เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม สำนักพิมพ์ BNR Book House ร่วมกับสำนักพิมพ์ Oh My God จัดพิมพ์หนังสือชื่อ “ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู” ออกมา ในบรรดาหนังสือทั้ง 27 เล่มที่ผมเขียน เนื้อหาของเล่มนี้มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ทั้งนี้เพราะผมมั่นใจว่าได้ให้คำอธิบายแก่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้สมบูรณ์ที่สุด นั่นคือ ทั้งมิติปรัชญาและมิติเศรษฐกิจ ผมมองว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภูมิปัญญาของชาติไทยที่ในหลวงทรงประทานให้พวกเราและชาวโลก แต่เท่าที่ผ่านมาคนไทยยังเข้าใจเพียงจำกัดเพราะมิได้ศึกษาให้ลึกและครอบคลุมอย่างแท้จริง สิ่งที่เผยแพร่ออกไปส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงมิติปรัชญา ส่วนมิติเศรษฐกิจซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันมักถูกละเลย หรือเมื่อพูดถึงก็มักจำกัดอยู่แค่ภาคเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่อันได้แก่การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน
ก่อนเขียนต่อไป ขอเรียนว่าบทความนี้มิได้มีวาระซ่อนเร้นเพื่อขายหนังสือ ทั้งนี้เพราะมีผู้สนับสนุนยินดีที่จะส่งให้ผู้ต้องการอ่านแต่ไม่ต้องการซื้อ เพียงส่งชื่อที่อยู่ไปให้ผมทางอีเมลที่ sboonma@msn.com เท่านั้น สำหรับท่านที่ต้องการมากกว่า 1 เล่มเพื่อนำไปใช้ในกิจการจำพวกการกุศล อาจส่งความจำนงไปให้ผมได้เช่นกัน สำหรับท่านที่ต้องการซื้อจากร้านขายหนังสือทั่วไป ขอเรียนว่าผมในฐานะผู้เขียนและผู้ลงทุนพิมพ์จะไม่มีส่วนได้อะไรทั้งสิ้น ทั้งต้นทุนที่ผมลงไปและกำไร (ถ้าเกิดขึ้น) เมื่อได้กลับมา ทางสำนักพิมพ์จะส่งทั้งหมดต่อไปให้มูลนิธินักอ่านบ้านนา มูลนิธิฯ นี้ผมมีส่วนก่อตั้งและขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก มากว่า 10 ปี รายละเอียดอาจหาได้ในเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ www.bannareader.com
ในช่วงเวลาเกือบ 20 ปีหลังคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เมื่อในหลวงตรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับพสกนิกรกลุ่มใหญ่เป็นครั้งแรก เราต่างได้ยินจนชินชาเรื่อง “สามห่วง สองเงื่อนไข” ซึ่งเป็นการตีความหมายแนวคิดในมิติปรัชญา หรือหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น สามห่วงได้แก่ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันและการมีความพอประมาณ ทางด้านสองเงื่อนไขได้แก่ความรู้และคุณธรรม ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นองค์ประกอบของแนวคิด
การนำเสนอว่า “ความรู้” และ “คุณธรรม” เป็นเงื่อนไขผมมองว่าให้ความสำคัญแก่สององค์ประกอบนี้น้อยเกินไป จึงเสนอให้เปลี่ยนเรียกว่า “ฐาน” ของแนวคิด
เนื่องจากการพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงจะขาดองค์ประกอบทั้ง 5 นี้ไม่ได้ เนื้อหาของหนังสือจึงทบทวนองค์ประกอบก่อนดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม หนังสือมิได้หยุดแค่นั้น หากยังเสนอการอ่านสภาพการณ์ของเมืองไทยจากมุมมองขององค์ประกอบทั้ง 5 อีกด้วย ผมมองว่าการอ่านสภาพการณ์ในแนวนี้จะช่วยให้เราเข้าใจในประเด็นปัญหาของการพัฒนาประเทศอย่างกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น
