ผู้จัดการรายวัน360-"วิษณุ"เผยกำลังรอคำพิพากษาศาลอังกฤษ ก่อนวางแนวทางสางจีที 200 เบื้องต้นพบมี 2 ปมใหญ่ต้องตีโจทย์ให้แตก การจัดซื้อจัดจ้างถูกต้องหรือไม่ และมีการหลอกลวง ฉ้อโกงหรือไม่ ระบุไทยเคยขอแจมเป็นผู้เสียหายแล้ว แต่อัยการอังกฤษไม่ยอม เหตุกฎหมายไทยมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ยันคดีใน ป.ป.ช.กว่า 10 คดี เสร็จ ก.ย.นี้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายต่อบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องตรวจระเบิดปลอม จีที 200 หลังศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์บริษัทผู้ผลิตว่า ในไทยมีการจัดซื้อ 3 ประเภท คือ จีที 200 อัลฟ่า 6 และเอดีอี 651 ซึ่งทั้ง 3 ชนิด เป็นเครื่องมือเดียวกัน หรืออาจมีความแตกต่างอยู่เล็กน้อย โดยทั้ง 3 ยี่ห้อ มาจากบริษัทต่างกัน แต่มีความเชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดผลต่อรูปคดี โดยคดีที่เกิดขึ้นในศาลอังกฤษ เป็นการซื้อเครื่องมือตรวจสอบวัตถุระเบิดแบบเอดีอี 651
ทั้งนี้ การจัดซื้อของไทย มีตั้งแต่การซื้อตรงกับบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษ ซื้อผ่านตัวแทนบริษัทจำหน่าย ที่อยู่ในประเทศไทย โดยขณะนี้มีข้อมูล แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะตนได้ให้ไปตรวจสอบเพิ่มอีก เนื่องจากมีส่วนราชการได้ซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด 17 แห่ง ประมาณ 1,400 เครื่อง มูลค่า 1.2 พันล้านบาท
นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องนี้มี 2 ประเด็นใหญ่ คือ เรื่องความน่าสงสัย หรืออาจถึงขั้นทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง แบ่งออกเป็นเรื่องฮั้ว เรื่องการกำหนดราคากลาง เรื่องการซื้อในราคาสูงเกินสมควร และดำเนินการถูกตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ ซึ่งหากผิดผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ส่วนอีกประเด็น คือ การหลอกลวง ฉ้อโกง แสดงข้อมูลข้อเท็จจริงเป็นเท็จให้หลงเชื่อ จนได้ของไม่มีคุณภาพมาใช้ ซึ่งหากผิด ตัวการหลัก คือ เอกชนผู้จำหน่าย แต่ถ้าฝ่ายผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่าเขาหลอก และไปสมคบ เจ้าหน้าที่รัฐจะมีความผิดในฐานะตัวการร่วม
นายวิษณุกล่าวอีกว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คดีที่อังกฤษ เริ่มจากคดีอาญาก่อน ซึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง เมื่อศาลตัดสินแล้ว มีการดำเนินการฟ้องแพ่งต่อ จึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะเข้าไปเป็นผู้เสียหายหรือไม่ เพราะในที่สุดเราเป็นโจทก์ไม่ได้ และไม่ว่าประเทศใด ก็เป็นโจทก์ไม่ได้ เนื่องจากอัยการเป็นผู้ฟ้อง ซึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว เคยมีความพยายามของหน่วยงานไทย ที่จะเข้าไปเป็นผู้เสียหายด้วย อย่างน้อยเอาชื่อของเราใส่เข้าไปในคำฟ้อง ไม่ใช่ไม่ได้ทำ อย่างที่มีการพูดกัน ประกอบกับอังกฤษได้ติดต่อมา เพื่อต้องการทราบว่า บริษัทดังกล่าวได้ติดต่อมาเพื่อขอทราบว่าบริษัทจำหน่ายได้นำเครื่องมาขายให้ไทยหรือไม่ และสามารถใช้งานได้หรือไม่
