พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณี ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ มาตรา 61 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่อาจขัดรธน.ชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่าคลุมเครือในทางปฏิบัติ ว่า ผลออกมาว่าอย่างไร ก็ตามนั้น ถ้ามันขัดแย้ง ต้องเลื่อนการลงประชามติออกไป ก็ต้องเลื่อน แต่ถ้าเลื่อนแล้ว อย่ามาบอกว่าตนเป็นคนสั่งเลื่อนก็แล้วกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลรธน.ก่อน ใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า เขาไปฟ้องแล้วว่าอย่างไร ต้องถามศาลฯ ที่จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งตนไม่รู้ว่าจะพิจารณาเมื่อไร ถึงเวลานั้นค่อยว่ากัน จะเอาอย่างไร ทำไมต้องมาถามดักหน้า ดักหลัง อย่างนี้ มันก็จะไม่ผ่านกันพอดี ทุกเรื่อง ถ้าเขาไปฟ้อง แล้วศาลตัดสินว่าขัดรธน. ก็ต้องเลื่อนการทำประชามติออกไป ไม่ใช่ตนเป็นคนสั่งเลื่อน นี่คือข้อแรก และข้อสอง ศาลจะพิจารณาเมื่อไร ทันก่อนวันที่ 7 ส.ค.หรือไม่ ถ้าทันแล้วผิด ก็ต้องหยุด ถ้าไม่ผิด ก็ทำต่อ มันก็มีคำตอบแค่นี้ แต่อยู่ดีๆ จะให้ตนไปสั่งเลื่อนโดยที่ยังไม่เกิดอะไรสักอย่าง แค่มีคนไปฟ้อง มันไม่ได้ แบบนั้นตนไม่ใช้
" ถ้าอย่างนั้นการจำนำข้าว ผมก็สั่งเลยสิ ไม่ต้องรอศาลให้ผมใช้ มาตรา 44 เลยสิ จะได้ติดคุกกันให้หมด เอาไหม ตอนนี้ให้สู้คดีกันอยู่ ก็สู้ไปสิ ต้องเข้าใจในภาพรวมด้วย" นายกฯ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า มาตรา 61 กำหนดการกระทำไว้ 6 อย่างที่มีความผิด ประกอบด้วย นำเสนอข้อมูลเป็นเท็จ ก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม และข่มขู่ โดยสิ่งที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งให้ศาลรธน.พิจารณา เนื่องจากติดใจ 3 คำ คือ ก้าวร้าว รุนแรง และหยาบคาย แปลว่าอะไร คลุมเครือ หรือทำให้คนไม่เข้าใจจนอาจปฏิบัติตามไม่ถูก
"หากศาลฯวินิจฉัยว่าทั้ง 3 คำ หรือคำใดคำหนึ่งในนั้นไม่ถูกต้อง จะต้องตัดออกไปเฉพาะคำๆ นั้น เท่านั้น ไม่ต้องไปแก้ไขในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่วน 3 คำที่เหลือ คือ ข้อมูลเป็นเท็จ ปลุกระดม และข่มขู่ ก็ยังอยู่ ไม่กระทบใดๆกับ พ.ร.บ.ทั้งฉบับ แต่ถ้าศาลฯ วินิจฉัยว่าทั้ง 3 คำไม่ขัดถือว่าจบ ดังนั้นยืนยันไม่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.จะออกมาอย่างไร จะไม่กระทบต่อการทำประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค." นายวิษณุ กล่าว
ทั้งนี้ ถ้ารธน.ผ่านประชามติ แต่ศาลฯ มีคำวินิจฉัยออกมาภายหลังว่า ขัดรธน. ก็ไม่มีผลกระทบอะไร ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง จะเกี่ยวเฉพาะคนที่ถูกจับเข้าข่าย 3 คำ ดังกล่าว แต่ไม่กระทบภาพรวมทั้งหมด ต่อให้ปลุกระดม ก็ไม่กระทบ เพราะการทำประชามติ ต่างจากการเลือกตั้ง ถ้าเกิดการทุจริต อาจจะกระทบทั้งประเทศ แต่การทำประชามติต่อให้มีการทุจริต จะไม่กระทบทั้งประเทศ จะกระทบเฉพาะบางหน่วยเท่านั้น ก็ให้ลงประชามติใหม่เฉพาะหน่วยที่มีปัญหา
