วานนี้ (8มิ.ย.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยว่าได้รับรายงานว่ามีเพจดังเพจหนึ่ง นำเพลงที่มีข้อความหยาบคาย เป็นเท็จ และมีเนื้อหานำไปสู่การโน้มน้าวจูงใจให้ประชาชนรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ทางหน้าเพจของตนเอง โดยระบุว่า "งานดีแบบนี้ต้องแชร์" ขณะนี้ได้ส่งเรื่องไปให้คณะทำงานศึกษารายละเอียดว่า เพจดังกล่าวนำมาเผยแพร่เมื่อไร หากเผยแพร่ในช่วงหลังวันที่ 23 เม.ย.59 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.บ.ประชามติ มีผลบังคับใช้ อาจถือเป็นความผิด และคลิปเพลงที่ผลิต มีการเผยแพร่ในยูทูปครั้งแรก เมื่อใด โดยกลุ่มใด หากเผยแพร่ก่อน 23 เม.ย.59 ไม่ถือว่าผู้เผยแพร่ครั้งแรกมีความผิด แต่ผู้แชร์ต่อหลังวันที่ 23 เม.ย. อาจมีความผิด
"มีบุคคลที่แสดงในคลิป ที่สามารถระบุชื่อหรือเป็นที่รู้จักของคนในสังคม เป็นใครบ้าง หากได้แสดงก่อนหน้า 23 เม.ย.59 ไม่มีความผิด แต่ควรใช้สิทธิไปลงบันทึกประจำวัน แสดงความบริสุทธิ์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็น สนับสนุน กับการเผยแพร่คลิปดังกล่าว ในช่วงที่ พ.ร.บ.ประชามติ มีผลใช้บังคับ" นายสมชัยกล่าว และว่า กลุ่มคนที่ร่วมแสดงในคลิป และกลุ่มคนทำเพจเผยแพร่มีจำนวนเกินกว่า 5 คนหรือไม่ หากเกินกว่า 5 คน อาจมีความผิด ตาม พ.ร.บ.ประชามติ ม. 61 วรรค 4 ด้วย
ที้งนี้ กกต.ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการแชร์ต่อ ด้วยเจตนาในการเผยแพร่เพื่อนำไปสู่การปลุกระดม ไปสู่การรับ หรือไม่รับ ร่างรธน. ซึ่งอาจจะเป็นความผิดตามกฎกมายได้
นายสมชัยให้สัมมภาษณ์อีกครั้งหลังการประชุมกกต.ว่า ได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว และได้มอบหมายให้คณะทำงานของสำนักงาน กกต.ไปศึกษาว่าเข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ คาดว่าภายในหนึ่งสัปดาห์น่าจะทราบผล
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า การออกมาเตือนเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่แค่ขู่เพื่อให้เลิกกระทำ แต่ กกต.เอาจริงทุกเรื่อง แต่การจะทำอะไรต้องเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม หากพบว่าเข้าข่ายมีความผิด ก็จะส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อ หรือ อย่างกรณี การขายเสื้อโหวตโน ของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ก็ในขั้นการดำเนินการอยู่ และยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าว กกต.ไม่สามารถรอคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะตราบที่ศาลฯ ยังไม่วินิจฉัย ต้องถือว่าพ.ร.บ.ประชามติ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ กกต.ในฐานะผู้รักษาการกฎหมาย ก็ต้องว่าไปตามข้อเท็จจริง หากหยุดดำเนินการ ก็มีโอกาสที่จะถูกฟ้องฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
ส่วนกรณี กลุ่มนปช. ตั้งศูนย์ปราบโกงประชามตินั้น นายสมชัยกล่าวว่า ระเบียบของ กกต.ไม่ได้ส่งเสริมให้องค์กรเอกชน เข้ามาร่วมตรวจสอบประชามติ เหมือนกับการเลือกตั้ง ดังนั้น กกต.จึงไม่สามารถไปส่งเสริมให้องค์กรเอกชน เข้ามาสังเกตการณ์การออกเสียงในหน่วยออกเสียงได้ ซึ่งการรวมตัวกันของประชาชนที่จะสังเกตการณ์การออกเสียง แม้จะทำได้ แต่ต้อง 1. ไม่เข้าไปในหน่วยออกเสียง 2. ไม่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วย 3. ไม่ก่อความวุ่นวาย หรือแสดงท่าทีในการโน้มน้าว จูงใจ ปลุกระดม ข่มขู่ ให้ผู้มาออกเสียงออกเสียงไปทางใดทางหนึ่ง ถ้ายึดในหลักการนี้ได้ การรวมตัวสอดส่องก็สามารถทำได้ รวมทั้ง กกต. มีแอพพลิเคชั่นตาสับปะรด เพื่อรับแจ้งเหตุ ประชาชนก็สามารถแจ้งเข้ามาได้ ซึ่งขณะนี้ยังมีน้อยอยู่ รวมถึงถ้านปช. อยากให้ กกต. ส่งคนไปอบรมการใช้แอพพลิฯ ดังกล่าวก็พร้อม
