วานนี้ (14มิ.ย.) นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต. แถลงว่าที่ประชุมกกต.ได้พิจารณา กรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาเพลง"7สิงหา ประชามติร่วมใจ" ซึ่งแม้ผู้แต่งเพลงดังกล่าวก็ยืนยันว่า ไม่มีเจตนาทำให้เกิดการตีความอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่ต้องการเชิญชวนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด แต่เมื่อสังคมเกิดความคลางแคลงใจ จึงมีการหารือระหว่างกกต. ผู้แต่งเพลง และศิลปิน โดยผู้แต่งเพลง ได้เสนอเนื้อเพลงที่มีการปรับแก้ถ้อยคำใหม่ โดยตัดถ้อยคำที่สังคมไม่สบายใจออกไป แต่เบื้องต้น ที่ประชุมยังไม่เห็นชอบให้มีการเปลี่ยนแปลงเพลงณรงค์ตามที่เสนอ แต่ให้มีการเผยแพร่เนื้อหาเพลงใหม่ และเก่า เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจนถึงวันที่ 17 มิ.ย.นี้ ขณะเดียวกันก็จะมีการเชิญนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านภาษา และด้านการแต่งเพลง มาหารือถึงเนื้อหาของเพลงด้วย โดยหลังจากนั้นกกต.ก็จะดูว่าประชาชนและนักวิชาการ มีความเห็นอย่างไร หากเห็นว่าควรจะเปลี่ยน เราก็จะดำเนินการเปลี่ยน ซึ่ง กกต.อยากให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำประชามติ
ทั้งนี้ เนื้อหาเพลงที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ มีการตัดถ้อยคำที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ คือ คำว่า "ชักจูงชี้นำ" และ"ชี้ซ้าย ชี้ขวา" ออกไปจากท่อนที่มีคำร้องเป็นภาษาเหนือ และภาษาอีสาน นอกจากนั้นยังมีการปรับเนื้อหาในคำร้องที่เป็นภาษาใต้ จากเดิมที่ระบุว่า "ปักษ์ใต้ คนใต้ แหลงใต้ รักประชาธิปไตย รักความเสรี " มีการปรับเป็น "คนไทย ภาคใด แหลงใด รักประชาธิปไตย รักความเสรี"
ที่ประชุม กกต.ได้รับทราบกรณีที่ สำนักงาน กกต.เสนอขอเปลี่ยนสถานที่ในการจัดเวทีชี้แจงร่างรธน. และการทำประชามติ ที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 18 มิ.ย. ซึ่งเดิมจะจัดที่ค่ายกาวิละ มาเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ เนื่องจากค่ายกาวิละ รองรับคนได้เพียง 200 คน แต่ขณะนี้มีผู้ตอบรับเข้าร่วมงานถึง 500 คนแล้ว และคาดว่า กว่าจะถึงวันจัดงานก็จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ ทั้งนี้การเปลี่ยนสถานที่จัดงาน ไมได้เกี่ยวกับการที่นายกรัฐมนตรี ไม่ให้จัดในค่ายทหาร
นอกจากนี้ในวันที่ 21 มิ.ย. ทาง กกต.จะมีการเชิญคณะทูตประเทศต่างๆ ที่ประจำอยู่ในประเทศไทย มาร่วมรับฟังการชี้แจงการทำประชามติเพื่อเป็นการทำความเข้าใจ ถึงกระบวนการต่างๆด้วย ส่วนที่ กกต.ไม่ได้เชิญองค์กรระหว่างประเทศ เข้ามาสังเกตการณ์นั้น เป็นเรื่องของนโยบายที่มีมาแต่เดิม เพราะถ้าเชิญแล้วเชิญไม่ครบ ก็อาจถูกมองว่าเลือกปฎิบัติ
ที่ประชุม กกต. ยังได้มีการหารือกรณีที่ สน.สำราญราษฎร์ และสน.ชนะสงคราม ส่งสำนวน กระทำความผิดกม.ประชามติ โดยพบว่า มีกลุ่มคน 200-300 คน สวมเสื้อในลักษณะรณรงค์ให้โหวตโน แต่ไมได้ระบุว่า เป็นกลุ่มใด หรือมีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ จึงต้องการทราบว่า กกต. ในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมายดังกล่าว เห็นควรให้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งที่ประชุม กกต. มีมติว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นพนักงานสอบสวน มีอำนาจสอบสวน และดำเนินกระบวนการต่างๆได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนมาที่ กกต.เพื่อขอความเห็นอีก โดยกกต.จะได้ให้แนวปฎิบัตินี้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้มีการปฎิบัติไปในแนวทางเดียวกัน
ทั้งนี้ เนื้อหาเพลงที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ มีการตัดถ้อยคำที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ คือ คำว่า "ชักจูงชี้นำ" และ"ชี้ซ้าย ชี้ขวา" ออกไปจากท่อนที่มีคำร้องเป็นภาษาเหนือ และภาษาอีสาน นอกจากนั้นยังมีการปรับเนื้อหาในคำร้องที่เป็นภาษาใต้ จากเดิมที่ระบุว่า "ปักษ์ใต้ คนใต้ แหลงใต้ รักประชาธิปไตย รักความเสรี " มีการปรับเป็น "คนไทย ภาคใด แหลงใด รักประชาธิปไตย รักความเสรี"
ที่ประชุม กกต.ได้รับทราบกรณีที่ สำนักงาน กกต.เสนอขอเปลี่ยนสถานที่ในการจัดเวทีชี้แจงร่างรธน. และการทำประชามติ ที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 18 มิ.ย. ซึ่งเดิมจะจัดที่ค่ายกาวิละ มาเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ เนื่องจากค่ายกาวิละ รองรับคนได้เพียง 200 คน แต่ขณะนี้มีผู้ตอบรับเข้าร่วมงานถึง 500 คนแล้ว และคาดว่า กว่าจะถึงวันจัดงานก็จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ ทั้งนี้การเปลี่ยนสถานที่จัดงาน ไมได้เกี่ยวกับการที่นายกรัฐมนตรี ไม่ให้จัดในค่ายทหาร
นอกจากนี้ในวันที่ 21 มิ.ย. ทาง กกต.จะมีการเชิญคณะทูตประเทศต่างๆ ที่ประจำอยู่ในประเทศไทย มาร่วมรับฟังการชี้แจงการทำประชามติเพื่อเป็นการทำความเข้าใจ ถึงกระบวนการต่างๆด้วย ส่วนที่ กกต.ไม่ได้เชิญองค์กรระหว่างประเทศ เข้ามาสังเกตการณ์นั้น เป็นเรื่องของนโยบายที่มีมาแต่เดิม เพราะถ้าเชิญแล้วเชิญไม่ครบ ก็อาจถูกมองว่าเลือกปฎิบัติ
ที่ประชุม กกต. ยังได้มีการหารือกรณีที่ สน.สำราญราษฎร์ และสน.ชนะสงคราม ส่งสำนวน กระทำความผิดกม.ประชามติ โดยพบว่า มีกลุ่มคน 200-300 คน สวมเสื้อในลักษณะรณรงค์ให้โหวตโน แต่ไมได้ระบุว่า เป็นกลุ่มใด หรือมีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ จึงต้องการทราบว่า กกต. ในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมายดังกล่าว เห็นควรให้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งที่ประชุม กกต. มีมติว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นพนักงานสอบสวน มีอำนาจสอบสวน และดำเนินกระบวนการต่างๆได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนมาที่ กกต.เพื่อขอความเห็นอีก โดยกกต.จะได้ให้แนวปฎิบัตินี้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้มีการปฎิบัติไปในแนวทางเดียวกัน