้เกิดคุณภาพเป็นหน้าที่ เป็นบทบาท เป็นความรับผิดชอบ เมื่อมีคุณภาพ มีทักษะ มีความรู้แล้วก็อยากจะให้เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เชื่อมโยงเข้ามาอยู่ในแผนงานด้วย
**“การสานพลังประชารัฐมีความสำคัญในการพัฒนาคน ให้มีความก้าวหน้ายกระดับคุณภาพด้านการศึกษา และสายอาชีพ รวมไปถึงการพัฒนาความเป็นผู้นำ เพื่อให้คนไทยมีศักยภาพพร้อมอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ ตามที่รัฐบาลได้มุ่งหวังไว้ เพื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ไปด้วยกัน” รมช.ศึกษาธิการะบุ.
และจากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใน 10 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยมี จ.เชียงราย รวมอยู่ด้วยนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้เข้าไปกำกับดูแลจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไปพร้อมๆกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่บริเวณชายแดน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคนรองรับความต้องการในพื้นที่และการพัฒนาประเทศโดยรวม
เมื่อเร็วๆนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะผู้บริหารการศึกษา ได้ลงพื้นที่ร่วมประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ ห้องประชุมจอมกิตติ ศาลากลาง จ.เชียงราย โดยมีวาระการประชุมถึงแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ รวมถึงทิศทางการพัฒนา พร้อมทราบถึงความต้องการที่จะให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสนับสนุนในด้านต่างๆ
สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เป็นแผนระยะยาว 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560-2569 มีกรอบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเฉพาะพื้นที่ พัฒนากระบวนการบริหารโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายควบคู่กับการพัฒนาครูและบุคลาการทางการศึกษา มุ่งหมายสนับสนุนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายใน 3 พื้นที่
ประกอบด้วย อ.แม่สาย เน้นพัฒนาด่านชายแดนรองรับการค้า การท่องเที่ยว เตรียมพื้นที่จัดตั้งโรงแรม ศูนย์การประชุม ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์ขนส่งมวลชน และศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว (TradingCity)
อ.เชียงแสน เน้นเขตการค้าเสรี เขตปลอดภาษีอากร ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เตรียมพื้นที่จัดตั้งท่าเรือ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายและคลังสินค้าพาณิชยกรรม สำนักงานและศุลกากร
(PortCity)
และ อ.เชียงของ เน้นการค้า การท่องเที่ยว ศูนย์ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เตรียมพื้นที่รับศูนย์โลจิสติกส์ พาณิชยกรรม สำนักงานการค้าและศุลกากร (Logistics City)
ในการประชุม พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้เน้นย้ำการบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ทำงานสอดประสานกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยมีคุณภาพเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในศตวรรษที่ 21 โดยการนำแผนงานโครงการ การจัดการ ซึ่งอาจรวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณตามระเบียบราชการ ให้เกิดประโยชน์ ไม่ซ้ำซ้อน และประสานสอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังได้กำชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคประชาสังคมในรูปแบบสานพลังประชารัฐ ให้มีความก้าวหน้ายกระดับคุณภาพการพัฒนาด้านการศึกษา สายอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาผู้นำเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย
นอกจากนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ยังได้ย้ำถึงการพัฒนาคนจะต้องให้ความสำคัญกับคุณธรรมจริยธรรม เพราะถือเป็นหนึ่งในแผนงานที่สำคัญ เพราะการสร้างคนให้เกิดคุณภาพเป็นหน้าที่ เป็นบทบาท เป็นความรับผิดชอบ เมื่อมีคุณภาพ มีทักษะ มีความรู้แล้วก็อยากจะให้เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เชื่อมโยงเข้ามาอยู่ในแผนงานด้วย
**“การสานพลังประชารัฐมีความสำคัญในการพัฒนาคน ให้มีความก้าวหน้ายกระดับคุณภาพด้านการศึกษา และสายอาชีพ รวมไปถึงการพัฒนาความเป็นผู้นำ เพื่อให้คนไทยมีศักยภาพพร้อมอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ ตามที่รัฐบาลได้มุ่งหวังไว้ เพื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ไปด้วยกัน” รมช.ศึกษาธิการะบุ.