"การจะไปพูดในศาลอังกฤษว่า ใครทำผิดต้องพิสูจน์ว่าได้นำเครื่องไปขายที่ใดบ้าง แล้วมีที่ใดใช้ไม่ได้ เราได้ให้ข้อมูลไปว่า เครื่องใช้ไม่ได้ ทั้งยังบอกไปอีกว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เราอยากขอเป็นฝ่ายผู้เสียหายในเรื่องนี้ด้วย แต่บังเอิญการกระทำความผิดตามกฎหมายไทย มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ทางอัยการอังกฤษ จึงลังเลมีปฏิกิริยาไม่เต็มใจจะดำเนินการในส่วนนี้ ทำให้ปัญหาคาราคาซังอยู่"
อย่างไรก็ตาม ในฝ่ายของไทยได้ดำเนินการไปแล้วหลายอย่าง โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับเรื่องที่เกี่ยวข้องไว้เป็นคดีพิเศษ ตั้งแต่ปี 2555 กว่า 10 คดี และมีการส่งให้อัยการส่งฟ้องทั้งหมดแล้ว แต่อัยการยังไม่ได้ฟ้องด้วยเหตุผลทางกฎหมาย อยากให้ดีเอสไอไปดำเนินการสอบต่อบางประเด็น ซึ่งอัยการเห็นว่า มี 1 คดี ที่ควรแยกออกมา เพื่อฟ้องเป็นคดีแพ่งไปก่อน เพราะเกี่ยวข้องกับอายุความ โดยศาลได้ตัดสินแล้วให้รัฐเป็นฝ่ายชนะ สัญญาเป็นโมฆะ ซึ่งเมื่อเป็นโมฆะ ต้องมีการกลับคืนทรัพย์มูลค่า 9 ล้านบาท แต่ขณะนี้มีแนวโน้มว่า เขาไม่มีเงินจะคืน ส่วนคดีในสำนักงาน ป.ป.ช. มีกว่า 10 คดี จะแล้วเสร็จในเดือนก.ย.2559 ซึ่งทั้งหมด เป็นข้อมูลที่เราได้ขณะนี้
นายวิษณุกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีหน่วยงานใดในประเทศไทยได้คำพิพากษาของศาลอังกฤษ แต่ทราบว่า ได้ขอไปแล้ว โดยผนึกกำลังร่วมกันของหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ อัยการ โดยอาจให้อัยการฝ่ายไทยประสานขอกับทางอัยการอังกฤษ หรืออาจจะไปขอคำพิพากษากับประเทศผู้เสียหาย ซึ่งเมื่อได้มา จะนำมาตีความว่า คำพิพากษาหมายความว่าอย่างไร จะนำไปสู่การดำเนินการอะไรบ้าง ซึ่งได้ให้อัยการสูงสุดเตรียมการรับในส่วนนี้ไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูแล้วแนวโน้มคงยากใช่หรือไม่ ที่จะเข้าสู่กระบวนการ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ขอตอบอะไรทั้งสิ้น เพราะขึ้นอยู่กับอะไรหลายอย่าง ทั้งอายุความ รูปคดี จึงต้องฟังฝ่ายกฎหมาย อัยการ ดีเอสไอ ที่กำลังดูเรื่องนี้กันอยู่ ซึ่งคดีนี้ที่ศาลอังกฤษตัดสิน คือ เครื่อง เอดีอี 651 แต่ของเรา คือ จีที 200 กับอัลฟ่า 6 จะเชื่อมโยงกันได้หรือไม่ และคำพิพากษาของศาลอังกฤษ ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับศาลไทย ต้องตั้งต้นฟ้องกันใหม่ แต่การนำสืบก็ดำเนินการนำฟ้องที่ศาลอังกฤษตัดสิน ไม่ใช่เรื่องยากลำบาก แต่ต้องคิดทุกอย่างประกอบกัน ทั้งค่าทนาย ระยะเวลา หากเกิดกรณีต้องไปขอเฉลี่ยทรัพย์ และยังต้องคิดด้วยว่า เมื่อชนะแล้ว เราจะได้อะไร ถ้าคิดว่าทั้งหมดมันสมควรก็จะดำเนินการ แต่ถ้าคิดว่าไม่สมควรที่จะดำเนินการ ก็แล้วไป ขณะนี้กำลังปรึกษากับฝ่ายกฎหมายต่างประเทศอยู่
เมื่อถามว่า หากจะดำเนินการฟ้องร้องกับผู้เกี่ยวข้องในไทย ใครจะเป็นจำเลยบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่ฟ้องเรื่องอะไร ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะบางบริษัทที่มาขาย เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย แต่บางบริษัทเป็นตัวจริงในประเทศอังกฤษ จึงให้ไปตรวจสอบอะไรบางอย่างตามที่มีการอ้างว่า เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร
"ไม่ใช่อยู่ดีๆ ใครเขาฟ้องกันแล้วชนะ เราไปขอแบ่งตังค์บ้างดีกว่า คงไม่ใช่ เจ้าหนี้ที่อังกฤษฟ้องลูกหนี้แล้วชนะ 100 ล้าน เรานึกว่าลูกหนี้ติดหนี้เราอยู่ เลยไปเอาบ้างดีกว่า มันทำอย่างนั้นไม่ได้ เพียงแต่ในต่างประเทศ มันมีการฟ้องร้องชนิดหนึ่ง ซึ่งเราเพิ่งแก้ไขกฎหมายที่เรียกว่า Class Action หรือการฟ้องร้องเป็นกลุ่ม คือ ฟ้องเพียงคนเดียวแต่ได้อานิสงส์เป็นกลุ่ม แต่เราไม่รู้ว่าคดีที่ศาลอังกฤษเป็นการฟ้องร้องเป็นกลุ่มหรือไม่เลยต้องรอดูคำพิพากษาและคำฟ้อง ถ้าฟ้องร้องเป็นกลุ่มอาจจะมีผลมาถึงเรา" นายวิษณุ กล่าว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายต่อบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องตรวจระเบิดปลอม จีที 200 หลังศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์บริษัทผู้ผลิตว่า ในไทยมีการจัดซื้อ 3 ประเภท คือ จีที 200 อัลฟ่า 6 และเอดีอี 651 ซึ่งทั้ง 3 ชนิด เป็นเครื่องมือเดียวกัน หรืออาจมีความแตกต่างอยู่เล็กน้อย โดยทั้ง 3 ยี่ห้อ มาจากบริษัทต่างกัน แต่มีความเชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดผลต่อรูปคดี โดยคดีที่เกิดขึ้นในศาลอังกฤษ เป็นการซื้อเครื่องมือตรวจสอบวัตถุระเบิดแบบเอดีอี 651
ทั้งนี้ การจัดซื้อของไทย มีตั้งแต่การซื้อตรงกับบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษ ซื้อผ่านตัวแทนบริษัทจำหน่าย ที่อยู่ในประเทศไทย โดยขณะนี้มีข้อมูล แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะตนได้ให้ไปตรวจสอบเพิ่มอีก เนื่องจากมีส่วนราชการได้ซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด 17 แห่ง ประมาณ 1,400 เครื่อง มูลค่า 1.2 พันล้านบาท
นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องนี้มี 2 ประเด็นใหญ่ คือ เรื่องความน่าสงสัย หรืออาจถึงขั้นทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง แบ่งออกเป็นเรื่องฮั้ว เรื่องการกำหนดราคากลาง เรื่องการซื้อในราคาสูงเกินสมควร และดำเนินการถูกตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ ซึ่งหากผิดผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ส่วนอีกประเด็น คือ การหลอกลวง ฉ้อโกง แสดงข้อมูลข้อเท็จจริงเป็นเท็จให้หลงเชื่อ จนได้ของไม่มีคุณภาพมาใช้ ซึ่งหากผิด ตัวการหลัก คือ เอกชนผู้จำหน่าย แต่ถ้าฝ่ายผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่าเขาหลอก และไปสมคบ เจ้าหน้าที่รัฐจะมีความผิดในฐานะตัวการร่วม
นายวิษณุกล่าวอีกว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คดีที่อังกฤษ เริ่มจากคดีอาญาก่อน ซึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง เมื่อศาลตัดสินแล้ว มีการดำเนินการฟ้องแพ่งต่อ จึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะเข้าไปเป็นผู้เสียหายหรือไม่ เพราะในที่สุดเราเป็นโจทก์ไม่ได้ และไม่ว่าประเทศใด ก็เป็นโจทก์ไม่ได้ เนื่องจากอัยการเป็นผู้ฟ้อง ซึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว เคยมีความพยายามของหน่วยงานไทย ที่จะเข้าไปเป็นผู้เสียหายด้วย อย่างน้อยเอาชื่อของเราใส่เข้าไปในคำฟ้อง ไม่ใช่ไม่ได้ทำ อย่างที่มีการพูดกัน ประกอบกับอังกฤษได้ติดต่อมา เพื่อต้องการทราบว่า บริษัทดังกล่าวได้ติดต่อมาเพื่อขอทราบว่าบริษัทจำหน่ายได้นำเครื่องมาขายให้ไทยหรือไม่ และสามารถใช้งานได้หรือไม่
"การจะไปพูดในศาลอังกฤษว่า ใครทำผิดต้องพิสูจน์ว่าได้นำเครื่องไปขายที่ใดบ้าง แล้วมีที่ใดใช้ไม่ได้ เราได้ให้ข้อมูลไปว่า เครื่องใช้ไม่ได้ ทั้งยังบอกไปอีกว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เราอยากขอเป็นฝ่ายผู้เสียหายในเรื่องนี้ด้วย แต่บังเอิญการกระทำความผิดตามกฎหมายไทย มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ทางอัยการอังกฤษ จึงลังเลมีปฏิกิริยาไม่เต็มใจจะดำเนินการในส่วนนี้ ทำให้ปัญหาคาราคาซังอยู่"