เมื่อถามว่า มีข้อกังวลว่า การที่ผู้ตรวจการฯ ยื่นตีความครั้งนี้ ส่อว่าเป็นการล้มประชามติ หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ ไม่เกี่ยว แต่นายกฯ ปรารภด้วยความเป็นห่วง คือ กลัวคนจะไปคิดว่า ถ้าเกิดศาลวินิจฉัยว่าขัดรธน. แล้วประชามติจะไม่มี และคนอาจคิดว่า ลงมือทำอะไรได้หมด เพราะทั้งคำว่า รุนแรง ก้าวร้าว และหยาบคาย มันไม่มีเสียแล้ว และพอถึงเวลาจะเบรกกันไม่อยู่แล้ว เพราะไม่รู้ว่าทั้ง 3 คำ ขอบเขตมันขนาดไหน จะทำให้เกิดชนวนความไม่สงบอย่างอื่นตามมา ตรงนั้นน่ากลัว จะกระทบต่อความสงบทั้งประเทศ แต่ภาวนา หวังให้ไม่ถึงขนาดนั้น ทุกคนระมัดระวังตัวเอง ความจริง มีคำสั่ง คสช. คุมอยู่แล้ว
เมื่อถามย้ำว่า นายกฯระบุว่าอาจจะเลื่อนการทำประชามติออกไป รองนายกฯ กล่าวว่า ประเด็นของนายกฯ ท่านมองไปไกลอีก 5 ช็อต ลำพังถ้า 3 คำดังกล่าวใช้ไม่ได้ นายกฯ ก็ทราบ และเข้าใจว่าไม่มีปัญหา เพราะมีอีก 3 คำที่เหลือ ยังอยู่ แต่นายกฯ กังวลว่าถ้า 3 คำนั้นใช้ไม่ได้ คนจะเข้าใจผิด ถึงขนาดยั่วโทสะ จนออกมาปะทะกัน จะกระทบต่อการทำประชามติทั้งหมด ดังนั้น ช็อตที่ 1 ถ้าศาลตัดสินว่า 3 คำนั้นใช้ไม่ได้ ช็อตต่อมา ถ้าทุกคนนิ่ง เจ้าหน้าที่ก็ไม่จับ รุนแรงได้ ก้าวร้าวได้ หยาบคายได้ แต่ถ้าหนักถึงขั้นเกิดไปกระทบใคร จนหยุดไม่อยู่ ยกพวกออกมาตีกัน ทีนี้จะกระทบต่อประชามติแล้ว ซึ่งตอนที่เขาออก 3 คำนี้มา ก็เพราะต้องการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม แต่สมมุติถ้าศาลฯ บอกไม่สามารถตัดไฟตั้งแต่ต้นลมได้ ก็ให้ระวัง เพราะเหตุการณ์มันจะไปถึงจุดนั้นได้ นายกฯ กลัวอย่างนั้น
เมื่อถามว่า หากมีการตัด 3 คำดังกล่าว จะมีกฎหมายใดมาบังคับใช้แทนหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ในทางตรงไม่มีกฎหมายที่ใช้แทนกัน แต่อยู่ที่จะไปปรับความผิดนั้นๆ ไปเข้ากับอันอื่น เพราะคนเราทำอะไรออกไป อาจจะเข้าองค์ประกอบความผิดมากกว่าหนึ่ง พ.ร.บ.ได้ ทั้งที่เป็นคำพูดเดียวกัน แล้วแต่ว่าเราจะมองในมิติอะไร ถ้ามองในมิติรุนแรง ก้าวร้าว และหยาบคายไม่ได้ ก็ไปมองในมิติอื่นเท่านั้น แต่มิติที่ดีที่สุดคือ คนอย่าไปทำให้มันมีเรื่อง ตนไม่อยากให้เจ้าหน้าที่ไปทำอะไรทั้งนั้น ดังนั้น ประชาชนต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้เกิดเรื่อง สุจริต ตรงไป ตรงมา
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า อย่ากังวล ต้องรอฟังศาลรธน.ก่อน ส่วนจะต้องเลื่อนการทำประชามติ ออกไปจากเดิมวันที่ 7 ส.ค. หรือไม่นั้น ขณะนี้กกต. ยังต้องจัดให้มีการทำประชามติภายใน 120 วัน ตามรธน.(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 กำหนดไว้ ซึ่งวันที่ 7 ส.ค. ดังนั้น ถ้าหากจะมีการเลื่อนการทำประชามติ จะต้องแก้ไขรธน.57 ก่อน
อย่างไรก็ตาม หากไม่มี มาตรา 61 วรรคสอง ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำประชามติ ยังสามารถจัดได้ตามปกติ และตามวันเวลาเดิม แต่กระบวนการก่อนทำประชามติ อาจเกิดปัญหาในเรื่องการบิดเบือน ให้ข้อมูลเท็จได้ ซึ่งจะไม่มีกฎหมายไปเอาผิดคนเหล่านั้น