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงกรณีเสียงวิจารณ์ว่าเพลง “7 สิงหาประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง”ของกกต. มีเนื้อหาบางท่อนดูหมิ่นคนภาคอีสาน และภาคเหนือ ว่า กรณีนี้เป็นเรื่องของมุมมองที่แต่ละคนจะมีความเห็น กกต.คงจะไม่ไประงับการเผยแพร่ เพราะมองว่า เพลงดังกล่าวไม่มีเนื้อหาใดที่เข้าข่ายปลุกระดม ข่มขู่ หรือผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าหาก กกต.ไปกังวลก็เท่ากับว่าจะต้องยกเลิกทุกเรื่องตามที่คนเขาสะท้อนมา
"มีบุคคลที่แสดงในคลิป ที่สามารถระบุชื่อหรือเป็นที่รู้จักของคนในสังคม เป็นใครบ้าง หากได้แสดงก่อนหน้า 23 เม.ย.59 ไม่มีความผิด แต่ควรใช้สิทธิไปลงบันทึกประจำวัน แสดงความบริสุทธิ์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็น สนับสนุน กับการเผยแพร่คลิปดังกล่าว ในช่วงที่ พ.ร.บ.ประชามติ มีผลใช้บังคับ" นายสมชัยกล่าว และว่า กลุ่มคนที่ร่วมแสดงในคลิป และกลุ่มคนทำเพจเผยแพร่มีจำนวนเกินกว่า 5 คนหรือไม่ หากเกินกว่า 5 คน อาจมีความผิด ตาม พ.ร.บ.ประชามติ ม. 61 วรรค 4 ด้วย
ที้งนี้ กกต.ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการแชร์ต่อ ด้วยเจตนาในการเผยแพร่เพื่อนำไปสู่การปลุกระดม ไปสู่การรับ หรือไม่รับ ร่างรธน. ซึ่งอาจจะเป็นความผิดตามกฎกมายได้
นายสมชัยให้สัมมภาษณ์อีกครั้งหลังการประชุมกกต.ว่า ได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว และได้มอบหมายให้คณะทำงานของสำนักงาน กกต.ไปศึกษาว่าเข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ คาดว่าภายในหนึ่งสัปดาห์น่าจะทราบผล
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า การออกมาเตือนเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่แค่ขู่เพื่อให้เลิกกระทำ แต่ กกต.เอาจริงทุกเรื่อง แต่การจะทำอะไรต้องเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม หากพบว่าเข้าข่ายมีความผิด ก็จะส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อ หรือ อย่างกรณี การขายเสื้อโหวตโน ของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ก็ในขั้นการดำเนินการอยู่ และยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าว กกต.ไม่สามารถรอคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะตราบที่ศาลฯ ยังไม่วินิจฉัย ต้องถือว่าพ.ร.บ.ประชามติ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ กกต.ในฐานะผู้รักษาการกฎหมาย ก็ต้องว่าไปตามข้อเท็จจริง หากหยุดดำเนินการ ก็มีโอกาสที่จะถูกฟ้องฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
ส่วนกรณี กลุ่มนปช. ตั้งศูนย์ปราบโกงประชามตินั้น นายสมชัยกล่าวว่า ระเบียบของ กกต.ไม่ได้ส่งเสริมให้องค์กรเอกชน เข้ามาร่วมตรวจสอบประชามติ เหมือนกับการเลือกตั้ง ดังนั้น กกต.จึงไม่สามารถไปส่งเสริมให้องค์กรเอกชน เข้ามาสังเกตการณ์การออกเสียงในหน่วยออกเสียงได้ ซึ่งการรวมตัวกันของประชาชนที่จะสังเกตการณ์การออกเสียง แม้จะทำได้ แต่ต้อง 1. ไม่เข้าไปในหน่วยออกเสียง 2. ไม่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วย 3. ไม่ก่อความวุ่นวาย หรือแสดงท่าทีในการโน้มน้าว จูงใจ ปลุกระดม ข่มขู่ ให้ผู้มาออกเสียงออกเสียงไปทางใดทางหนึ่ง ถ้ายึดในหลักการนี้ได้ การรวมตัวสอดส่องก็สามารถทำได้ รวมทั้ง กกต. มีแอพพลิเคชั่นตาสับปะรด เพื่อรับแจ้งเหตุ ประชาชนก็สามารถแจ้งเข้ามาได้ ซึ่งขณะนี้ยังมีน้อยอยู่ รวมถึงถ้านปช. อยากให้ กกต. ส่งคนไปอบรมการใช้แอพพลิฯ ดังกล่าวก็พร้อม
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงกรณีเสียงวิจารณ์ว่าเพลง “7 สิงหาประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง”ของกกต. มีเนื้อหาบางท่อนดูหมิ่นคนภาคอีสาน และภาคเหนือ ว่า กรณีนี้เป็นเรื่องของมุมมองที่แต่ละคนจะมีความเห็น กกต.คงจะไม่ไประงับการเผยแพร่ เพราะมองว่า เพลงดังกล่าวไม่มีเนื้อหาใดที่เข้าข่ายปลุกระดม ข่มขู่ หรือผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าหาก กกต.ไปกังวลก็เท่ากับว่าจะต้องยกเลิกทุกเรื่องตามที่คนเขาสะท้อนมา