นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การออกเสียงประชามติว่า เนื้อหาสาระของกฎหมายประชามติ และบรรยากาศของการทำประชามติ เป็นไปในลักษณะมัดมือชก เพราะมาตรา 10 ของ กม.ประชามติ เปิดโอกาสให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับร่างรธน. ให้ประชาชนทราบได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการจูงใจ สามารถใช้ข้าราชการของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นับแสนคน ออกไปอธิบายถึงร่างรธน. ซึ่งย่อมเชื่อได้ว่า คงออกไปประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีของรธน. แต่ในส่วนของผู้ที่เห็นต่าง ไม่สามารถออกไปพูดถึงความเห็นที่แตกต่าง ไม่สามารถพูดถึงข้อเสีย ในรธน. โดยมีหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ งบประมาณของรัฐ ร่วมมือสนับสนุนแต่อย่างใด
" การที่รัฐเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายหนึ่งพูดถึงข้อดีของร่างรธน.ได้ แต่ไม่เอื้อ ประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่งพูดถึงข้อเสียของร่างรธน. จึงเท่ากับเป็นการมัดมือชก ทางที่ดีรัฐควรเปิดพื้นที่ ร่วมมือ สนับสนุน ให้ผู้เห็นต่างดำเนินการเช่นเดียวกับที่กรธ.ทำได้ ก็จะถือว่าเป็นการทำประชามติ ที่เสรี และ เป็นธรรม" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการจัดทำประชามติร่างรธน. ว่ากกต.ได้เตรียมแผนงานต่างๆไว้พร้อมทุกขั้นตอนแล้ว ทั้งการจัดพิมพ์ร่างรธน. สรุปสาระสำคัญร่างรธน.รวมถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงให้มากที่สุด
หลังจากนี้ก็จะประสานขอความร่วมมือจากสภานายจ้าง ในการอำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้าง ในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งขอความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรม และหอการค้าไทย เพื่อให้ลูกจ้างสามารถออกมาใช้สิทธิออกเสียงในวันที่ 7 ส.ค.ได้ด้วย
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศกกต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติไม่ชัดเจนนั้น ขอชี้แจงว่าหลักการง่ายๆ ถ้าการแสดงความคิดเห็นเป็นไปโดยสุจริต ไม่ปลุกระดม ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายสามารถทำได้เลย ยกตัวอย่าง ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร แสดงเหตุผลออกมาในเชิงวิชาการ แบบนี้ทำได้ แต่หากปลุกระดมว่า ไม่ควรรับร่างรธน. แบบนี้ทำไม่ได้ แม้กระทั่ง กรธ. จะไปปลุกระดมให้ประชาชนรับร่างรธน. ก็ทำไม่ได้เช่นกัน ทำได้เพียงแค่อธิบายสาระสำคัญ ของร่างรธน. ขณะที่สนช. ก็ทำหน้าที่อธิบายประเด็นคำถามเพิ่มเติม และเหตุผลไป
"คนที่ทำหน้าที่ชี้ว่า สิ่งใดผิด หรือไม่ผิด คือศาลยุติธรรม ตอนนี้กกต.ออกแนวทางปฏิบัติ ทำได้ 6 ข้อ ทำไม่ได้ 8 ข้อ ถ้าหลังจากนี้จะมีสิ่งใดอีก กกต.ก็จะออกเป็นประกาศเพิ่มเติมต่อไป ขณะนี้ กกต.กำลังทยอยคิดอยู่ แต่เอาง่ายๆว่า การวิจารณ์ถ้าอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจ ทำได้ การโพสต์ข้อความ อย่าไปปลุกระดม หรือใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ก้าวร้าว รุนแรง อย่างไรก็ตาม ขอประชาชนอย่าไปกังวลเกินเหตุกับแนวทางต่างๆที่ออกมา หากปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย ก็ไม่ต้องไปกังวลอะไร " ประธาน กกต.กล่าว
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวว่า หลักการต่างๆที่กกต.ชี้แจงไป สามารถตอบคำถามต่างๆ ของสังคมได้พอสมควร ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ และตอบโจทย์ทุกรูปธรรมที่สังคมเกิดความสงสัย สิ่งที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าห้ามทำ คนที่คิดจะทำก็ทำได้ แต่เมื่อทำแล้วก็อาจจะมีอีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นว่าทำผิด นำพฤติกรรมดังกล่าวไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็เป็นวินิจฉัยของทางตำรวจ ว่าจะรับแจ้งความหรือไม่ จะส่งอัยการดำเนินการต่อไปหรือไม่ หรืออัยการจะฟ้องศาลหรือไม่ รวมทั้งศาลจะตัดสินอย่างไร