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงประเด็นที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเปิดประชุมประเทศสมาชิก กลุ่ม จี 77 ว่า หากประเทศไม่สงบ จะอยู่ต่อ ว่า ถ้าไม่สงบโรดแมปก็เดินต่อไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น ต้องทำทุกอย่างให้เกิดความสงบ จะมีก็แต่คนที่ชอบความขัดแย้ง และไม่อยากเดินไปตามโรดแมป ดังนั้นต้องใช้คสช. เพื่อทำให้เกิดความสงบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลรธน.ก่อน ใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า เขาไปฟ้องแล้วว่าอย่างไร ต้องถามศาลฯ ที่จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งตนไม่รู้ว่าจะพิจารณาเมื่อไร ถึงเวลานั้นค่อยว่ากัน จะเอาอย่างไร ทำไมต้องมาถามดักหน้า ดักหลัง อย่างนี้ มันก็จะไม่ผ่านกันพอดี ทุกเรื่อง ถ้าเขาไปฟ้อง แล้วศาลตัดสินว่าขัดรธน. ก็ต้องเลื่อนการทำประชามติออกไป ไม่ใช่ตนเป็นคนสั่งเลื่อน นี่คือข้อแรก และข้อสอง ศาลจะพิจารณาเมื่อไร ทันก่อนวันที่ 7 ส.ค.หรือไม่ ถ้าทันแล้วผิด ก็ต้องหยุด ถ้าไม่ผิด ก็ทำต่อ มันก็มีคำตอบแค่นี้ แต่อยู่ดีๆ จะให้ตนไปสั่งเลื่อนโดยที่ยังไม่เกิดอะไรสักอย่าง แค่มีคนไปฟ้อง มันไม่ได้ แบบนั้นตนไม่ใช้
" ถ้าอย่างนั้นการจำนำข้าว ผมก็สั่งเลยสิ ไม่ต้องรอศาลให้ผมใช้ มาตรา 44 เลยสิ จะได้ติดคุกกันให้หมด เอาไหม ตอนนี้ให้สู้คดีกันอยู่ ก็สู้ไปสิ ต้องเข้าใจในภาพรวมด้วย" นายกฯ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า มาตรา 61 กำหนดการกระทำไว้ 6 อย่างที่มีความผิด ประกอบด้วย นำเสนอข้อมูลเป็นเท็จ ก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม และข่มขู่ โดยสิ่งที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งให้ศาลรธน.พิจารณา เนื่องจากติดใจ 3 คำ คือ ก้าวร้าว รุนแรง และหยาบคาย แปลว่าอะไร คลุมเครือ หรือทำให้คนไม่เข้าใจจนอาจปฏิบัติตามไม่ถูก
"หากศาลฯวินิจฉัยว่าทั้ง 3 คำ หรือคำใดคำหนึ่งในนั้นไม่ถูกต้อง จะต้องตัดออกไปเฉพาะคำๆ นั้น เท่านั้น ไม่ต้องไปแก้ไขในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่วน 3 คำที่เหลือ คือ ข้อมูลเป็นเท็จ ปลุกระดม และข่มขู่ ก็ยังอยู่ ไม่กระทบใดๆกับ พ.ร.บ.ทั้งฉบับ แต่ถ้าศาลฯ วินิจฉัยว่าทั้ง 3 คำไม่ขัดถือว่าจบ ดังนั้นยืนยันไม่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.จะออกมาอย่างไร จะไม่กระทบต่อการทำประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค." นายวิษณุ กล่าว
ทั้งนี้ ถ้ารธน.ผ่านประชามติ แต่ศาลฯ มีคำวินิจฉัยออกมาภายหลังว่า ขัดรธน. ก็ไม่มีผลกระทบอะไร ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง จะเกี่ยวเฉพาะคนที่ถูกจับเข้าข่าย 3 คำ ดังกล่าว แต่ไม่กระทบภาพรวมทั้งหมด ต่อให้ปลุกระดม ก็ไม่กระทบ เพราะการทำประชามติ ต่างจากการเลือกตั้ง ถ้าเกิดการทุจริต อาจจะกระทบทั้งประเทศ แต่การทำประชามติต่อให้มีการทุจริต จะไม่กระทบทั้งประเทศ จะกระทบเฉพาะบางหน่วยเท่านั้น ก็ให้ลงประชามติใหม่เฉพาะหน่วยที่มีปัญหา