เนื้อหาเกี่ยวกับด้านมิติเศรษฐกิจที่ไม่มีใครพูดถึงมาก่อนได้แก่การทบทวนวิวัฒนาการของโลกและการเกิดของแนวคิดต่างๆ ทางเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบัน การทบทวนนี้จะชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักซึ่งสังคมโลกเกือบทั้งหมด (ยกเว้นเกาหลีเหนือและคิวบา) ใช้กันมาเป็นเวลานานหมดยุคสมัยไปแล้วเพราะอะไร ตัวอย่างของความล่มสลายในอดีตยืนยันว่า ถ้าเรายังดื้อรั้นใช้ทรัพยากรกันดังเช่นที่เป็นมาในช่วงเวลาหลายศตวรรษ โลกทั้งโลกจะเดินไปตามครรลองของความล่มสลายเช่นเดียวกับในอดีต เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้คำตอบอย่างไร และการเดินตามแนวคิดนี้จะมีทั้งผลดีต่อตัวเองและต่อโลกทั้งหมดอย่างไร สิ่งที่น่ายินดีคือ ณ วันนี้ ทั้งชาวไทยและชาวโลกส่วนหนึ่งได้นำแนวคิดไปใช้และได้ผลเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ชื่อของหนังสือบ่งบอกว่าผมฝากภูมิปัญญาชาติไทยนี้ไว้กับครู ทั้งนี้เพราะผมมองว่า ผู้มีอาชีพครูจะสามารถทำความเข้าใจ นำไปปฏิบัติและนำไปเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิผลที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ทำงานด้านอื่น อันที่จริง ครูส่วนใหญ่อาจใช้แนวคิดอยู่แล้วและเราอาจจะตีความหมายคำว่า “ครู” คือผู้ใหญ่ทุกคนในสังคมก็ได้เนื่องจากผู้ใหญ่เป็นต้นแบบให้แก่คนรุ่นหลัง แต่ในหนังสือเล่มนี้ ผมหมายถึงผู้ที่มีอาชีพครูเท่านั้น ผมฝากความหวังไว้กับครูด้วยปัจจัยหลายอย่างคือ
•ครูเป็นผู้มีฐานความรู้แน่นและกว้างขวาง จึงสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
•ครูเป็นผู้ติดตามสถานการณ์รอบด้าน ส่งผลให้เข้าใจเหตุการณ์ในบริบทที่กว้างและใหม่ได้ง่ายขึ้น
•ครูเป็นผู้แสวงหาและสะสมความรู้ คล้ายเป็นห้องสมุดเดินได้ ที่ผมไว้วางใจให้เผยแพร่ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของผม
•ครูมีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง เป็นที่เคารพของชุมชนพร้อมกับมีโอกาสสัมผัสกับคนทุกวัยและสายอาชีพอยู่ตลอดเวลา
•ครูเป็นข้อเชื่อมต่อที่ดีที่สุดในช่วงที่สังคมอยู่ในห้วงวิกฤตทางความคิดและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใหม่
•ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติและเป็นความหวังในการสร้างคนไทยรุ่นต่อๆ ไปที่จะคงความเป็นไทยอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใบนี้
•ครูเป็นบุคคลสำคัญของการพัฒนาคน อันเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ
จริงอยู่ ผมรู้ว่าครูจำนวนหนึ่งมิได้มีลักษณะครบถ้วนตามอุดมการณ์โดยเฉพาะบางคนไม่ค่อยอ่านหนังสือ หรือใฝ่รู้ แต่ผมยังเชื่อมั่นว่าครูคือผู้เหมาะสมที่ผมจะฝากภูมิปัญญาและความหวังของชาติไว้ได้ สิ่งหนึ่งซึ่งใคร่จะเรียนให้ทราบคือ ในขณะที่คนไทยยังไม่พยายามทำความเข้าใจในแนวคิดอันประเสริฐยิ่งนี้ มีต่างชาติเริ่มนำไปใช้และเป็นไปได้ว่าในวันหนึ่งข้างหน้าจะอ้างว่าเขาคิดขึ้นมาก่อน
ก่อนเขียนต่อไป ขอเรียนว่าบทความนี้มิได้มีวาระซ่อนเร้นเพื่อขายหนังสือ ทั้งนี้เพราะมีผู้สนับสนุนยินดีที่จะส่งให้ผู้ต้องการอ่านแต่ไม่ต้องการซื้อ เพียงส่งชื่อที่อยู่ไปให้ผมทางอีเมลที่ sboonma@msn.com เท่านั้น สำหรับท่านที่ต้องการมากกว่า 1 เล่มเพื่อนำไปใช้ในกิจการจำพวกการกุศล อาจส่งความจำนงไปให้ผมได้เช่นกัน สำหรับท่านที่ต้องการซื้อจากร้านขายหนังสือทั่วไป ขอเรียนว่าผมในฐานะผู้เขียนและผู้ลงทุนพิมพ์จะไม่มีส่วนได้อะไรทั้งสิ้น ทั้งต้นทุนที่ผมลงไปและกำไร (ถ้าเกิดขึ้น) เมื่อได้กลับมา ทางสำนักพิมพ์จะส่งทั้งหมดต่อไปให้มูลนิธินักอ่านบ้านนา มูลนิธิฯ นี้ผมมีส่วนก่อตั้งและขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก มากว่า 10 ปี รายละเอียดอาจหาได้ในเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ www.bannareader.com
ในช่วงเวลาเกือบ 20 ปีหลังคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เมื่อในหลวงตรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับพสกนิกรกลุ่มใหญ่เป็นครั้งแรก เราต่างได้ยินจนชินชาเรื่อง “สามห่วง สองเงื่อนไข” ซึ่งเป็นการตีความหมายแนวคิดในมิติปรัชญา หรือหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น สามห่วงได้แก่ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันและการมีความพอประมาณ ทางด้านสองเงื่อนไขได้แก่ความรู้และคุณธรรม ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นองค์ประกอบของแนวคิด
