ผู้จัดการรายวัน360- คปพ.ชี้ กพช.ส่อเปิดประมูล 2 แหล่งก๊าซ เชื่อไม่โปร่งใส หวั่นจนท.รัฐ ล็อกสเปกให้บริษัทเดิม จี้ตั้งบรรษัทแห่งชาติ ภายใน 6 เดือน
วานนี้(31พ.ค.) เมื่อเวลา 09.40น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. กลุ่มประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ประมาณ 25 คน นำโดย นางบุญยืน ศิริธรรม นายอิฐบูรณ์ อ้นวงศ์ษา เดินทางมายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงจุดยืน คัดค้านการเจรจาเพื่อมอบสิทธิ์การผลิตปิโตรเลียม ในแหล่งเอราวัณ และบงกช ที่กำลังจะหมดอายุลง ให้ผู้รับสัมปทานรายเดิม โดยไม่มีการประมูลแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในระบบจ้างผลิต หรือระบบแบ่งปันผลผลิต พร้อมเห็นว่าแนวทางที่กระทรวงพลังงานดำเนินอยู่ ขาดหลักการ มีความไม่โปร่งใส และยังคงใช้ดุลยพินิจส่วนบุคคล หรือคณะบุคคลเป็นหลัก จึงทำให้ คปพ. มีข้อสงสัย คือ ไม่มีความชัดเจนว่าแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ และบงกช ที่กำลังจะหมดอายุลงนั้น จะใช้วิธีการประมูลในระบบใด ซึ่งจากการให้สัมภาษณ์ของ รมว.พลังงาน เป็นการปูทางไปสู่การประมูลแบบระบบสัมปทานเดิม โดยใช้กลุ่มคนกลุ่มเดียว เป็นผู้ตัดสินใจใช่หรือไม่ และ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่หากไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล จะใช้วิธีเจรจาผู้ประกอบการเดิม เกรงว่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าไปช่วยเหลือจนเกิดล็อกสเปก
ทั้งนี้ คปพ.ขอเรียกร้องให้วิธีการประมูลแข่งขัน ต้องให้เกิดความโปร่ง มีธรรมาภิบาล และเป็นสากล โดยจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ เพื่อมาถือครองกรรมสิทธิ์ และขายปิโตรเลียมให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วนภายใน 6 เดือน อีกทั้งให้ยุติแนวทางการประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต ให้รวมถึงรัฐบาลร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดเวทีสาธารณะ เพื่อเปิดเผยเนื้อหาและการทำประชาพิจารณ์ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่างแก้ไข พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ก่อนนำเสนอที่ประชุมครม.
วานนี้(31พ.ค.) เมื่อเวลา 09.40น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. กลุ่มประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ประมาณ 25 คน นำโดย นางบุญยืน ศิริธรรม นายอิฐบูรณ์ อ้นวงศ์ษา เดินทางมายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงจุดยืน คัดค้านการเจรจาเพื่อมอบสิทธิ์การผลิตปิโตรเลียม ในแหล่งเอราวัณ และบงกช ที่กำลังจะหมดอายุลง ให้ผู้รับสัมปทานรายเดิม โดยไม่มีการประมูลแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในระบบจ้างผลิต หรือระบบแบ่งปันผลผลิต พร้อมเห็นว่าแนวทางที่กระทรวงพลังงานดำเนินอยู่ ขาดหลักการ มีความไม่โปร่งใส และยังคงใช้ดุลยพินิจส่วนบุคคล หรือคณะบุคคลเป็นหลัก จึงทำให้ คปพ. มีข้อสงสัย คือ ไม่มีความชัดเจนว่าแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ และบงกช ที่กำลังจะหมดอายุลงนั้น จะใช้วิธีการประมูลในระบบใด ซึ่งจากการให้สัมภาษณ์ของ รมว.พลังงาน เป็นการปูทางไปสู่การประมูลแบบระบบสัมปทานเดิม โดยใช้กลุ่มคนกลุ่มเดียว เป็นผู้ตัดสินใจใช่หรือไม่ และ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่หากไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล จะใช้วิธีเจรจาผู้ประกอบการเดิม เกรงว่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าไปช่วยเหลือจนเกิดล็อกสเปก
ทั้งนี้ คปพ.ขอเรียกร้องให้วิธีการประมูลแข่งขัน ต้องให้เกิดความโปร่ง มีธรรมาภิบาล และเป็นสากล โดยจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ เพื่อมาถือครองกรรมสิทธิ์ และขายปิโตรเลียมให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วนภายใน 6 เดือน อีกทั้งให้ยุติแนวทางการประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต ให้รวมถึงรัฐบาลร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดเวทีสาธารณะ เพื่อเปิดเผยเนื้อหาและการทำประชาพิจารณ์ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่างแก้ไข พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ก่อนนำเสนอที่ประชุมครม.