เมื่อถามว่า มีข้อกังวลว่า การที่ผู้ตรวจการฯ ยื่นตีความครั้งนี้ ส่อว่าเป็นการล้มประชามติ หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ ไม่เกี่ยว แต่นายกฯ ปรารภด้วยความเป็นห่วง คือ กลัวคนจะไปคิดว่า ถ้าเกิดศาลวินิจฉัยว่าขัดรธน. แล้วประชามติจะไม่มี และคนอาจคิดว่า ลงมือทำอะไรได้หมด เพราะทั้งคำว่า รุนแรง ก้าวร้าว และหยาบคาย มันไม่มีเสียแล้ว และพอถึงเวลาจะเบรกกันไม่อยู่แล้ว เพราะไม่รู้ว่าทั้ง 3 คำ ขอบเขตมันขนาดไหน จะทำให้เกิดชนวนความไม่สงบอย่างอื่นตามมา ตรงนั้นน่ากลัว จะกระทบต่อความสงบทั้งประเทศ แต่ภาวนา หวังให้ไม่ถึงขนาดนั้น ทุกคนระมัดระวังตัวเอง ความจริง มีคำสั่ง คสช. คุมอยู่แล้ว
เมื่อถามย้ำว่า นายกฯระบุว่าอาจจะเลื่อนการทำประชามติออกไป รองนายกฯ กล่าวว่า ประเด็นของนายกฯ ท่านมองไปไกลอีก 5 ช็อต ลำพังถ้า 3 คำดังกล่าวใช้ไม่ได้ นายกฯ ก็ทราบ และเข้าใจว่าไม่มีปัญหา เพราะมีอีก 3 คำที่เหลือ ยังอยู่ แต่นายกฯ กังวลว่าถ้า 3 คำนั้นใช้ไม่ได้ คนจะเข้าใจผิด ถึงขนาดยั่วโทสะ จนออกมาปะทะกัน จะกระทบต่อการทำประชามติทั้งหมด ดังนั้น ช็อตที่ 1 ถ้าศาลตัดสินว่า 3 คำนั้นใช้ไม่ได้ ช็อตต่อมา ถ้าทุกคนนิ่ง เจ้าหน้าที่ก็ไม่จับ รุนแรงได้ ก้าวร้าวได้ หยาบคายได้ แต่ถ้าหนักถึงขั้นเกิดไปกระทบใคร จนหยุดไม่อยู่ ยกพวกออกมาตีกัน ทีนี้จะกระทบต่อประชามติแล้ว ซึ่งตอนที่เขาออก 3 คำนี้มา ก็เพราะต้องการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม แต่สมมุติถ้าศาลฯ บอกไม่สามารถตัดไฟตั้งแต่ต้นลมได้ ก็ให้ระวัง เพราะเหตุการณ์มันจะไปถึงจุดนั้นได้ นายกฯ กลัวอย่างนั้น
เมื่อถามว่า หากมีการตัด 3 คำดังกล่าว จะมีกฎหมายใดมาบังคับใช้แทนหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ในทางตรงไม่มีกฎหมายที่ใช้แทนกัน แต่อยู่ที่จะไปปรับความผิดนั้นๆ ไปเข้ากับอันอื่น เพราะคนเราทำอะไรออกไป อาจจะเข้าองค์ประกอบความผิดมากกว่าหนึ่ง พ.ร.บ.ได้ ทั้งที่เป็นคำพูดเดียวกัน แล้วแต่ว่าเราจะมองในมิติอะไร ถ้ามองในมิติรุนแรง ก้าวร้าว และหยาบคายไม่ได้ ก็ไปมองในมิติอื่นเท่านั้น แต่มิติที่ดีที่สุดคือ คนอย่าไปทำให้มันมีเรื่อง ตนไม่อยากให้เจ้าหน้าที่ไปทำอะไรทั้งนั้น ดังนั้น ประชาชนต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้เกิดเรื่อง สุจริต ตรงไป ตรงมา
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า อย่ากังวล ต้องรอฟังศาลรธน.ก่อน ส่วนจะต้องเลื่อนการทำประชามติ ออกไปจากเดิมวันที่ 7 ส.ค. หรือไม่นั้น ขณะนี้กกต. ยังต้องจัดให้มีการทำประชามติภายใน 120 วัน ตามรธน.(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 กำหนดไว้ ซึ่งวันที่ 7 ส.ค. ดังนั้น ถ้าหากจะมีการเลื่อนการทำประชามติ จะต้องแก้ไขรธน.57 ก่อน
อย่างไรก็ตาม หากไม่มี มาตรา 61 วรรคสอง ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำประชามติ ยังสามารถจัดได้ตามปกติ และตามวันเวลาเดิม แต่กระบวนการก่อนทำประชามติ อาจเกิดปัญหาในเรื่องการบิดเบือน ให้ข้อมูลเท็จได้ ซึ่งจะไม่มีกฎหมายไปเอาผิดคนเหล่านั้น
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงประเด็นที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเปิดประชุมประเทศสมาชิก กลุ่ม จี 77 ว่า หากประเทศไม่สงบ จะอยู่ต่อ ว่า ถ้าไม่สงบโรดแมปก็เดินต่อไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น ต้องทำทุกอย่างให้เกิดความสงบ จะมีก็แต่คนที่ชอบความขัดแย้ง และไม่อยากเดินไปตามโรดแมป ดังนั้นต้องใช้คสช. เพื่อทำให้เกิดความสงบ