การนำเสนอว่า “ความรู้” และ “คุณธรรม” เป็นเงื่อนไขผมมองว่าให้ความสำคัญแก่สององค์ประกอบนี้น้อยเกินไป จึงเสนอให้เปลี่ยนเรียกว่า “ฐาน” ของแนวคิด
เนื่องจากการพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงจะขาดองค์ประกอบทั้ง 5 นี้ไม่ได้ เนื้อหาของหนังสือจึงทบทวนองค์ประกอบก่อนดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม หนังสือมิได้หยุดแค่นั้น หากยังเสนอการอ่านสภาพการณ์ของเมืองไทยจากมุมมองขององค์ประกอบทั้ง 5 อีกด้วย ผมมองว่าการอ่านสภาพการณ์ในแนวนี้จะช่วยให้เราเข้าใจในประเด็นปัญหาของการพัฒนาประเทศอย่างกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น
เนื้อหาเกี่ยวกับด้านมิติเศรษฐกิจที่ไม่มีใครพูดถึงมาก่อนได้แก่การทบทวนวิวัฒนาการของโลกและการเกิดของแนวคิดต่างๆ ทางเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบัน การทบทวนนี้จะชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักซึ่งสังคมโลกเกือบทั้งหมด (ยกเว้นเกาหลีเหนือและคิวบา) ใช้กันมาเป็นเวลานานหมดยุคสมัยไปแล้วเพราะอะไร ตัวอย่างของความล่มสลายในอดีตยืนยันว่า ถ้าเรายังดื้อรั้นใช้ทรัพยากรกันดังเช่นที่เป็นมาในช่วงเวลาหลายศตวรรษ โลกทั้งโลกจะเดินไปตามครรลองของความล่มสลายเช่นเดียวกับในอดีต เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้คำตอบอย่างไร และการเดินตามแนวคิดนี้จะมีทั้งผลดีต่อตัวเองและต่อโลกทั้งหมดอย่างไร สิ่งที่น่ายินดีคือ ณ วันนี้ ทั้งชาวไทยและชาวโลกส่วนหนึ่งได้นำแนวคิดไปใช้และได้ผลเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ชื่อของหนังสือบ่งบอกว่าผมฝากภูมิปัญญาชาติไทยนี้ไว้กับครู ทั้งนี้เพราะผมมองว่า ผู้มีอาชีพครูจะสามารถทำความเข้าใจ นำไปปฏิบัติและนำไปเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิผลที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ทำงานด้านอื่น อันที่จริง ครูส่วนใหญ่อาจใช้แนวคิดอยู่แล้วและเราอาจจะตีความหมายคำว่า “ครู” คือผู้ใหญ่ทุกคนในสังคมก็ได้เนื่องจากผู้ใหญ่เป็นต้นแบบให้แก่คนรุ่นหลัง แต่ในหนังสือเล่มนี้ ผมหมายถึงผู้ที่มีอาชีพครูเท่านั้น ผมฝากความหวังไว้กับครูด้วยปัจจัยหลายอย่างคือ
•ครูเป็นผู้มีฐานความรู้แน่นและกว้างขวาง จึงสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
•ครูเป็นผู้ติดตามสถานการณ์รอบด้าน ส่งผลให้เข้าใจเหตุการณ์ในบริบทที่กว้างและใหม่ได้ง่ายขึ้น
•ครูเป็นผู้แสวงหาและสะสมความรู้ คล้ายเป็นห้องสมุดเดินได้ ที่ผมไว้วางใจให้เผยแพร่ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของผม
•ครูมีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง เป็นที่เคารพของชุมชนพร้อมกับมีโอกาสสัมผัสกับคนทุกวัยและสายอาชีพอยู่ตลอดเวลา
•ครูเป็นข้อเชื่อมต่อที่ดีที่สุดในช่วงที่สังคมอยู่ในห้วงวิกฤตทางความคิดและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใหม่
•ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติและเป็นความหวังในการสร้างคนไทยรุ่นต่อๆ ไปที่จะคงความเป็นไทยอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใบนี้
•ครูเป็นบุคคลสำคัญของการพัฒนาคน อันเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ
จริงอยู่ ผมรู้ว่าครูจำนวนหนึ่งมิได้มีลักษณะครบถ้วนตามอุดมการณ์โดยเฉพาะบางคนไม่ค่อยอ่านหนังสือ หรือใฝ่รู้ แต่ผมยังเชื่อมั่นว่าครูคือผู้เหมาะสมที่ผมจะฝากภูมิปัญญาและความหวังของชาติไว้ได้ สิ่งหนึ่งซึ่งใคร่จะเรียนให้ทราบคือ ในขณะที่คนไทยยังไม่พยายามทำความเข้าใจในแนวคิดอันประเสริฐยิ่งนี้ มีต่างชาติเริ่มนำไปใช้และเป็นไปได้ว่าในวันหนึ่งข้างหน้าจะอ้างว่าเขาคิดขึ้นมาก่อน