นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนักวิชาการยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีที่ พ.ร.บ.ประชามติ ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ เนื่องจากคสช.บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ว่า เป็นการใช้กฎหมายปกติ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาจากที่ไหนสักที่หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ว่าถ้าขัดกับกฎหมายจริง ก็จะได้หยุด แต่แม้ว่าจะหยุดโดยไม่ต้องมี พ.ร.บ.ประชามติ แต่ก็สามารถเดินหน้าดำเนินการต่อไปได้ เพราะในรัฐธรรมนูญระบุให้ทำประชามติ เพียงแต่ไม่มีกฎหมายเท่านั้น แต่ถ้าในวันที่ 7 ส.ค. ประชาชนกำลังจะไปกาบัตรกันอยู่แล้ว ก็ต้องว่ากันไปตามปกติ และหากถือเป็นการ ทำความผิด ก็อาจจะมีการเรียกไปปรับทัศนคติ ก็ว่ากันไป ยืนยันอีกครั้งว่า เราใช้กฎหมายปกติ ไม่ได้เข้มข้นแต่อย่างใด
นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการกกต. รักษาการแทนเลขาธิการกกต. เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานกกต. ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติร่างรธน. ในวันอาทิตย์ที่ 7 ส.ค. และได้เปิดให้มีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ได้มีประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงทยอยมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างวันที่ 1-11 พ.ค. มีจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธินอกเขตจังหวัดแล้วทั้งสิ้น 1,780 ราย โดยเป็นการลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ จาก 2 ช่องทาง คือการยื่นต่อสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียน ท้องถิ่น 526 ราย และการใช้ช่องทางการลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต 1,254 ราย
ทั้งนี้ การลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด ยังสามารถลงทะเบียนได้ใน 3 ช่องทาง คือ ยื่นด้วยตนเอง สำหรับกรุงเทพมหานคร ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานเขต และที่ต่างจังหวัดยื่นคำขอที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. - 7 ก.ค.ในวันและเวลาราชการ ทั้งนี้สามารถยื่นคำขอเป็นกลุ่มได้ โดยการมอบหมายผู้มีสิทธิอื่นยื่นแทน การยื่นทางไปรษณีย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.–30 มิ.ย. โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ และยื่นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ http://election.dopa.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.–30 มิ.ย. ตลอด 24 ชม. โดยระบบจะปิดอัตโนมัติในเวลา 24 .00 น. ของวันที่ 30 มิ.ย.
นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการกกต. รักษาการแทนเลขาธิการกกต. เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานกกต. ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติร่างรธน. ในวันอาทิตย์ที่ 7 ส.ค. และได้เปิดให้มีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ได้มีประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงทยอยมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างวันที่ 1-11 พ.ค. มีจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธินอกเขตจังหวัดแล้วทั้งสิ้น 1,780 ราย โดยเป็นการลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ จาก 2 ช่องทาง คือการยื่นต่อสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียน ท้องถิ่น 526 ราย และการใช้ช่องทางการลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต 1,254 ราย
ทั้งนี้ การลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด ยังสามารถลงทะเบียนได้ใน 3 ช่องทาง คือ ยื่นด้วยตนเอง สำหรับกรุงเทพมหานคร ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานเขต และที่ต่างจังหวัดยื่นคำขอที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. - 7 ก.ค.ในวันและเวลาราชการ ทั้งนี้สามารถยื่นคำขอเป็นกลุ่มได้ โดยการมอบหมายผู้มีสิทธิอื่นยื่นแทน การยื่นทางไปรษณีย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.–30 มิ.ย. โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ และยื่นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ http://election.dopa.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.–30 มิ.ย. ตลอด 24 ชม. โดยระบบจะปิดอัตโนมัติในเวลา 24 .00 น. ของวันที่ 30 มิ.ย.