อย่างไรก็ตาม ในฝ่ายของไทยได้ดำเนินการไปแล้วหลายอย่าง โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับเรื่องที่เกี่ยวข้องไว้เป็นคดีพิเศษ ตั้งแต่ปี 2555 กว่า 10 คดี และมีการส่งให้อัยการส่งฟ้องทั้งหมดแล้ว แต่อัยการยังไม่ได้ฟ้องด้วยเหตุผลทางกฎหมาย อยากให้ดีเอสไอไปดำเนินการสอบต่อบางประเด็น ซึ่งอัยการเห็นว่า มี 1 คดี ที่ควรแยกออกมา เพื่อฟ้องเป็นคดีแพ่งไปก่อน เพราะเกี่ยวข้องกับอายุความ โดยศาลได้ตัดสินแล้วให้รัฐเป็นฝ่ายชนะ สัญญาเป็นโมฆะ ซึ่งเมื่อเป็นโมฆะ ต้องมีการกลับคืนทรัพย์มูลค่า 9 ล้านบาท แต่ขณะนี้มีแนวโน้มว่า เขาไม่มีเงินจะคืน ส่วนคดีในสำนักงาน ป.ป.ช. มีกว่า 10 คดี จะแล้วเสร็จในเดือนก.ย.2559 ซึ่งทั้งหมด เป็นข้อมูลที่เราได้ขณะนี้
นายวิษณุกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีหน่วยงานใดในประเทศไทยได้คำพิพากษาของศาลอังกฤษ แต่ทราบว่า ได้ขอไปแล้ว โดยผนึกกำลังร่วมกันของหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ อัยการ โดยอาจให้อัยการฝ่ายไทยประสานขอกับทางอัยการอังกฤษ หรืออาจจะไปขอคำพิพากษากับประเทศผู้เสียหาย ซึ่งเมื่อได้มา จะนำมาตีความว่า คำพิพากษาหมายความว่าอย่างไร จะนำไปสู่การดำเนินการอะไรบ้าง ซึ่งได้ให้อัยการสูงสุดเตรียมการรับในส่วนนี้ไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูแล้วแนวโน้มคงยากใช่หรือไม่ ที่จะเข้าสู่กระบวนการ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ขอตอบอะไรทั้งสิ้น เพราะขึ้นอยู่กับอะไรหลายอย่าง ทั้งอายุความ รูปคดี จึงต้องฟังฝ่ายกฎหมาย อัยการ ดีเอสไอ ที่กำลังดูเรื่องนี้กันอยู่ ซึ่งคดีนี้ที่ศาลอังกฤษตัดสิน คือ เครื่อง เอดีอี 651 แต่ของเรา คือ จีที 200 กับอัลฟ่า 6 จะเชื่อมโยงกันได้หรือไม่ และคำพิพากษาของศาลอังกฤษ ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับศาลไทย ต้องตั้งต้นฟ้องกันใหม่ แต่การนำสืบก็ดำเนินการนำฟ้องที่ศาลอังกฤษตัดสิน ไม่ใช่เรื่องยากลำบาก แต่ต้องคิดทุกอย่างประกอบกัน ทั้งค่าทนาย ระยะเวลา หากเกิดกรณีต้องไปขอเฉลี่ยทรัพย์ และยังต้องคิดด้วยว่า เมื่อชนะแล้ว เราจะได้อะไร ถ้าคิดว่าทั้งหมดมันสมควรก็จะดำเนินการ แต่ถ้าคิดว่าไม่สมควรที่จะดำเนินการ ก็แล้วไป ขณะนี้กำลังปรึกษากับฝ่ายกฎหมายต่างประเทศอยู่
เมื่อถามว่า หากจะดำเนินการฟ้องร้องกับผู้เกี่ยวข้องในไทย ใครจะเป็นจำเลยบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า อยู่ที่ฟ้องเรื่องอะไร ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะบางบริษัทที่มาขาย เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย แต่บางบริษัทเป็นตัวจริงในประเทศอังกฤษ จึงให้ไปตรวจสอบอะไรบางอย่างตามที่มีการอ้างว่า เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร
"ไม่ใช่อยู่ดีๆ ใครเขาฟ้องกันแล้วชนะ เราไปขอแบ่งตังค์บ้างดีกว่า คงไม่ใช่ เจ้าหนี้ที่อังกฤษฟ้องลูกหนี้แล้วชนะ 100 ล้าน เรานึกว่าลูกหนี้ติดหนี้เราอยู่ เลยไปเอาบ้างดีกว่า มันทำอย่างนั้นไม่ได้ เพียงแต่ในต่างประเทศ มันมีการฟ้องร้องชนิดหนึ่ง ซึ่งเราเพิ่งแก้ไขกฎหมายที่เรียกว่า Class Action หรือการฟ้องร้องเป็นกลุ่ม คือ ฟ้องเพียงคนเดียวแต่ได้อานิสงส์เป็นกลุ่ม แต่เราไม่รู้ว่าคดีที่ศาลอังกฤษเป็นการฟ้องร้องเป็นกลุ่มหรือไม่เลยต้องรอดูคำพิพากษาและคำฟ้อง ถ้าฟ้องร้องเป็นกลุ่มอาจจะมีผลมาถึงเรา" นายวิษณุ กล่าว