ดังนั้น สิ่งที่ กกต.บอกว่าทำได้ ถ้าท้ายสุดมีคนไปร้อง แล้วถึงศาล ซึ่งศาลอาจจะตัดสินตรงข้ามได้ หรือสิ่งที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้ ถ้ามีพฤติกรรมเกิดขึ้นจริง ท้ายสุดศาลอาจจะตัดสินว่า ทำได้ก็ได้ เพียงแต่ว่าขณะนี้ กกต.ให้แนวปฏิบัติที่ตีความจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงฯ เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในระดับหนึ่ง และรู้ว่าสิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ
" การที่รัฐเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายหนึ่งพูดถึงข้อดีของร่างรธน.ได้ แต่ไม่เอื้อ ประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่งพูดถึงข้อเสียของร่างรธน. จึงเท่ากับเป็นการมัดมือชก ทางที่ดีรัฐควรเปิดพื้นที่ ร่วมมือ สนับสนุน ให้ผู้เห็นต่างดำเนินการเช่นเดียวกับที่กรธ.ทำได้ ก็จะถือว่าเป็นการทำประชามติ ที่เสรี และ เป็นธรรม" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการจัดทำประชามติร่างรธน. ว่ากกต.ได้เตรียมแผนงานต่างๆไว้พร้อมทุกขั้นตอนแล้ว ทั้งการจัดพิมพ์ร่างรธน. สรุปสาระสำคัญร่างรธน.รวมถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงให้มากที่สุด
หลังจากนี้ก็จะประสานขอความร่วมมือจากสภานายจ้าง ในการอำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้าง ในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งขอความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรม และหอการค้าไทย เพื่อให้ลูกจ้างสามารถออกมาใช้สิทธิออกเสียงในวันที่ 7 ส.ค.ได้ด้วย
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศกกต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติไม่ชัดเจนนั้น ขอชี้แจงว่าหลักการง่ายๆ ถ้าการแสดงความคิดเห็นเป็นไปโดยสุจริต ไม่ปลุกระดม ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายสามารถทำได้เลย ยกตัวอย่าง ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร แสดงเหตุผลออกมาในเชิงวิชาการ แบบนี้ทำได้ แต่หากปลุกระดมว่า ไม่ควรรับร่างรธน. แบบนี้ทำไม่ได้ แม้กระทั่ง กรธ. จะไปปลุกระดมให้ประชาชนรับร่างรธน. ก็ทำไม่ได้เช่นกัน ทำได้เพียงแค่อธิบายสาระสำคัญ ของร่างรธน. ขณะที่สนช. ก็ทำหน้าที่อธิบายประเด็นคำถามเพิ่มเติม และเหตุผลไป
"คนที่ทำหน้าที่ชี้ว่า สิ่งใดผิด หรือไม่ผิด คือศาลยุติธรรม ตอนนี้กกต.ออกแนวทางปฏิบัติ ทำได้ 6 ข้อ ทำไม่ได้ 8 ข้อ ถ้าหลังจากนี้จะมีสิ่งใดอีก กกต.ก็จะออกเป็นประกาศเพิ่มเติมต่อไป ขณะนี้ กกต.กำลังทยอยคิดอยู่ แต่เอาง่ายๆว่า การวิจารณ์ถ้าอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจ ทำได้ การโพสต์ข้อความ อย่าไปปลุกระดม หรือใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ก้าวร้าว รุนแรง อย่างไรก็ตาม ขอประชาชนอย่าไปกังวลเกินเหตุกับแนวทางต่างๆที่ออกมา หากปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย ก็ไม่ต้องไปกังวลอะไร " ประธาน กกต.กล่าว
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวว่า หลักการต่างๆที่กกต.ชี้แจงไป สามารถตอบคำถามต่างๆ ของสังคมได้พอสมควร ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ และตอบโจทย์ทุกรูปธรรมที่สังคมเกิดความสงสัย สิ่งที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าห้ามทำ คนที่คิดจะทำก็ทำได้ แต่เมื่อทำแล้วก็อาจจะมีอีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นว่าทำผิด นำพฤติกรรมดังกล่าวไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็เป็นวินิจฉัยของทางตำรวจ ว่าจะรับแจ้งความหรือไม่ จะส่งอัยการดำเนินการต่อไปหรือไม่ หรืออัยการจะฟ้องศาลหรือไม่ รวมทั้งศาลจะตัดสินอย่างไร
ดังนั้น สิ่งที่ กกต.บอกว่าทำได้ ถ้าท้ายสุดมีคนไปร้อง แล้วถึงศาล ซึ่งศาลอาจจะตัดสินตรงข้ามได้ หรือสิ่งที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้ ถ้ามีพฤติกรรมเกิดขึ้นจริง ท้ายสุดศาลอาจจะตัดสินว่า ทำได้ก็ได้ เพียงแต่ว่าขณะนี้ กกต.ให้แนวปฏิบัติที่ตีความจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงฯ เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในระดับหนึ่ง และรู้ว่าสิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